สิ่งที่คุณไม่เคยรู้เกี่ยวกับการบริโภคคาเฟอีน
ในรอบเจ็ดปีที่ผ่านมาฉันทั้งรักทั้งเกลียดคาเฟอีน คาเฟอีนหรือชื่อทางเคมีว่า 1,3,7 trimethylxanthine นั้นเมื่อเทียบกับโคเคนหรือเฮโรอีนแล้วพบว่าคาเฟอีนจะส่งผลกระทบต่อสมองน้อยกว่ามาก อย่างไรก็ตามคาเฟอีนคือยาเสพติดชนิดหนึ่งและยังเป็นต้นแบบของการพึ่งพายาอีกด้วย สาเหตุของการติดคาเฟอีนเกิดจากการบริโภคทุกวันไม่ว่าจะเป็นกาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง ชา หรือน้ำอัดลม งั้นมาดูกันดีกว่าว่าคาเฟอีนส่งผลต่อร่างกายของเราอย่างไรรวมถึงผลลัพธ์ที่ตามมาของการพึ่งพาคาเฟอีน
คาเฟอีนส่งผลอย่างไรกันแน่? คาเฟอีนเกิดจากพืชมากกว่า 75 ชนิดซึ่งถูกนำมาใช้ประโยชน์เป็นสารกำจัดศัตรูพืช คาเฟอีนถูกจัดอยู่ในกลุ่มอัลคาลอยด์ (เช่นเดียวกับมอร์ฟีน นิโคติน โคเดอีน เป็นต้น) กับกลุ่มแซนทีนซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับตัวรับแอดิโนซีนซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ออกฤทธิ์ชะลอการทำงานในระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อคาเฟอีนไปยับยั้งมันจะทำให้เรารู้สึกเหนื่อยและเซลล์ประสาทก็จะสร้างเครือข่ายได้เร็วขึ้น ด้วยเหตุนี้ร่างกายจะคิดว่าเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นจากนั้นก็จะหลั่งสารโดปามีน อีพิเนฟรีน คอร์ติซอล และแอซีติลโคลีนออกมา คาเฟอีนยังส่งผลทำให้กล้ามเนื้อตึง รูม่านตาขยาย ทางเดินหายใจเปิด เพิ่มอัตราการเต้นของชีพจร และหลอดเลือดหดตัว สรรพคุณสุดท้ายคือสาเหตุว่าทำไมบางครั้งคาเฟอีนจึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาบรรเทาปวดเนื่องจากยิ่งเลือดไหลเวียนไปยังบริเวณที่เกี่ยวข้องน้อยก็ยิ่งทำให้ปวดน้อยลง และในทางชีวเคมีคาเฟอีนก็ถูกจัดว่าเป็นสารเสพติด
ไม่ว่าคุณจะดื่มคาเฟอีนในปริมาณที่มากหรือน้อยก็มีความเสี่ยงในการเป็นโรคที่สัมพันธ์กับอายุ เช่น โรคกระดูกพรุนและภาวะชราก่อนกำหนด เนื่องจากสามารถทำให้เทโลเมียร์ซึ่งเป็นโครโมโซมคู่สุดท้ายของมนุษย์สั้นลงได้ นอกจากนี้ยังอาจรวมถึงการเกิดริ้วรอยก่อนวัย ผมหงอก และผมร่วงด้วย อย่างไรก็ตามบางทฤษฎีแนะนำว่าการบริโภคคาเฟอีนจะช่วยให้อายุยืนยาวขึ้นขณะที่บางทฤษฎีกล่าวว่าคาเฟอีนช่วยให้ความจำดี คนส่วนใหญ่คงเคยได้ยินว่าไม่ควรดื่มคาเฟอีนในช่วงบ่ายเนื่องจากจะทำให้นอนไม่หลับในช่วงกลางคืน โดยปกติการขับคาเฟอีนปริมาณครึ่งหนึ่งที่ได้รับออกจากร่างกายจะต้องใช้เวลาราวหกชั่วโมงซึ่งหมายความว่าหากดื่มกาแฟตอนบ่ายสองก็จะยังหลงเหลือในกระแสเลือดไปจนถึงสี่ทุ่มและทำให้เรานอนไม่หลับต่อเนื่องไปจนถึงเช้าวันถัดไป
ภาวะถอนคาเฟอีนหรืออาการลงแดงไม่ใช่ประสบการณ์ที่สนุกเนื่องจากจะทำให้ปวดศีรษะ สมองตื้อ อ่อนเพลีย อารมณ์ไม่ดี ง่วง ซึมเศร้า และอาเจียน ข่าวดีคือภาวะถอนคาเฟอีนจะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว แล้วเราควรบริโภคคาเฟอีนวิธีไหนจึงจะดีต่อสุขภาพมากที่สุด? หากคุณไม่สามารถเลิกได้โดยสิ้นเชิงขอแนะนำว่าควรบริโภคในปริมาณที่น้อย (ราว 100-200 มก. หรือกาแฟประมาณ 2 ถ้วย) ก่อนการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต การบริโภคคาเฟอีนผ่านชาเขียวก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีเนื่องจากชาเขียวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น EGCG และกรดอะมิโนแอล-ธีอะนีน แม้แต่กาแฟก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพเช่นกันหากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม
Blogger : Casey Thaler
Source : greatist.com