เติ้งลีจวิน บทเพลงแห่งการต่อสู้ของชาวจีน
“กลางวันฟังเติ้งเฒ่า กลางคืนฟังเติ้งน้อย”
.
คำกล่าวของชาวจีนในช่วงศตวรรษ 80-90 ที่เอ่ยถึงสถานการณ์บ้านเมืองอันแสนวุ่นวาย ท่ามกลางไฟสงครามเย็นของจีนและไตหวันที่เกิดขึ้นแทบตลอดเวลา คนจีนจำนวนมากที่ผลัดพรากจากบ้านของตัวเองต้องไปอยู่ต่างถิ่นอันเกิดจากการปฏิวัติวัฒนธรรมของจีนในช่วงนั้นไม่ว่าจะเป็นไตหวัน หรือ ฮ่องกง ต่างมีบทเพลงของศิลปินหญิงคนนี้ขับกล่อมในยามค่ำคืน
.
บทเพลงของเติ้งลีจวิน
.
เติ้งลีจวิน หรือ เทเรซ่า เติ้ง ชาวจีนถูกหยิบยกให้เป็นเสมือนสัญลักษณ์การต่อสู้ของชาวจีนที่ใฝ่หาเสรีภาพในช่วงเวลาที่ประเทศจีนกำลังเต็มไปด้วยไฟแห่งเสรีภาพ กล่าวกันว่า เพลงของเธอถูกห้ามเปิดในประเทศจีนด้วยข้อหาว่า เป็นเพลงของศัตรูเสียด้วยซ้ำ กระนั้นเองกลับทำให้เพลงของเธอโด่งดังกว่าเดิม เมื่อตลาดมืดของจีนนั้นนำเทปและแผ่นเสียงของเธอลักลอบเข้ามาขายกันเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่า เพลงของเธอมีมูลค่าสูงในตลาดมืดของจีนยุคนั้นกันเลยทีเดียว
.
แม้ว่าจะเป็นบทเพลงรัก แต่เพลงของเติ้งลีจวินนั้นมีนัยยะถึงการเมืองและการพูดถึงอดีตอันสวยงามที่ทำให้บรรดาคนจีนทั้งหลายพากันคิดถึงบ้าน คิดถึงช่วงเวลาอันพาสุขของประเทศ ท่ามกลางสังคมของจีนในยุคคอมมิวนิสต์ที่ตรึงเครียดและเต็มไปด้วยความเลวร้ายของการโฆษณาชวนเชื่อ และคอรับชั่นของรัฐบาลในตอนนั้น
.
แม้ว่าจะเปลี่ยนขึ้นมาเป็นเติ้งเสียวผิงก็ตาม แต่การแบนเพลงของเธอยังคงเกิดขึ้นต่อไป จนมีคำแซวว่า กลางวันฟังเติ้งเฒ่า กลางคืนฟังเติ้งน้อย ขึ้นในหมู่ชาวจีนอันพูดถึง เติ้งลีจวินที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของคนจีนในช่วงนั้นไป
.
ปี 2524 เติ้งลีจวินโด่งดังจนถึงขีดสุดด้วยอัลบั้มที่มีชื่อว่า "ต้าน ต้าน โยว ฉิง" ซึ่งกล่าวกันว่า เพลงในอัลบั้มนี้ เป็นเพลงที่แต่งจากบทกลอนสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ่ง 12 บท ประพันธ์ดนตรีโดยนักประพันธ์จากเพลงยอดนิยมของเธอเพลงก่อนๆ โดยใช้ดนตรีร่วมสมัยและมีกลิ่นอายของโลกตะวันออกและตะวันตกอยู่ร่วมกัน
.
และนับจากนั้นเติ้งลีจวินก็ขึ้นแท่นนักร้องหญิงที่โด่งดังที่สุดในช่วงเวลาปี 2527-2532 นับว่า เป็นปีทองของเธอที่หลายคนรู้จักกันอย่างดีทีเดียว
.
ที่น่าสนใจนั้นก็คือ ในช่วงเวลาที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในเหตุการณ์ชุมนุมนักศึกษาในปี 2532 ซึ่งเหตุการณ์ปราบปรามของรัฐบาลขึ้นนั้น เติ้งลีจวินที่ไม่ได้รับอนุญาตไม่ให้เข้าประเทศมาตลอดนั้น เธอได้ตัดสินใจจัดคอนเสริ์ตขึ้นคู่ขนานกับการชุมนุมของนักศึกษาและประชาชนขึ้นที่ฮ่องกง พร้อมกับปราศรัยสนับสนุนประชาชนว่า
.
"บ้านของฉันอยู่คนละฝั่งกับภูผาใหญ่"
.
คำปราศรัยนี้บอกว่า เธออยู่ตรงกันข้ามกับฝ่ายคอมมิวนิสต์จีนนั้นเอง
.
มีคนถามเธอว่า ความฝันของเธอคืออะไร เธอตอบว่า การได้ไปแสดงสดในประเทศจีนนั่นเอง แม้ว่าเธอจะแสดงสดไปทั่วและมีแฟนคลับมากมาย (รวมทั้งเมืองไทยด้วย) ซึ่งตลอดชีวิต เธอไม่เคยไปเลยจนกระทั่งเขาปลดแบนเธอ เพราะสุดท้ายเธอไม่ได้กลับไปแสดงที่นั้นจนสิ้นชีวิต
.
เติ้งลีจวินเสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2538 ด้วยโรคหอบหืดขั้นรุนแรง ในระหว่างมาพักผ่อนที่เมืองไทย ประเทศที้เธอบอกว่าสบายใจที่สุดรองมาจากบ้านของเธอที่ไตหวัน ท่ามกลางความเสียใจของแฟน ๆ ทั่วโลก
.
ปัจจุบันเพลงของเธอยังคงอมตะและถูกขับขานในความทรงจำของผู้คนไม่มีวันเสื่อมคาย