หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ประวัติความเป็นมาของทางรถไฟสายมรณะ

โพสท์โดย มารคัส
างรถไฟสายนี้ได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นะครับ โดยมีการใช้แรงงานเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรและกรรมกรชาวเอเชีย ที่กองทัพทหารญี่ปุ่น เกณฑ์ มาสร้าง เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ไปที่ประเทศเวียนม่า แต่ปัจจุบันเส้นทางนี้นะครับได้ไปสุดปลายทางแค่ที่บ้านท่าเสา หรือตรงที่เทศบาลตำบลท่าเสานั้นเองครับ
 
สถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร หากนับหมอนหนุนรางรถไฟมีเท่าไหร่ จำนวนผู้คน-เชลยศึกที่ถูกเกณฑ์มาสร้าง ทางรถไฟ สายนี้ก็ตายไปเท่านั้น� นี่คือคำเล่าขานถึงเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ ไทย-พม่า ระยะทางกว่า 415 กิโลเมตรนี้ คือ ความหฤโหด ทารุณ และยากลำบาก ของสิ่งที่เชลยศึกได้รับ จนได้รับการขนานนามว่า �เส้นทางรถไฟสายมรณะ�


ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เปิดเดินรถบนเส้นทางสาย ธนบุรี-น้ำตก และจัดรถไฟขบวนพิเศษสายกรุงเทพฯ - น้ำตก ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ จุดที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมากที่สุด คือจะเป็นช่วงสะพานข้ามแม่น้ำแคว (สะพานเหล็ก) และช่วงทางโค้งมรณะที่ต้องลุ้นกับการที่รถไฟวิ่งผ่าน หรือหน้าถ้ำกระแซนั้นเองครับ ซึ่งเป็นสะพานโค้งเลียบ โดยจะมีแม่น้ำแควน้อยยาวประมาณ 400 เมตร และทิวทัศน์ที่สวยงามตลอดเส้นทางนี้ด้วยครับ

เรื่องเล่าจากประวัติความเป็นมาของสะพานข้ามแม่น้ำแควและทางรถไฟสายมรณะ
ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2484 ได้มีสงครามแปซิฟิกเริ่มก่อตัวขึ้น โดยกองทัพของญี่ปุ่นได้บุกโจมตี เพิร์ล ฮาร์เบอร์ ที่หมู่เกาะฮาวาย และได้บุกเข้าที่ประเทศมาเลเซีย ในตอนกลางปี 2485 หลังจากนั้นกองทัพญี่ปุ่นก็เกิดต่อสู้กับกองทัพอังกฤษในพม่า แต่เป้าหมายหลักของทหารญี่ปุ่น คือรุกรานเข้าประเทศอินเดีย แต่ญี่ปุ่นรู้ดีว่า ถ้าใช้เส้นทางเดินเรือ ในการขนส่งอาวุธยุทโธปรณ์นั้น จะต้องเสี่ยงต่อการถูกโจมตีทางอากาศของกองทัพอังกฤษแน่ๆ จึงได้ตัดสินใจสร้างทางรถไฟตัดผ่านประเทศไทย ในขณะนั้นเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นได้เริ่มต้นสร้างทางรถไฟจากบ้านหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี


ตัดผ่าน จังหวัดกาญจนบุรีไปสู่ชายแดนไทยพม่าตรงไป �ด่านพระเจดีย์สามองค์� ไปถึงเมืองตันบีอูซายัด ในประเทคพม่า โดยเริ่มแรกในการก่อสร้างนั้น ได้ใช้แรงงานของกรรมกร ชาวแขก พม่า มาเลเซีย อินโดนิเชีย จีน และคนไทย แต่ก็ต้องเจอปัญหามากมายจากภัยธรรมชาติ เช่น พายุลมฝนตกหนักจนสะพานพังลง
 
ทั้งยังมีโรคภัยไข้เจ็บของคนงาน และการขาดแคลนเสบียงอาหาร ไม่หน่ำช้ำฝ่ายพันธมิตรในสงครามยังได้ทิ้งระเบิดใส่อีก จึงทำให้กรรมกรแรงงานเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก รวมถึงทางรถไฟที่พึงสร้างยังไม่แล้วเสร็จก็ถูกทำลายจนเสียหายด้วย ทางกองทัพของญี่ปุ่นจึงเปลี่ยนการทำงานใหม่
 
โดยการเกณฑ์แรงงานของเชลยศึกชาวอังกฤษ ออสเตรเลีย อเมริกัน ฮอลันดา และไอร์แลนด์ ประมาณ 50,000 คน และรวมกับกรรมกรอีกกว่า 275,000 คน มาทำการก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า ซึ่งใน ส่วนหนึ่งจะต้องสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่ การสร้างในครั้งนี้ เต็มไปด้วยความยากลำบาก การวางรางรถไฟดำเนินไปจนถึงจุดที่ต้องสร้างสะพานข้าม แม่น้ำแควใหญ่ จึงได้มีการสร้างเป็นสะพานไม้ชั่วคราว การสร้างเป็นไปอย่างเร่งรีบ ไม่มีวันหยุด ใช้เชลยศึกก็ต้องมีการผลัดกันทำงาน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีทหารญี่ปุ่นเป็นผู้ควบคุม อย่างใกล้ชิด


สะพานข้ามแม่น้ำแควชั่วคราวนี้ใช้ ระยะเวลาประมาณ 3 เดือนจึงสร้างเสร็จ แล้วเริ่มสร้างสะพานถาวร (ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันที่เป็นสะพานเหล็ก) โดยที่เชลยศึกจะต้องยืนในน้ำ เป็นเวลานานๆ เพื่อสร้างเสาร์สะพาน จึงทำให้เชลยศึกมีการเจ็บป่วยล้มตายเป็นจำนวนมาก

โดยสะพานข้ามแม่น้ำแควนี้ ทำเป็นสะพานเหล็ก 11 ช่วง มีความยาว 300 เมตร เมื่อสร้างสะพาน ถาวรเสร็จ จึงมีการรื้อถอนสะพานไม้ชั่วคราวออก ในระหว่างที่ก่อสร้าง ได้ถูกสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดโจมตีอีกอยู่หลายครั้ง จนต้องการสูญเสียชีวิตแรงงานจากการทิ้งระเบิดไปประมาณ 21,399 คน สาเหตุที่ทำให้คนตายเยอะขนาดนี้
 
ส่วนใหญ่เห็นจะมาจากการขาดแคลนเสบียนอาหารที่เชลยจะได้กินเพียงข้าวกับปลาแห้งเพียงเล็กน้อย แพทย์พยาบาลก็ไม่เพียงพอต่อคนงานที่ล้มป่วย และยังได้รับการปฏิบัติอย่างป่าเถื่อนโหดร้ายจากผู้คุมเชลยศึกและผู้ควบคุมทางรถไฟ จนกระทั่งก่อสร้างเสร็จใช้ระยะเวลาก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 17 เดือน
 
ซึ่งต่อมาเรียกสะพานนี้ว่า "สะพานข้ามแม่น้ำแคว" และสร้างความยินดีให้กับทหารญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก แต่ก็ต้องสูญเสียชีวิตคนไปเป็นจำนวนมากใน การสร้างเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ สายนี้ จนเรียกกันว่า "ทางรถไฟสายมรณะในปัจุบัน" ที่ต่างเปรียบเทียบชีวิตคน จากการสร้างว่า "หนึ่งหมอนลองรางรถไฟเท่ากับหนึ่งชีวิตผู้สร้าง"


ทางรถไฟที่สร้างลำบากมากที่สุดอีกที่หนึ่ง คือ บริเวณหน้าถ้ำกระแซ การก่อสร้างทางรถไฟ ในช่วงนี้ จะมีเทือกเขาสูงชันติดกับลำน้ำแควน้อย วิศวกรญี่ปุ่น จำเป็นต้องสร้างเลียบลำน้ำทางรถไฟจะได้ลัดเลาะ ไปตามภูเขายาว 400 เมตร


เป็นช่วงที่ศูนย์เสียชีวิตเชลยศึกมากที่สุด ประมาณ 1,000 กว่าคน เป็นสะพานที่ข้ามเหวลึกที่ยาวที่สุดของเส้นทางรถไฟสายนี้เท่าที่เคยสร้างมา และสร้างเสร็จในเวลาอันรวดเร็วมาก นักโทษเชลยศึกในสงครามได้ทำงานกันอย่างบ้าคลั่ง จากคำสั่งของผู้คุมนักโทษของชาวญี่ปุ่น ที่รู้จักดีในคำที่เรียกว่า "สปีดโด" (Speedo) หรือ "ทำไปอย่าหยุด"
 
จากเดือนเมษายน 2486 การก่อสร้างได้ดำเนินการรุกหน้าไปรวดเร็วมาก เนื่องด้วยฝ่ายทหารญี่ปุ่นต้องการให้การก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามความคาดหมายคือเดือนสิงหาคม ซึ่งถูกกำหนดเป็นเส้นตายของ ในการก่อสร้าง ห้วงเวลาดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นที่รู้จักกันในนามของห้วงเวลาแห่งความเร่งด่วน (Speedo) เชลยศึกและคนงานชาวเอเชียถูกลงโทษ ให้ทำงานจนค่ำ ที่บริเวณตัดช่องเขาขาดนั้น แสงแวบๆ จากกองไฟส่องกระทบเรือนร่าง ที่ผอมโซของคนงาน จึงเป็นที่มาของชื่อ �ช่องไฟนรก� (Hellfire Pass) หรือ �ช่องเขาขาด�

 

การก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ เริ่มจากสถานีบ้านหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัด ราชบุรี ผ่านเข้าไปยังจังหวัดกาญจนบุรี และข้ามแม่น้ำแควใหญ่ ไปทางทิศตะวันตก ผ่านเจดีย์สามองค์ จนถึงปลายทางที่ เมืองตันบีอุซายัต ที่ประเทศพม่า โดยมีระยะทางยาวประมาณ 415 กิโลเมตร 37 สถานี สร้างเสร็จในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2486
 
เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ สถานีรถไฟสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มต้นจาก สถานีท้องช้าง, ถ้ำผี, หินตก, แคนนิว, ไทรโยค, กิ่งไทรโยค, ลิ่นถิ่น, กุย, หินดาด, ปรางกาสี, ท่าขนุน, น้ำโจนใหญ่, ท่ามะยอ, ตำรองผาโท้, บ้านเกรียงไกร, คุริคอนตะ, กองกุยตะ, ทิมองตะ, นิเกะ, ซองกาเลีย, และด่านเจดีย์สามองค์ เมื่อญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงคราม
 
กองทหารอังกฤษจึงได้ทำการรื้อถอนทางรถไฟ ในเขตพม่า ออกไปประมาณ 30 กิโลเมตร และรื้อทางรถไฟในเขตประเทศไทยออก 6 กิโลเมตร ทำให้ทางรถไฟสาย นี้หมดสภาพการใช้งานต่อไป โดยต่อมารัฐบาลไทยได้ ขอซื้อทางรถไฟสายนี้ และวัสดุอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องในราคา 1,250,000 ปอนด์ หรือ 50 ล้านบาท แล้วบูรณะจนสามารถเดินรถได้ และได้ทำการรื้อราง ออกไปบางส่วน คือ บริเวณรอยต่อชายแดนไทยพม่า
 
ซึ่งรัฐบาลไทยสามารถบูรณะซ่อมแซม ทางรถไฟจนถึงสถานีน้ำตกเท่านั้น เพราะเส้นทางที่เหลือ รัฐบาลไทยไม่มีงบประมาณเพียงพอ ที่จะทำการซ่อมแซม ทำให้เส้นทางที่เหลือต้องทรุดโทรมอย่างหนัก จนปัจจุบันทางรถไฟที่เหลือก็กลายเป็น ป่าปกคลุมตลอดทาง
ที่มา: http://www.kanchanaburi-info.com
 

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
มารคัส's profile


โพสท์โดย: มารคัส
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
12 VOTES (4/5 จาก 3 คน)
VOTED: zerotype, ginger bread
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
หนุ่ม กรรชัย สั่งชั่งน้ำหนัก ‘กำไลปี่เซี๊ยะ’ ขายเกือบสี่หมื่น แท้จริงแล้วไม่ถึง 2 สลึงมาแล้ว! เลขเด็ดปฏิทินจีน งวด 1 ตุลาคม 67..รีบส่องกันเลย 4 ฉบับเน้นๆ"ก้อย อรัชพร" ถาม A.I. ว่าตอนนี้ฉันเป็นแฟนใคร..คำตอบที่ได้ถึงกับฮาลั่น!careless: ไม่ระมัดระวัง6 ชาที่ชอบ..บอกนิสัยคุณนาทีระทึก! น้ำป่าซัด "บ้านห้วยหินลาด" เวียงป่าเป้า จ.เชียงรายความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้เกิดสงครามใหญ่ในตะวันออกกลางรัฐจ่าย เช็คสิทธิผ่านเว็บ เงินดิจิทัล 10000 บาท เข้าวันไหน ทำง่ายมากห้องอภิเษกสมรสของจักรพรรดิราชวงศ์​ชิง​เปิดธุรกิจ “แม่ตั๊ก กรกนก” นอกจากขายทอง เคยขายอะไรมาบ้าง?น้ำลาวทะลักท่วม 'เวียงป่าเป้า' น้ำป่าไหลหลากสมทบซัดท่วมพื้นที่ 3 ตำบลระทึก! ครูคลุ้มคลั่งถือปืนอัดลมในวิทยาลัย
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
หนุ่ม กรรชัย สั่งชั่งน้ำหนัก ‘กำไลปี่เซี๊ยะ’ ขายเกือบสี่หมื่น แท้จริงแล้วไม่ถึง 2 สลึงน้ำลาวทะลักท่วม 'เวียงป่าเป้า' น้ำป่าไหลหลากสมทบซัดท่วมพื้นที่ 3 ตำบลสาวนอย!! สั่งไข่พะโล้ได้ไข่ 2 ฟอง หมู 2 ชิ้นราคา 120 บาท แพงเกินไปมั้ย?งานแต่งสุดแฮปปี้..เพราะรักนี้มีแค่เราสามคนช็อก!! เมื่อเยือนบ้านมหาเศรษฐี! อลังการเกินคาด เห็นชุดเพื่อนถึงกับอึ้ง ลบภาพจำจากละครนาทีระทึก! น้ำป่าซัด "บ้านห้วยหินลาด" เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
'มหาพีระมิดแห่ง Cheops' มีปริศนาที่ไม่มีนักประวัติศาสตร์หรือนักโบราณคดีคนไหนชอบพูดถึงsmash: ทุบ ตีแตกห้องอภิเษกสมรสของจักรพรรดิราชวงศ์​ชิง​careless: ไม่ระมัดระวัง
ตั้งกระทู้ใหม่