พิธีฮัจจ์คืออะไร มุสลิมทั่วโลกเริ่มประกอบพิธีฮัจญ์แล้ว เริ่ม 10 กันยายน 2559
การประกอบพิธีฮัจญ์ คือการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่นครมักกะหฺในเดือนซุลฮิจญะหฺ ตามวันเวลาและสถานที่ต่างๆ ที่ทางศาสนาอิสลามกำหนดไว้ ซึ่งศาสนกิจข้อนี้เป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทั้งชายและหญิง ทุกคนที่มีความสามารถในด้านร่างกาย ทรัพย์สิน และการเดินทาง ที่จะต้องปฏิบัติ
ผู้แสวงบุญชาวมุสลิมราว 1.5 ล้านคน เข้าร่วมประกอบพิธีฮัจญ์ประจำปี ซึ่งเริ่มขึ้นที่นครเมกกะซาอุดีอาระเบีย วันที่ 10 กันยายน 2559 เป็นต้นไป ปีนี้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นหลายประการ เพื่อป้องกันเหตุโศกนาฎกรรมเช่นกรณีที่มีการเหยียบกันตายเมื่อปีที่แล้วทำ ให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,000 คน
รายงานข่าวเปิดเผยว่าการการประกอบพิธีฮัจจ์ประจำปี 2559 ที่นครเมกกะ ประเทศซาอุดิ อาระเบียเริ่มแล้วตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน ในปีนี้ อิหร่านซึ่งเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตในพิธีฮัจญ์ครั้งที่แล้วมากที่ สุดงดส่งผู้แสวงบุญมายังซาอุดีอาระเบีย เนื่องจากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับซาอุดีอาระเบีย ในเรื่องมาตรการความปลอดภัยพิเศษเพื่อดูแลผู้แสวงบุญได้ ประกอบกับทั้งสองประเทศยังมีข้อขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกันอยู่ด้วย อีกทั้งอิหร่านประชากรส่วนใหญ่นับถือนิกายซีอะห์ ขณะที่ซาอุดิ อาระเบียนับถือนิกายสุหนี่เป็นส่วนใหญ่
ซาอุดีอาระเบียแถลงว่าไม่สามารถตอบสนองข้อเรียกร้องด้านความปลอดภัยในพิธีฮัจญ์ของอิหร่านที่เรียกร้องมากจนเกินไปได้
ผู้สื่อข่าวของบีบีซีรายงานว่า ในปีนี้มาตรการความปลอดภัยในสถานที่ประกอบพิธีฮัจญ์และเต๊นท์ที่พักของผู้ แสวงบุญ มีความเข้มงวดมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีการเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ในการจัดการควบคุมฝูงชน และให้ผู้แสวงบุญสวมสายรัดข้อมืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้การระบุตัวตนในสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปได้ง่ายขึ้น
พิธีฮัจญ์
การประกอบพิธีฮัจญ์ หรือ การทำหัจญ์ คือการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่นครมักกะหฺในเดือนซุลฮิจญะหฺ ตาม วันเวลาและสถานที่ต่างๆ ที่ทางศาสนาอิสลามกำหนดไว้ ซึ่งศาสนกิจข้อนี้เป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทั้งชายและหญิง ทุกคนที่มีความสามารถในด้านร่างกาย ทรัพย์สิน และการเดินทาง ที่จะต้องปฏิบัติ
ในช่วงฮัจญ์ ชาวมุสลิมทั่วโลกจะเดินทางเข้าสู่อาระเบีย โดยก่อนอื่นจะมีการทำ อิหฺรอม นั่นคือการตั้งใจว่าจะทำพิธีฮัจญ์ ก่อนการเข้าไปในแผ่นดินหะรอม(แผ่น ดินต้องห้าม) โดยจะปฏิบัติตามกฎของหัจญ์ อาทิเช่น การไม่สมสู่ การไม่ล่าสัตว์ในแผ่นดินหะรอม การไม่ตัดเล็บหรือผม การไม่เสริมสวยหรือใช้น้ำหอม ผู้ชายจะเปลี่ยน เครื่องแต่งกาย มาสวมผ้าเพียงสองผืน แล้วต่างก็จะมาชุมนุมกันที่ ทุ่งอะร็อฟะหฺ ในตอนเช้าตรู่ของวันที่เก้าของเดือนซุลฮิจญะหฺแล้วพอตกค่ำ ซึ่งตามปฏิทินฮิจญ์เราะหฺจะเป็นคืนที่สิบ เหล่านักแสวงบุญจะเดินทางผ่าน ทุ่งมุซดะลิฟะหฺ พักชั่วครู่หนึ่งก่อนที่จะมุ่งหน้าสู่ ทุ่งมีนา ก่อนเที่ยงของวันต่อไป
ส่วนชาวมุสลิมทั่วโลกที่ไม่ได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ก็จะเฉลิมฉลองทำบุญเลี้ยงอาหารที่บ้าน เรียกวันนี้ว่าวันอีดิลอัฎฮา ทีเรียกว่าอัฎฮาเพราะมีการเชือดสัตว์พลีให้ผู้คนรับประทานในยามดุฮา คือยามสายหลังตะวันขึ้น แต่ก่อนเที่ยง หรือชาวไทยเชื้อสายมลายูในห้าจังหวัดภาคใต้เรียกว่าวันรายอ (รายาฮาญี) ซึ่งแปลเป็นไทยตามตรงก็คือ วันใหญ่ นั่นเอง
นักแสวงบุญจะพักอยู่ที่ ทุ่งมีนา เป็นเวลาสามวัน เพื่อขอพรและบำเพ็ญตนตามพิธีฮัจญ์ หลังจากนั้นจึงเดินทางเข้ากรุงมักกะหฺ เพื่อฏอวาฟเวียนรอบ กะอฺบะฮฺ หรือที่เรียกว่า บัยตุลลอหฺ อันเป็นเสมือนเสาหลักของชุมทิศ ซึ่งตั้งอยู่ใน มัสยิด ฮะรอม(มัสยิดต้องห้าม) หลังจากนั้นผู้แสวงบุญก็จะเดินจากเนินเขาศอฟา สู่เนินเขามัรวะหฺ ซึ่ง มีระยะทาง ๔๕๐ เมตร ไปมาจนครบเจ็ดเที่ยว ระหว่างที่เดินก็จะกล่าวคำขอพรและคำวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้า เมื่อเสร็จพิธีนี้แล้วก็จะขริบผมหรือโกนหัว และผู้แสวงบุญก็จะหลุดพ้นจากภาวะอิฮฺรอม
การทำฮัจญ์เป็นพิธีกรรม ทางศาสนาที่เก่าแก่ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยศาสดาอิบรอฮีม การทำฮัจญ์เริ่มต้นขึ้นเมื่ออัลลอฮได้บัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม และศาสดาอิสมาอีล ผู้ เป็นลูกชายร่วมกันสร้าง บัยตุลลอฮฺ ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการเคารพบูชาอัลลอฮ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระองค์ก็ทรงบัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม เรียกร้องให้มนุษย์ชาติมาร่วมกันแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ชนรุ่นหลังได้อุตริรูปแบบการทำฮัจญ์ จนมันได้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิมที่อัลลอหฺได้ทรงกำหนดไว้ เช่น มีการนำ เทวรูปต่าง ๆ มาตั้งรอบ ๆ กะอฺบะหฺ เพื่อบูชาในระหว่างการทำหัจญ์และมีการเปลือยกายในยามทำพิธีฏอวาฟ พร้อมกับกู่ร้องและปรบมือ
จนกระทั่ง มาถึงสมัยของศาสดามุฮัมหมัด สิ่ง แรกที่ท่านปฏิบัติก็คือการทุบทำลายเทวรูปและเจว็ดรอบข้างกะอฺบะหฺจนหมดสิ้น และท่านก็ได้แสดงแบบอย่างของการทำฮัจย์ที่ถูกต้องให้บรรดาผู้ศรัทธาได้ ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงวันนี้