ร้อนขนาดนี้ ขอยกย่อง วิลลส แครเรียร์ ผู้ประดิษฐแอร์เครื่องแรกของโลก
มนุษย์เรียนรู้วิธี ที่จะถนอมอาหารให้เก็บไว้กินในเมื้อต่อไปโดยการนำไปเก็บไว้ในที่ ที่มีอุณหภูมิต่ำมาเป็นเวลานานแล้ว เริ่มแรกในอดีต มนุษย์ไม่รู้จักการเก็บอาหารไว้กินในเมื้อต่อไป อาหารที่นำมากินในแต่ละมื้อ จึงหามากินในแบบมื้อต่อมื้อ ทำให้เราได้รู้ว่ามนุนษย์ในอดีตต้องยุ่งอยู่กับการหาอาหารมากินในแต่ละเมื้อ
ตามหลักฐานและข้อมูลทางวิชาการที่มีการบันทึกไว้ กล่าวถึงจุดเริ่มต้นที่มนุษย์ในสมัยโบราญเริ่มรู้ถึงวิธีการเก็บอาหารให้คงสภาพได้ดีที่สุด คือวิธีการดึงความร้อน ออกจากอาหารหรือการนำเอาอาหารไปเก็บไว้ในบริเวณที่มีอุณหภูมต่ำ
ซึ่งเกิดจากการที่มนุษย์ยุกต์ก่อนๆล่าสัตว์มากินเป็นอาหารในช่วงฤดูหนาว แล้วกินไม่หมด จึงทิ้งไว้บนพื้นที่มีหิมะปกคลุม วันรุ่งขึ้นจึงพบว่าอาหารที่กินในเมื่อวาน ไม่เน่าเสีย ยังคคงสภาพไว้เช่นดังเมื่อวาน นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่มนุษย์รู้จักการกักเก็บอาหารให้คงสภาพโดยการลดอุณหภูมิให้แก่อาหาร จึงอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นวิวัฒนาการขั้นพื้นฐาน ที่เป็นจุดก่อกำเนิดเครื่องทำความเย็นในปัจจุบัน
น้ำเข็งก็เช่นเดียวกัน ในอดีตนานมาแล้ว อ้างอิงตามเอกสารทางวิชาการต่างๆ ได้กล่าวไว้ว่าชาวจีนผู้หนึ่ง ชื่อ Shi Ching (ไซ ชิง) ค้นพบว่าน้ำแข็งเป็นสิ่งที่วิเศษในสมัยนั้น มันสามารถที่จะเพิ่มรสของเครื่องดื่ม และทำให้รู้สึกสดชื่น ดับกระหายได้เป็นอย่างดี แต่มนุษย์ในยุกต์นั้นยังไม่รู้จักการผลิตน้ำแข็งใช้เอง ยังคงพึ่งพาน้ำแข็งจากธรรมชาติ
เกิดการค้าขายและขนส่งน้ำแข็งไปยังที่ต่างๆชาวอเมริกัน ชื่อว่า เฟรอเดอริก ทรูดอร์ ได้มีการบรรทุกน้ำแข็งที่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ลงเรือจำนวน 130 ตัน เพื่อส่งขายยังหมู่เกาะอินเดียตะวันตก แต่น้ำแข็งได้ละลายไปเป็นจำนวนมากเพราะว่าไม่รู้จักวิธีการเก็บน้ำแข็ง เมื่อไปถึงยังหมู่บ้านที่เกาะอินเดียตะวันตก ทรูดอร์ ได้ทำไอศรีมขาย ทำให้เป็นที่แตกตื่นกันมาก เพราะว่าชาวหมู่เกาะอินเดียตะวันตกยังไม่เคยพบเคยเห็นหรือรู้จักมาก่อน แต่ว่าทรูดอร์ก็ประสบกับการขาดทุนไปเป็นจำนวนมาก เพราะว่าเขายังไม่รู้จักการเก็บน้ำแข็งนั้นเอง
ต่อมามนุษย์จึงเรียนรู้วิธีการเก็บรักษาน้ำแข็งให้อยู่ได้นานขึ้น โดยการรักษาความเย็นด้วยการนำขี้เลื่อยหรือแกลบ มาหุ้มก้อนน้ำแข็งเพื่อให้รักษาความเย็นและรักษาสภาพได้นานขึ้น การค้าขายน้ำแข็งในยุกต์นั้น ได้ก่อกำเนิดการค้าเป็นมูลค่ามหาศาล ซึ่งน้ำแข็งในสมัยก่อน ถือเป็นสิ่งของที่มีราคาแพงมาก ผู้ที่ได้ริมรสเครื่องดื่มเย็นๆที่ใส่น้ำแข็ง มีเพียงบุคคลในระดับสูงเท่านั้น
หลังจากมนุษย์เรียนรู้การรักษาสภาพให้น้ำแข็งอยู่ได้นานๆ ในปี 1849 ทรูดอร์ ได้ขยายอุตสาหกรรมการผลิตน้ำแข็ง โดยการส่งน้ำแข็งออกขายยังต่างประเทศ หลายประเทศ เช่น อเมริกาใต้ เปอร์เชีย หมู่เกาะอินเดีย เป็นต้นเขาได้สร้างที่เก็บน้ำแข็งโดยขี้เลื่อยของต้นสนหุ้มท่อไม่ให้น้ำแข็งละลาย ทำให้เขาได้มีกำไรเป็นจำนวนมาก ในปี และเขายังส่งน้ำแข็งขายถึง 150000ตัน และปี ค.ศ. 1864 เขาได้ส่งน้ำแข็งไปขายรวมทั้งสิ้น 53 ประเทศ จนเป็นที่นิยมมากและเขาก็ได้ลมเลิกกิจการไปเมื่อมีการจัดตั้งโรงงานอุสาหรรมน้ำแข็งขึ้น
จุดกำเนิดของเครื่องทำความเย็น
เมื่อน้ำแข็งจากธรรมชาติได้รับความต้องการเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการขนส่งทำได้ไม่ครอบคลุมซึ่งยากแก่การที่จะขนส่งน้ำแข็งจากธรรมชาติเข้าถึงดินแดนที่ห่างไกลออกไปมาก รวมทั้งด้านความไม่สะดวกและราคาน้ำแข็งที่แพงมาก มนุษย์จึงเริ่มคิดค้นอุปกรณ์ที่จะมาใช้ในการทำความเย็น เพื่อที่จะสามารถรองรับความต้องการในการบริโภคน้ำแข็งที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จนในปี ค.ศ. 1790 โทมัส ฮาริส และ จอห์น ลอง ได้มีการจดทะเบียนเครื่องทำความเย็นเป็นเครื่องแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ และอีก 3 ปีต่อมา
จอคอม เปอร์กิ้น ชาวอเมริกันได้ประดิษฐ์เครื่องทำความเย็นเป็นเครื่องแรก และเป็นเครื่องทำความเย็นชนิดอัดไอ ชนิด ความเร็วช้า โดยที่ตัวเครื่องอัด (COMPRESSOR)
ใช้มือโยก แทนการใช้เครื่องยนต์ ใช้น้ำหล่อเย็นที่เครื่องควบแน่น และใช้ลิ้นแบบถ่วงน้ำหนักเป็นตัวควบคุมการไหลของสารทำความเย็น และใช้สารทำความเย็นชนิด อีเทอร์
ในปี ค.ศ. 1851 ดร. จอห์น กอรี่ ได้มีการจดทะเบียนเครื่องทำน้ำแข็งโดยมีการใช้อากาศเป็นสารทำความเย็น แต่ก็ได้ประสบกับปัญหาหลายอย่างมากมาย และที่อุณหภูมิสูงยังได้เกิดระเบิดอีกด้วย
ศาสตราจารย์ เอซี ทวินนิ่ง ชาวอเมริกัน ได้มีการปรับปรุงโดยใช้ ซัลฟูริกอีเทอร์ และมาประสบความสำเร็จเมื่อ ค.ศ. 1853 โดย ดร. เจม ฮาริสัน ชาวออสเตรเลีย เมื่อปี 1860 ได้ติดตั้งเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ที่สุดเป็นเครื่องแรกของโลก ในปี ค.ศ. 1872 เฟอร์ดินัน แคร์รี่ ได้สร้างเครื่องทำความเย็นแบบดูดละลายหรือดูดซึม ขึ้นเป็นครั้งแรก ในระบบประกอบไปด้วย
อีวาปอเรเตอร์ เครื่องควบแน่น เยนเนอเรเตอร์ ปั๊มและตัวดูดน้ำยา ใช้แอมโมเนีย เป็นสารทำความเย็น และได้มีการคิดค้นการใช้เครื่องอัดเพื่อทดแทนเครื่องอัดแบบมือโยก แต่ก็ยังหมุนได้ช้าเพราะว่า ใช้เครื่องอัดที่เป็นไอน้ำขับ ซึ่งมีความเร็วประมาณ 50รอบ/นาที ซึ่งถือว่าเร็วมากที่สุดในสมัยนั้น
ในช่วงประมาณราวปลายศตวรรษที่ 19 ไปจนถึงช่วงต้นศตวรรษที่ 20 วิวัฒนาการด้านระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศ เข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงและเจริญขึ้นมาอย่างรวดเร็ว วิทยาการด้านระบบการทำความเย็นและระบบปรับอากาศ ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างไม่หยุดนิ่ง และประสบผลสำเร็จ ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆมากมาย วิวัฒนาการและเทคโนโลลยีใหม่ๆในด้านระบบเครื่องทำความเย็น ที่เกิดขึ้นในยุคศตวรรษที่ 19 และ 20 ได้ก่อให้เกิดสิ่งอำนวยความสะดวกขึ้นมาหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น
ปี 1890 มีการสร้างโรงจักรของเครื่องทำความเย็น แบบ De La Vergene ที่มีกำลังการทำความเย็นได้มากถึง 220 ตัน นับว่าเป็นการประสบความสำเร็จในวงการอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยเครื่องทำความเย็นของยุคนั้น
ปี 1904 อาคาร Stock Exchange New york ติดตั้งระบบเครื่องปรับอากาศ ขนาดใหญ่ถึง 450 ตัน
ถือเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในยุคเริ่มแรก ของวงการเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่
ปี 1904 โรงภาพยนตร์ชื่อดังขนาดใหญ่ ในประเทศเยอรมัน ก็ยังมีการติดตั้งระบบเครื่องปรับอากาศ ขนาดใหญ่ถึง 450 ตัน
ปี 1905 Gardner T. Vdorhees ได้ทำการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ คอมเพรสเซอร์ Multiple Effect
ปี 1911 คอมเพรสเซอร์ที่เคยมีความเร็วช้า ได้รับการพัฒนาให้มีความเร็วเพิ่มขึ้น สูงถึง 900 รอบ/นาที
ปี 1910 เริ่มมีการคิดค้นผลิตตู้เย็นตู้แช่สำหรับครัวเรือนออกวางจำหน่าย ชนิดทำงานโดยอาศัยแรงคน ออกวางจำหน่ายครั้งแรก ปี 1913
ปี 1915 ได้มีการคิดค้นและทดสอบ สร้างระบบเครื่องทำความเย็นที่ใช้คอมเพรสเซอร์ 2 ชุด ในระบบเดียว จนสำเร็จ นำมาใช้งานและออกจำหน่ายได้ใน ปี 1940
ปี 1918 บริษัท Kelvinator เป็นรายแรกที่ผลิตตู้เย็นแบบอัตโนมัติ ออกสู่ตลาดจำนวน 67 เครื่อง
ปี 1920 บริษัท Kelvinator เพิ่มกำลังผลิตขึ้น ตามความต้องการของผู้ใช้ อีกหลายร้อยเครื่อง
หลังจากคิดค้นและทดลองมาเป็นระยะเวลา 11 ปี General Electric ได้ทำการผลิตมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบปิดสนิทออกวางจำหน่าย ในปี 1926
ปี 1940 มีผู้เริ่มคิดค้นระบบการทำงานของคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่
ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การพัฒนาของวงการระบบปรับอากาศ มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด
จากข้อมูลทางวิชาการ ได้กล่าวถึงการกำเนิดโรงงานผลิตน้ำแข็งแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งก่อกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2448 สมัยรัชกาลที่ 5 พระยาภักดีนรเศรษฐ หรือ นายเลิศ เศรษฐบุตร ได้เริ่มต้นกิจการโรงน้ำแข็งซึ่งเป็นโรงน้ำแข็งแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งขึ้นที่สะพานเหล็กล่าง ถนนเจริญกรุง ชื่อว่า น้ำแข็งสยาม แต่กลับเป็นที่รู้จักกว้างขวางในชื่อ โรงน้ำแข็งนายเลิศ
นับแต่นั้นน้ำแข็งก็แพร่ขยายไปสู่หัวเมืองใหญ่ๆ รอบนอกกรุงเทพฯ แต่น้ำแข็งยุคนั้นยังไม่สะอาดเท่าที่ควร เพราะใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลองมาทำให้ใส ที่ดีหน่อยก็ใช้น้ำบาดาล แต่ไม่มีการกรองฆ่าเชื้อโรคแต่ประการใด เพราะต้นทุนสูงไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย
ระบบเครื่องทำความเย็นในยุกต์เริ่มต้นของโรงน้ำแข็งแห่งแรกในประเทศไทย มิได้มีการนำมอเตอร์ไฟฟ้ามาเป็นส่วนต้นกำลังในการขับกลไกลให้เครื่องดูดอัดสารทำความเย็น(คอมเพรสเซอร์)เหมือนในปัจจุบัน แต่ใช้เครื่องยนเป็นส่วนต้นกำลังในการขับเคลื่อนเครื่องดูดอัดสารทำความเย็น ซึ่งใช้แอมโมเนียเป็นตัวกลางในการทำความเย็น
ในประเทศไทย น้ำแข็งในช่วงแรกๆ ถึงแม้เป็นน้ำแข็งที่ไม่ค่อยสะอาด แต่ก็เป็นสิ่งที่แปลกใหม่แก่สายตาชาวสยาม เป็นสิ่งที่มีราคาแพง บุคคลในระดับชั้นสูงเท่านั้น ที่จะได้ลิ้มรสเครื่องดื่มใส่น้ำแข็ง
นับว่าเป็นเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก ที่ผลิตเพื่อใช้งานกันภายในภาคครัวเรือน
เป็นนวัตกรรมที่มีการหยิบยืมแนวคิดมาจากระบบทำความเย็นขนาดใหญ่
ที่ใช้กันในระดับอุตสาหกรรม ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณชายที่ชื่อว่า