จับคนมาทำเชื้อโรค ประวัติศาสตร์มืดที่ญี่ปุ่นไม่ยอมรับ
“สิ่งที่เห็นมันไม่เคยเกิดขึ้น มันไม่ใช่เรื่องจริง”
.
เสียงของนักศึกษาชาวญี่ปุ่นตะโกนร้องดังระหว่างได้ชมภาพยนตร์เรื่อง Man behind the Sun หรือชื่อไทยว่า จับคนมาทำเชื้อโรค ผลงานTun fei Mous ที่ได้รับการขนานนามว่า หนึ่งในภาพยนตร์ที่โหดเหี้ยมที่สุดในประวัติศาสตร์
.
ความโหดเหี้ยมของมันเป็นเช่นไร คำตอบคือ หนังเรื่องนี้ถูกแบนในทุกประเทศ มีประเทศไทยของเรานี้แหละที่สามารถเข้ามาฉายในโรงได้โดยไม่ตัดทอน ไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น แถมมีดีวีดีขายอีกต่างหาก ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ต้องกระเสือกกระสนหาฉบับสมบูรณ์ของมันมาดูกัน แต่ที่โหดกว่านั่นคือ หนังเรื่องนี้เข้าไปฉายในญี่ปุ่น ทว่าโดนแบนทันที เพราะความรุนแรงทางด้านประวัติศาสตร์ของมัน
.
เรารู้กันดีว่า ญี่ปุ่นที่เปิดกว้างทางประวัติศาสตร์อย่างมาก ประเทศของเขาเป็นชาตินิยมก็จริง ๆ แต่ก็ผ่อนปรนกับประวัติศาสตร์อย่างมากโดยเฉพาะสื่อต่าง ๆ ทั้งหนัง การ์ตูน เกม ที่สามารถนำประวัติศาสตร์มาผลิตใหม่ได้ในเชิงต่าง ๆ โดยไม่มีการตั้งแง่ว่า ลบหลู่ หรือ ดูหมิ่นเกียรติบุคคลนั้น ๆ เลย แถมสื่อพวกนี้ยังชอบให้คนญี่ปุ่นเข้าใจประวัติศาสตร์มากขึ้นเสียอีก
.
กระนั้นก็มีเรื่องหนึ่งที่ญี่ปุ่นพยายามลืม ๆ และไม่พูดถึงนั่นคือ สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะประวัติศาสตร์มืดที่นานกิง ประเทศจีน ที่ญี่ปุ่นบุกไปยึดครองและทำร้ายชาวจีนจำนวนหลายล้านอย่างโหดเหี้ยมผิดมนุษย์นั่นเอง
.
เรื่องราวที่นานกิงถูกเล่าขานมานานและผ่านทั้งบันทึกประวัติศาสตร์และคำบอกเล่าของผู้รอดชีวิตที่บอกว่า ที่นี่ประดุจดั่งนรกบนดิน
.
นานกิงมีผู้เสียชีวิตราว 250000-300000 คน ตามการคาดการณ์เพราะไม่มีการบันทึกเอาไว้อย่างชัดเจน เนื่องจากบันทึกของการเสียชีวิตนั้นถูกทหารญี่ปุ่นทำลายไปหมดแล้ว ดังนั้นไม่แปลกว่า ประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นรวมทั้งหนังสือจะไม่มีบันทึกเรื่องนี้เอาไว้เลย
.
ทั้งที่การกระทำที่ระบุได้นั้นโหดเหี้ยมเกินไปมนุษย์ด้วยซ้ำ ทั้งการฆ่า ทรมาน และ ข่มขืนราวกับฝ่ายตรงข้ามไม่ใช่คน
.
เราจึงได้ดูหนังที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นานกิงนี้หลายครั้งไม่ว่าจะเป็น Flower of War ของ จางอี้โหมว หรือ City of life of death ก็เสนอภาพความโหดร้ายของเหตุการณ์นี้อย่างชัดแจ้งจนหดหู่ กระนั้นเอง Man behind the sun กลับเป็นหนังที่พูดถึงเหตุการณ์การรุกรานของจีนอย่างน่าสลดหดูหู่และชวนให้อึ้งได้ทุกนาที
.
Man Behind the Sun นั้นมีการถกเถียงสรุปแล้วเรื่องนี้อยู่ที่ไหนกันแน่ ซึ่งตัวผู้กำกับได้ตีคลุมเหตุการณ์ในช่วงแผ่นดินจีนมารวมกัน พร้อมกับเน้นไปยังค่ายทดลองที่ 731 ทางตอนเหนือของจีน รวมกับความโหดร้ายของนานกิง ทว่า มีการตีคลุมเหตุการณ์การบุกรุกของญี่ปุ่นได้น่าสลดใจพอกันยิ่ง
.
จับคนมาทำเชื้อโรคนั้นน่าสนใจอย่างไร เพราะ มันคือ หนังที่ผู้กำกับลงทุนเดินทางไปยังสัมภาษณ์ชาวจีนและทหารญี่ปุ่นที่เคยอยู่ในเหตุการณ์และเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อสืบค้นข้อมูลที่ยังหลงเหลืออยู่เพื่อนำมาใช้เขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้และผลออกมาคือ นี่คือ หนังที่พูดการกระทำของมนุษย์ที่มีต่อมนุษย์ด้วยกันอย่างโหดเหี้ยมที่สุดและน่ากลัวที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา
.
“จงเชื่อในสิ่งที่คุณเห็น ซึ่งทุกคนในโลกไม่คาดว่าจะได้เห็นแต่มันเกิดขึ้นได้ และ มันได้เกิดขึ้นแล้ว จับคนมาทำเชื้อโรค”
.
คำโปรยจากโปสเตอร์หนังฉบับฉายในไทยที่เข้าฉายบ่งบอกถึงภาพที่ไม่น่าเชื่อว่า มันจะเกิดขึ้นที่หนังจะถ่ายทอดออกมาให้เห็น
.
ตัวหนังเต็มไปด้วยภาพความโหดร้ายที่เกิดขึ้นหลังกองทัพญี่ปุ่นยึดประเทศจีนได้ ในค่ายหทารกักกันเชลย 731 ของกองทัพญี่ปุ่น ซึ่งตัวหนังให้เราได้เห็นว่า นอกจากการฆ่าทารุณที่เกิดขึ้นในเรื่อง หรือข่มขืนอันน่าสลดใจแล้วนั้น เรายังได้เห็นว่า ทหารญี่ปุ่นนับคนจีนมาทดลองอย่างไร้มนุษยธรรม ไม่ว่าจะเป็น ทหารญี่ปุ่นบังคับให้หญิงชาวจีนเอามือจุ่มลงไปในน้ำแข็งเย็นจัดแล้วให้เอามือจุ่มลงในน้ำร้อนเดือด ๆ ก่อนจะแท่งโลหะกะเทาะเนื้อจนหลุด หรือ ชายจีนถูกจับไปไว้ในห้องความดันจนตัวค่อย ๆ บวมเรื่อย ๆ ก่อนจะตายอย่างอนาถ หรือ การจับเด็กจีนมาทดลองและผ่าท้องกันสด ๆ ซึ่งผู้กำกับใช้ศพเด็กจริง ๆ มาผ่าโชว์กัน รวมทั้งความโหดเหี้ยมนานา ๆ ที่ทำให้เรารู้สึกว่า ไม่ไหวว่ะ หนังเรื่องนี้
.
แต่ที่เห็นนั้นเป็นแค่หนัง เพราะเรื่องจริงนั่นโหดร้ายกว่านั้นอีกจนเรายากจะจินตนาการได้
.
“มารูต้า” คือคำที่ชาวญี่ปุ่นใช้เรียกคนจีนในค่ายว่า สิ่งที่มีชีวิตไร้จิตใจ ซึ่งบอกว่า พวกเขาไม่ได้มองคนจีนเหล่านั้นเป็นมนุษย์เลย
.
บาดแผลที่นานกิงเป็นเรื่องราวข้อพิพาทที่ญี่ปุ่นและจีนไม่สามารถมองหน้ากันติด แม้ว่าจะมีการขอโทษจากทั้งจักรพรรดิญี่ปุ่น หรือ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถชดเชยได้ และจีนก็เกลียดหน้าญี่ปุ่นมากด้วยเหตุผลนี้เช่นกัน
.
รวมทั้งประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่ไม่บันทึกเรื่องนี้ด้วย
.
ตอนที่หนังเรื่องนี้เข้าฉายในญี่ปุ่นนั้นมันถูกประท้วงอย่างหนักและต่อต้านจากทางรัฐบาลและถูกสั่งเพิกถอนออกไปอย่างไม่เคยมีมาก่อน แต่ที่หนักคือ มีการข่มขู่จะเผาโรงหนังกันทีเดียว สุดท้ายหนังก็ถูกถอดออกไปจริง ๆ แต่อย่างน้อยผู้กำกับก็ได้มีโอกาสนำหนังไปฉายให้นักศึกษาญี่ปุ่นได้ชมปฏิกิริยาของเขาก็ไม่ต้องแปลกใจนักว่า พวกเขาจะสลดใจที่สำคัญหลายคนปฏิเสธว่า มันไม่ได้เกิดขึ้นจริง ๆ
.
แน่ล่ะว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในหนังเรื่องนี้หรือหนังที่สะท้อนภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ได้มาชี้ช่องบอกว่าใครผิด แต่สิ่งที่มันบอกเราคือ อย่าให้มันเกิดขึ้นอีกก็พอ และเรียนรู้เหตุการณ์นี้ไปพร้อม ๆ กัน
.
พอกันที่มนุษย์จะฆ่ากันเอง แต่เสียดายที่มันอาจจะไม่มีวันเป็นจริง
.
(ภาพของผู้รอดชีวิตนานกิงจุดธูปคารวะวิญญาณของชาวนานกิงที่เสียชีวิต)
.
(ข้อมูลจาก http://www.mcot.net และ หนังสือฟิลม์ไวรัสสางสำแดง)
หน่วยนรก731
.......หน่วยงานนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "กรมวิจัยค้นคว้าป้องกันโรคระบาดแห่งกองทัพบก" มีสายบังคับบัญชาขึ้นตรงกับหน่วยงานสารวัตรทหารบก ( เคมเปอิไต ) มีจุดประสงค์เพื่อการพัฒนาอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง หรืออาวุธเคมีและชีวภาพ
......หน่วย 731 นั้นเป็นชื่อรหัสลับ มีฐานปฏิบัติการที่เมืองฮาร์บิน ในเขตปกครองของรัฐบาลหุ่นเชิดหม่านจูกั๋ว การปฏิบัติการของหน่วยนี้ใช้พลเรือนและเชลยศึกมาทำการทดลองทั้งจากจีน เกาหลี รัสเซีย อังกฤษ ดัตช์ เป็นต้น
.......มีการเปิดเผยข้อมูลในการสัมมนาเรื่อง
" อาชญากรรมในสงครามแบคทีเรียนานาชาติ " ประจำปี 2002 ว่า มีจำนวนเหยื่อที่ถูกฆ่าตายโดยกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ทั้งในการใช้อาวุธชีวภาพและถูกนำไปทดลอง มีจำนวนทั้งสิ้น 580,000 คน !!! ประกอบกับมีข้อมูลที่ได้จากเอกสารค้นคว้าวิจัยในการทดลองของหน่วย 731 ระบุว่ามีการใช้มนุษย์ทดลองอาวุธเคมีชีวภาพ ตั้งแต่ปี 1937 - 1945 ไม่ต่ำกว่า 200,000 คนเฉพาะที่เป็นเหยื่อชาวจีน
.......โดยผู้ที่บัญชาการหน่วย731 คือพลโทนายแพทย์ ชิโระ อิชิอิ ซึ่งภายหลังญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลก เขาถูกนำตัวไปขึ้นศาลอาชญากรสงคราม แต่ไม่ได้รับการลงโทษแต่ประการใด เนื่องจากได้รับความคุ้มครองจากรัฐบาลสหรัฐฯ ? เขาถูกส่งไปยังรัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ด้านการค้นคว้าวิจัยอาวุธชีวภาพให้กับเพนตาก้อน ( หน่วยงานกลาโหมของสหรัฐฯ) และเสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งที่ลำคอในวัย 67 ปี
.......เมื่อใกล้สิ้นสุดสงครามอิชิอิสั่งการให้สมาชิกของหน่วยทุกคนรักษาความลับเท่าชีวิต และทำลายสิ่งปลูกสร้างต่างๆของหน่วย 731 จึงไม่มีการเปิดเผยภารกิจนี้ออกสู่สาธารณะในเบื้องต้น ที่น่าตกใจคือ บุคลากรที่เข้าร่วมหน่วยนี้ ภายหลังสงครามโลกยุติก็ประกอบอาชีพที่ดีมีฐานะทั้งนักการเมือง นักธุรกิจ นายแพทย์ อาจารย์มหาวิทยาลัย