การกลั่นแกล้งในญี่ปุ่น ด้านมืดของโรงเรียน
ถ้าพูดถึงด้านมืดของญี่ปุ่นที่ใครหลายยอมรู้จักคงไม่พ้นการกลั่นแกล้งในโรงเรียน อันเป็นเสมือนสิ่งที่อยู่คู่กับญี่ปุ่นมานานแสนนาน หากการฆ่าตัวตายคือ ภาพลักษณ์หนึ่งของญี่ปุ่นแล้วล่ะก็การกลั่นแกล้งก็เป็นสิ่งที่อยู่ติดกับความเป็นญี่ปุ่นชนิดแยกกันไม่ออก
.
เมื่อปี 2010 ที่ผ่านมาพบว่า สถิติการกลั่นแกล้งกันในโรงเรียนของญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
.
โดย ผลการสำรวจของกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีญี่ปุ่นพบว่า สถิติการกลั่นแกล้งในโรงเรียนประถมศึกษาอยู่ที่ 35,988 ครั้ง มัธยมศึกษาตอนต้น 32,348 ครั้ง และมัธยมศึกษาตอนปลาย 6,617 ครั้ง หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 จากในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว รวมเป็น 75,295 กรณีทีเดียว
.
แถมกรณีการฆ่าตัวตายของบรรดาเด็กนักเรียนในญี่ปุ่นก็เพิ่มสูงขึ้น สาเหตุสำคัญหลัก ๆ ของการฆ่าตัวตาย ก็คือ การถูกกลั่นแกล้งที่โรงเรียน
.
การกลั่นแกล้งในโรงเรียนมีหลายระดับจากเบาไปหนัก ตั้งแต่ การเยาะเย้ยถากถาง เอาของไปซ่อนบ้าง กลั่นแกล้งด้วยการทำลายข้าวของบ้าง หรือ หนักเข้าจะเป็นทำร้ายร่างกายแบบเบาะ ๆ อย่าง แปรงลบกระดาษใส่หัว เอามุดใส่ในรองเท้า เอาสิ่งมีชีวิตอย่างกบ งูไปใสในเกะ หรือ หนักเข้าคือ ทำร้ายร่างกาย กระทั่งให้ผู้ชายมาข่มขืนแล้วแบล็คเมล์ไว้ก็มีเหมือนกัน
.
กรณีการฆ่าตัวตายที่โด่งดังและได้รับความสนใจจากสื่อมากที่สุดคงไม่พ้น กรณี ของยูมิ เด็กสาววัย 12-13 ปีที่ตัดสินใจกระโดดตึกเพื่อฆ่าตัวตายจากคอนโดมิเนียมของเธอสร้างความตกตะลึงให้ครอบครัวและสังคมเป็นอันมาก
.
"มันไม่มีวี่แววมาก่อนเลยว่ายูมิจะฆ่าตัวตาย เธอเป็นเด็กที่ติดพ่อมาก เราไปว่ายน้ำด้วยกัน เล่นสกีด้วยกัน และเราชอบเดินทางไปที่ต่างๆด้วยกัน มันต้องมีอะไรผิดพลาดบางอย่างเป็นแน่"
.
พ่อของเธอกล่าว ในขณะที่แม่ของเธอเชื่อว่า ยูมิถูกกลั่นแกล้งที่โรงเรียนแน่นอน เพราะหลายเดือนก่อน ยูมิเล่าให้ฟังว่า เธอถูกเพื่อนร่วมชั้นบางคนพูดจาเยาะเย้ยดูหมิ่น เสียดสี
.
“ดิฉันได้แจ้งปัญหานี้ให้กับครูประจำของเธอให้รับทราบ และครูก็ตอบว่า ครูจะจัดการกับปัญหานี้ให้แต่แล้วก็เงียบหายไป เราจึงสันนิษฐานว่า ปัญหาน่าจะได้รับการแก้ไขแล้ว"
.
แม่ของยูมิกล่าว
.
เรื่องราวของยูมิถูกยืนยันโดยสมุดของเธอว่า เธอตัดสินใจฆ่าตัวตายมาจากเพื่อนบางคน การเรียนและการสอบ
.
ครอบครัวของเธอยังคงต่อสู้เพื่อที่จะพิสูจน์ว่า การที่ลูกของเธอฆ่าตัวตายเป็นเพราะ การกลั่นแกล้งที่โรงเรียน และมองว่า โรงเรียนไม่ยอมปกป้องลูกของเขา
.
อีกกรณีหนึ่งเป็นการฆ่าตัวตายของเด็กชายอายุ 13 ปีที่ชื่อว่า เรียว มุระมัตสึ เด็กหนุ่มจากจังหวัดอิวาเตะที่เสียชีวิตด้วยการถูกรถไฟทับจนเสียชีวิต ซึ่งตำรวจสรุปว่า เป็นการฆ่าตัวตาย
.
หลักฐานคือ สมุดของเขาที่เขียนถึงแรงจูงใจที่บอกว่า เขาตั้งใจฆ่าตัวตาย
.
"เราไม่เคยได้รับโทรศัพท์จากบรรดาคุณครูที่โรงเรียนเลยซักครั้งเกี่ยวกับปัญหาที่เขาเจอ" คุณพ่อพูดทั้งน้ำตา "เนื้อหาในสมุดบันทึกของเขาคือการร้องขอความช่วยเหลือของเขา"
.
พ่อของเรียวกล่าว
.
ทางโรงเรียนให้ข้อมูลว่ามุระมัตสึอยู่ชมรมบาสเก็ตบอล เขาขาดเรียน 5 วันนับตั้งแต่โรงเรียนเปิดเทอมในเดือนเมษายน แต่ทางโรงเรียนไม่ทราบถึงปัญหาที่เกิดรอบตัวเขาเลย
.
แต่คำให้การของเพื่อนร่วมห้องกลับไปอีกทาง คุณแม่ของนักเรียนหญิงคนหนึ่งในห้องบอกว่าลูกสาวเธอเล่าว่ามีนักเรียนคนหนึ่งรังแกมุระมัตสึโดยเททรายใส่ตัวเขาในช่วงฝึกซ้อมกีฬา พ่อแม่นักเรียนอีกหลายคนก็บอกว่าลูกๆ ของพวกเขาเล่าว่าเคยเห็นมุระมัตสึถูกกลุ่มนักเรียนชายทำร้ายร่างกายอย่างหนัก
.
กลายเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เขาฆ่าตัวตาย
.
สถานการณ์การฆ่าตัวตายที่ลุกลามมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้สื่อญี่ปุ่นหลายประเภททั้งไลท์โนเวล นิยาย ซีรีย์กระทั่ง การ์ตูนพยายามเสนอเรื่องนี้ให้ทุกคนทราบถึงความมืดมิดภายใยโรงเรียนที่ดูภายนอกอาจจะสวยงาม แต่จริง ๆ แล้วมันคือ สังคมญี่ปุ่นที่ถูกจำลองขึ้นนั่นเอง
.
สื่อทั้งหมดพยายามบอกคนญี่ปุ่น การกลั่นแกล้งมันไม่ใช่ปัญหาเล็ก ๆ แต่เป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกคนจะต้องแก้ไข
.
"ประชาชนได้ตั้งข้อสังเกตว่า การศึกษาสร้างความกดดันต่อเยาวชนซึ่งทำให้เกิดความเครียดและนำไปสู่การกลั่นแกล้งกันภายในโรงเรียน ประเด็นปัญหาใหญ่อีกหนึ่งปัญหาก็คือ โรงเรียนและคณะกรรมการการศึกษาไม่ยอมรับความจริงที่ว่า มีการกลั่นแกล้งกันจริงๆในโรงเรียน" โฮริกูชิ นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Tokyo's Temple University กล่าว
.
การกลั่นแกล้งกำลังขยายตัวมากขึ้นและเป็นภัยเงียบที่สั่งสมกันในโรงเรียนมานานแสนนาน ซึ่งมีความพยายามจะแก้ไข แต่ก็ยังทำไม่สำเร็จอยู่เช่นเดิม
คงต้องดูกันว่า สถานการณ์การกลั่นแกล้งของญี่ปุ่นนั้นจะไปจบลงทีไหน