หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

Laser VS IPLและการกำจัดขน จากนศ.ป.เอก วิศวกรรมการแพทย์

โพสท์โดย Cookie Wongchadakul

สวัสดีค่ะ เพื่อนโพสต์จังที่น่ารักทุกคนนะคะ

เราชื่อคุกกี้ เป็นนศ.วิศวกรรมการแพทย์ ได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเลเซอร์มาบ้าง วันนี้จึงอยากเอามาแบ่งปันให้เพื่อนๆได้อ่านกันค่ะ

ติดตามได้ที่นี่เลยค่ะ

www.facebook.com/laserbycookie

 


Laser VS IPL

■IPL คืออะไร? ย่อมากจากอะไร?
IPL คือ แสงที่มีความเข้มสูง ย่อมาจากคำว่า Light pulse intensity

■คุณสมบัติที่ต่างไปจากแสงเลเซอร์คือ
1.IPL ให้กำเนิดแสงที่มีความยาวช่วงคลื่นหลายๆช่วงคลื่นออกมาพร้อมกันในเวลาเดียวกัน ในขณะที่เลเซอร์จะให้กำเนิดแสงแค่ความยาวคลื่นเดียว
2.แสงของ IPL เคลื่อนที่ไปในทิศทางที่แตกต่างกัน ใขขณะที่เลเซอร์เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียว
3.IPL มีการกระเจิงแสงมาก ในขณะที่เลเซอร์แทบไม่มีกระกระเจิงเลย แสงพุ่งออกไปเป็นเส้นตรง

■ ช่วงความยาวคลื่นของ IPL อยู่ที่เท่าไหร่ ต่างกับเลเซอร์หรือไม่?
ช่วงคลื่นที่ IPL ปล่อยออกมาจะอยู่ประมาณที่ 515-1200 นาโนเมตร ซึ่งปล่อยออกมาหลายๆความยาวคลื่นพร้อมกัน ต่างกับเลเซอร์ที่ปล่อยออกมาแค่ความยาวคลื่นเดียว (ความยาวคลื่นของเลเซอร์ขึ้นอยู่กับตัวกลางในการผลิตแสง เครื่องเลเซอร์แต่ละชนิด ความยาวคลื่นไม่เท่ากัน)

■ แสง IPL ที่ปล่อยออกมาสามารถใช้ได้เลยหรือไม่?
แสงที่ปล่อยออกมา หากจะนำมาใช้จะต้องทำการกรองให้ได้ความยาวคลื่นที่ต้องการก่อน โดยมีอุปกรณ์พิเศษที่ทำหน้าที่คัดกรองแสงที่ไม่ต้องการออกไป นั่นคือ กระจกกรองแสงหรือเรียกศัพท์ทางเทคนิคว่า cutoff filter เมื่อผ่านการกรองแล้ว จะเหลือแสงแค่เฉพาะช่วงความยาวคลื่นที่ต้องการ จากนั้นแสงในความยาวคลื่นแค่เฉพาะช่วงที่เหลือนี้จะถูกส่งมายังผิวหนัง
**ถ้าหากไม่กรอง แล้วแสงทั้งหมดจะออกมาพร้อมๆกัน อาจทำให้อุณหภูมิที่ผิวหนังสูงขึ้นอย่างมาก และอาจทำให้เกิดการไหม้ได้

■ cutoff filter คืออะไร?
cutoff filter คือ อุปกรณ์ช่วยกรองแสง ให้เหลือแต่ในช่วงความยาวคลื่นที่ต้องการ ระบบ filter ที่ใช้กับเครื่อง IPL มีสองชนิดคือ Dielectric filter และ Fluorescent filter

■ IPL ใช้ cutoff filter แล้วเลเซอร์ต้องใช้หรือไม่?
คำตอบคือ เลเซอร์ให้กำเนิดแสงแค่ความยาวคลื่นเดียว ซึ่งต่างกับ IPL ที่ให้กำเนิดออกมาพร้อมกันทีเดียวตั้งแต่ 515-1200 นาโนเมตร จึงไม่มีความจำเป็นที่เลเซอร์จะต้องใช้ cutoff filter กรองอีก เพราะมีแค่คลื่นเดียว

■สิ่งที่ต้องพิจารณาในการรักษาด้วย IPL คือ
1.ใช้ cutoff filter กรองที่ความยาวคลื่นช่วงไหน (ความยาวแต่ละช่วง เหมาะกับการรักษาโรคแต่ละโรคต่างกัน)
2.พลังงานเท่าไหร่
3.pulse mode แบบไหน
4.delay time (ช่วงเวลารอระหว่างแต่ละพัลส์) คือเท่าไหร่
*ตรงนี้ถ้าเราไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็ไม่ต้องกังวลนะคะ แพทย์จะเป็นผู้ปรับค่าให้เหมาะสมกับเราตามประสบการณ์การรักษาของแพทย์ค่ะ

■IPL สามารถใช้รักษาได้อย่างไร? มีกลไกอะไรบ้าง?
ถึงแม้ว่าคุณสมบัติของคลื่นแสงจาก IPL จะมีความแตกต่างจากเลเซอร์ แต่กลไกการทำงานมีลักษณะเดียวกัน
สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ ตอนที่9 ค่ะ
link: https://web.facebook.com/laserbycookie/posts/915413195224595

■IPL สามารถใช้รักษาอะไรได้บ้าง?
IPL สามารถใช้รักษาโรคหรือปัญหาทางผิวหนังได้อย่างหลายหลาย เพราะมีหลายความยาวคลื่นในแสงเดียว แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ชนิดของกระจกกรองแสง (cutoff filter) ให้ถูกต้องเหมาะสมกับข้อบ่งชี้สำหรับปัญหาแต่ละชนิด โรคที่ IPL สามารถรักษาได้คือ 
ความผิดปกติของสีผิว (pigmentary disorder), ความผิดปกติของหลอดเลือด (vascular lesions), การทำให้อ่อนเยาว์ขึ้น (photorejuvenation), การรักษาโดยวิธีโฟโตไดนามิก (photodynamic therapy), แผลเป็น (scars), การกำจัดขน
***จะขอเน้นในเรื่องของ การรักษาความผิดปกติของเม็ดสีผิวและเรื่องการกำจัดขนนะคะ เนื่องจากมีคนถามถึงเครื่อง IPL ที่สามารถรักษาได้เองที่บ้านได้ ซึ่งเครื่องนี้เค้าเคลมว่าสามารถรักษาฝ้ากระ และกำจัดขนได้ค่ะ

■■■■ การใช้ IPL รักษาความผิดปกติของสีผิว ■■■■

■ความผิดปกติสองสีผิวมีกี่แบบ?
ความผิดปกติสองสีผิวมีสองแบบค่ะ
1.รอยคล้ำที่เกิดจากเมลานิน(เม็ดสี)ที่สะสมมากกว่าปกติในผิวหนังชั้นนอก (epidermis) epidermal pigmentary disorders
ไดแก่ freckles กระ, solar lentigo กระแดด, epidermal type melasma ฝ้าชนิดตื้น
2.รอยคล้ำที่เกิดจากเมลานิน(เม็ดสี)ที่สะสมมากกว่าปกติในผิวหนังชั้นใน (dermis) dermal pigmentary disorders
ได้แก่ Nevus of Ota ปานดำ, acquired bilateral nevus of Ota-like macules กระลึก, dermal type melisma ฝ้าลึก

■IPL สามารถรักษารอยคล้ำแบบไหนได้บ้าง? และรอยคล้ำจะหายไปถาวรเลยหรือไม่?
การรักษาด้วย IPL มักจะได้ผลเฉพาะรอยคล้ำชนิดที่เกิดจากเมลานินสะสมมากกว่าปกติในผิวหนังชั้นนอก คือพวกกระและฝ้าตื้นๆ เพราะ IPL สามารถกำจัดได้แค่เซลล์หนังกำพร้าที่มีเม็ดสีเมลานินผสมอยู่ (melanin containing keratinocyte) แต่ไม่สามารถกำจัดเม็ดสีเมลานิน หรือเซลล์เมลาโนไซต์ (Melanocyte)ได้โดยตรง จึงทำให้เซลล์เมลาโนไซต์ยังคงสร้างสีเมลานินขึ้นมาใหม่ เราจึงต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับทา whitening และครีมกันแดด เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

■หลังการรักษาด้วย IPL จะมีอาการอย่างไรบ้าง?
ภายหลังการรักษา บริเวณผิวหนังที่ทำการรักษาจะมีลักษณะแดงระเรื่อ ผู้รับการรักษาอาจมีอาการหน้าแดงและรู้สึกร้อนเล็กน้อยหลังการรักษาและจะหายไปเองประมาณ 20-30 นาที รอยคล้ำจะมีสีเข้มขึ้น ตกสะเก็ดและค่อยๆหลุดไป (เซลล์หนังกำพร้าที่มีเม็ดสีเมลานินผสมอยู่ถูกทำลายและหลุดออกไป) หลังจากหลุดไปรอยคล้ำจะจางลง (รอยคล้ำบางตำแหน่งอาจแค่จางลง แต่ไม่หายไปทั้งหมด)

■ควรทำบ่อยแค่ไหน?
ควรทำการรักษาติดต่อกันหลายครั้งจึงจะได้ผลดี โดยเฉลี่ยประมาณ 3-5 ครั้ง ห่างกันทุก 3-4 สัปดาห์

■ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง?
อาการระคายเคือง แสบแดง อาการไหม้ ตกสะเก็ด รอยคล้ำหรือรอยด่างขาว และแผลเป็นนูน ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้หากทำการรักษาไม่ถูกวิธี

■■■ การกำจัดขน (treatment of unwanted hair) ■■■

■กลไกของการกำจัดขนด้วย IPL
กลไกของการกำจัดขนด้วย IPL เป็นกลไกเดียวกันกับเลเซอร์ สามารถอ่านได้ที่ตอนที่9ค่ะ
Link: https://web.facebook.com/laserbycookie/posts/915413195224595

■ผลข้างเคียงที่พบเพิ่มเติมจากการกำจัดขนด้วยเลเซอร์และ IPL?
ภาวะรูขุมขนอักเสบ folliculitis
ภาวะมีขนเพิ่มมากขึ้น paradoxical hypertrichosis (เป็นเพราะบางช่วงความยาวคลื่นสามารถกระตุ้นการเจริญของเส้นขนได้)

■IPL เจ็บมั้ย?
เจ็บน้อย คล้ายๆกับหนังยางดีดเบาๆ อยู่ในระดับที่ทนได้
*คนผิวขาวสามารถใช้พลังงานได้สูงกว่า ร้อนกว่า จึงมักจะเจ็บกว่า

■เทคนิคการใช้
1.ก่อนรักษาด้วย IPL ควรเช็ดเครื่องสำอางให้หมด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
2.ควรสวมแว่นเพื่อป้องกันแสง IPL เพื่อป้องกันอันตรายต่อดวงตา
3.Cooling gel ใช้สำหรับทำให้อุณหภูมิของผิวหนังเย็นลง (Cooling gel ที่ใช้แล้ว ไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำ)
4.เมื่อทำการรักษาปริเวณหน้าผาก ขมับ และบริเวณกระดูกกราม ควรปรับพลังงานลดลงเนื่องจากผิวหนังในบริเวณนี้ค่อนข้างบาง จึงอาจทำให้ไหม้ได้ง่าย
5.หลังการรักษาควรเกิดรอยแดงขึ้นเล็กน้อย และบริเวณรอยคล้ำควรมีสีเข้มขึ้น หากไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ควรปรับค่าการทำงานของเครื่องให้สูงขึ้นทีละเล็กน้อย จนเกิดการเปลี่ยนแปลงหลังการรักษา เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ชัดเจน

Cr: เลเซอร์ผิวหนังในเวชปฏิบัติ, ศ.นพ.วรพงษ์ มนัสเกียรติ

--------------------------------------------------------

!!!เลเซอร์กำจัดขน!!!
เชื่อว่าคุณผู้อ่านหลายท่าน คงเคยมีความคิดที่จะกำจัดขนในบริเวณส่วนที่ไม่ต้องการใช่มั้ยคะ
แต่พอไปหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต พบว่าตัวนั้นก็ดี ตัวนี้ก็ใช่
บางคนไปทำแล้วก็ได้ผล แล้วบางคนทำไมถึงไม่ได้ผลกันล่ะ
วันนี้คุกกี้จะมาอธิบายให้ทุกๆท่านเข้าใจกันค่ะ
เริ่มกันเลยยย!!

■เลเซอร์ที่นิยมใช้ในทางการแพทย์สำหรับกำจัดขนถาวรมีอะไรบ้าง
1. Long-pulsed ruby laser
คือ คือเลเซอร์ที่ใช้ตัวกลางในการผลิตแสงเป็นสารผลึกของแข็ง (ผลึกทับทิม) มีลักษณะของคลื่นเป็นแบบพัลส์ยาว 
มีความยาวคลื่นอยู่ที่ 694 นาโนเมตร
เนื้อเยื่อเป้าหมายคือ เมลานิน (เม็ดสี)
ระดับความลึก ผิวหนังชั้นในส่วนกลาง (mid-dermis)

2.Long-pulsed Alexandrite laser
คือ คือเลเซอร์ที่ใช้ตัวกลางในการผลิตแสงเป็นสารผลึกของแข็ง (ผลึกอเล็กแซนไดร์) มีลักษณะของคลื่นเป็นแบบพัลส์ยาว (*อธิบายในตอนที่8)
มีความยาวคลื่นอยู่ที่ 755 นาโนเมตร
เนื้อเยื่อเป้าหมายคือ เมลานิน (เม็ดสี), ฮีโมโกบิน(เส้นเลือด), น้ำหมึกที่ใช้ในการสัก(สีดำ)
ระดับความลึก ผิวหนังชั้นในส่วนลึก (deep dermis)

3.Long-pulsed Nd:YAG laser
คือเลเซอร์ที่ใช้ตัวกลางในการผลิตแสงเป็นสารผลึกของแข็ง (ผลึก Yttrium-aluminum garnet ที่มีสารเจือปนคือ Neodymium) เรียกสั้นๆว่า นีโอดีเมียม: แย๊ก มีลักษณะของคลื่นเป็นแบบแบบพัลส์ยาว
มีความยาวคลื่นอยู่ที่ 1064 นาโนเมตร
เนื้อเยื่อเป้าหมายคือ เมลานิน (เม็ดสี)
ความลึก ผิวหนังชั้นในส่วนลึก/ ชั้นไขมัน (Deep dermis/ subcutaneous tissue)

4.Long-pulsed diode laser
คือเลเซอร์ที่ใช้ตัวกลางในการผลิตแสงเป็นสารกึ่งตัวนำ มีลักษณะของคลื่นเป็นแบบพัลส์ยาว
มีความยาวคลื่นอยู่ที่ 800-810, 940, 1,350-1,064 นาโนเมตร
เนื้อเยื่อเป้าหมายคือ เมลานินในรูขุมขน (เม็ดสีบริเวณรากขน)
ความลึก ผิวหนังชั้นในส่วนลึก (deep dermis)

5.IPL คือแสงความเข้มสูง ย่อมาจาก intense pulsed light (ไม่ใช่แสงเลเซอร์)
ซึ่งจะขอกล่าวถึงรายละเอียดในคราวหลังนะคะ

***(เนื้อหาจากตอนที่8) การปล่อยพลังงานแบบพัลส์ (pulse) การปล่อยพลังงานในระดับที่สูงมากๆ เป็นจังหวะในช่วงสั้นๆ
มีสามแบบ คือพัลส์สั้น พัลส์ยาว และ คิวสวิทช์
พัลส์สั้น ปล่อยพลังงานยาวนานในหน่วยของ millisecond ในจังหวะที่ปล่อยออกมาหนึ่งครั้ง 
พัลส์สยาว ปล่อยพลังงานยาวนานในหน่วยของ microsecond ในจังหวะที่ปล่อยออกมาหนึ่งครั้ง
คิวสวิทช์ ปล่อยพลังงานยาวนานในหน่วยของ nanosecond ในจังหวะที่ปล่อยออกมาหนึ่งครั้ง***

■แล้วแสงเลเซอร์กำจัดขนได้อย่างไร? มีกลไกอะไรบ้าง?
แสงเลเซอร์จะกำจัดขนโดยการส่งผ่านพลังงานแสงเลเซอร์ไปที่รากขน โดยเมลานิน (เซลล์เม็ดสี) ที่รากขนจะดูดซับพลังงานแสง หลังจากนั้นพลังงานแสงจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่มีเซลล์เม็ดสีถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว เส้นขน รากขน และเนื้อเยื่อต่างๆที่ทำหน้าที่ผลิตขนก็จะถูกทำลายไปด้วยเช่นกัน รวมถึงเนื้อเยื่อเชื่อมต่อบริเวณรากขนและเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยงด้วย (mesenchyme) ทำให้ไม่สามารถผลิต stem cells ที่ทำให้ขนงอกได้ เป็นผลให้วงจรการเกิดขนใหม่จะช้าออกไปเรื่อยๆ เส้นขนที่เกิดใหม่จะมีขนาดที่เล็กลง สีอ่อนลง และจะค่อยๆ ขึ้นน้อยลง และหากเลเซอร์ซ้ำๆ เส้นขนก็จะค่อยๆหมดไปในที่สุด
*thermal necrosis คือเนื้อเยื่อที่ตายจากการโดนความร้อน

■ผลข้างเคียงจากการใช้เลเซอร์กำจัดขนคืออะไรบ้าง?
เมื่อแสงเลเซอร์สัมผัสกับเนื้อเยื่อ พลังงานแสงจะถูกแปรเปลี่ยนกลายเป็นพลังงานความร้อน
ผลจากความร้อนนี่แหละ ที่เป็นตัวการสำคัญให้เกิด side effect ต่างๆ ดังนี้
Erythema รอยแดง / Blistering ตุ่มพองน้ำ / Hyperpigmentation รอยคล้ำจากการผลิตเม็ดสีที่มากเกินผิดปกติ

■ซึ่งเราอาจลดความเสี่ยงในการ side effect เหล่านี้ได้ โดย
1. ลดอุณหภูมิผิวหนัง เพื่อทำให้ผิวเย็นขึ้น เช่น ใช้เจลเย็น เครื่องพ่นลมเย็น สเปร์เย็น หรือ วัสดุประคบเย็นต่างๆ
2.การปรับช่วงเวลาปล่อยแสงให้ยาวขึ้น (ปรับพัลส์ (pulse) ให้ยาวนานขึ้น) เพื่อให้ความร้อนในผิวหนังชั้นนอก (epidermis) กระจายตัวลงมายังชั้นอื่นๆ อัตราการไหม้ก็จะน้อยลง ทั้งนี้เนื่องจากผิวหนังชั้นนอกประกอบไปด้วยเม็ดสีผิวเป็นจำนวนมาก ซึ่งเม็ดสีผิวจะดูดซับพลังงาน จึงทำให้เกิดความร้อนบริเวณชั้นนี้
***พัลส์สั้น คือการส่งพลังงานมาแค่ช่วงสั้นๆ ทำให้ความร้อนยังไม่ทันได้กระจายตัว ความร้อนเลยกระจุกอยู่แค่บริเวณนั้น แต่พัลส์ยาว คือการส่งพลังงานในระยะเวลาที่นานขึ้น ทำให้ความร้อนมีการแพร่ผ่านไปยังเนื้อเยื่อบริเวณข้างๆด้วย
3.ควบคุมพลังงานโดยการควบคุมความยาวคลื่น
***ทำไมเราถึงต้องควบคุมความยาวคลื่น? ก็เพราะว่า ความยาวคลื่นสั้นๆ ทำให้เกิดความร้อน(ที่ผิว)สูงกว่า เมื่อเทียบกับความยาวคลื่นยาวๆ (คลื่นสั้นร้อนกว่าคลื่นยาว) ดังนั้นความยาวคลื่นจึงเป็นตัวแปรสำคัญที่ต้องควบคุมเพราะมีผลต่อความร้อนที่เกิดขึ้นในผิวหนัง

■คนผิวขาว และคนผิวเข้ม ให้ผลการรักษาที่เหมือนกันหรือไม่
เมื่อให้แสงเลเซอร์ ในพลังงานระดับเดียวกัน ที่ความยาวคลื่นเท่ากัน คนผิวขาว สามารถรับพลังงานได้สูงกว่า เมื่อเทียบกับคนผิวสีเข้ม เพราะคนผิวขาวมีเม็ดสีน้อย (เม็ดสีทำหน้าที่ดูดซับแสงและแปรเปลี่ยนเป็นพลังงาน) จึงทำให้เกิดความร้อนน้อยกว่า ในขณะที่คนผิวสีเข้ม มีเม็ดสีผิวมากกว่า ดังนั้น จึงดูดซับแสงมากกว่า เมื่อแสงแปรเปลี่ยนเป็นพลังงาน พลังงานที่ได้รับจึงมากกว่าคนผิวขาว และทำให้ร้อนกว่า 
**ดังนั้น ถ้าหากใช้พลังงานแสงเลเซอร์ในระดับเดียวกันกับที่ใช้รักษาคนผิวขาว พลังงานที่คนผิวสีเข้มได้รับจะสูงเกินไป อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังได้ จึงจำเป็นต้องลดพลังงานลง โดยใช้ความยาวคลื่นที่ยาวขึ้น ทำให้เกิดความร้อนที่ผิวหนังน้อยลง ความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงก็จะลดลง แต่ผลการรักษาก็จะน้อยลงตามด้วยเช่นกัน

■การกำจัดขนโดยเลเซอร์จะได้ผลดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง?
1.ขึ้นอยู่กับพลังงานที่สูงพอ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการกำจัดขน ถ้าพลังงานสูงพอ ก็จะสามารถส่งไปถึงบริเวณรากลึกของขนในรูขุมขน ทำให้สามารถทำลายเซลล์เป้าหมายที่รูขุมขนได้
2.ความลึกของรากขน (ความยาวคลื่นมีระดับการทะลุทะลวง (penetration depth) ลึกไปถึงรากขนหรือไม่)
3.สีผิวและสีขน (สีผิวและสีขนสีเข้ม มีเม็ดสีเยอะ ผิวขาวและขนสีอ่านมีเม็ดสีน้อย จึงเหมาะกันคลื่นที่มีความยาวต่างกัน) 
4.ความยาวคลื่น (มีผลต่อพลังงานและความร้อน คลื่นยาวเหมาะกับคนที่มีสีผิวเข้ม คลื่นสั้นเหมาะกับคนผิวขาว)
5.วงจรชีวิตของเส้นขน (มีงานวิจัยพบว่า การกำจัดขนในวงจรชิวิตของขนที่ต่างกัน ให้ผลที่ต่างกัน เลเซอร์แบบ long pulse ที่เราใช้กัน ให้ผลการรักษาได้ดีในเฉพาะระยะเจริญตัว (ระยะ anagen) ของเส้นขนเท่านั้น)

■วงรชีวิตของเส้นขน แบ่งเป็น 3 วงจร
1.ระยะเจริญ (anagen) ระยะนี้มีการแบ่งตัวของเซลล์ และมีการสร้างเม็ดสี
2.ระยะเปลี่ยนแปลง (catagen) เซลล์หยุดการแบ่งตัว และหยุดการสร้างเมลานิน บริเวณรากหดตัว เส้นขนถูกดันขึ้น
3.ระยะพักตัว (telogen) 
*เส้นขนในบริเวณเดียวกัน อาจอยู่ในระยะที่ต่างกันก็ได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัย ว่าทำไมเลเซอร์แล้วขนจึงขึ้นหยุมหยิมไม่เท่ากันในแต่ละส่วน*

■ทำไมถึงต้องเลเซอร์หลายครั้ง
เพราะเส้นขนในบริเวณเดียวกัน อาจอยู่ในระยะที่ต่างกัน ดังนั้นเส้นขนมีการเปลี่ยนวงจรตลอด แต่มีแค่วงจรระยะเจริญ (anagen)เท่านั้น ที่สามารถตอบสนองการรักษาได้ดีกับ long pulsed laser เราจึงต้องใช้เวลาเพื่อที่จะรอให้เส้นขนในระยะอื่นๆกลับเข้าสู่ระยะเจริญ (anagen) อีกครั้ง เพื่อที่จะกำจัดขนได้ทั้งหมด

***รู้หรือไม่ว่า ตามข้อกำหนดขององค์การอาหารและยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เลเซอร์และแหล่งกำเนิดแสงที่ใช้ในการกำจัดขนต้องสามารถทำให้ขนลดลงประมาณ 30% ณ เวลา 3 เดือนภายหลังการทำเลเซอร์ 1 ครั้ง
อย่างน้อยข้อกำหนดในบางประเทศก็สามารถทำให้เราเชื่อถือในมาตรฐานของเครื่องมือเลเซอร์ที่จะนำมาให้งานได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ความเชี่ยวชาญของแพทย์ และความเหมาะสมในการเลือกใช้งานของแสงเลเซอร์กับผู้ที่จะทำการรักษาด้วยค่ะ

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Cookie Wongchadakul's profile


โพสท์โดย: Cookie Wongchadakul
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
“เบสท์ คำสิงห์” ทัวร์ลงยับ เหตุจอดรถรับน้องชาย ในพื้นที่ขาว-แดง[10 นามสกุลสุดโหล] ที่มักพบบ่อยที่สุดในโลกสลด สาว 27 ดิ่งคอนโดหรูดับสยอง ตร.เร่งสอบปมมรณะหนุ่มเพี้ยน!บุกศาลเจ้าลัก“ทวน“ อาวุธประจำกายเทพเจ้านาจาเลขเด็ด เลขมาเเรง เลขดัง "รวมหวยเด็ดสำนักดัง vol.4" งวดวันที่ 1 ตุลาคม 2567ด่วน!!!เงิน10000เงินดิจิทัลล่าสุดสุดเหี้ยม รุ่นพี่ ม.1-2 รุมยำเด็ก ป.6 บังคับก้มกราบ ก่อนกระทืบซ้ำฟันร่วงสลด! หลวงพ่อโดนฟันหัวมรณภาพคากุฏิ แมวน้อย 2 ตัววนเวียนเฝ้าร่างไม่ห่างสพฐ. เปิดคะแนน ‘ครูเบญ’ สอบไม่ผ่าน ได้คะแนนไม่ถึง 60%5 ฤดูที่ชอบ..บอกนิสัยคุณเช็คเงินดิจิทัล10,000บาทว่าได้รับสิทธิ์หรือไม่ที่นี่มาทำความรู้จักกับ มะม่วงหิมพานต์ กันเถอะ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สพฐ. เปิดคะแนน ‘ครูเบญ’ สอบไม่ผ่าน ได้คะแนนไม่ถึง 60%หนุ่มเพี้ยน!บุกศาลเจ้าลัก“ทวน“ อาวุธประจำกายเทพเจ้านาจาเหนื่อยใจแทน! แฟนคลับ "หมูเด้ง" เรียกร้องให้เปลี่ยนคนดูแล..เพราะน้องเป็นผู้หญิงมาทำความรู้จักกับ มะม่วงหิมพานต์ กันเถอะ
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
strangle: บีบคอ รัดคอมาทำความรู้จักกับ มะม่วงหิมพานต์ กันเถอะจริงหรือไม่!! "ลายมือ" จะบอกนิสัยใจคอของคนเขียนได้Ayam Cemani ไก่สายพันธุ์หายากและลึกลับจากอินโดนีเซีย
ตั้งกระทู้ใหม่