ใครได้ประโยชน์? โครงการผันน้ำโขงด้วยแรงโน้มถ่วง โขงเลยชีมูล แก้ภัยแล้งอีสาน
(รูปภาพ : แสดงความสูงของพื้นที่ภาคอีสาน จะเห็นว่า เมื่อสูบน้ำเข้ามา น้ำจะค่อยๆ ไหลตามแรงโน้มถ่วง จากอีสานเหนือ ไปสู่ อีสานใต้)
จากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น ทำให้ภาครัฐได้หยิบยกโครงการบริหารจัดการน้ำออกมาปัดฝุ่นมากมาย โครงการนี้ก็เป็นโครงการหนึ่งครับ
โครงการบริหารจัดการน้ำโขง เลย ชี มูล โดยแรงโน้มถ่วงนั้น เป็นการใช้หลักทางวิศวกรรมที่จะนำน้ำจากแม่น้ำโขงเฉลี่ยปีละ 40,000 ล้านลบ.ม. บวกกับสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสมในการส่งน้ำด้วยแรงโน้มถ่วงโลกบริเวณปากแม่น้ำเลย อ.เชียงคาน จ.เลย ผ่านอุโมงค์ผันน้ำ ซึ่งศึกษาไว้ 2 เส้นทางคือ เส้นทางแรกผันน้ำจากเลยไปหนองบัวลำภู โดยใช้อุโมงค์ผันน้ำที่มีความยาว 54 กิโลเมตร ซึ่งจะสามารถส่งน้ำได้ครอบคลุมพื้นที่ภาคอีสานตอนบน และเส้นทางที่ 2 ผันน้ำจากเลยมายังพื้นที่ลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูล โดยใช้อุโมงค์ผันน้ำที่มีความยาวถึง 85 กิโลเมตร ซึ่งจะสามารถส่งน้ำได้ครอบคลุมพื้นที่ภาคอีสานได้มากกว่าเส้นทางแรก
- สำหรับผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการโดยตรงคือ สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 30.64 ล้านไร่ มีเกษตรกรได้รับประโยชน์ถึง 1.72 ล้านครัวเรือน หรือประมาณ 7.05 ล้านคนในพื้นที่ 272 อำเภอ ครอบคลุม 19 จังหวัดภาคอีสาน
- จะทำให้ภาคเกษตรเพิ่มรายได้เป็นประมาณ 199,000 บาท/ครัวเรือน/ปี จากปัจจุบันที่มีรายได้เพียง 67,982 บาท/ครัวเรือน/ปี สูงกว่ารายได้เฉลี่ยของเกษตรกรทั่วประเทศคือ 137,175 บาท/ครัวเรือน/ปี