กฎหมายโบราณ ลงโทษลูกไม่ได้ ก็ให้ลงโทษพ่อแม่ มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
ประวัติศาสตร์สามัญชนไทย ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 2 ภาพ
กฎหมายโบราณ ลงโทษลูกไม่ได้ ก็ให้ลงโทษพ่อแม่
การนำตัวพ่อแม่มารับผิดแทนลูกเป็นสิ่งที่พบได้ตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว ดังที่ ลา ลูแบร์ ราชทูตที่เข้ามาในอยุธยาสมัยพระนารายณ์กล่าวถึงกฎหมายของอยุธยาว่าด้วยการให้ครอบครัวและเครือญาติรับผิดแทนกันว่า
'ถ้าบุตรนั้นหลบหนีไปก็มักหวนกลับมามอบตัวต่อเจ้าหน้าที่โดยดี เมื่อพระมหากษัตริย์ตรัสให้เอาตัวบิดาของตนหรือมารดาของตน หรือญาติผู้ใหญ่ที่ตนนับถือไปลงโทษทัณฑ์แทน'
นอกจากนี้ในกฎหมายตราสามดวงก็อนุญาตให้สมาชิกในครอบครัวขึ้นศาลแก้ต่างแทนกันได้เพราะถือว่า 'ท่านว่าเขาตายด้วยกันได้ เขาจะแก้ตางว่าตางกันได้'
การขยายความผิดของผู้กระทำผิดไปยังญาติพี่น้องยังคงดำรงอยู่มาจนถึงรัชกาลที่ 5 ดังปรากฏว่าในปี 2439 ที่เมืองนครชัยศรีเพียงแห่งเดียวมีบิดามารดาที่ติดโทษจำขังแทนบุตรถึง 5 ราย และนักโทษหญิงอีก 2 ราย ที่เป็นแม่ยายต้องโทษแทนบุตรเขย
ที่มา: สายชล สัตยานุรักษ์. (2558). ประวัติศาสตร์รัฐไทยและสังคมไทย: ครอบครัว ชุมชน ชีวิตสามัญชน และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ . เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หน้า 22-24
ภาพประกอบ: นักโทษสยามในอดีต
ที่มาภาพ: https://board.postjung.com/636594.html กระทู้ของคุณอา mata
ฝากความคิดถึงคุณอามาตาและกลับมาตั้งกระทู้ให้เราอ่านกันอีกนะครับ - ทิมมี่
ประวัติศาสตร์สามัญชนไทย