ความตายของสตีฟ เออร์วิน ออสเตรเลียไม่มีวันเหมือนเดิม
ถ้าพูดถึงนักสารคดีสัตว์ระดับโลกที่หลายคนต้องรู้จัก คงไม่มีใครไม่นึกถึงสตีฟ เออร์วิน แห่งรายการ แอนนิมอล แพล็นเน็ต ได้อย่างแน่นอน นักผจญภัยและนักสัตววิทยาคนนี้เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของประเทศออสเตรเลียมาเป็นเวลานานแสนนานด้วยถ่ายทำแบบถึงลูกถึงคน การเข้าหาสัตว์ด้วยหลักการว่าด้วยสัตว์ทุกคนคือเพื่อนของเรา ความพยายามของเขาได้เปลี่ยนแปลงความคิดหลายอย่างให้กับคนดู การเข้าหาสัตว์อันตรายพวกนั้นและทำให้มันดูเชื่อง เป็นเสมือนเครื่องหมายการค้าของเขา ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จอย่างมากทีเดียว
.
ทว่าเออร์วินไม่เคยรู้ว่า เขาจะต้องตายเพราะความเชื่อของเขานี่แหละ
.
ย้อนเวลากลับไปในวันที่ 4 กันยายน 2549
.
ระหว่างถ่ายทำสารคดีที่มีชื่อว่า Ocean's Deadliest นั้น เออร์วินได้ถูกปลากระเบนธงแทงหางแหลมของมันเข้าที่ขั้วหัวใจพอดี แน่นอนว่า มันทำให้เขาเสียชีวิตทันที โดยที่ตำรวจและหน่วยกู้ภัยไม่สามารถช่วยชีวิตของเขาได้ด้วยซ้ำ
.
การตายของเออร์วิ่นเป็นเสมือนหนึ่งในล้านที่จะมีคนเสียชีวิตเพราะ ปลากระเบน เพราะ แทบจะไม่มีการรายงานว่า มีคนเสียชีวิต เพราะปลากระเบนเลยด้วยซ้ำ แม้จะมีรายงานการถูกทำร้ายแต่ก็ไม่ถึงตาย เออร์วิ่นจึงเป็นความซวยในแบบที่หลายคนพูดได้แค่ว่า โชคร้ายจริง ๆ
.
แน่นอนว่า สำนักข่าวทั่วโลกต่างลงข่าวการเสียชีวิตของเออร์วิ่นพร้อมกันด้วยความเศร้าโศกที่เราต้องเสียนักสัตวิทยามือดีคนนี้ไปแบบไม่มีวันกลับ หลายคนมองว่า การตายของเออร์วิ่นอาจจะเป็นการสิ้นสุดของการมองสัตว์ในแง่ดีของออสเตรเลียก็ได้
.
และก็เป็นอย่างที่คาด
.
ภายหลังการตายของเออร์วิ่นนั้นมีการเปิดสถิติให้เห็นว่า ในออสเตรเลียมีคนถูกสัตว์ทำร้ายมากขึ้นไปทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น จระเข้กัด หมาป่าทำร้าย จิ้งโจ้โจมตี หรือกระทั่งฉลามเองก็ตาม แน่ล่ะว่า ปีหนึ่งก็นับหลายร้อยหลายทีเดียว
.
หลายคนมองว่า นักท่องเที่ยวประมาทที่ไปเข้าใกล้พวกมันเกินไป แต่หลายคนส่ายหน้าแล้วบอกว่า มันเพราะ สตีฟ เออร์วิ่นไปสร้างภาพลักษณ์ดี ๆ ให้พวกมันมากเกินไปทำให้หลายคนไม่ทันระวังตัวแล้วโดนเล่นงานอย่างที่เห็น
.
แน่นอนว่า สื่อมวลชนของออสเตรเลียพยายามตั้งคำถามถึงการสร้างภาพของรัฐบาลที่มีด้านเดียวมากเกินไป และอย่างที่เห็นสถิติการถูกสัตว์ทำร้ายมันมากขึ้นทุกวัน
.
นั่นเองทำให้บรรดาคนบันเทิงโดยเฉพาะคนทำหนังหลายคนได้แก่ เกร็ก แม็คลีน ลุกขึ้นมาทำหนังสยองขวัญอย่าง Rouge ที่ว่าด้วยจระเข้กินคน ซึ่งสร้างความกลัวให้คนดูอย่างมาก หลายคนบอกว่า หนังทำลายภาพลักษณ์ของประเทศและสร้างภาพจระเข้ให้น่ากลัวเกินจริง แต่ตัวแม็คลีนกล่าวว่า
.
“จระเข้ถูกสร้างให้มีภาพลักษณ์ดีเกินจริงต่างหาก มันไม่ใช่สัตว์ที่ควรมายุ่งแต่แรกแล้ว”
.
นอกจากจระเข้ ออสเตรเลียยังมีหนังฉลามกินคน และสารพัดหนังเกี่ยวกับสัตว์ป่ากินคนถูกสร้างขึ้นมากมายเหมือนบอกเราให้รู้ว่า ยุคสมัยมองโลกในแง่ดีของสตีฟ เออร์วินจบลงแล้ว
.
ออสเตรเลียจะไม่มีวันเหมือนเดิมจริง ๆ