งานแต่งงานสุดโรแมนติกของสัตวแพทย์อายุ 56 ปี กับท่านทูตสหรัฐฯ ประจำเดนมาร์ก
จุดเริ่มต้นของความหวานของทั้งคู่สองเริ่มต้นในปี 2009 เป็นครั้งแรกที่ทั้งสองได้พบกันในกรุงวอร์ชิงตัน ดี.ซี. เนื่องจาก Dr. Stephen ต้องทำงานที่นั่น เพราะเพิ่งเริ่มเป็นสมาชิกของกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ส่วนท่านทูต Rufus ณ ตอนนั้นก็ยังเป็นแค่หัวหน้าฝ่ายการเงินของประธานาธิบดี Barack Obama เพื่อการเลือกตั้งครั้งใหม่ในปี 2012 ก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นท่านทูตประจำเดนมาร์กในภายหลัง
ถ้าหากยังจำกันได้ ครั้งหนึ่ง Dude Adam เคยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ หนุ่มใหญ่ฉายา Silver Fox ที่ชื่อว่า Stephen Ritts ไปแล้ว (ย้อนกลับไปอ่านได้ที่ http://goo.gl/0PUjVl) ซึ่งแท้จริงแล้วเขามีชื่อจริงๆ ว่า Dr. Stephen DeVincent เป็นสัตวแพทย์อายุ 56 ปี IG : rydhavestephen และเขาเพิ่งเข้าพิธีแต่งงานเมื่อปลายปีที่ผ่านมา กับท่านทูตสหรัฐฯ ประจำเดนมาร์ก Rufus Gifford (อายุ 41 ปี) IG : rufusgifford
จุดเริ่มต้นของความหวานของทั้งคู่สองเริ่มต้นในปี 2009 เป็นครั้งแรกที่ทั้งสองได้พบกันในกรุงวอร์ชิงตัน ดี.ซี. เนื่องจาก Dr. Stephen ต้องทำงานที่นั่น เพราะเพิ่งเริ่มเป็นสมาชิกของกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ส่วนท่านทูต Rufus ณ ตอนนั้นก็ยังเป็นแค่หัวหน้าฝ่ายการเงินของประธานาธิบดี Barack Obama เพื่อการเลือกตั้งครั้งใหม่ในปี 2012 ก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นท่านทูตประจำเดนมาร์กในภายหลัง
Dr. Stephen ที่ตอนนั้นอยู่อพาร์ทเมนท์ของเพื่อน ก็ได้เจอกับท่านทูต Rufus โดยบังเอิญตรงทางเดิน จึงเริ่มทักทายและทำความรู้จักกัน จากนั้นจึงค่อยๆ พัฒนาจนกลายเป็นคู่รักในช่วงต่อมา “ช่วงที่ผมไปที่บ้านพ่อแม่ของเขา เรานั่งดูพระอาทิตย์ตกด้วยกันที่ระเบียง จากนั้นผมก็หันหน้าไปทางเขาและพูดว่า ผมพร้อมที่จะแต่งงานแล้วนะ แล้วเราก็ดื่มฉลองกัน” Stephen กล่าว
ทั้งสองก็ยังเก็บเรื่องนี้ไว้อย่างเงียบๆ มาสักระยะ ต่อมาจึงค่อยเริ่มวางแผนต่างๆ กับเฉพาะคนในครอบครัวและเพื่อนที่สนิทเท่านั้น และตัดสินใจที่จะแต่งงานที่เดนมาร์กในเดือนตุลาคม 2015
Dr. Stephen กล่าวว่าถึงเหตุผลที่จัดงานที่เดนมาร์กว่า “Rufus ต้องประจำที่เดนมาร์ก และที่นี่จะเป็นบ้านของเราสองคนไปอีก 3 ปีครึ่งนับจากนี้ และจะเป็นหนึ่งในที่ๆ เราจะได้ใช้ชีวิตด้วยอย่างยาวนาน และอีกอย่างคือเราได้การต้อนอย่างอบอุ่นจากที่นี่ เราจึงอยากแสดงความขอบคุณออกมาด้วย”
ตามธรรมเนียมในวันก่อนแต่งงานหนึ่งวันก็จะมีงานเลี้ยงต้อนรับแขกที่เดินทางมาร่วมยินดี โดยในงานเลี้ยงต้อนรับนี้มีท่านทูตสหรัฐฯ ประจำอังกฤษ Matthew Barzun และภริยาเป็นเจ้าภาพเลี้ยงต้อนรับ
เช้าวันพิธีแต่งงาน ซึ่งจัดขึ้นที่ศาลากลางของกรุงโคเปนเฮเกน สำหรับสักขีพยานและแขกผู้เข้าร่วมงานมีจำนวน ประมาณ 156 คน ซึ่งรวมไปถึงท่านทูตของสหรัฐฯ ประจำประเทศต่างๆ ถึง 11ท่าน และที่พิเศษสุดคือ เจ้าชาย Frederik และเจ้าหญิง Mary แห่งเดนมาร์ก ทรงเสด็จมาในงานนี้ด้วย ในพิธีนี้มีนายกเทศมนตรีของกรุงโคเปนเฮเกนเป็นผู้ทำพิธี เปลี่ยนเป็น … และภายในงานยังมีการแสดงเพลง Someone to Watch Over Me ของนักเปียโน และนักแต่งเพลงผู้ล่วงลับ George Gershwin
สำหรับงานเลี้ยงในช่วงเย็นนั้น จัดขึ้นที่ ณ ที่พำนักของท่านทูตที่เรียกว่า Rydhave และตามประเพณีก็จะมีการตัดเค้กของคู่แต่งงาน แต่ตามประเพณีของเดนมาร์กทั้งสองต้องตัดเค้กภายในวันเดียวกับวันแต่งงาน Dr. Stephen บอกว่าเกือบจะตัดไม่ทันเพราะใกล้จะเที่ยงคืนแล้ว ณ ตอนนั้น เมื่อนาฬิกาบอกเวลาเที่ยงคืน ก็มีการแสดงพลุสุดตระการตา ที่ Dr. Stephen ทำเซอร์ไพรส์ให้แก่ท่านทูต Rufus
“I’m still smiling from that weekend.” นั่นคือประโยคที่ Dr. Stephen ได้กล่าวออกมาเมื่อนึกถึงวันอันสุดแสนพิเศษของเขาและสามี ทั้งสองยังได้รับของขวัญหลังแต่งงานจากประธานาธิบดี Barack Obama เป็นโน้ตอวยพร ใจความว่า “Rufus และ Stephen, ขอแสดงความยินดีอย่างยิ่งกับคุณทั้งสองในงานแต่งงานของพวกคุณ มิเชลล์และผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าชีวิตของคุณทั้งสองจะมีแต่ความสุขและเสียงหัวเราะ”
เป็นไงเอ่ยสำหรับงานแต่งงานสุดโรแมนติกของคู่รักคู่นี้ ผมบอกเลยว่าผมอิจฉามากๆ เพราะทั้งเรื่องราวที่ทั้งสองเจอกันและบรรยากาศในพิธีแต่งงานนั้น มันช่างโรแมนติก อบอวนไปด้วยความรัก ซึ่งตัวผมเองวาดฝันเอาไว้ว่าสักวันต้องมีแบบนี้ (อันที่จริง Dr. Stephen นี่คือสเปกของผมเลยแหละ ฮาๆๆ) แต่สิ่งหนึ่งที่ตัวผมเองได้จากคู่รักรุ่นใหญ่คู่นี้ก็คือ “นี่ไม่ใช่ความรักแบบสนุกสนานฉาบฉวยแบบวัยรุ่น แต่มันเป็นความรักที่มั่นคง คือความรักที่ทั้งสองจะใช้ชีวิตร่วมกันตลอดไปตราบนานเท่านาน”
Author : Mr. Anderson
หมายเหตุ
1. ประเทศเดนมาร์กนับเป็นประเทศแรกในโลกที่ออกกฎหมายรับรองให้คู่แต่งงานที่เป็นรักร่วมเพศมีสิทธิเทียบเท่ากับคู่สมรสทั่วไปทุกประการเมื่อ 1 ตุลาคม 1989
2. ทั้งสองแต่งงานเมื่อเดือนตุลาคม 2015 แต่เรื่องราวถูกนำเสนอใน vogue.com เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2016