ความเป็นมาของ “วันเข้าพรรษา คือ วันงดดื่มสุราแห่งชาติ”
ความเป็นมาของวันงดดื่มสุราแห่งชาตินั้น เริ่มต้นจากการที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) และองค์กรภาคี ได้รณรงค์โครงการงดเหล้าเข้าพรรษามาตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา พบว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จากปกติที่เคยมีผู้งดเหล้าเข้าพรรษาร้อยละ 15 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40-50 โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งหากรัฐบาลรับรองให้มี "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ยิ่งเป็นการสนับสนุนธรรมเนียมปฏิบัติที่ดีงามนี้ให้ดียิ่งขึ้น โดยมีการสำรวจความคิดเห็นผ่านสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ในปี 2549 พบว่าประชาชนร้อยละ 88.6 เห็นด้วยกับ การกำหนดให้มี "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” 1 วันต่อปี และเห็นว่า "วันเข้าพรรษา”ควรเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ร้อยละ 61.6
ปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลได้ประกาศกำหนดให้ "วันเข้าพรรษา” ของทุกปี เป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ”ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 โดยให้เริ่มต้นใช้บังคับในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 (วันเข้าพรรษาของปีนั้น)
ปีถัดมา พ.ศ. 2552 รัฐบาลยังได้ประกาศกำหนดให้ "วันเข้าพรรษา” เป็นวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยร่วมกันตั้งสัจจะอธิษฐานรักษาศีล 5 งด-ลด-ละ- เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันเข้าพรรษา และในช่วงตลอด 3 เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษาอันจะเป็นพื้นฐานในการที่จะเลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอดไป เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย
ความสำคัญของ "วันเข้าพรรษา คือวันงดสุราแห่งชาติ”
วันงดดื่มสุราแห่งชาติ เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา ตรงกับวันเข้าพรรษาของทุกปี โดยมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 4 ประการ ดังต่อไปนี้
- เป็นวันยะระดับให้ศีลข้อที่ 5 คือเว้นจากการดื่มสุราและของมึนเมา ปรากฏอย่างเป็นรูปธรรมในเชิงกิจกรรมเป็นครั้งแรกในโลก
- เป็นวันที่ประชาคมส่วนใหญ่ที่เป็นพุทธศาสนิกชนจุดประเด็นผลักดันให้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
- เป็นวันที่ประกาศให้เป็นวันสำคัญทางศาสนาของประเทศ
- เป็นวันตั้งต้นให้เกิดการรักษาศีล 5 และงดเหล้าตลอดเวลา 3 เดือน
วันงดดื่มสุราแห่งชาติ
วันงดดื่มสุราแห่งชาติ เกิดขึ้นหลังจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานได้ 2,600 ปี
คณะรัฐมนตรีมีมติ ประกาศให้ "วันเข้าพรรษา” เป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ”
วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา (วันงดดื่มสุราแห่งชาติ) กระทรวงสาธารณสุข ร่วมรณรงค์ให้คนไทย ลด ละ เลิกดื่มเหล้า ชำระล้างจิตใจ ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จาก สถิติการดื่มเหล้า นอกจากเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ และอุบัติเหตุทางจราจรแล้ว ยังเป็นสาเหตุของความรุนแรง ครอบครัวแตกแยก เกิดการหย่าร้าง กว่า 100,000 รายในปี 50 และสาเหตุก่อทะเลาะวิวาท จนได้รับบาดเจ็บเข้ารักษาพยาบาลมากถึงร้อยละ 45 และเกิดคดีอาณาทางเพศสูงถึงร้อยละ 35 ด้วย ร้านค้า ร้านขายของชำ และสถานประกอบการทุกแห่งทั่วประเทศ ให้หยุดบริการห้ามจำหน่ายสุรา หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท