รู้หรือไม่? 10 ประเทศที่ไม่น่าอยู่ในฟีฟ่าแรงกิ้งสูงกว่าทีมชาติไทย
มันคงไม่แปลกอะไรนักถ้าทีมอย่าง บราซิล, สเปน, เยอรมัน หรือแม้กระทั่งทีมในทวีปเดียวกันอย่าง ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และอื่นๆอีกมากมาย จะมีอันดับในฟีฟ่าที่เหนือกว่าทีมชาติไทย แต่บางประเทศที่คุณแทบจะไม่เคยได้ยินชื่อก็มีอันดับสูงกว่าทไทยเราเช่นกัน และนี่คือ 10 ประเทศที่มีอันดับฟีฟ่าแรงกิ้งสูงกว่าทีมชาติไทยไปดูกันดีกว่าว่ามีประเทศอะไรบ้าง?
1. เซนต์ คิททส์ แอนด์ เนวิส
อันดับฟีฟ่าแร้งกิ้ง : 73
ประชากรทั้งหมด : 54,916 คน
ประเทศเล็กๆในทวีปอเมริกาเหนือ ขึ้นชื่อเรื่องภูมิทัศน์ที่สวยงามเพราะอยู่ติดกับทะเลสาบคาริเบียน มีฉายาน่ารักๆว่า "ชูก้าร์ บอยซ์" หรือไอหนุ่มเมืองน้ำตาล นั่นเอง!!
พวกเขาเพิ่งเขาเป็นสมาชิกของ ฟีฟ่า ในช่วงปี 1994 นี่เอง พวกเขาจะมีเกมการแข่งขันแบบเป็นทางการครั้งแรกกับประเทศ เกรนาด้า และแพ้ไป 2-4 ส่วนเกมเยือนเกมแรกในประวัติศาสตร์นั้นเป็นการเจอกับ จาเมก้า ในวันที่ 17 มิถุนายน ปี 1979 และผลการแข่งขันจบลงด้วยความพ่ายแพ้ 1-2
หลังจากที่เขาร่วมเป็นสมาชิกของ ฟีฟ่า พวกเขาก็ได้ลงเล่นเกมรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกเรื่อยมา ทว่าก็ยังไม่เคยผ่านเข้ารอบสุดท้ายได้แม้แต่ครั้งเดียว เช่นเดียวกับรายการในทวีปอย่าง คอนคาเคฟ โกลด์ คัพ พวกเขาก็ยังไม่สามารถผ่านเข้ารอบสุดท้ายได้เลย
ล่าสุดในปี 2015 พวกเขาเพิ่งเดินทางไปแข่งขันนอกทวีปเป็นครั้งแรก โดยเป็นการไปเยือนยุโรปเพื่อเตะกระชับมิตรกับทีมชาติ อันดอร์ร่า (เซนต์ คิททส์ ชนะ 1-0) และ เอสโตเนีย (เซนต์ คิททส์ แพ้ 0-3) อย่างไรก็ตาม 2 เกมที่กล่าวมาเป็นเกมสุดท้ายที่พวกเขาลงสนามในช่วงโปรเเกรมของฟีฟ่าเดย์ โดยในปี 2016 นี้ เซนต์ คิททส์ ยังไม่ได้ลงเเข่งขันเลยแม้แต่เกมเดียว
2.คูรากัว
อันดับฟีฟ่าแร้งกิ้ง : 77
ประชากรในประเทศ : 158,986 คน
ประเทศเล็กๆในทวีปอเมริกาเหนือมีทีมฟุตบอลที่เริ่มจะดูดีขึ้นในระยะหลัง โดยเฉพาะในปี 2016 ที่พวกเขาเก็บชัยชนะได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ
สมาคมฟุตบอลของ คูรากัว ก่อตั้งขึ้นในช่วงปี 1920 ก่อนจะมีเกมการเเข่งขันอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี 1924 โดยตอนนั้นพวกเขายังใช้ชื่อว่า เทอร์ริตอรี่ ออฟ คูรากัว และเป็นฝ่ายที่เอาชนะ อารูบา ไปได้ 4-0
หลังจากนั้นพวกเขาก็ลงเเข่งขันเรื่อยมาและจากเหตุการณ์รวมแผ่นดินรวมเกาะเล็กเกาะน้อยเป็นประเทศเดียวก็ได้ชื่อประเทศใหม่ว่า คูรากัว ซึ่งใช้มาจนปัจจุบันนี้ คูรากัว เริ่มเข้าเป็นสมาชิกของ ฟีฟ่า ในปี 1958 และเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโรปรอบคัดเลือกครั้งแรกในปี 2014 ทว่าก็ยังไม่เคยไปถึงรอบสุดท้าย
แม้ในช่วงแรกพวกเขาจะออกแนวเป็นสมันน้อยให้ทีมในทวีปกระซวกจนมันมืออาทิเช่น เม็กซิโก (8-0) , คอสตาริก้า (6-2) ทว่าหลังๆพวกเขาก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ โดยในปี 1963 พวกเขาไปได้ไกลที่สุดด้วยการคว้าอันดับ คอนคาเคฟ โกล คัพ ก่อนจะได้อันดับ 3 อีกครั้งในปี 1969 และการแข่งขันรายการนี้ในปีหน้าที่ สหรัฐอเมริกา คูรากัว ก็ตีตั๋วไปเล่นรอบสุดท้ายเป็นที่แน่นอนเเล้ว
3. แอนติกัว แอนด์ บาบูดา
อันดับฟีฟ่าแร้งกิ้ง : 82
ประชากรในประเทศ : 91,295 คน
ตามที่ได้เห็นไปด้านบน ด้วยประชากรเพียงแค่ราวๆเก้าหมื่นคนทว่าพวกเขาเคยอยู่ในอันดับที่ 70 ของฟีฟ่าแร้งกิ้งมาก่อน
ในดานของฟุตบอลนั้น แอนติกัว แอนด์ บาบูดา มีฉายาว่า "เบนน่า บอยส์" โดยได้แรงบันดาลใจจากฉายานี้มาจากเพลงพื้นบ้านของประเทศ และพวกเขายังมีสัญลักษณ์ทีมฟุตบอลเป็นรูปกวางคู่อีกด้วย
แอนติกัว แอนด์ บาบูดา เริ่มก่อตั้งสมาคมฟุตบอลครั้งแรกในปี 1972 ก่อนจะลงสนามอย่างเป็นทางการครั้งแรกในการพบกับ ตรินิเเดด แอนด์ โตบาโก ซึ่งพวกเขาก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไป 11-1 และนั่นคือสถิติการแพ้ที่มากที่สุดตั้งแต่ลงเเข่งขันของพวกเขาอีกด้วย
กว่าจะมาเป็นสมาชิกของ ฟีฟ่า ก็ปาเข้าไปในช่วงปี 1990 เเละพวกเขาส่งทีมเขาแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกโซนคอนคาเคฟครั้งแรกในปี 2011 แม้จะยังไม่เคยผ่านรอบคัดเลือกแม้แต่ครั้งเดียว แต่อย่างน้อยพวกเขาก็เคยคว้าแชมป์ คาริบเบียน คัพ ในปี 1998 ด้วยการคว้าแชมป์เหนือทีมดังของภูมิภาคอย่าง จาเมก้า และ ตรินิแดด แอนด์ โตบาโก
ส่วนฟุตบอลลีกของพวกเขานั้นเป็นแบบกึ่งอาชีพโดยมีการก่อตั้งก่อนสมาคมฟุตบอล 1 ปี ในปี 1969 ปัจจุบันใช้ชื่อรายการแข่งขันว่า แอนติกัว แอนด์ บาบูดา พรีเมียร์ ดิวิชั่น โดยมีทีมเข้าร่วมเเข่งขันเพียง 10 ทีมเท่านั้นเอง
4. มาลาวี
อันดับฟีฟ่าแรงกิ้ง : 100
ประชากรในประเทศ : 16,407,000 คน
แค่อันดับ 100 อาจจะไม่ใช่เรื่องที่น่าตกใจมากนัก แต่คุณเชื่อหรือไม่ว่า มาลาวี เคยครองอันดับโลกสูงสุดถึงอันดับที่ 53 มาแล้ว
มาลาวี คล้ายๆกับประเทศจากแถบ แอฟริกัน ทั่วไปพวกเขามีทีมฟุตบอลที่มีผลงานอยู่ในระดับน่าพอใจ ครั้งหนึ่งพวกเขาเคยทะลุเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ โคซาฟ่า คัพ (การแข่งขันประจำแอฟริกาโซนใต้) มาเเล้วถึง 2 ครั้ง และเคยได้เหรียญทองเเดงในกีฬา ออล-แอฟริกัน เกมส์ ปี 1987
มาลาวี เข้าเป็นสมาชิกของ ฟีฟ่า ครั้งแรกในปี 1976 และลงเล่นฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกตั้งแต่ปี 1978 เป็นต้นมา พวกเขาส่งทีมเข้าแข่งขันทุกปียกเว่นช่วงปี 1994 ที่อเมริกาเป็นเจ้าภาพ ขณะที่แอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ ก็ส่งทีมเข้าแข่งขันตั้งแต่ปี 1976 ทว่าก็ไปได้ไม่ไกลมากนักผลงานสูงสุดอยู่ที่การเข้ารอบแบ่งกลุ่มในปี 1984 และปี 2010 ที่ผ่านมา
5. บอตสวาน่า
อันดับฟีฟ่าแร้งกิ้ง : 101
ประชากรในประเทศ : 2,155,784 คน
เป็นอีกชาติในแอฟริกันที่แม้จะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักและมีผลงานด้านฟุตบอลที่เด่นชัดเท่าไรนักแต่ทว่า บอตสวาน่า ก็เคยอยู่ในอันดับ 53 ของ ฟีฟ่า แร้งกิ้ง มาเเล้ว ในช่วงเวลาไม่นานมานี้ (2010)
บอตสวาน่า มีฉายาว่า ไอ้ม้าลาย ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ของประเทศ พวกเขาก่อตั้งสมาคมฟุตบอลได้ไม่นานนัก และลงเล่นเกมระดับชาติครั้งแรกในปี 1968 ซึ่งเป็นการพบกับเพื่อนบ้านอย่าง มาลาวี ซึ่งจบลงด้วยความพ่ายแพ้ 0-8 ส่วนชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพวกเขาเป็นการเอาชนะ สวาซิแลนด์ ไปด้วยสกอร์ 6-2 ซึ่งกิดขึ้นในปี 2002
พวกเขาเข้าเป็นสมาชิกฟีฟ่าครั้งแรกในช่วงก่อนฟุตบอลโลก 1994 และ บอตสวาน่า ก็ส่งทีมลงเล่นรอบคัดเลือกในครั้งดังกล่าวด้วยทว่าสุดท้ายก็ต้องตกรอบไป ส่วนผลงานในระดับทวีปนั้น บอตสวาน่า ไปได้ใกลที่สุดในรายการ แอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ ปี 2012 พวกเขาสามารถผ่านเข้าไปเล่นรอบแรกได้และนั่นเป็นครั้งเดียวของพวกเขาที่ได้มีส่วนร่วมในรายการนี้
6. สาธารณรัฐ แอฟริกากลาง
อันดับฟีฟ่าแร้งกิ้ง : 107
ประชากรในประเทศ : 4,709,000 คน
แอฟริกากลางเป็นชาติที่เริ่มมีพัฒนาการทางด้านฟุตบอลมาในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกับ แอฟริกาใต้ และพวกเขาเคยทำอันดับในฟีฟ่า แร้งกิ้งสูงสุดถึงอันดับที่ 47 เลยทีเดียว
การลงเล่นในเกมระดับชาติครั้งแรกของ แอฟริกากลาง เกิดขึ้นในปี 1956 ในตอนนั้นพวกเขายังใช้ชื่อประเทศว่า อูบานกี ชารี่ และสามารถเอาชนะ เฟร้นช์ แคเมอรูน ไปได้ 5-1 และผลการเเข่งขันเกมนี้ก็เป็นชัยชนะที่ท่วมท้นที่สุดในประวัติศาสตร์ของพวกเขาอีกด้วย
สาธารณรัฐแอฟริกากลางเข้าเป็นสมาชิกของฟีฟ่าตั้งแต่ปี 1982 แต่ยังไม่สามารถผ่านรอบคัดเลือกเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายได้แม้แต่ครั้งเดียว ส่วนผลงานในเวทีระดับทวีปอย่าง แอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ ก็ทำได้ดีที่สุดเพียงแค่การตกรอบคัดเลือกและไม่สามารถเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายได้เช่นกัน
ผลงานที่ดีที่สุดของพวกเขาอยู่ที่การคว้าแชมป์ ซีแม็ค คัพ ซึ่งเป็นการจัดเเข่งขันในระดับภูมิภาคมี 6 ชาติเข้าร่วมแข่งขันได้แก่ คองโก , ชาด , กีนี, แคเมอรูน , กาบอง และ แอฟริกากลาง แม้จะเป็นรายการที่ ฟีฟ่า ไม่รองรับทว่าพวกเขาก็สามารถคว้าแชมป์ในรายการนี้ได้ 1 ครั้งในปี 2009
7. เมาริตาเนีย
อันดับฟีฟ่าแร้งกิ้ง : 115
ประชากรในประเทศ : 4,067,564 คน
เชื่อหรือไม่ประเทศที่ชื่อชวนฉงนสงสัยแห่งนี้เคยไปเล่นฟุตบอลโลกมาเเล้วถึง 6 สมัย!!
อย่าเพิ่งตกใจ เมาริตาเนีย เคยเป็นประเทศอณานิคมของฝรั่งเศสและเคยเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินฝรั่งเศสมาแล้วในช่วงปี 1930 ก่อนที่จะประกาศตัวเป็นเอกราชหลังจากช่วงปี 1960 นั่นจึงถือว่าพวกเขามีส่วนร่วมกับฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายมาเเล้ว
หลังจากที่แยกประเทศเป็นของตัวเอง เมาริตาเนีย ก็ก่อตั้งสมาคมฟุตบอลของตัวเองครั้งแรกในปี 1961 และในปีดังกล่าวพวกเขาก็ได้ลงสนามในเกมอย่างเป็นทางการครั้งแรกกับ สาธารณรัฐ มาลากาซี่ย์ และจบลงด้วยความพ่ายแพ้ 1-5
ชัยชนะที่ท่วมท้นที่สุดของ เมาริตาเนีย เกิดขึ้นในปี 2006 ที่ผ่านมานี่เอง พวกเขาสามารถเอาชนะ โซมาเลีย ในเกมอุ่นเครื่องไปได้ 8-2 ส่วนเกมที่แพ้มากที่สุดนั้นเป็นช่วงตั้งไข่ของพวกเขาที่แพ้ให้กับ กีนี ไป 14-0 ในช่วงปี 1972
เมาริตาเนีย ไม่มีผลงานอะไรเด่นชัดมากมายันกทั้งในระดับโลกและระดับทวีปที่พวกเขาไม่เคยเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายเลยเเม้แต่ครั้งเดียว อย่างไรก็ตามพวกเขาเคยเข้ารอบแบ่งกลุ่มในการแข่งขันระดับภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ 1 ครั้งในปี 2014 ที่ผ่านมา
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากประเทศนี้ยังมีเรื่องชวนยิ้มอยู่บ้างเพราะเมื่อปี 2015 ที่ผ่านมา ในเกมบอลถ้วยนัดชิงชนะเลิศระหว่าง เอฟซี เทฟราห์-เซย์นา กับ เอซีเอส เคซาร์ ที่แข่งกันไปจนถึงนาทีที่ 65 เเละยังเสมอกันอยู่ 1-1 ทว่าสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดก็เกิดขึ้นเพราะ โมฮัมเหม็ด อูลด์ อาซิซ ประธานาธิบดีของเมาริตาเนียที่เข้าไปชมเกมในสนามออกอาการเบื่อจัดเลยสั่งยุติเกมเเล้วยิงจุดโทษกันตั้งแต่นาทีที่ 65 เพื่อหาผู้ชนะกันเสียอย่างนั้น
8. กายอาน่า
อันดับฟีฟ่าแร้งกิ้ง : 131
ประชากรในประเทศ : 735,554 คน
ดูจากชื่อและธงชาติอาจทำให้หลายๆท่านคิดว่าประเทศ กายอาน่า ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกา นั่นผิดถนัดเลยล่ะครับ
กายอานา มีชื่อประเทศอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสหกรณ์กายอานา ตั้งอยู่บริเวณพรมเเดนตะวันออกของ ซูรินาม และพรมแดนตอนใต้ของประเทศติดกับ บราซิล และพรมเเดนทางตะวันตกติดกับประเทศ เวเนซุเอล่า !! ใช่แล้วล่ะครับพวกเขาอยู่ในทวีปอเมริกาใต้นั่นเอง
ในส่วนของด้านฟุตบอลนั้นด้วยพรมแดนที่ก้ำกึ่งทำให้ กายอานา เลือกจะเป็นสมาชิกของโซนคอนคาเคฟในปัจจุบัน กายอานา แยกตัวเองออกมาจาก ตรินิเเดด และ โตเบโก ในปี 1966 ซึ่งหลังจากนั้น 5 ปีพวกเขาก็ไม่เคยมีเกมการเเข่งขันอย่างเป็นทางการเลย ท้ายที่สุดในเกมชิงแชมป์คอนคาเคฟ ในปี 1971 ก็เป็นครั้งแรกที่พวกเขาได้ลงสนามด้วยการพบกับ ซูรินาม ก่อนจะแพ้ไป 1-4
ระยะเวลาผ่านพ้นไปฟุตบอลของกายอาน่าเริ่มรวมกันเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น พวกเขาเริ่มเป็นสมาชิกของฟีฟ่าในปี 1978 และส่งทีมลงเเข่งขันเพื่อชิงตั๋วฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี 1978 ที่อาร์เจนติน่าเป็นเจ้าภาพทว่าที่สุดเเล้วพวกเขาก็ไปไม่ถึงรอบสุดท้าย
โดยปีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือปี 2006 ที่พวกเขาสามารถผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายศึก คอนคาเคฟ โกลด์ คัพ ได้สำเร็จ
9. บุรุนดี
อันดับฟีฟ่าแร้งกิ้ง : 138
ประชากรในประเทศ : 11,178,921
บุรุนดีคือประเทศโลกที่ 3 อย่างแท้จริง แม้จะมีประชากรอยู่ที่ราวๆ 11 ล้านคน แต่ประเทศนี้ก็ขึ้นชื่อว่าประเทศที่มีประชาชนอดอยากมากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก
ในส่วนเรื่องของฟุตบอลนั้น บุรุนดี เพิ่งรู้จักกับฟุตบอลจริงๆจังๆในช่วงยุคปี 1960 ก่อนจะลงสนามอย่างเป็นทางการเกมแรกในปี 1964 ด้วยการแพ้ อูกานด้า ไป 7-5 อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาราว 20 ปีต่อจากนั้นพวกเขาก็กลายเป็นหนึ่งในชาติสมาชิกของฟีฟ่า
แม้จะแยกแผ่นดินของตัวเองออกมาเป็นเอกเทศและกีฬาฟุตบอลเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ทว่า บุรุนดี ยังไม่มีผลงานเด่นชัดมากนักทั้งในระดับภูมิภาคที่ไม่เคยประสบความสำเร็จเข้าไปเล่นรอบแบ่งกลุ่มเเม้แต่ครั้งเดียว รวมถึงเกมระดับทวีปและระดับโลกอย่าง แอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ และ ฟุตบอลโลก พวกเขาก็ยังไม่เคยแม้แต่ผ่านรอบคัดเลือกรอบสุดท้ายแม้แต่ครั้งเดียว
ส่วนฟุตบอลลีกของ บุรุนดี เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 1972 โดยใช้ชื่อว่า บุรุนดี พรีเมียร์ลีก ในครั้งแรกนั้นมีทีมเข้าแข่งขัน 16 ทีมและผลัดกันเล่นเหย้าเยือน แต่ในปัจจุบันทั้งประเทศเหลือสโมสรฟุตบอลเพียง 12 ทีมเท่านั้นและมีเพียงดิวิชั่นเดียวอีกด้วย
10. โคโมรอส
อันดับฟีฟ่าแร้งกิ้ง : 143
จำนวนประชากรในประเทศ : 798,000 คน
ประเทศเล็กจากแอฟริกาประเทศนี้ใช้เวลาไม่ถึง 10 ปีขยับอันดับในฟีฟ่ามาร่วม 60 อันดับเลยทีเดียว
โคโมรอส เพิ่งจะมามีส่วนร่วมกับฟุตบอลในยุค 1970 พวกเขาเริ่มก่อตั้งสมาคมฟุตบอลครั้งแรกในปี 1979 นี่เองและลงเล่นเกมแรกในปีดังกล่าวกับ เมาริติอุส ก่อนที่พวกเขาจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไป 0-3
โคโมรอส เริ่มเข้ามาเป็นสมาชิกฟีฟ่าในช่วงปี 2010 และเริ่มส่งทีมเข้าเเข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2010 ที่ประเทศแอฟริกา ทว่าพวกเขาก็ยังห่างไกลความจริงมากนักโดยยังไม่เคยผ่านไปเล่นรอบคัดเลือกรอบสุดท้ายเลยแม้แต่ครั้งเดียว เช่นเดียวกับในการเเข่งขันระดับทวีปอย่าง แอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ ที่ยังไม่เคยผ่านรอบคัดเลือกเช่นเดียวกัน
ส่วนฟุตบอลลีกในประเทศ ใช้ชื่อว่า โคโมรอส พรีเมียร์ลีก ก่อตั้งขึ้นในปี 1979 พร้อมๆกับสมาคมฟุตบอลของพวกเขา ปัจจุบันลีกของ โคโมรอส แบ่งเป็น 2 ลีกคือ พรีเมียร์ลีก และ ดิวิชั่น 1 ในส่วนของดิวิชั่น 1 นั้นเนื่อด้วยปัญหาค่าใช้จ่ายในการเดินทางจึงทำให้ต้องแบ่งออกเป็นตามภูมิภาคสามโซนเพื่อหาทีมเพลย์ออฟกันในครั้งสุดท้าย