ภาพล้านนาเชียงใหม่ในอดีต ภาพหัวเมืองล้านนา เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองลำปาง เมืองลำพูน เมืองเชียงแสน เมืองพะเยา
กำแพงเมืองและคูเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์ และประตูท่าแพเชียงใหม่ในอดีต
ประตูเมืองเชียงใหม่ และหอคำเวียงแก้ว
สมเด็จพระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ 7 เสด็จเมืองแพร่(เขตมณฑลพายัพ)เมื่อ พ.ศ 2469 และภาพหญิงชาวเหนือที่มีหลากหลายชาติพันธ์
หาบกระบุงขายของและหาบกระบุงไปจ่ายตลาด
สาวเหนือโชว์เต้า สมัยนี้โชว์นิดเดียวก็หาว่าโป้..สาวเหนือคนใดจะอนุรักษ์การแต่งกายแบบโบราณควรดูจากภาพนี้ รับรองดังกว่าเหนียวไก่กูหายแน่.
ภาพถัดมาเป็นท่าหมอบของไพร่หรือทาสในสมัยก่อน จะต้องก้มโค้งงอตัวแบบภาพนี้
สมเด็จพระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จเมืองล้านนา(มณฑลพายับ)เมื่อ พ.ศ.2469
พระปกเกล้าฯ(ร.7)เสด็จไปนมัสการพระธาตุช่อแฮ เมื่องแพร่เมื่อ พ.ศ.2469
วัดสวนดอกเชียงใหม่ และภาพเจ้าดารารัศมีรอรับเสด็จพระปกเกล้า(ร.7)ที่วัดสวนดอก เมื่อ พ.ศ 2469
โรงแรมรถไฟเชียงใหม่(ภาพซ้าย)ใช้เป็นที่ประทับของรัชกาลที่ ๗ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
เพื่อทอดพระเนตรขบวนแห่ช้าง ระหว่างเสด็จประพาสนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.2469 ภาพขวาเป็นร้านกิตติพานิช
และภาษาคำเมืองโบราณและใบลาน
สภาพบ้านเมืองเชียงใหม่ในอดีต ภาพสาวเหนือกางจ้องเล่นน้ำสงกรานต์(แต่งกายแบบล้านนาและใช้ขันเงิน) และการฟ้อนเล็บต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง
กำแพงเมืองเชียงใหม่ในอดีตเมื่อร้อยกว่าปี
การเดินทางของชาวล้านนาเชียงใหม่ พศ.2445
สมเด็จพระปกเกล้าฯ(รัชกาลที่ 7) เป็นกษัตริย์ราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่เสด็จเชียงใหม่และจังหวัดอื่นๆทางภาคเหนือเมื่อ พ.ศ.2469
(สมัยก่อนเรียกเมืองล้านนาว่า "มณฑลพายัพ" หรือ "เมืองเหนือ" )
การชักลากไม้สักในป่า ทางภาคเหนือ (การนำไม้สักจากภาคเหนือมายังกรุงเทพฯใช้วิธีล่องไปกับแม่น้ำสายต่างๆ เช่นปิง วัง ยม น่าน)
โดยจะมีคนนั่งแพไปกับไม้สักจำนวนมาก เพื่อควบคุมไม้สักไม่ให้ติดค้างระหว่างการล่อง หากติดค้างก็จะใช้ไม้ถ่อดันให้หลุดออกมา
หากเกินกำลังก็จะว่างจ้างคนเลี้ยงช้างแถวนั้นมาช่วย สมัยก่อนทางภาคเหนือจะมีช้างไว้รับจ้างทำงานหนัก เช่นลากซุงจากแม่น้ำขึ้นฝั่ง(ไปโรงเลื่อย)
ช้างลากซุงที่ไหลไปกองอยู่ที่ตอม้อของสะพานรัษฎา ลำปาง ที่มีแม่น้ำวังไหลผ่าน
ภาพนี้ถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 6