"เสียงภายในหัว" ที่เกิดขึ้นเวลาอ่านหนังสือในใจ เกิดขึ้นได้ไง?!ทั้งที่ไม่ได้ออกเสียง
เพื่อนๆเคยสงสัยหรือเกิดคำถามนี้หรือไม่ว่าเสียงในหัวเกิดขึ้นได้อย่างไร? แล้วเสียงเหล่านั้นมาจากไหน?ปกติมันจะเกิดขึ้นเวลาที่เราพูด คิด หรือฟังเพลงไม่ใช่หรอแต่ทำไมเวลาเราอ่านหนังสือใจหรือนึกอะไรบางอย่างมันถึงเกิดขึ้นเป็นเสียงอย่างที่เกิดขึ้นกับเราอยู่ตอนนี้ได้หล่ะน่าประหลาดใจดีนะ มีทฤษฎีมากมายที่พยายามไขปริศนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีทฤษฎีไหนสามารถพิสูจน์ความจริงได้อย่างแน่ชัดแต่ก็มีคำอธิบายที่สมเหตุสมผลอยู่
การจินตนาการถึงเสียงนั้นมีรูปแบบคล้ายคลึงกับการจินตนาการรูปภาพยกตัวอย่างเช่นเราสามารถนึกถึง "กบ"ได้เป็นรูปร่างสีสันชัดเจนแม้ตอนนี้เราจะไม่ได้กำลังมองกบตัวเป็นๆหรือภาพของมันอยู่ก็ตาม เชื่อว่าตัวการที่ทำให้เกิดเสียงในหัวก็คือ"subvocalization" คือการขยับกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ได้แก่ ปาก ลำคอเส้นเสียง และอวัยวะอื่นๆ ที่ใช้ในการออกเสียงแรกเริ่มมนุษย์ทุกคนฝึกฝนการออกเสียงจากปากด้วยการขยับกล้ามเนื้อเราเรียนรู้การอ่านด้วยการอ่านออกเสียงก่อนการอ่านในใจ
ดังนั้นแม้ว่าเราจะสามารถอ่านโดยไม่ออกเสียงได้แต่เรายังคงขยับกล้ามเนื้อเหล่านั้นซึ่งส่งผลให้เรารับรู้ถึงเสียงโดยจากการสแกนสมองด้วยวิธี MRI หรือการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็กพบว่าขณะที่เกิดเสียงในหัวขึ้นก็มีการทำงานเกิดขึ้นที่สมองในส่วนของการพูดและการประมวลผลคำพูดเช่นเดียวกันนอกจากนี้กลุ่มของเส้นประสาทในสมองที่เรียกว่า "arcuate fasciculus"มีหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างส่วนของสมองที่ควบคุมการพูด (Broca)กับส่วนของสมองที่ใช้ประมวลผลคำพูด (Wernicke)ซึ่งจากการศึกษาพบว่าเส้นประสาทเหล่านี้มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับเสียงที่เกิดขึ้นในหัวเช่นกันจึงอาจจะสรุปได้อีกด้วยว่าคนที่พูดเร็วย่อมอ่านหนังสือได้เร็วด้วยเช่นกัน
ทีนี้ก็รู้แล้วสินะว่าเสียงที่เราได้ยินอยู่ในหัวแม่ว่าเราไม่ได้ออกเสียงเกิดขึ้นได้อย่างไร หายข้องใจสักที
ข้อมูลและภาพจาก flagfrog