ระวัง!! รูมาตอยด์ ปวดข้อเรื้อรัง โรคร้ายทำลายกระดูก
โรครูมาตอยด์ อาการข้ออักเสบที่มีลักษณะเรื้อรัง ถึงเวลารู้จักกับโรครูมาตอยด์ให้มากขึ้น
ดูกันสิว่าที่จริงแล้ว โรครูมาตอยด์เกิดจากอะไร ... โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid) คือกลุ่มอาการของโรคที่มีการอักเสบของทุกระบบในร่างกาย แต่ที่จะเห็นได้ชัดที่สุดก็คือ บริเวณเยื่อบุข้อ และเยื่อบุเส้นเอ็น โดยลักษณะเด่นของโรคนี้คือ มีการเจริญของเยื่อบุข้ออย่างมากจนทำให้เกิดการลุกลามและทำลายกระดูกในที่สุด นอกจากนี้ยังอาจมีอาการเกี่ยวข้องกับระบบอื่น ๆ ในร่างกายได้อีก เช่น ตา เส้นประสาท หรือกล้ามเนื้อ เป็นต้น
ส่วนสาเหตุของการเกิดโรคนั้นยังไม่แน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่าโรคนี้เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อบางชนิด หรือเกิดจากพันธุกรรมที่ผิดปกติ นอกจากนี้ยังพบว่าการสูบบุหรี่สามารถเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคข้ออักเสบได้อีกด้วย ....
อาการโรครูมาตอยด์ จะสามารถสังเกตเห็นได้ชัดจากความผิดปกติเกี่ยวกับไขข้อ โดยส่วนใหญ่ในระยะแรกจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดตามข้อ ข้อต่าง ๆ ในร่างกายอาจมีอาการฝืดขัดเนื่องจากเนื้อเยื่อบุข้อหนาตัว ส่วนใหญ่มักจะเป็นในตอนเช้า แต่เมื่ออาการเริ่มชัดเจน บริเวณข้อต่าง ๆ จะมีอาการบวม ร้อน และปวด ซึ่งบางรายก็อาจจะมีอาการแบบเฉียบพลันรุนแรงได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังอาจมีไข้ เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดร่วมด้วย ในเคสที่รุนแรง อาการที่แสดงออกอาจเกิดขึ้นในระบบการทำงานอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น ตา และปอด หรือมีตุ่มขึ้นตามตัวได้เช่นกัน วิธีการสังเกตว่าตนเองเป็นโรครูมาตอยด์หรือไม่
สามารถเช็กได้ดังนี้ค่ะ
-มีอาการอักเสบเรื้อรังของข้อต่อในร่างกายหลาย ๆ ข้อพร้อมกัน และมีอาการติดต่อกันเกิน 6 สัปดาห์
-บริเวณที่อักเสบส่วนใหญ่จะเป็นข้อมือ ข้อโคนนิ้วมือ ข้อเข่า ข้อเท้า มีอาการปวด บวม และเมื่อกดจะมีอาการเจ็บ
-มีอาการข้อฝืด ข้อแข็ง ไม่สามารถขยับตัวได้สะดวก ในเวลาเช้าหลังตื่นนอน และจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
จึงจะเริ่มขยับข้อต่าง ๆ ได้
-มีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยทั้งตัว มีไข้ต่ำ ๆ น้ำหนักลด ต่อมน้ำเหลือง
และหลอดเลือดอักเสบ และโลหิตจาง .... โรครูมาตอยด์เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากใน
กลุ่มอายุ 30-50 ปี และพบผู้หญิงป่วยมากกว่าผู้ชายถึง 5 เท่า แต่ถ้าหากมีอาการในเด็ก อาการที่เกิดจะต่างออกไป
และมีความรุนแรงมากกว่า ....
โรครูมาตอยด์ มีวิธีการรักษาที่หลากหลาย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการใช้ยาเพื่อควบคุมอาการ หรือการยับยั้งไม่ให้ข้อถูกทำลายมากขึ้น แต่วิธีที่ได้ผลมากที่สุดก็คือ การผ่าตัดนั่นเอง
โดยวิธีการรักษามีดังนี้ค่ะ
-การใช้ยารักษา ยาที่มักใช้กันเป็นปกติได้แก่ ยาแอสไพรินและยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ซึ่งผลการ
ตอบสนอง ของผู้ป่วยแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป แต่ยาสองชนิดนี้ก็อาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงกับไตได้
จึงต้องมีการใช้อย่างระมัดระวังและควรอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์
-การพักผ่อนและบริหารร่างกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการพักผ่อนอย่างเพียงพอเป็นสิ่งที่สำคัญ
ต่อผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ เพราะการพักผ่อนจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น ลดอาการอ่อนเพลีย แต่ก็ไม่ควรพักผ่อนหรืออยู่นิ่งๆ
นานจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้ข้อต่าง ๆ ตามร่างกายเกิดการฝืดขัดได้
-การใช้กายอุปกรณ์ กายอุปกรณ์คือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่นำมาใช้เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวของร่างกาย
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองและเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้น เช่น ไม้เท้า เครื่องช่วยเดิน นอกจากนี้ผู้ป่วย
ยังจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโรคนี้ด้วยว่ามีท่าทางใด ที่ห้ามทำอย่างเด็ดขาด หรือท่าทาง
เคลื่อนไหวแบบใดที่ทำแล้วจะช่วยบรรเทาอาการได้
-การผ่าตัด ในกรณีที่อาการรุนแรงจนเกิดการถูกทำลายของข้อ หรือมีอาการแทรกซ้อน เช่น เส้นเอ็นขาด การผ่าตัดสามารถ
ช่วยให้ข้อต่อทำงานได้ดีขึ้นค่ะ แต่ทั้งนี้ก็ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ด้วยว่าเมื่อผ่าตัดแล้วจะส่งผลดี หรือส่งผลกระทบใด ๆ
ต่อสุขภาพหรือไม่
-การใช้สมุนไพรรักษา การรักษาโรครูมาตอยด์ไม่ได้จำกัดแค่เพียงการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันเท่านั้น แต่การใช้สมุนไพร
บางชนิดก็ยังสามารถบรรเทาอาการให้เบาลง ช่วยลดอาการเจ็บ บวมแดง หรืออาการอักเสบ รวมทั้งยังสามารถช่วยรักษา
อาการที่เป็นผลข้างเคียงจากโรครูมาตอยด์ได้อีกด้วย ซึ่งสมุนไพรที่ใช้กันก็อย่างเช่น ฟ้าทะลายโจร กำยานหรือขมิ้นชัน
เป็นต้น
แหล่งที่มา:อินเตอร์เน็ต