สภาพบ้านเมืองที่เต็มไปด้วย ความแออัดคับแคบแบบญี่ปุ่น (เมืองใหญ่) กลับพบ “พื้นที่ว่าง” สอดแทรกอยู่ทุกอณูของเมือง
『 พื้นที่ว่าง 』
ไม่รู้ว่าคิดไปเองรึเปล่า...
แต่รู้สึกว่าสภาพบ้านเมืองที่เต็มไปด้วย
ความแออัดคับแคบแบบญี่ปุ่น (เมืองใหญ่)
กลับพบ “พื้นที่ว่าง” สอดแทรกอยู่ทุกอณูของเมือง
。。。。。。。。。。。。。。。。。。
“พื้นที่ว่าง” ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง “ที่ว่าง”
แบบผืนที่ดินว่างเปล่า (เพราะญี่ปุ่นเหลือน้อยแล้ว)
แต่เป็นพื้นที่ว่าง ท่ามกลาง ‘ข้อจำกัด’ สภาพพื้นที่แวดล้อมที่อาจไม่ได้กว้างขวางนัก
.
.
.
เช่น ทางเท้า จะพยายามออกแบบไม่ให้มี
สิ่งกีดขวางที่ไม่จำเป็นมากนัก
หากจำเป็นต้องมี ก็จะออกแบบโดย
คำนึงถึงคนเดินมาก (กีดขวางให้น้อยที่สุด)
.
ทางเท้า...จึงเป็นทางเท้ามีไว้เพื่อเดินจริงๆ
。。。。。。。。。。。。。。。。。。
สวนสาธารณะน้อย-ใหญ่ ที่กระจายอยู่ทั่วเมือง
คิดว่าก็เป็นพื้นที่ว่างได้เหมือนกัน
.
.
ภายในสวน มักพบพื้นที่ส่วนกลาง/ ทางเดิน จุดหนึ่งๆ ที่เป็นทางแบบโล่งๆ ไม่มีการจัดวางร้านค้าใดๆ
ผู้มาใช้บริการก็ปล่อยใจไปกับความโล่งขณะเดินได้
+++++++++++++++
ยิ่งการจัดวางสวนหินแบบเซน ยิ่งไม่ต้องพูดถึง
โดยเฉพาะวัด Ryōan-ji ที่เกียวโต
ผมนี่ชอบมากกกกกกก
ยืนมอง-นั่งมอง ความว่างได้เป็นชั่วโมง
เป็นความรู้สึกที่บรรยายไม่ถูก ><
。。。。。。。。。。。。。。。。。。
มีคนบอกว่าพื้นที่ในบ้านที่เรา “ใช้งานจริงๆ”
.
.
.
ก็คือ...ที่ว่าง นี่แหล่ะ
.
.
.
เวลาไปตามเรียวกัง เข้าไปข้างในปุ๊ป
ก็จะพบกับเสื่อทาทามิ
ที่มีความว่างเปล่ากินพื้นที่ส่วนใหญ่ของห้อง
เมื่อจะนอนก็ปูฟุตง เมื่อเสร็จก็เก็บเข้าตู้
ปล่อยให้ความว่างทำหน้าที่ของมันต่อไป
+++++++++++++++
ในแง่ของการตกแต่งห้อง
สถาปนิกบางคนถึงกับให้ความเห็นว่า
.
.
.
“การปล่อยให้ห้องโล่ง...ก็ถือเป็นการตกแต่งอย่างหนึ่งเหมือนกัน”
.
.
.
เราไม่จำเป็นต้องควานหาเฟอร์นิเจอร์ใดๆ
มาจับยัดลงเต็มทุกพื้นที่เสมอไป
ความว่าง-ความไม่มี ก็เป็นเฟอร์นิเจอร์อย่างหนึ่ง ^^
。。。。。。。。。。。。。。。。。。
บริเวณด้านหน้าซุปเปอร์/ ห้าง (เช่น ตามในรูป)
มักทำบริเวณนึงเป็นพื้นที่ว่าง ”สาธารณะ”
ให้คนมาเดินเล่น-นั่งเล่นได้ โดยไม่จำเป็นต้อง
จ่ายตังค์ซื้อเครื่องดื่มใดๆ +มักมีพื้นที่ที่ใหญ่ใช้ได้เลย
.
.
.
ทางผู้พัฒนาที่ดิน อาจนำบริเวณพื้นที่ว่างนี้
มาพัฒนาให้คนมาเช่า-รายได้ก็เพิ่ม
แต่เลือกที่จะทำเป็นพื้นที่ว่างสาธารณะแทน
.
.
.
ผู้คนก็จะมานั่งเล่น-นั่งรอ ใช้เวลาเรื่อยเปื่อยตรงนี้
บริเวณแห่งนี้ มักสัมผัสได้ถึงพลังงานบางอย่าง
ที่มี “ชีวิตชีวา” เกิดการปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน
。。。。。。。。。。。。。。。。。。
ต้องยอมรับว่าก่อนหน้านี้
ผมก็ไม่ค่อยให้คุณค่าเรื่องพื้นที่ว่างนัก
(จริงๆคือไม่ค่อยได้สัมผัสมากกว่า ><)
แต่พอมาเจอกับตัว-สัมผัสด้วยตัวเอง
รู้สึกเลยว่าเป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม
.
.
.
จำได้ว่ามีนักปรัชญาคนหนึ่งบอกว่า
มนุษย์เรามี 4 องค์ประกอบ ‘ง่ายๆ’
ที่ทำให้มี “ความสุข” ได้ คือ
------------------------------------
1. ได้รักใครสักคน
2. ไร้ซึ่งความทะเยอทะยาน
3. ทำงานที่สร้างสรรค์
และ 4. ได้อยู่ในที่โล่ง (กว้าง+ว่าง) นี่แหล่ะ
------------------------------------
[จริงๆคนนี้ เน้นข้อ 4. เป็นอันดับแรก]
.
.
.
“พื้นที่ว่าง” ลองเอาไปปรับใช้กับชีวิตกันดูนะครับ ^^
-----------------------------------------
โบ๊ท
JapanPerspective