พล.อ.ไพบูลย์รมว.ยุติธรรม ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อ หลังการประชุมUNGASS 2016 ของสหประชาชาติที่ผ่านมาเรื่องยานำแอมเฟตามีนออกจากบัญชีสารเสพติดให้โทษประเภทที่หนึ่ง
จริงๆ เรื่องยานำแอมเฟตามีนออกจาก
บัญชีสารเสพติดให้โทษประเภทที่หนึ่งนั้น
ไม่ใช่เพิ่งเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นหลัง พล.อ.ไพบูลย์
รมว.ยุติธรรม ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อ หลังการประชุม
UNGASS 2016 ของสหประชาชาติที่ผ่านมาเท่านั้น
- เรื่องนี้มีการพูดถึงกันมาหลายปีมากแล้วในเวทีสากล
ว่าในหลายประเทศมีกฎหมายและนโยบายไม่สอดคล้อง
ต่อการแก้ปัญหายาเสพติดบนพื้นฐานหลักฐานเชิงประจักษ์
https://www.unodc.org/ungass2016/
- สำหรับประเทศไทยได้มีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
มาสักระยะหนึ่งแล้ว โดยสาระสำคัญของคือการทบทวน
นโยบายหลังจากปี 2539 ซึ่งรัฐบาลเวลานั้นได้เปลี่ยน
แอมเฟตามีน และอนุพันธ์อีก 15 ชนิดจากเดิมที่อยู่ใน
ประเภท #วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท_ประเภท_2
(ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้
โดยได้รับการควบคุมดูแลจากแพทย์ตามกฎหมาย)
ให้แอมเฟตามีนรวมถึงอนุพันธ์อีก 15 ชนิดให้มาอยู่
ในประเภทของ #สารเสพติดให้โทษประเภทที่หนึ่ง
ซึ่งมีโทษร้ายแรงเท่ากับเฮโรอีน!!!
(ในอเมริกา แอมเฟตามีนอยู่ในหมวดที่สอง)
*** โดยความผิดเรื่องสารเสพติดประเภทที่หนึ่งระบุว่า...
"ผู้ใดมียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ไว้ในครอบครอง
เป็นปริมาณสารบริสุทธิ์เกินกว่า 375 มิลลิกรัมขึ้นไป
หรือประมาณ 15 มิลลิกรัมใช้สำหรับยาบ้า ให้ถือว่า
#มีไว้เพื่อจำหน่าย" ซึ่งมีโทษจำคุก 1-20 ปี
(อันนี้ในรายละเอียดปลีกย่อยเข้าไปอ่านกันเองนะครับ)
http://narcotic.fda.moph.go.th/welcome/?p=1147
http://www.thailaws.com/aboutthailaw/knowledge_62.htm
- อย่างกรณีในคลิปที่ผมได้แชร์ไปก่อนหน้านี้
มีกรณีตัวอย่างผู้หญิงสาวที่เดินทางไปเที่ยวลาว
ไปซื้อยาบ้ามาเสพ และ ติดตัวเข้ามา 1.5 เม็ด
ปรากฎว่าเธอโดนโทษเท่ากับเป็นผู้นำเข้ายา
คือ #จำคุกคุกตลอดชีวิต!!! แต่รับสารภาพ
เลยได้รับการลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือ 25 ปี!!!
https://www.facebook.com/infactofme/videos/942019809248919/
-----------------------
- เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีทั้งคนในสาขายุติธรรม
นักกฎหมาย ผู้พิพากษา ศาล นักการสาธารณสุข
ออกมาวิจารณ์กันมาตลอดว่าเป็นการใช้กฎหมาย
ที่รุนแรงและไม่ได้คำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าคนเหล่านั้น
เป็นเพียงผู้เสพที่มีสถานะเหมือนผู้ป่วยที่ต้องได้รับการ
รักษาเยียวยา จะด้วยการนำไปกักบริเวณและบำบัดก็ดี
ก็ต้องทำให้ถูกต้องเหมาะสม ไม่ใช่แค่พาไปถอนฤทธิ์ยา
แล้วก็จับขังคุกยาว 20-30 ปี แบบนี้แก้ปัญหาอะไรไม่ได้
มิหน้ำซ้ำตอนนี้ผู้ป่วยที่ต้องคดีสารแอมเฟตามีนกำลัง
มีจำนวน #ล้นคุก คือกว่า 80% เป็นคนที่มียาบ้าไว้เสพ
- นี่ยังไม่รวมถึงกรณี #ผู้หญิงและเด็ก ตกเป็นเหยื่อ
ของขบวนการค้ายา บางครั้งทำไปเพราะปัญหาจิต
มีปัญหาความยากจน ความเครียด ปัญหาครอบครัว
หรือสามีติดยาและดึงภรรยาให้ไปจมผลักอยู่ด้วยกัน
หรือเด็กในชุมชนแออัดที่ตกเป็นเหยื่อของขบวนการ
โดยเอายาและเงินมาล่อใจให้คนเหล่านั้นทำงานให้
- ปัญหาเหล่านี้ ศ.พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและอาจารย์ด้านกฎหมาย
ได้เคยบรรยายปัญหานี้ไว้ในงานเสวนาวิชาการเรื่อง
"สงครามยาเสพติด: คุกและเหยื่อผู้ต้องขังหญิง" ซึ่ง
จัดโดย วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี 2558 โดยกล่าวถึงปัญหา
ของนโยบายของภาครัฐตลอดระยะเวลา 19-20 ปี
ที่ไม่ได้แก้ปัญหาให้ตรงจุด แถมยังทำลายชีวิตของ
ผู้หลงผิด แทนที่จะช่วยให้เค้ากลับมาสู่สังคมได้ใหม่...
"แต่กฎหมายแบบนี้มาตรฐานสากลระหว่างประเทศ เรียกว่า กฎหมายที่ลงโทษคนอย่างทารุณ และไม่เป็นธรรม มาตรฐานสากลที่มองไปทั่วโลก โดยไม่ได้มองว่า คนที่ถูกกฎหมายแบบนี้ลงโทษอย่างรุนแรง เกินเหตุเกินผลแบบนี้เป็นมนุษย์หรือเป็นคนของเขา แต่เรากลับสร้างกฎหมายแบบนี้ลงโทษประชาชนของเรา ลูกหลานของเรา พี่น้องของเราเองอย่างที่ไม่รู้สึกกระทบกระเทือนจิตใจอะไรเลย ตรงกันข้ามกับมีความรู้สึกว่า ถูกต้องแล้ว ต้องทำเพราะกฎหมายบัญญัติ"
http://www.isranews.org/thaireform-ot…/…/38290-rangsit.html…
“ผู้ต้องขังหญิง 45,000 คนมันหมายถึง 45,000
ครอบครัวที่ต้องล่มสลาย และปัญหาสังคมอีกร้อยแปด”
“คนในระบบราชการช่วยไม่ได้ ถ้าไมได้รับความร่วมมือจริงจังจากสื่อ เพื่อให้เกิดกระแสบังคับในการผลักดันนโยบายและการแก้กฎหมาย ที่ผ่านมาเราใช้แหตาถี่จับตัวเล็กตัวน้อยมามาก แต่ตัวใหญ่จับไม่ได้ นโยบายที่ผ่านมาก็มองด้านเดียว และเน้นสร้างผลกระทบแบบฉับพลันทันที กฎหมายแข็งอย่างเดียว ย่อหย่อนด้านการป้องกัน ส่วนนโยบายบำบัดรักษาก็มีแต่คำพูด”
http://thaipublica.org/2015/07/over-capacity-prisoner/
*** ซึ่งก็ตรงกับที่องค์กรสหประชาชาติออกมาเรียกร้อง
ให้ชาติสมาชิกหันกลับมาทบทวนแนวทางแก้ปัญหา
ในเรื่องผู้ป่วยจากสารเสพติดเสียใหม่....
-----------------------
- ถัดมาในงานประชุม เรื่อง "(เมท)แอมเฟตามีน
: มุมมองด้านสาธารณสุขกับทางออกที่ดีกว่า"
ซึ่งจัดเมื่อวัน 6 กรกฎาคม 2558 โดยความร่วมมือของ
หลายหน่วยงานทั้งกระทรวงยุติธรรม โดยสำนักกิจการ
ในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
ร่วมกับศาลอุทธรณ์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงาน
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
- ได้เสวนาถึงแนวทางการแก้ปัญหาเรื่องเมทแอมเฟตามีน
โดยเนื้อหาก็ดังเช่นที่เคยมีการเสวนากันหลายรอบก่อนหน้า
โดยในงานประกอบด้วยผู้เสวนาจากหลากหลายสาขาที่
เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ ประกอบด้วย
- รองศาสตราจารย์ ดร. สังศิต พิริยะรังสรรค์
- ศ.พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- ศ.ดร. ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
- นายสันต์ชัย ล้อมณีนพรัตน์ ประธานแผนกคดียาเสพติด
- นายวิทยา สุริยะวงค์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์
- ผ.ศ. ดร. ธานี วรภัทร์ คณะนิติศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิต
- นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ทนายความและสมาชิกสภาปฏิรูป
- นายพิทยา จินาวัฒน์ อดีตอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
http://www.moj.go.th/…/2013-03-07-06-4…/2013-03-07-06-56-55…
ต่อเนื่องด้วยการประชุม เรื่อง "(เมท)แอมเฟตามีน:
มุมมองด้านสาธารณสุขกับทางออกที่ดีกว่า" ในวันต่อมา
ดำเนินการโดยกระทรวงยุติธรรมและกระทรวงสาธารณสุข
- ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน ซึ่งเป็นอดีตหัวหน้า
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ม.มหิดล
ประธานวิชาการราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ และ อธิกาบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
และปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ได้ร่วมเป็นประธานเปิดงานกับ พล.อ.ไพบูลย์ รมต.ยุติธรรม
และได้บรรยายถึงปัญหาเรื่องนโยบายการใช้กฎหมาย
เกี่ยวกับ #เมทแอมเฟตามีน ที่ไม่ถูกต้องของภาครัฐ
และแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวในงานนั้น
(รายละเอียดขอไม่พูดถึง ในที่นี้ เพราะจะยาวไป
แต่สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากลิ้งก์ด้านล่างน้)
http://www.isranews.org/…/item/39757-methamphetamine08.html…
-----------------------
- และเมื่อวานนี้ ( 17 มิถุนายน 2559)
ศาตราจารย์ นายแพทย์ วันชัย วัฒนศัพท์
นักวิชาการอิสระและอดีตอธิการบดี ม.ขอนแก่น
รวมถึง นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตอธิบดีกรมการแพทย์
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ รมว.กระทรวงสาธารณสุข
ได้ออกมากล่าวสนับสนุนนโยบายดังกล่าวอย่างเต็มที่
http://www.isranews.org/…/…/item/47772-methamphetamine.html…
- นอกจากนี้ยังมีคุณ สุภัทรา นาคะผิว อดีตสมาชิก สปช.
และเป็น NGO ที่ทำงานเกี่ยวกับผู้หญิงและผู้ป่วย HIV
ได้ออกมาแสดงความเห็นสนับสนุนเรื่องดังกล่าว
โดยได้เสนอความคิดที่น่าสนใจหลายเรื่อง...
เช่น การที่ต่อไปอำนาจในการตรวจสารเสพติด
จากปัสสาวะของผู้ต้องหา ควรให้เป็นหน้าที่ของ
คนจากสาธารณสุข ไม่ใช่ตำรวจ (หลีกเลี่ยงอำนาจ
แบบเบ็ดเสร็จ หรือกรณีการยัดยาและข้อกล่าวหาต่างๆ)
หรือการยกเลิกการบำบัดแบบเก่าที่ไม่มีประสิทธิภาพ
และให้มาใช้กระบวนการ บำบัดฟื้นฟูที่หลากหลาย
เหมาะสมกับสภาพปัญหาของแต่ละกลุ่ม เป็นต้น
- อันนี้ก็ตรงกับที่สหประชาชาติขอความร่วมมือมา
และตรงกับที่ พล.อ.ไพบูลย์เคยกล่าวเรื่องนี้ไว้ใน
งานเสวนาวันที่ 7 ก.ค. 2558 แล้วว่าจากการประเมิน
ศูนย์ฟื้นฟูบำบัดนั้นทำหน้าที่ล้มเหลวในหลายๆด้าน
จึงต้องกลับมาทบทวนกันใหม่ทั้งกระบวนการเลย
http://www.isranews.org/…/item/39757-methamphetamine08.html…
-----------------------
สรุป
-----------------------
*** จากเหตุการณ์ทั้งหมดที่กล่าวมาในเบื้องต้น
ได้แสดงให้เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่กระทำกันมา
เป็นเวลาเป็นปีๆ แล้ว มีการเรียกร้องให้ทบทวน
แก้ไขข้อกฎหมายเกี่ยวกับ "เมทแอมเฟตามีน"
รวมถึงการปฎิบัติต่อผู้ป่วยสารเสพติดเสียใหม่
แยกคนเสพจากคนค้าออกจากกันให้ชัดเจน
*** ทั้งหมดเป็นการทำงานร่วมกันของหลายองค์กร
ตั้งแต่กระบวนการยุติธรรม กระบวนการสาธารณสุข
กระบวนการทางสังคมและการพัฒนาสิทธิมนุษยชน
มีทั้งนักกฎหมาย แพทย์ นักสังคม นักวิชาการ NGO
ร่วมผลักดันให้นโยบายนี้สำเร็จลุล่วงไปได้อย่างดี
*** สอดคล้องกับแนวทางของสหประชาชาติที่กระตุ้น
ให้ชาติสมาชิกหันมาทบทวนเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับ
สารเสพติดเสียใหม่ ทั้ง #การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
#ทัศนคติที่รัฐและสังคมควรมีต่อผู้ป่วย การจัดการกับผู้ค้า
และเงินสกปรกของนายทุนยาเสพติดอย่างรุนแรงเด็ดขาด
(โดยแยกผู้ป่วยสารเสพติดออกจากพวกผู้ค้าและคนทำผิด)
ทีนี้เข้าใจกันรึยังครับว่าเรื่องนี้มันมีที่มาอย่างไรกันบ้าง
ถ้าใครตามไม่ทันหรืออยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมแล้วละก็
ก็ลองกลับไปอ่านโพสท์ก่อนหน้านี้ที่ผมสรุปถึงสาระของ
การประชุมแก้ไขปัญหาสารเสพติดของสหประชาชาติ
(UNGASS) ปี 2016 ในลิ้งด้านล่างนี้นะครับ....
https://www.facebook.com/kittitouch.chaiprasith/posts/1132469836817174
เรื่องสุดท้ายที่ผมอยากย้ำให้คนเข้าใจกันก็คือ...
*** การย้ายบัญชีสารเมทแอมเฟตามีน
จากบัญชีสารเสพติดให้โทษประเภทที่หนึ่งมาอยู่ใน
สารเสพติดให้โทษประเภทที่สอง เช่นเดียวกับ มอร์ฟีน
ถือเป็น #สิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินการในข้อกฎหมาย
(ประเภทที่หนึ่ง เรียก #สารเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง
ประเภทที่สอง เรียก #สารเสพติดให้โทษทั่วไป
http://www.thailaws.com/aboutthailaw/knowledge_62.htm
http://newsser.fda.moph.go.th/narcoticprocurementsect…/info/
ทั้งสองชนิดนี้มีการบังคับใช้กฎหมายที่แตกต่างกัน
ทั้งโดยเนื้อหารายละเอียด ด้านการแพทย์ ความผิด
ไปจนถึงการบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษต่างๆ)
*** หลายคนไม่เข้าใจว่าคำที่ พล.อ.ไพบูลย์กล่าว
ว่าควรปรับให้ เมทแอมเฟตามีน จาก "ยาร้ายแรง"
กลับมาอยู่ในหมวด "ยาปกติ" มันหมายถึงการปรับ
ให้สารนั้นมาอยู่ในสารเสพติดให้โทษประเภทที่สอง
(หรืออาจจะเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภท 2
ดังเช่นก่อนหน้าปี 2539 ก็ได้นะครับ) ซึ่งเรื่องนี้ในข่าว
ของสำนักข่าวอิศราที่ผมแปะลิ้งก์อ้างอิงให้ไปก็มีกล่าวไว้
ว่าเป็นการย้ายบัญชีจากประเภทที่หนึ่งมาอยู่ประเภทที่สอง
http://www.isranews.org/…/…/item/47772-methamphetamine.html…
http://www.thairath.co.th/clip/54012
http://www.matichon.co.th/news/178842
*** การปรับให้เมทแอมเฟตามีนกลับมาอยู่ในอีกหมวดนั้น
#ไม่ได้เป็นการเปิดเสรียาบ้าให้คนมาซื้อเสพได้ นะครับ
ก็เหมือนมอร์ฟีน ถ้าใครมีไว้ครอบครง หรือใช้เสพโดย
ไม่ได้รับอนุญาตการทางภาครัฐ (เช่นใช้ในการแพทย์)
คุณก็ต้องได้รับโทษในฐานะผู้เสพหรือผู้ขายยาเหมือนเดิม
ดังนั้นใครที่ไม่เข้าใจตรงนี้ ควรกลับไปศึกษาให้ดีเสียก่อน
อย่าอยู่บนพื้นฐานของการคิดไปเองหรือมโนไปเองต่างๆ
โดยการบิดเบือนเนื้อหาของสื่อและเพจการเมืองบางเพจ
*** สงสารคนที่เค้าทำงานเพื่อบ้านเมืองบ้างเถอะครับ
คนไทยทั้งหลาย... อย่าให้อัตตาความอยากด่าคนอื่น
ในโลกออนไลน์ แบบไม่ยืนพื้นบนหลักฐานเชิงประจักษ์
มาครอบงำจิตใจของพวกคุณไปมากกว่านี้อีกเลยนะครับ :)
-------------------
หมายเหตุ: สุดท้ายใครที่ไปจำคำพูดมาว่า
แอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน ปัจจุบันก็นำมาใช้
ผสมในยาผู้ป่วยทางประสาทอยู่แล้ว ขอให้เข้าใจใหม่
ให้ถูกต้องนะครับ "แอมเฟตามีน และ เมทแอมเฟตามีน"
(รวมถึงอนุพันธ์ 15 ชนิด) อยู่ในสาระเสพติดประเภท 1
- ส่วนที่อยู่ในบัญชีวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภท 2
นั้นไม่ใช่แอมเฟตามีนหรือเมทแอมเฟตามีน แต่เป็นอนุพันธ์
ที่มีชื่อว่า #เอทิลแอมเฟตามีน (N-Ethylamphetamine)
http://narcotic.fda.moph.go.th/welcome/wp-content/uploads/2015/11/table-PHYCHO-list-update-21.12.2015.pdf
ซึ่งตัวนี้ในปัจจุบันนำมาใช้ในทางการแพทย์อยู่แล้ว
ดังนั้นกรุณา #อย่าสับสนอนุพันธ์ต่างๆของแอมเฟตามีน
เพราะแม้จะอยู่ใน class เดียวกัน แต่ให้ผลไม่เหมือนกัน
และมีบทลงโทษรวมถึงการควบคุมที่แตกต่างกันด้วย...
ป.ล. ในอเมริกานั้น แอมเฟตามีนสามารถนำมาใช้ได้
ในทางการแพทย์ โดยมีกฎหมายควบคุม (ไม่ใช่ปล่อย
ให้มีการซื้อขายกันอย่างเสรีแบบที่บางคนเข้าใจผิดๆ)
โดยในอเมริกานั้นแอมเฟตามีนอยู่ในสาระเสพติด
ประเภทที่สอง (Schedule 2) ไม่ใช่ประเภทที่ 1
เหมือนของบ้านเรา ซึ่งประเภทที่สองสามารถ
นำมาใช้ทางการแพทย์ได้ดังที่กล่าวไว้แล้ว
https://www.drugs.com/schedule-2-drugs.html
https://www.drugs.com/csa-schedule.html
http://drugs.laws.com/amphetamine
http://amphetamines.com/types/legal/
ขอขอบคุณ kittitouch Chaiprasith