สาเหตุของการเกิดอัลไซเมอร์ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้
อัลไซเมอร์อาจเป็นโรคที่ทำให้อ่อนแรงได้มากที่สุด และชาวอเมริกันนับล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากโรคนี้ในแต่ละปี ระยะเวลาสิบปีของการวิจัยแสงให้เห็นว่า การสร้างโปรตีนที่เป็นพิษในสมอง (การสะสมของแอมีลอยด์ บีตา (amyloid beta; Aβ) และ ความผิดปกติของโปรตีนเทา (tau) สามารถนำไปสู่การเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ ยังมีบางสิ่งที่ยังไม่แน่ชัด นั่นก็คือปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้โปรตีนเหล่านี้เกิดการสะสม แต่มีการศึกษาล่าสุดที่ได้เริ่มอธิบายขั้นตอนและเปิดเผยให้เห็นสาเหตุที่เป็นไปได้ใหม่ๆของโรคอัลไซเมอร์ เราไปดูกันดีกว่าว่ามีสาเหตุอะไรบ้าง
ยาในกลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodizepine) เป็นยาที่ถูกใช้บ่อยในการรักษาความผิดปกติเช่น ความวิตกกังวล และอาการนอนไม่หลับ ยากลุ่มนี้ยังรวมไปถึงยาที่ได้รับความนิยมอย่าง ยาลอราซีแพม (Lorazepam) หรือเอติแวน (Ativan), ยาอัลปราโซแลม (alprazolam) หรือยาXanax, และยาClonazepam (Klonopin) ความเสี่ยงต่อสุขภาพและผลค้างเคียงที่มีมากขึ้นของการทานยาเหล่านี้ถูกเปิดเผยอย่างต่อเนื่อง มีการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ของอังกฤษ ได้ทำการติดตามชาวแคนาดา 1,796 คนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ และอีก 7,184 รายที่มรการควบคุมซึ่งดีต่อสุขภาพในช่วงเวลา 6 ปี พวกเขาพบว่า การทานยาพวกนี้มากกว่า 3 เดือน มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นถึง 51%
akerufeed.com
มีการคาดการณ์ว่าในแต่ละปี ชาวอเมริกันประมาณ 300,000 คนต้องทนทุกข์จากการกระแทกที่เกิดจากการเล่นกีฬา มีภาวะแทรกซ้อนมากมายที่อาจมาจากการบาดเจ็บของศีรษะ และการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอัลไซเมอร์ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย ขณะที่บางคนหายจากการป่วยเต็มที่ แต่ยังมีบางส่วนที่ต้องพบกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบที่ช่วยรักษาเนื้อเยื้อสมองที่เสียหาย หากการอักเสบนี้เรื้อรัง จะทำให้เซลล์ในสมองมีโอกาสน้อยลงในการล้างแอมีลอยด์ บีตา (amyloid beta) ออกจากสมอง และเป็นที่รู้กันดีว่าการสร้างโปรตีนชนิดนี้คือสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์
3. การนอนหลับไม่เพียงพอ
akerufeed.com
ความพยายามที่จะจัดสรรเวลาให้เหมาะสม ทั้งที่โรงเรียน, ที่ทำงาน, กิจกรรมเสริม, เพื่อน, สมาชิกในครอบครัว และงานอดิเรกอื่นๆ รวมถึความรับผิดชอบต่างๆเป็นสาเหตุทำให้คนจำนวนมากมีอาการอดนอนได้ การนอนไม่พออาจทำให้คุณเซื่องซึม, โมโหง่าย และมีสมาธิน้อยลง แต่ว่ามันยังสามารถเพิ่มความเร็วในการพัฒนาของโรคอัลไซเมอร์ได้ด้วย ผลการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Neurobiology of Aging แสดงให้เห็นว่า ปัญหาการนอนหลับนั้นเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไปในกลุ่มคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ การอดนอนเรื้อรังทำให้เกิดความเครียดกับร่างกายและสมอง จนสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้
4. ความเหงา
akerufeed.com
จากการศึกษาในวารสารประสาทวิทยา, ประสาทศัลยศาสตร์และจิตเวชศาสตร์ ได้พบความเชื่อมโยงกันระหว่างความเหงา และการพัฒนาของภาวะสมองเสื่อม ในสามปีของการศึกษา นักวิจัยได้ค้นพบว่าผู้ใหญ่ที่รู้สึกโดดเดี่ยวมีโอกาสที่โรคสมองเสื่อมจะพัฒนาถึง 1.63 เท่า สาเหตุที่แท้จริงและผลกระทบของการเชื่อมโยงนี้ยังคงมีการศึกษาต่อไป แต่นักวิจัยเเนะนำว่าให้เรามีการติดต่อกับคนอื่นๆด้วย
เมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็อย่างลืมทำตามเพื่อป้องการเกิดโรคอัลไซเมอร์กันนะ