คำทำนาย!! ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา เมื่อร้อยปีที่แล้วท่านกล่าวไว้อย่างนี้?
ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา เป็นผู้มีศีลาจารวัตรที่งดงามและเคร่งครัดครูบาศรีวิชัย
เป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของชาวล้านนาคือการที่ท่านเป็นผู้นำในการสร้างทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพโดยพลังศรัทธาประชาชนเป็นจำนวนมาก ทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ซึ่งใช้เวลาสร้างเพียง 5 เดือนเศษ โดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐหรือส่วนราชการเลย
นอกจากนี้ ท่านยังทำนายบ้านเมืองในภายภาคหน้า ซึ่งก็คือปัจจุบันได้ตรงอย่างน่าขนลุก ความว่า ( ภาษากำเมือง )
“ต่อไปเบื้องหน้า? วัดจะหมอง มองจะห่าง หนตางจะเลี่ยน โฮงเฮียนจะดีคนบ่มีจะได้กิ๋นข้าว คนเฒ่าใส่เขี้ยวขาว แม่ฮ้างนางสาวจะนุ่งเตี่ยวป่าเฮ่วม่วนเหมือนปอย ภูดอยจะล้าน คนขี้คร้านจะได้กิ๋นดี คนบ่ดีหนีไปนอนสาดตูบกาดเต๋มบ้านเต๋มเมือง น้ำเหมืองเอาน้ำแม่ งัวควายบ่แพร่คนเฒ่าคนแก่บ่มีไผแอ่วหา ปู๋ปล๋าหนีน้ำ เอาน้ำตกกับถ้ำเป๋นตี้แอ่วตี้จุมคนจักชุมนุมกั๋นเป๋นกลุ่มเป๋นก้อน บ้านเมืองจะเดือดฮ้อน ละอ่อนสอนบ่ฟังกำคนใจ๋ดำมีทั่วประเทศ คนจักเหมือนผีเหมือนเผต ตึงแม่ญิงป้อจายผมมีบ่เกล้าข้าวมีบ่ต๋ำ หนตางดีบ่มีคนไต่ ฮอยคนเหมือนฮอยงู คนจักซานบนดินมาหนึ่งศอกน้ำบ่อออกอยู่บนเฮือน เครือเขาเลื่อนบนอากาศ คนฉลาดแป๋งควายเหล็กมาขายคนมีหูติ๊บต๋าติ๊บ ดำดินบินบนได้ จักมีในเบื้องหน้าแต้แหล่..ปี้น้องตังหลายเหย..ฯ”
โดยแปลเป็นภาษากลางได้ว่า
” ในอนาคตวัดวาอารามจะไม่ค่อยมีผู้คนเข้าไปทำบุญหรือถือศีลฟังธรรมครกมองตำข้าวก็จะไม่มีคนใช้ตำข้าวอีกถนนหนทางก็จะราบเรียบใช้เดินทางไปมาอย่างสะดวกสบาย โรงเรียนก็จะใหญ่โตคนยากจนก็จะมีข้าวกิน คนชราก็จะใส่ฟันปลอมเต็มปากแม่หม้ายนางสาวก็จะละทิ้งผ้าถุงหันไปสวมใส่กางเกงกันหมดป่าช้าก็จะครึกครื้นด้วยเสียงเพลง (เพลงแห่ศพ..บางแห่งมีวงดนตรีแสดงสด ๆ ขณะเผาศพหรือเปิดเพลงโปรดของผู้ตาย..)
ภูเขาก็ปราศจากต้นไม้ คนเกียจคร้านก็มีอยู่มีกินอย่างดีคนชั่วช้าก็ล้มตายไป มีร้านค้าขายอยู่ทั่วทุกมุมเมืองน้ำคลองซอยเล็กก็อาศัยน้ำจากแม่น้ำใหญ่ วัวควายก็ค่อย ๆ สูญพันธุ์ไปคนแก่คนเฒ่าก็ถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ปูปลาก็ลดหายไปจากลำน้ำผู้คนต่างชอบท่่องเที่ยวไปตามถ้ำและน้ำตก ผู้คนมีร่วมชุมนุมประท้วงกันอย่างมากมายบ้านเมืองจะเกิดความระส่ำระสายวุ่นวาย เด็ก ๆลูกหลานก็จะดื้อรั้นไม่ค่อยเชื่อฟังผู้ใหญ่ผู้คนไร้คุณธรรมน้ำใจก็จะมีอยู่ทั่วทุกมุมเมือง
ผู้คนก็จะเป็นเสมือนพวกภูตผีและพวกเปรตที่มีแต่ความละโมบโลภมากทั้งชายหญิงต่างไว้ผมยาวประบ่า ข้าวที่มีอยู่ก็ไม่ใช้ครกตำถนนหนทางดีแต่คนก็ไม่ใช้เท้าเดินกัน ร่องรอยของผู้คนก็คล้ายรอยงู(ล้อรถยนต์)ผู้คนก็จะเหาะเหินล่องลอยอยู่เหนือพื้นดินในบ้านเรือนก็มีก็อกประปามีน้ำกินน้ำใช้อย่างสะดวกสายไฟฟ้าสายโทรศัพท์มีโยงอยู่ทั่วไปในชุมชน คนที่มีความรู้ก็ผลิตรถแทรกเตอร์มาใช้ทำไร่ไถนาผู้คนต่างก็มีหูทิพย์ตาทิพย์ (โทรศัพท์-โทรทัศน์-อินเตอร์เน็ต)ผู้คนมีพาหนะทั้งรถไฟฟ้าใต้ดิน-บนดิน-ลอยฟ้า หรือเครื่องบินสิ่งเหล่านี้จะบังเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอนนะ พี่น้องทั้งหลาย?”
หมาย เหตุ : ในบางประโยคนั้น เป็นปริศนาธรรมที่ลึกซึ้งที่จะต้องตีปริศนาและขบคิด ค้นหาความหมายที่ถูกต้องครับถ้าท่านใดเป็นผู้รู้มาช่วยแปลด้วยจะเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ
ประวัติของครูบาศรีวิชัย
นาย อินท์เฟือน อาศัยอยู่ในหมู่บ้านกันดารมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากโดยเฉพาะชาวกะเหรี่ยงในช่วงนั้นบ้านปางยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งเมื่อนายอินท์เฟือนมีอายุได้ 17 ปี ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ?ครูบาขัตติยะ? หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ครูบาแฅ่งแฅะ” (หมายถึง ขาพิการ เดินขากะเผลก)เดินธุดงค์จากบ้านป่าซางผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้นชาวบ้านจึงนิมนต์ให้ท่านอยู่ประจำที่บ้านปางแล้วก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจำพรรษา
เด็กชายอินท์เฟือน จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเมื่ออายุได้ 18 ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่อารามแห่งนี้โดยมีครูบาขัตติยะเป็นพระอุปัชฌาย์ 3ปีต่อมา(พ.ศ. 2442) ได้เข้าอุปสมบทในอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวงอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ได้รับนามฉายาในการอุปสมบทว่า “สิริวิชโยภิกฺขุ” มีนามบัญญัติว่า พระศรีวิชัย หลังอุปสมบท
เมื่อ อุปสมบทแล้ว พระศรีวิชัย สิริวิชโยภิกขุได้กลับมาจำพรรษาที่อารามบ้านปาง 1พรรษาจากนั้นได้ไปศึกษากัมมัฏฐานและวิชาอาคมกับครูบาอุปละ วัดดอยแต อำเภอแม่ทาจังหวัดลำพูน ต่อมาได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครูบาวัดดอยคำและอีกท่านหนึ่งที่ถือว่าเป็นครูของครูบาศรีวิชัยคือ ครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวงซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน
ครู บาศรีวิชัย ได้รับการศึกษาจากครูบาอุปละ วัดดอยแต เป็นเวลา 1 พรรษาก็กลับมาอยู่ที่อารามบ้านปางจนถึง พ.ศ. 2444 อายุได้ 24 ปี พรรษาที่ 4 ครูบาขัตติยะได้จาริกออกจากบ้านปางไป (บางท่านว่ามรณภาพ)ครูบาศรีวิชัย จึงรักษาการแทนในตำแหน่งเจ้าอาวาส และเมื่อครบพรรษาที่ 5 ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านปางจากนั้นก็ได้ย้ายวัดไปยังสถานที่ที่เห็นว่าเหมาะสมคือบริเวณเนินเขาซึ่งเป็นที่ตั้งวัดบ้านปางในปัจจุบันเพราะเป็นที่วิเวกและสามารถปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดีโดยได้ให้ชื่อวัดใหม่แห่งนี้ว่า วัดจอมสรีทรายมูลบุญเรืองแต่ชาวบ้านทั่วไปยังนิยมเรียกว่า วัดบ้านปาง ตามชื่อของหมู่บ้าน
ครู บาศรีวิชัย เป็นผู้มีศีลาจารวัตรที่งดงามและเคร่งครัดท่านงดการเสพหมาก เมี่ยง บุหรี่ โดยสิ้นเชิง ท่านงดฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่เมื่ออายุได้ 26 ปี และฉันอาหารเพียงมื้อเดียวซึ่งมักเป็นผักต้มใส่เกลือกับพริกไทย บางครั้งก็ไม่ฉันข้าวทั้ง 5 เดือน ผักที่ท่านจะไม่ฉันเลยคือ ผักบุ้ง ผักปลอด ผักเปลวผักหมากขี้กา ผักจิก และผักเฮือด-ผักฮี้ (ใบไม้เลียบอ่อน) โดยท่านให้เหตุผลว่าถ้าพระภิกษุสามเณรรูปใดงดได้ การบำเพ็ญกัมมัฏฐานจะเจริญก้าวหน้าผิวพรรณจะเปล่งปลั่ง ธาตุทั้ง 4 จะเป็นปกติถ้าชาวบ้านงดเว้นแล้วจะทำให้การถือคาถาอาคมดี
คำสอนครูบาศรีวิชัย
ครู บาศรีวิชัยมีความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมะอันสูงสุดดังปรากฏจากคำอธิษฐานบารมีที่ท่านอธิษฐานไว้ว่า “?ตั้งปรารถนาขอหื้อได้ถึงธรรมะยึดเหนี่ยวเอาพระนิพพานสิ่งเดียว?” และมักจะปรากฏความปรารถนาดังกล่าวในตอนท้ายของคัมภีร์ใบลานที่ท่านสร้างไว้ทุกเรื่อง
สิ่ง ที่ทำให้ครู บาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของชาวล้านนาคือการที่ท่านเป็นผู้นำในการสร้างทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพโดยพลังศรัทธาประชาชนเป็นจำนวนมาก ทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ซึ่งใช้เวลาสร้างเพียง 5 เดือนเศษ โดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ
การ สร้างถนนขึ้นดอย สุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งครูบาศรีวิชัยได้รับคำเรียกร้องจากศรัทธาประชาชนให้ช่วยดำริและจัดการเรื่องนี้ จึงเริ่มลงมือสร้างเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477เวลา 10.00 นาฬิกา ณ เชิงดอยสุเทพด้านห้วยแก้ว โดยมี พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เป็นผู้ขุดจอบเป็นปฐมฤกษ์ การสร้างถนนสายนี้ใช้แรงงานเป็นจำนวนมากวันหนึ่งๆจะมีผู้คนช่วยทำงานประมาณวันละไม่ต่ำกว่า 5,000 คน ถ้าคิดมูลค่าแรงงานเป็นเงินก็คงมากมายมหาศาลทีเดียวการสร้างทางสายนี้ใช้เวลา 5 เดือน กับ 22 วัน จึงแล้วเสร็จ และเปิดให้รถขึ้นลงได้ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2478
ปัจจุบันท่านครูบาศรีวิชัยยังคงเป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยภาค เหนือโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเขาเผ่าต่างๆ โดยจะเห็นได้จากการที่ชาวเขากลุ่มใหญ่ในปัจจุบันก็ยังคงไม่กินเนื้อสัตว์ตามคำสอนของท่านครูบาศรีวิชัยที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ อีกทั้งท่านยังเป็นพระสงฆ์องค์แรกๆที่ทำให้ชาวเขาเลิกนับถือผีสางอีกด้วย