ภาพจำลองสถานีไฟฉาย รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ
Render Thailand ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 8 ภาพ — ที่ แยกไฟฉาย
โครงสร้างของสถานีนี้มีความพิเศษกว่าสถานีทั่วๆไปในโครงการนี้
เสาของสถานีไฟฉาย และเสาทางวิ่ง เป็นเสาแบบคล่อมถนน (Portal frame) ตามแนวของผนังทางลอดแยก ส่วนของฐานรากของเสาเป็นโครงสร้างร่วมกับผนังทางลอดแยก
ทางลอดแยกไฟฉายนี้มีแนวเส้นทางผ่านคลองวัดทอง
ทำให้ต้องมีการก่อสร้าง Siphon (แปลตรงๆว่ากาลักน้ำ) ให้น้ำในคลองสามารถลอดใต้อุโมงค์ทางลอดไปอีกฝั่งได้
โดยมีทางขึ้นลงของสถานีรถไฟฟ้าอยู่บนโครงสร้างของ Siphon
ภาพตัดจำลองบริเวณ Siphon ใต้ทางลอดแยกไฟฉาย
เนื่องจากเป็นพื้นที่ก่อสร้างทับซ้อน 3 โครงการ ระหว่างโครงการก่อสร้างทางลอดถนนจรัญสนิทวงศ์ (อุโมงค์ไฟฉาย) , โครงการก่อสร้างถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 บริเวณแยกไฟฉาย ของ กทม. และ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ ของ รฟม.
โดยที่ผ่านมาได้มีการหารือและวางแผนร่วมกัน ในการออกแบบ และปรับรูปแบบโครงสร้างสถานี และโครงสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับแบบอุโมงค์ลอดถนนจรัญสนิทวงศ์ ให้สั้นลง และปรับขยายเขตทางเพื่อกันพื้นที่สำหรับการขยายถนน จึงส่งผลกระทบต่องานก่อสร้างรถไฟฟ้า มีความล่าช้าในการส่งมอบพื้นที่ ปัจจุบันโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสามารถก่อสร้างได้เป็นบางช่วง เช่น งานโครงสร้างที่ผนังอุโมงค์
และล่าสุดได้มีการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างเสาทางวิ่ง Portal frame คล่อมอุโมงค์ฝั่งเหนือ และฝั่งใต้ ในส่วนของงานก่อสร้างสถานีไฟฉาย ยังรอส่งมอบพื้นที่จากงานอุโมงค์ทางลอด
อุโมงค์นี้ กทม.ดำเนินการสร้าง ผรม.ของอุโมงค์ยังทำฐานรากเสาสถานีเสาทางวิ่ง ทำจนมีเสาโผล่ขึ้นมาเหนือดิน ประมาณ 2 เมตร
*ภาพจำลองนี้ทางเพจ Render Thailand จัดทำขึ้นมา ไม่ใช่ภาพอย่างเป็นทางการจากทางโครงการ
**อุโมงค์ทางลอดทางเพจไม่ได้จัดทำขึ้นมาจากแบบของทางลอดโดยตรง แต่เป็นการเทียบตำแหน่งจากสถานีรถไฟฟ้า
***สะพานข้ามแยกไฟฉาย เป็นโครงการของ กทม. เป็นโครงการในอนาคต ยังไม่ก่อสร้างในตอนนี้ครับ
****แก้ชื่อสถานีเป็น "สถานีไฟฉาย"ครับ