หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ย่อหนังสือ ศาสตร์แห่งการดำเนินชีวิต

โพสท์โดย molgnaw

ศาสตร์แห่งการดำเนินชีวิต
บทนำ


        ทุกคนทราบดีว่าชีวิตจเต้องประสบกับความทุกข์และความสุขคลุกเคล้ากันไป แต่ทุกคนก็ปฎิเสธที่จะต้องเผชิญกับความทุกข์ อละพยายามหน่วงเหนี่ยวความสุขไว้ ปรารถนาจะได้เป็นกรรมสิทธิ์ของตนด้วยซ้ำไป ซึ่งนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ จะทำอย่างไรเมื่อชีวิตมืดมนสิ้นหวัง และพบกับความทุกข์

ยุทธวิธีในการเผชิญกับปัญหาชีวิตประกอบด้วย
๑.ความเข้าใจชีวิตอย่างถ่องแท้
๒.การมีสติอยู่เสมอ
๓.การมีวินัยในตนเอง

        เป้าหมายหลัก คือ การเพิ่มความตื่นตัวภายในและรู้เท่าทันสิ่งที่เกิดขึ้นและดำเนินอยู่ในกระแสแห่งชีวิต
การเจริญสติเพื่อเพิ่มพูนความรู้เท่าทัน และตระหนักชัดเป็นไปใน ๒ รูปแบบ คือ
๑.ความสามารถตระหนักรู้ในระนาบกว้าง
๒.การตระหนักชัดในสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นพิเศษ หรือความมีสติในระนาบลึก เราจะพบว่าการฝึกพุ่งความรับรู้ไปสู่จุดใดจุดหนึ่งมีความสำคัญมาก ละการพัฒนาจิตทั้งหมดต้องอาศัยความตระหนักรู้ที่คมชัด ซึ่งหากเราได้พากเพียรฝึกสติความรู้ชัด เราจะพบความบกพร่องของตนเองมกขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นการบรรลุเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งของขบวนการเข้าใจชีวิตอย่างถ่องแท้

        การควบคุมจิต รู้จักระงับยับยั้งการแสดงออกของอารมณ์ กำหนดสติรู้เท่าทันขบวนการก่อตัวของอารมณ์ การนำภาคปฎิบัติแห่งการควบคุมจิตมาใช้ในชีวิตประจำวัน
        วิธีสร้างวินัยในตนเอง การสร้างวินัยในตนเองด้วยข้อสัญญากับตัวเอง

 

เดือนที่ ๑ ผ่อนคลายความเครียด


        ชีวิตเป็นเรื่องหนัก แต่เมื่อเผชิญกับปัญหา ความวิตกกังวลและความเครียด เป็นการเพิ่มความทุกข์ให้กับชีวิตโดยไม่จำเป็น เมื่อคุณเกิดความเครียดในจิตใจ ขบวนการเหร็งตัวของกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกายจะเกิดขึ้น ความเครียดนำความเสื่อมโทรมมาให้แก่ชีวิต ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

สาเหตุของความเครียด และเป็นทุกข์โดยย่อ คือ
๑. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความกลัดกลุ้มกังวล
๒.ปฏิฆะ ความขุ่นเคืองใจ
๓.มานะ ความถือตัว สำคัญตนผิดและความหลง
การขาดความสุขทางจิตใจ มีสาเหตุจากความโลภ โกรธ หลง หรือ การไม่เข้าใจตนเอง

        การแก้ไข ความเครียดืางร่างกาย และจิตใจ
ทางร่างกายโดยการส่งจิตกำหนดรู้ เอาใจใส่เป็นพิเศษต่อกล้ามเนื้อจุดต่างๆ ทั่วร่างกาย ด้วยวิธีเจริญสติ การฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อเพื่อทำให้เรา สามารถฝึกให้อยู่ในระบบจิตสำนึกแทนจิตใต้สำนึก

การปฏิบัติ
ฝึกการป่อนคลายจนเป็นนิสัย ตามวิธีการอย่างง่ายๆ และอย่าลืมการฝึกวินัยในตนเองควบคู่กับการให้สัญญากับตนเองด้วย

 

เดือนที่ ๒ หลักการพื้นฐานแห่งการเข้าใจตนเอง


        คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจตนเองอย่างแท้จริง เพราะปกติคนเรามักจะมีอัตตารุนแรง หรือมี Ego สูง และต้องการคงความรู้สึก " ตัวกู" ให้เต็มอยู่เสมอ ซึ่งเท่ากับเป็นการหลอกตัวเองอยู่เสมอ กลัวการที่จะรู้แจ้งไปโดยปริยาย

        หลักแห่งสติ อันหมายถึงการพัฒนาหรือสร้างสมรรถภาพแห่งการรู้ตัว (สัมปชัญญะ) จะทำลายการหลอกตัวเองและสร้างสรรค์ความเข้าใจตนเอง

        สติ อันหมายถึงการเฝ้าสังเกตตนเองเป็นหลัก เพราะโดยปกติคนเรามีแนวโน้มที่จะพยายามละเลย ไม่ยอมทำความรู้จักกับความชั่วร้ายที่มีในจิตใจตนเอง และนี่คือต้นกำเนิดของการหลอกตัวเอง ซึ่งต่อมากลายเป็นการขาดความสามรถในการรับรู้สิ่งเหล่านี้เลย

        การเฝ้าสังเกตความรู้สึก (เวทนา) การควบคุมความติดยึด เป็นการฝึกตนเองให้รู้จักเฝ้ามองประสบการณ์ต่างๆ ในระดับความรู้สึกอย่างแยบคาย และประเมินคุณค่าประสบการณือย่างแจ่มชัด เป็นการขยายแสงแห่งสติเพื่อให้ความสามารถสังเกตตนเองตามสภาพที่เป็นจริง

        มารู้จักเหตุปัจจัยพื้นฐานที่คอยหน่วงความก้าวหน้าทางจิตใจ
๑.ความปรารถนาที่เห็นแก่ตัว
๒.ความปรารถนาร้ายกับผู้อื่น ซึ่งสะท้อนมาเป็นความปรารถนาร้ายต่อตนเองด้วย
๓.ความหลงตัวสำคัณตน และพยายามหลอกตนเอง

        การเฝ้าสังเกตสภาวจิต เป็นการฝึกสติเพื่อจะฉายแสงแห่งจิตสำนึกไปยังรากเหง้าความชั่วร้ายต่างๆในจิตใจ คุณค่าของหลักแห่งการเจริญสติจะทำให้เข้าใจตนเองได้ดีขึ้น

ภาคปฏิบัติ
การสร้างนิสัยในการสังเกตตนเอง เพื่อที่จะเข้าาใจขบวนการทางจิตใจโดยส่วนรวมทั้งหมด และเฝ้ามองความคิดประเภทเข้าข้างตนเอง ซึ่งถูกครอบงำโดยอารมณ์ที่ลำเอียง หรืออคติต่างๆ เป็นการแทนที่ความหมกมุ่นกับตนเองโดยการเฝ้ามองและวิเคราะห์ตามสภาวะที่เแนจริง และเป็นการนำหลักการสัญญาตนเองและฝึกวินัยในตนเองมาประกอบด้วย

 

เดือนที่ ๓ กระบวนการตีคุณค่าสิ่งทั้งปวงใหม่

 

        ทั้งปวงต้องอาศัยพลังแห่งสติ และการเข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงแห่งการดำรงอยู่
การจะเข้าถึงความจริงอันนี้และเลิกยึดถือคุณค่าที่ไร้ประโยชน์ได้ จะต้องเข้าใจและยอมรับความเป็นจริงของสรรพสิ่ง
การขวนขวายสู่การรู้แจ้งและเปิดทางสู่ชีวิตอิสระ เริ่มต้นด้วยดารคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น อย่าได้พึงพอใจกับการได้มาด้วยการสูญเสียของผู้อื่น หรือชื่นชมกับการได้ชัยชนะมาด้วยการพ่ายแพ้ของคนอื่น

        ขบวนการเปลี่ยนระบบคุณค่าใหม่ ต้องเริ่มจากภายใน และเพิ่มความรู้เท่าทันการให้คุณค่าผิดๆ

ภาคปฏิบัติ

การฝึกสติในระนาบกว้าง เป็นการเพิ่มความตื่นตัว และความพร้อมภายในเพื่อให้เข้าใจชีวิตได้ชัดเจนถูกต้องขึ้น

 

เดือนที่ ๔ ทางแห่งการเสริมสร้างความรู้ตัว

 

        ความก้าวหน้าทางจิตใจ ต้องอาศัยหลักสองประการดังนี้ และการใช้พลังแห่งสติทั้ง ๒ ลักษณะ

๑.พลังแห่งความรู้ตัวในระนาบลึก
๒.พลังแห่งความรู้ตัวในระนาบกว้าง

        การกระทำตามนิสัยหรือความเคยชิน ทำให้ไม่ได้ใช้สติเท่าที่ควร

การศึกษาให้เข้าใจถึงชีวิตและนิสัย
การแก้นิสัยที่ไม่ดี โดยอาศัยการฝึกวินัยในตนเองและพลังแห่งสติ
พัฒนาพลังความรู้เท่าทัน เฝ้ามองปฏติกิริยาในจิตใจของคุณเอง

ภาคปฏิบัติ

การสังเกตสิ่งภายนอก การฝึกสติทั้งภายในจิตของคุณ และการเฝ้าสังเกตสิ่งภายนอก เป็นการเพิ่มสมรรถภาพในการดำรงชีวิต และเหมาะแก่คนที่ชอบครุ่นคิดเรื่องของตัวเอง และเช่นเคย ควรใช้การฝึกวินัยในตนเองและงดความสุขเล็กๆ น้อยๆ ถ้าเกิดเผอเรอไม่ทันสังเกต สาระสำคัญของการฝึกบทนี้อยู่ที่การฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต มิใช่การฝึกความจำ

 

เดือนที่ ๕ หลักแห่งการยอมรับความจริง

 

        จิตแบ่งเป็น ๒ ระดับคือ ระดับจิตสำนึกและระดับจิตใตสำนึก แต่ทั้ง ๒ ส่วนนี้มิใช่ลักษณะของการแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่เป็นความรู้สึกที่ปรากฏชัดกับความรู้สึกแฝงเร้นอยู่ และจะเป็นปรากฏออกมาเมื่อความรู้สึกอันนี้กลายเป็นจุดรวมศูนย์ของจิตสำนึก

        การยอมรับตัวคุณเองตามที่คุณเป็นจริงจะนำไปสู่การพัฒนาตนเอง ทั้งนี้จะต้องอาศัยการมีสติต่อเนื่องกันเป็นพลังขับเคลื่อน โดยมีการฝึกสติรู้เท่าทันจิต (จิตตานุปัสนา) พร้อมทั้งพัฒนาความรู้เท่าทันอาการของจิตใจในทางก้าวหน้า พัฒนาด้านคุณธรรม เช่น ความเมตตากรุณา

        การยอมรับตนเองตามความเป็นจริง ะต้องสมดุลย์กับการยอมรับผู้อื่นด้วย การมองและเข้าใจผู้อื่นอย่างลึกซึ้งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง

คุณสามารถนำหลักแห่งการยอมรับความจริงไปทดลองปฏิบัติได้โดย
๑. สังเกตโครงสร้างทางจิตใจและอารมณ์ของตนเอง
๒. สังเกตปฏิกิริยาทางจิตใจ และอารมณ์ที่เกิดกับคนอื่น พร้อมทั้งความทุกข์และความสุขที่เกิดขึ้น

        การยอมรับความจริง โดยไม่ปัดปัญหาและอุปสรรคใตชีวิตและเฝ้าสังเกตด้วยความละเอียดลออและเต็มไปด้วยสติ จะช่วยคุณได้อย่างมาก และช่วยให้มองปัญหาได้ชัดขึ้น

ภาคปฏิบัติ

เป็นแบบสอบถามตนเอง ว่าด้วยการยอมรับความจริงอย่างไม่ขัดขืน เป็นการตอบคำถามทดสอบตนเอง และกระตุ้นให้เกิดขบวนการตรึกตรองทางความคิดมิใช่เป็นการหาคำตอบอย่างเด็ดขาอให้กับคำถามเหล่านี้ ควรจะทบทวนอยู่ทุกๆ ๒-๓ วัน พร้อมกับการตรึกตรองอย่างลึกซึ้งไปด้วยในขณะเดียวกัน

 

เดือนที่ ๖ การมีสตอรู้เท่าทันอารมณ์

 

        คุณรู้จักสิ่งใดเป็นอย่างดี คุณก็จะสามารถควบคุมสิ่งนั้นได้เป็นอย่างดีเช่นกัน เช่นเดียวกับการที่คุณรู้เกี่ยวกับตนเองมากเท่าใด ย่อมเป็นประโยชน์กับคุณมากเท่านั้นโดยเฉพาะยามที่คุณประสบปัญหาต่างๆ ทางอารมณ์หรือปัญหาชีวิตอันยากลำบาก

        การเกิดอารมณ์ต่างๆ จะควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ความผิดปกติทางอารมณ์และประสาทกังกล่าว เป็นโทษแก่ชีวิตของคุณมากมายทีเดียว

ข้อปฏิบัติในเรื่องอารมณ์ แบ่งเป็น ๓ ด้าน คือ
๑.จิตตานุปัสนา เสริมสร้างและพัฒนานิสัยในการสังเกตสภาพจิตตนเอง
๒.การควบคุมการแสดงออก เมื่ออารมณ์นั้นเกิดขึ้น
๓.การเสริมสร้างและพัฒนาทัศนะในการมองโลกแบบใหม่หรือสร้างระบบคุณค่าใหม่

        การเจริญสติและเฝ้ามองอารมณ์อยู่เสมอ แทนการปล่อยให้อารมณ์ในแง่ลบก่อตัวใหญ่โต จนยากแก่การควบคุมและการเฝ้ามองนั้นจะต้องเป็นไปในลักษณะของการเรียนรู้เท่าทัน เริ่มด้วยวิธีจิตตานุปัสนา มิใช่เพียงแต่ตั้งใจควบคุมอารมณ์อย่างเดียว ซึ่งจะกลายเป็นการเก็บกด อันเป็นโทษอย่างยิ่ง

        บางขณะคุณอาจจะต้องเลือกระหว่างการระเบิดอาารมณ์ออกมา หรือการควบคุมอารมณ์อย่างเต็มที่ เป็นสิ่งที่คุณจะต้องพิจารณาและตระหนักชัดถึงอารมณ์เหล่านั้น

ภาคปฏิบัติ

        การควบคุมอารมณ์ความรู้สึกวิตกกังวล และความเครียดทางร่างกาย พยายามมองให้เก็นเหตุแห่งความเครียดอันเป็นอกุศลมูล ความมีมานะถือตัว ความวิตกกัวล ความเคียดแค้นพยาบาท แล้วขจัดความวิตกกังวลอันมีมาจากเหตุปัจจัยต่างๆ ทั่คุณได้ตระหนักชัดแล้วนั้น

 

เดือนที่ ๗ กลไกแห่งการหลอกตนเอง

 

        โดยปกติมนุษย์มีสัญชาตญาณของสัตว์ทั่วๆ ไปแฝงอยู่ด้วย แนสืบเนื่องมาแต่ดึกดำบรรพ์ ซึ่งเกิดขึ้นสำหรับความอยู่รอด และบางขณะเราไม่ยอมรับความจริงในข้อนี้ โดยเห็นว่าเป็นความชั่วร้าย นอกจากนี้ความรู้สึกเกี่ยวกับตัวกู ของกู และการต้องการคงความรู้สึกที่ว่าตนเป็นคนดีสูงส่ง เกล่านี้เป็นต้นเหตุที่สำคัญในการหลอกตนเอง

        กลไกที่จิตใจหลอกตนเอง จากแง่โครงสร้างและการทำงานของสมอง คนเรามักจะพยายามหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดและไม่พอใจ อันต่อไปจะทำให้เกิดความรู้สึกของจิตใต้สำนึก หรือเป็นกลไกแห่งการหลีกเลี่ยงที่ค่อยๆ จมลงสู่จิตใต้สำนึก นอกจากนี้เราควรจะรู้จักกลไกแห่งความหันเห ซึ่งประสานกันอย่างใกล้ชิดกับกลไกแห่งการหลีกเลี่ยง

        ทางแห่งการหันเหทำให้ออกไปสู่ทางที่สาม ทำนองเดียวกัน วิถีประสาทจะเคลื่อนไปตามวิถีประสาททำให้เกิดความสุขใจ

กลไกแห่งการติดยึด มีความรู้สึกยึดมั่นและพึ่งพาหนทางที่จะนำความวุขและมีความสะดวกสบายเป็นที่พึ่ง
สรุปแล้วรากฐานมูลเหตุของกลไกแห่งการหลอกตัวเองคือ
๑.กลไกแห่งการหลีกเลี่ยง เกิดจากวิถีประสาทที่ทำให้เกิความเจ็บปวด
๒.กลไกแห่งการติดยึด เกิดจากวิถีประสาทที่ทำให้เกิดความสุขสบายมากเกินไป
๓.กลไกแห่งการหันเห ขึ้นอยู่กับวิถีประสาทที่เลือกใหม่

ภาคปฏิบัติ

การควบคุมความประหม่าและความขุ่นเคืองคือการเฝ้ามองตนเองอย่างใกล้ชิด และพินิจพิเคราะห์โดยปราศจากอคติใดๆ ให้รู้ชัดว่าความโกรธก่อตัวขึ้นได้อย่างไร มีอะไรเป็นเหตุปัจจัย ไม่เกลียดกลัวอารมณ์ในทางลบ หรือชื่นชมอารมณ์บวก ให้กำหนดรู้เฉยๆ หากปล่อยให้ความโกรธหรือประหม่าเกิดขึ้น โดยละการพิจารณาเฝ้าดู ให้ปรับตนเองโดยงดความสุขเล็กๆ น้อยๆ เสีย

 

เดือนที่ ๘ หลักพุทธธรรมว่าด้วยความไม่มีตัวตน


        มนุษย์มีความมานะถือตัว ซึ่งแสดงออกตามสัญชาตญาณ เป็นการเสาะหาความอิ่มใจพอใจที่ไม่มีวันสิ้นสุด คุณจะพบว่าการยอมรับความจริงเกี่ยวกับความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่งอย่างผิวเผินนั้นเป็นเรื่องง่าย แต่การจะยอมรับกฎอนิจจังในทุกนัยนั้นเป็นเรื่องยากอย่างยิ่ง ซึ่งหากการปฏิเสธความจริงอันนี้ เท่ากับเป็นการหลอกตนเอง และพยายามสนองความทะยานอยากต่างๆ ของเรา ซึ่งเราคิดว่านี่เป็นหนทางเดียวที่จะนำมาซึ่งความสุขและกระตุ้นให้เกิดความมานะ นั้นแหละ คือศัตรูตัวฉกาจของความสุข

หนทางแห่งการหลอกตัวเอง
๑.การแสวงหาความเที่ยงแท้ในโลก
๒.พยายามมองหาแต่ความสุขในวัฏฏะ แห่งควมเกิดและความตาย
๓.เกิดความมานะถือตัวสำคัญตน

        การแก้ปัญหาดังกล่าวตามหลักพุทธธรรม เราต้องยอมรับและเข้าใจลักษณะสำคัญ ๓ ประการ แห่งสภาวะของชีวิตโลกและจักรวาล คือ
๑. ความจริงที่ว่าสรพพสิ่งในจักรวาลแห่งความสัมพัทธ์ (โลกิยะ)
นั้นหาความเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้ (อนิจจัง)
๒.ความจริงที่ว่าสรรพสิ่งในจักรวาลแห่งโลกิยะนั้น อยู่ในสภาวะแห่งความขัดแย้งอยู่เสมอ เป็นเหตุให้สัตว์ที่มีจิตสำนึกต้องเป็นทุกข์
๓.ความจริงที่ว่าไม่มีชีวิตใดครอบครองัวตนหรือวิญญาณอันนิรันดรได้ (อนัตตา) ฉะนั้นลักษณะแห่งจักรวาล โลกิยะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้เป็นพื้นฐานสำคัญในพุทธธรรม

        เหตุที่ต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องอนัตตา และการปฏิบัติตามหลักอนัตตา เกี่ยวเนื่องกับเรื่องอวิชชาความเชื่อที่ว่ามี "ตัวตน" ถ้าหากทำลายความคิดนี้ได้ก็เท่ากับทำลายพื้นฐานของอวิชชาลง

        ความเป็นจริงเรื่องอนัตตา อนิจจัง และเรื่องของชีวิต กระแสของชีวิตมนุษย์ประกอบด้วย ๕ ส่วน คือ ๑. รูป ๒. เวทนา ๓.สัญญา ๔. สังขาร ๕.วิญญาณ

        ความเข้าใจในเรื่องของจิตและเจตสิกดวงต่างๆ อาการของจิตที่มีเจตสิกมาประกอบ อันเป็นแกนกลางของความคิดที่คอยตัดสินใจกระทำกิจต่างๆ เช่น ผัสสะ ความรู้ตัวเมื่อสิ่งเร้าภายนอกและภายในกระทบกับอวัยวะสัมผัสและจิตสำนึก เจตนา หรือ ความจงใจ อันจะครอบงำเจตสิกดวงอื่นๆ มีอิทธิพลต่อแนวโน้การคิด พูด กระทำการต่างๆ ชีวิตอินทรีย์ พลังแห่งชีวิต ซึ่งเปรียบเทียบอย่างหยาบๆ ได้กับพลังประสาทหรือพลังสมอง มรสิการ ความใส่ใจ เป็นอาการของจิตที่สามารถนำสิ่งเร้าภายนอกหรือความนึกคิดมาพิจารณาด้วยจิตสำนึก เจตสิกทั้ง ๕ ผนวกกับความรู้สึก (เวทนา) และความจำได้หมายรู้ (สัญญา) จัดเป็นเจตสิก ๗ ดวงที่เกิดขึ้นกับจิตสำนึกทุกรูปแบบเข้ากับจิตสำนึกทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล ไม่ใช่เข้าได้แต่ฝ่ายเดียว

        นอกจากนี้ยังมี วิตก วิจาร วิริยะ ปิติ ฉันทะ และ อธิโมกข์ เจตสิกเหล่านี้ประกอบกันแล้วเปรียบได้กับสัญชาตญาณ และบางส่วนก็เป็นความเคยชินทางความคิด

        จุดมุ่งหมายของการวิเคราะห์ชีวิตของปัจเจกบุคคล เราจะทราบได้ว่าหามีสิ่งที่เรียกว่า ตัวตน วิญญาณ หรือตัวฉันอันถาวรจีรังไม่ เหมือนคลื่นที่เกิดในมหาสมุทรแห่งชีวิตที่เกิดและสลายต่อเนื่องกัน และจุดสำคัญของพุทธธรรมอยู่ที่การตระหนักชัดถึงความเป็นมายาของตัวตนและทำลายมายานี้ และเข้าถึงอุดมสุขอันปราศจากเงื่อนไข

        หลักอนัตตามความหมายอย่างไรต่อชีวิตการงานประจำของคุณ คุณต้องพยายามเข้าใจว่าสิ่งที่คุณทำนั้นถ้าเป็นไปเพื่อประโยชน์ของมายาภาพแห่งตัวตนละก็ นั้นเป็นการใช้พลังงานที่สูญเปล่าไร้ค่า

หลักอนัตตาอย่างย่อ
"เธอ ผู้เป็นทาสของตัวตน
เธอ ผู้ทำงานหนักแต่เช้าจรดค่ำเพื่อรับใช้ตัวตน
เธอ ผู้อยู่อย่างหวาดกลัวผวาต่อความแก่ ความเจ็บ และความตาย
เธอ จงรับรู้ข่าวดีเถิดว่า นายทาสใจอำมหิตของเธอนั้นไม่มีอยู่จริงดอก"

        ความเข้าใจในเรื่องปมด้อย และหารศึกษาตามหลักอนัตตา ปมด้อยของชาวตะวันตกเทียบได้กับเจตสิกดวงหนึ่งคือมานะ ซึ่งเกิดจากการเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง และแสดงออกมาใน ๓ รูปแบบ คือ
๑.การคิดว่าตนเองด้อยกว่าคนอื่น
๒.การคิดว่าตนเองเสมอกับคนอื่น
๓.การคิดว่าตนเองเหนือกว่าคนอื่น

        การเกิดความรู้สึกด้อยหรือเขื่อง การเกิด "ปม" ทางจิตใจ และปมเหล่านี้สัมพันธ์กับการทำงานของสัญชาตญาณได้อย่างไร

        การถูกทอดทิ้งไม่ได้รับการยอมรับ ทำให้รู้สึกด้อยและถูกสะสมไว้จนกลายเป็นปมด้อย และการที่คุณจะรู้สึกด้อยหรือเขื่อง อยู่ที่ว่าการกระทำและคำพูของคุณเป็นสิ่งที่เขายอมรับและได้รับการสรรเสริญหรือไม่เป็นประการสำคัญ

        การฝึกมานะ ลดความถือตัว
วิธีจัดการกับปมด้อยของคุณตามหลักจิตวิทยาชาวพุทธ
เมื่อคุณเห็นว่าปมด้อยนำผลเสียต่างๆ มาให้แก่ชีวิตและคิดจะจัดการกับมัน คุณจะต้องอาศัยความพากเพียรที่ต่อเนื่องและเฝ้ามองสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง มุ่งการที่ดวงตาเห็ธรรมเรัยกว่า "การเจริญสัมมาสติ" โดยการสร้างสรรค์นิสัยในการกำหนดรู้เฉยๆ

        ความเป็นมาของการเป็นคนใจน้อยหรือขี้โอ้ และคุณเองจัดอยู่ในประเภทใด จากการเป็นคนมีมานะถือตัวและยึดตนเองเป็นหลัก พยายามที่จะยกตัวเองให้สูงเด่น เหล่านี้เป็นแรงผลักดันให้คุณคิด และกระทำสนองความปรารถนาอันนี้ แต่ความสำคัญตนของคุณถูกท้าทายหลายๆ ครั้ง และเกิดการขัดแย้งบ่อยๆ รวมทั้งความล้มเหลวและพ่ายแพ้ จะเกิดเป็นความเจ็บปวดที่ประทับอยู่ในจิตสำนึกที่คุณพยายามจะลบมันออก มันปรากฎกระตุ้นเตือนคุณอยู่เสมอถึงความรู้สึกเป็นปมด้อยอันนี้และนี่แหละเป็นแรงจูงใจให้คุณแสดงออกมาในสองลักษณะคือการเป็นคนใจน้อย หรือเป็นคนขี้โอ่ เพื่อกลบเกลื่อนความรู้สึกด้อยอันนี้

        การฝึกตนเองขั้นพื้นฐานเพื่อขจัดความมีมานะถือตัว และการเข้าใจหลักอนัตตา คุณต้องเข้าใจหลักอนัตตาเป็นประการแรก ตระหนักถึงการถือตัวสำคัญตนจนเกินไป ย่อมก่อให้เกิดความขัดแย้งกับคนอื่นและแม้แต่ภายในตัวคุณเอง ฉะนั้น ช่วงนี้คุณควรพยายาม (วิริยะ) พากเพียรรักษาตนให้ประกอบกิจโดยอิสระจากความมานะถือตัวให้มากที่สุด ควรเริ่มด้วยการสังเกตตนเอง สังเกตปฏิกิริยาต่างๆของคุณที่มีต่อเหตุการณ์ทั้งภายในและภายนอกอย่างพินิจและติดต่อกันเปนนิสัย โดยฉายแสงแห่งสติไปยังการกระทำและปฏิกิริยาทุกอย่างของคุณ

        คุณเข้าใจและรู้จักตนเองมากขึ้นแล้วหรือยัง และคุณจะทดสอบตนเองได้อย่างไร การเจริญสติเข้าสู่ภายในทำให้คุณรู้จักกับกลไกการทำงานองจิตใจของคุณ เช่นกลไกแห่งการแก้ตัว (หลอกตัวเอง) และการเก็บกด ดังนั้นเมื่อคุณเริ่มเข้าใจตนเอง คุณจะเริ่มมองเห็นความเคยชินของคุณทั้งในการหลอกตนเอง สำคัญตน เปรียบเสมือนเป็นห้ามล้อที่จะคอยเตือนสติมิให้พุ่งตัวพองโตขึ้น และความรู้ที่แท้จริงมาแทนที่

คุณสามารถนำมาปฏิบัติได้ ๓ ทาง โดยสังเกตความรู้สึกที่เกิดขึ้นอันเป็นแหล่งเพาะเชื้อแห่งความทุกข์
๑.ทางความคิด
๒.ทางคำพูด
๓.ทางการกระทำ
เมื่อคุณตระหนักชัดถึงความรู้ดังกล่าวแล้ว หมั่นเจริญสติกำหนดรู้ความมานะที่เกิดขึ้นทุกรูปแบบ พยายามควบคุมในขณะที่มันเกิดขึ้น

        เมื่อความรู้สึกด้อยและเขื่องปลาสนาการไปแล้วความขัดแย้งใดๆ ก็จะสลายไปด้วย และการที่จะขจัดความรู้สึกด้อย จะต้องควบคู่ไปกับการขจัดความรู้สึกเขื่องเช่นกัน

ภาคปฏิบัติ

        วิธีปฏิบัติให้ได้ผลตามวิธีการฝึกละความมานะลดความถือตัว การที่จะปฏิบัติให้ได้ตามที่กล่าวแล้วนั้น คุณจำต้องจัดเวลาให้เป็นพิเศษสักเดือนหนึ่ง หรือสองสามเดือน พยายามค้นหาให้เห็น และกำหนดรู้ให้ทันว่า ความมานะของคุณออกมาในรูปใดบ้าง การแก้ปัญหาก้าวแรกก็ต้องเริ่มจากท่ามกลางความวุ่นวายในชีวิต การงานประจำวันนี้ด้วย และที่สำคัญต้องเกิดจากความเข้าใจในชีวิต ในตัวของคุณเองไม่ใช่ถูกข่ม ซึ่งหลักใหญ่ใจความนี้อยู่ที่การเจริญสตินั้นเอง และพยายามสังเกตให้เห็นความมานะตั้งแต่เริ่มก่อตัวและดำเนินอยู่ได้ จะเป็นการดีวิเศษทีเดียว

        อย่าลืมหลักการฝึกวินัยในตนเอง และสัญญากับตนเองเพื่อมิให้การปฏิบัติล้มเหลวได้ อาจมีการงดเว้นความสุขเล็กๆ น้อยๆ สำหรับการละเว้นที่จะเฝ้าสังเกตความมีมานะ

 

เดือนที่ ๙ การฝึกควบคุมความคิด

 

        พื้นฐานของการไม่มีอิสระทางความคิดของคุณ ปกติแล้วคนจะคิดด้วยตนเองน้อยมาก ในวัยเยาว์ของชีวิต การเรียนรู้ส่วนใหญ่จะอาศัยผัสสะของประสาท การรับรู้ความรู้สึก อันทำให้คุ้นเคยกับประสบการณ์ขั้นพื้นฐานของชีวิต และความดีหรือเลวในขันนี้อยู่ที่ว่าคุณพอใจหรือไม่ และต่อมาความดีเลวจะถูกกำหนดโดยผู้ใหญ่ ช่วงนี้ความคิดของคุณจะถูกครอบงำโดยผู้ใหญ่ หรือผู้อยู่โดยรอบ และคุณจะได้รับการถ่ายทอดความคิด หรือรับการยัดเยียดความคิดจากบุคคลเหล่านี้ ขั้นต่อมาคุณก็มีแนวโน้มที่จะพอใจในสิ่งที่คุณรักและพอใจ

        คุณพอใจที่จะดำเนินไปตามทางที่คุณวางไว้แต่เยาว์วัยและต่อมาก็ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมที่ปลุกเร้าความคิดของเราไปตามรูปแบบ
เมื่เราเห็นความสำคัญในการพัฒนาวิธีการในการบังคับบัญชาความคิด เราจะทำได้อย่างไรก่อนที่เราจะตกเป็นทาสของสิ่งแวดล้อมโดยสิ้นเชิง ควรก้าวออกจากร่องวิถีอันนำไปสู่การเป็นทาสทางความคิด โดยอาศัย วิธีการกำหนดรู้เฉยๆ อันเป็นรูปแบบสำคัญในการเจริญสติ

        อย่างไรคือการกำหนดรู้เฉยๆ และความสัมพันธ์กับการเข้าใจความคิดของตนเอง การกำหนดรู้เฉยๆ หมายถึงการรู้ตัวทั่วพร้อมอย่างบริสุทธฺ์จ โดยไม่มีปฏิกิริยา ซึ่งส่วนนี้จะช่วยคุณได้ เมื่อคุณสำรวจตนเองจะพบว่า ความคิดของคุณเต็มไปด้วยความยุ่งเหยิงสับสนสอดแทรกเข้ามาจากที่ต่างๆ และเลือนลางไม่แจ่มชัด รวมทั้งความขัดแย้งบาดหมางและการรู้เท่าทันการทำงานของจิตใจของคุณ จะทำให้ทราบถึงความรู้สึกอคติว่าแผ่ขยายเขตไปกว้างและหยั่งลึกเพียงใด เพื่อคุณจะได้ฉายลำแสงแห่งสติไปยังเขตอคติเหล่านี้ และทำลายปมเหล่านี้

        การทำงานของการกำหนดรู้เฉยๆ การกำหนดรู้เฉยๆเปรียบเหมือนการเช็ดให้กระจกใสสะอาด ย่อมสะท้อนภาพให้เห็นชัดเช่นเดียวกับการที่คุณสามารถชำระสะสางสมรรถภาพในการรับรู้ของจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ขึ้น คุณก็จะช่วยให้จิตใจได้เห็นตัวเองชัดและลึกซึ้งยิ่งขึ้น และเป็นองค์สำคัญในมัชฌิมาปฏิปทา

        สภาวะทางจิตและการเกิดห้วงความคิด ความคิดเป็นสิ่งสำนึกได้ โดยมีสิ่งเร้าหรือวัตถุ (ธรรมารมณ์) ที่สำนึกถึงเป็นตัวกระตุ้น เช่นเดียวกับกระแสจิตเบื้องใต้อันทำหน้าที่เป็นพลังงานทางจิตให้ชวิตแก่ร่างกาย เปรียบได้กับกระแสน้ำที่ไหลอย่างสงบและราบเรียบ แต่เมื่อถูกรบกวนโดยสิ่งเร้า ก็จะเกิดเป็นความสำนึกขึ้นเหมือนคลื่นที่เกิดขึ้นบนผิวน้ำ ก็จะเกิดเป็นความสำนึกขึ้นเหมือนคลื่นที่เกิดขึ้นบนผิวน้ำ กระแสจิตเบื้องใต้นี้เป็นพื้นฐานสำคัญของชีวิต อันได้รับการปลูกฝังประทับใจจากประสบการณ์ในอดีต ซึ่งก็ปรากฏเข้ามาในความคิด ในรูปของความจำต่างๆ

        การดำรงอยู่ของสภาพจิต เกิดขึ้นเหมือนแสงไฟที่เกิดดับด้วยความถี่สูงมาก เกิดเป็นภาพที่ต่อเนื่องกัน ขั้นตอนของการเกิดความสำนึกทั้ง ๑๗ ขณะจิต การควบคุมความคิดโดยการควบคุมคำพูดในใจ และโดยการพูดให้้ชัด เวลาเราคิดเราใช้คำพูดเป็นเครื่องช่วยไม่น้อย และเป็นสัญลักษณ์แทนมโนภาพต่างๆ ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า ถ้าเราใช้คำพูดในการสร้างความคิด เป็นสัญลักษณ์แทนมโนภาพที่ตั้งใจไว้ไม่เที่ยงตรง ความคิดของเราจะพร่ามัวไม่แจ่มชัด และจะหนุนให้แนวโน้มที่จะหลอกตัวเองสูงขึ้น และจากประเด็นดังกล่าว เราสามารถที่จะนำไปสู่การใช้คำพูดเป็นอุปกรณ์ในการบังคับบัญชาความคิด เมื่อเราได้เฝ้ามองความอยากที่เห็นแก่ตัว ความพยาบาท ความคิดประทุษร้าย ตั้งแต่มันเริ่มปรากฏตัวอ่อน พยายามคิดให้ชัดออกมาเป็นคำพูดที่แน่นอนลงไปว่าขณะนี้สภาวะจิตของเราเป็นอย่างไร ชั่วร้ายเพียงใดก็จะสามารถตระหนักชัดความจริงอันนี้ได้ และเป็นการง่ายแก่การจะจัดการกับกิเลสเหล่านี้ คุณอาจกล่าวคำซ้ำๆ หลายๆ ครั้งก็ได้ ที่สำคัญคือคุณมักจะลืมนึกถึงวลีแห่งการเตือนสติในยามที่จำเป็น เช่นคุณกำลังโกรธ เกลียด เสียใจ และขมขื่นใจ อย่าปล่อยให้อารมณ์เหล่านี้ครอบงำคุณจนขาดสติ การฝึกให้มีสติทันต่อเหตุการณ์ของจิต จะช่วยให้คุมในส่วนนี้ได้เป็นอย่างดี

        หนทางสู่การพัฒนาทางความคิด ส่วนหนึ่งการเข้าใจเรื่องของกามตัณหา จะช่วยให้คุณเป็นอิสระจากแรงจูงใจทุกรูปแบบของการสนองความพอใจทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ช่วยให้คุณสามารถควบคุมความทะยานอยากในการหาความสุขความพอใจอันทำให้คุณรู้จักปล่อยวางไม่ปล่อยให้สิ่งเหล่านี้มาครอบงำความคิดและความจูงใจให้วนเวียนระลึกถึงอยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้ชีวิตเป็นสุขมากขึ้น

        การไม่ยึดติดอยู่กับอดีต ปล่อยให้ห้วงความคิดหมกมุ่นจมอยู่กับสิ่งที่ผ่านไปแล้วไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกเป็นสุขหรือทุกข์ ควรยอมรับสภาพความเป็นจริง จริงอยู่ การชื่นชกับความสุข หรืการนำความผิดพลาดในอดีตเป็นบทเรียนเป็นเรื่องของปัจจุบัน แต่คุณต้องไม่ปรารถนาดรียกร้องจะให้เหตุการณือันประทับใจในอดีตหวนกลับมาเป็นความจริง หรือหวาดหวั่นต่ออดีตเหล่านั้นราวกับว่าคุณยังอยู่ในเหตุการณ์ร้ายไม่เสื่อมคลาย

        นอกจากนี้การมองโลกในแง่ดีและมีใจเป็นกุศล ไม่มุ่งประทุษร้ายตนเองและผู้อื่น และไม่ละเลยต่อความทุกข์ของผู้อื่นขบวนการดังกล่าวต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจอันถูกต้องโดยการเจริญสติหรือกำหนดรู้เฉยๆ อยู่เสทอ ความคิดทั้งปวงของคุณจะบริสุทธิ์และเป็นตัวของตัวเองโดยสมบูรณ์

ภาคปฏิบัติ

        การกำหนดรู้เฉยๆ คุณให้เวลาสำหรับตนเองที่ปลอดจากงานรับผิดชอบทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นการทำ พูด คิด สัก ๒-๓ สัปดาห์ ซึ่งย่อมเป็นไปไม่ได้ในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามคุณสามารถใช้กิจกรรมในชีวิตประจำวันเป็นพื้นฐาน ในการพัฒนาให้ชีวิตภายในของคุณเติบโตแข็งแรง ซึ่งอาจเป็นอุดมคติที่แท้จริงในชีวิต มากกว่าการแยกตนเองออกเป็นอิสระ
ขั้นแรก โดยการลดอัตราความเร็วในการทำงานลงโดยเลือกเวลาที่คุณกระทำโดยไม่ทำให้สิ่งอื่นเสียหายให้การสังเกตอากัปกิริยา และความเป็นไปอย่างละเอียดลตลอดเวลา และปฏิบัติต่อเนื่องกันจนเป็นฐานที่มั่นคง เพื่อขยายการฝึกสติไปยังกิจกรรมอย่างอื่นของชีวิต เป็นการเจริญสติไปยังกิจกรรมอย่างอื่นของชีวิต เป็นการเจริญสติให้แก่ชีวิตต่อไป
        คุณอาจเริ่มด้วยการทำกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ อย่างช้าๆ มีสติ และตั้งใจแน่วแน่ จะช่วยเพิ่มพลังสติให้แก่คุณและขยายไปสู่งานอื่นต่อไป คุณต้องอาศัยการให้สัญญาแก่ตนเอง และความตั้งใจอย่างมีสติตลอดเวลาเพื่อเกื้อหนุนฝึกสติด้านนี้ด้วย

 

เดือนที่ ๑๐ ฝึกฝนเพื่อปล่อยวาง


        หนทางแห่งการหลุดพ้นจากความทุกข์อย่างสิ้นเชิง ในวิถีของชาวพุทธ ทุกคนได้ตระหนักถึงความจริงของชีวิตว่ามีทั้งความทุกข์และความสุข ความเหนื่อยากและสุขสบาย และเราก็ปรารถนาให้มีช่วงของความสุขและการพักผ่อนมากขึ้น แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า บางครั้งความทุกข์ยากจะเป็นแรงจูงใจให้มีความบากบั่นพากเพียร และก่อให้เกิดความก้าวหน้าดังภาษิตที่ว่า "ขนมปังแห่งความทุกข์ คือ อาหารที่บำรุงเลี้ยงให้มนุษย์เติบโตสู่ภูมิธรรมสูงสุด"

        การหลุดพ้นจากความทุกข์สิ้นเชิงในวิถีของชาวพุทธคือการพ้นสภาวะแห่งตัวตน เป็นสภาวะที่อยู่เหนือเงื่อนไขใดๆ เป็นสภาวะแห่งการหลุดพ้น หรือสภาวะที่เหนือสภาวะ และตามความเป็นจริงเราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความทุกข์ในบางระดับได้ สิ่งที่จะช่วยคุณได้ คือ การหัดปล่อยวางหรือลดความติดยึดในความสุขของชีวิต

        การฝึกเวทนานุปัสสนา โดยอาศัยการกำหนดรู้ความรู้สึกสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นโดยวางใจเป็นกลาง (วางเฉย) ที่สุด เพื่อประเมินคุณค่าของความสุข และความทุกข์ในชีวิตของเราอย่างแจ่มชัด เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เราเป็นทาสของควมรู้สึก หรือถูกครอบงำโดยความรู้สึกเหล่านั้นโดยสิ้นเชิง

        เป้าหมาย ของเราจึงอยู่ที่การเป็นอิสระ ไม่จมกับประบการณ์ทั้งด้านสุขและทุกข์ รวมถึงการปฏิบัติต่อประสบการณ์ในอดีตและที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อจะก้าวหน้าไปสู่ความเป็นอิสระยิ่งขึ้น

        ความเคยชินกับการแสวงหาที่พึ่งพิง หรือวัตถุแห่งการติดยึดและผลร้ายที่จะเกิดขึ้นกับชีวิต เมื่อคุณมีความหลังกับจิตใจและมั่นใจที่จะได้รับความสุขจากการพึ่งพิงสิ่งหรือบุคคลนั้น โดยหารู้ไม่ว่านั่นเป็นการเปิดประตูของชีวิตไว้ต้อนรับควาทุกข์โศกกับการให้วัตถุแห่งการติดยึดนั้น คุณยิ่งเจ็บปวดและทุกข์มากขึ้นถ้าฝากชีวิตไว้กับที่พึ่งมากเกินไป เมื่อหลักที่คุณอิงอยู่ล้มลง

        ด้วยมนุษย์กลัวความทุกข์ และเกลียดการเผชิญกับความจริงบางอย่าง มนุษย์จึงมีลักษณะแห่งการแสวงหาที่พึ่งพิง และพยายามก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลง คุณอาจจะทุกข์ในการเปลี่ยนแปลงหลักที่เกาะยึดอยู่เสมอ และประสบกับความทุกข์ที่เกิดจากความสูญเสียในสิ่งที่คุณยึดติดเสมอเช่นกัน

        การแก้ปัญหาเรื่องการติดยึด ประการหนึ่ง คือกาเป็นอิสระในตัวเองให้มากที่สุด คุณอาจจะไม่สามารถปิดกั้นความรู้สึก อันเกิดจากการกระทบกันระหว่างประสาทสัมผัสกับโลกภานนอก หนทางอันหนึ่งจะเป็นไปในลักษณะการตัดช่วงต่อของความรู้สึกพอใจ และไม่พอใจ ความอยากและความไม่อยาก (ตัณหา) คือความเป็นอิสระจากความรู้สึกดังกล่าวให้มากที่สุด คุณจะต้องบัญชาชีวิตด้วยปัญญา ไม่ใช่ด้วยปมต่างๆ ทางอารมณ์ รู้เท่าทันว่าอะไรเกิดขึ้นในจิตใจของคุณ และขณะนั้นสภาวะจิตของคุณเป็นอย่างไร ถ้าคุณสามารถเข้าถึงความปล่อยวางได้ในบางระดับ ลดความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ ซึ่งพันธนาการคุณไว้ในบางส่วน เมื่อนั้นคุณจะมีอิสระในการที่จะมีความสุขโดยไม่ต้องติดยึด และโดยเหตุผลเดียวกัน คุณจะไม่รู้จักสูญเสียอะไรมากมาย เมื่อความสุขนั้นๆ พรากจากคุณไป

ภาคปฏิบัติ

        การฝึกปล่อยวาง จุดมืดในจิตใจของมนุษย์อันเป็นเหตุและผลของอคติต่างๆ ทำให้ไม่สามารถตระหนักรู้ชัดถึงตัวของตนเองและผลเสียของอคติและความติดยึดผิดๆ วิธีที่จะลบจุดบอดเหล่านี้คือการเจริญสติ

        ในบทนี้คุณจะได้รับพิจารณาค้นหาสิ่งที่คุณติดยึดและอารมณ์ความรู้สึกของตนเองได้ชัดขึ้น และพัฒนาความรู้เท่าทันแง่มุมต่างๆ ของจิตใจคุณเอง โดยการตอบคำถาม ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องค้นหาคำตอบโดยเร็วและแน่นอนตายตัว พยายามใช้เวลาและพิจารณาให้ละเอียดลึกซึ้งในการฝึกภาคปฏิบัติบทนี้ พยายามใช้เวลาและพิจารณาให้ละเอียดลึดซึ้งในการฝึกภาคปฏิบัติบทนี้ คุณควรเริ่มการสังเกตความหมายของคนอื่นด้วยความไม่มีอคติ และวางเฉยตลอดในชีวิตประจำวัน คุณจะพบเสมอว่าความหมายที่แท้จริงนั้นมักจะแตกต่างไปจากการตีความในครั้งแรกของคุณ ตัวอย่างเช่น การฝึกเป็นนักฟังที่ดี พยายามเข้าใจด้วยความเป็นกลาง และตีความหมายให้ชัด และมีควบคู่กับการรักษาจิตใจให้เป็นอิสระจากปฏิกิริยาทางอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ แล้วหวนกลับมาสำรวจดูว่าคุณใช้แบบสอบถามนั้นอย่างสม่ำเสมอ และลึกซึ้งหรือเปล่า และปฏิบัติควบคู่ไปกับการสร้างวินัยในตนเองด้วย

 

เดือนที่ ๑๑ การเข้าถึงความสงบ


        อุปสรรคของมนุษย์ในการเข้าถึงความสงบ มนุษย์มีมันสมองอันฉลาและได้เปรียบสัตว์โลกอื่นๆ แต่มนุษย์ก็ยังตกเป็นเป้าทาสของอารมณ์และสัญชาตญาณ และสัญชาตญาณดั้งเดิมในตัวเรานี้แหละ ทำให้เกิดขบวนการทางความคิด ซึ่งเต็มไปด้วยอคติ และเกิดทัศนะที่ไม่ถูกต้องอันกลายเป็นอุปสรรคขวากหนามในการเข้าถึงความสงบอย่า
แท้จริง โซ่ตรวนของจิตใจและอุปสรรคบนหนทางไปสู่ความสงบสุข (ปัสสิทธิ) ได้แก่ความลังเล ความงมงาย ฯลฯ ซึ่งขัดขวางการตรวจสอบประเมินความคิดแปลกๆ ใหม่ๆ โดยไม่มีการตัดสินใจไว้ล่วงหน้า แบะโดยมอารมณ์และอคติเข้ามาเป็นเครื่องชี้นำ นอกจากนี้ความยึดถือในตัวตนก็เป็นอุปสรรคประการหนึ่ง ฉะนั้นหากคุณอนาทรต่อความเดือดร้อนทุกข์ยากของผู้อื่น ขณะที่ความก้าวหน้าทางใจดำเนินไป คุณก็จะค่อยๆลดการให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของตนเอง เลื่อนมาให้ความสำคัญกับผลประโยขน์ของชีวิตมนุษย์

        ความไม่หวั่นไหวเป็นขั้นตอนของการเข้าถึงความสงบสุข ซึ่งจะสงบอยู่ท่ามกลางความวุ่นวาย และเข้าแทนที่ความวิตกกังวล ความขุ่นเคือง และความทะนงถือตน

        ทัศนคติแห่งการไม่แข็งข้อ มาการ์เรต ฟิลเตอร์กล่าวว่า "การไถหว่านเพาะปลูกมีความจำเป็นในการดูดทรัพยากรขึ้นมาจากแผ่นดินฉันใด ความทกข์ยากลำบากก็เป็นสิ่งจำเป็นในการขุดทรัพยากรจากจิตใจฉันนั้น" ถ้าคุณสามารถพิจารณาในแง่นี้ได้อันเป็นการสร้างทัศนคติแห่งการไม่แข็งข้อ คุณจะสามารถรักในสิ่งที่คุณเกลียดได้ ส่วนนี้เอง จะทำให้จิตใจของคุณมรสภาพยืดหยุ่น คล่องแคล่วได้ แทนความระหวาดระแวง ความอิจฉา ขุ่นเคืองใจอันคับแคบ ซึ่งคุณจะจัดการกับมันได้ด้วยการเจริญสติควบคู่กับการฝึกวินัยในตนเอง ยอมรับรู้ว่ากิเลศเกิดในรูปแบบใด และพากเพียรที่จะพิจารณาควบคุมด้วยความสุภาพอ่อนโยนและไม่เก็บกดซึ่งเป็นการสร้างนิสัยและระบบความคิดใหม่

        คุณอาจจะจัดการกับกิเลศทีละข้อและเพ่งสังเกตติดต่อสักระยะเวลา คุณก็จะเริ่มด้วยการสังเกตตนเองอย่างใกล้ชิดเพื่อค้นให้พบว่าเมื่อใดและสถาพการณ์เช่นไรคุณมักจะเกิดความฟุ้งซ่าน คุณจะมีสติรู้เท่าทันความเป็นจริงเหล่านี้

        การเข้าถึงความสงบ จึงไม่ใช่เรื่องของการได้อยู่ในสภาพแวดล้อมในอุดมคติหรืออิสระจากสิ่งภายนอก แต่เป็นเรื่องของการค้นพยอุปสรรคขวากหนามภานในจิตใจที่เป็นปฏิปักษ์ต่อความสงบสุข โดยการเฝ้าสังเกตด้วยความวางเฉยและค่อยๆ จัดการอย่างมีสติด้วยความอ่อนโยนและต่อเนื่องกัน

ภาคปฏิบัติ

        การเฝ้าสังเกตอารมณ์ด้วยความวางเฉย ความหวั่นไหวของจิตไม่ว่าอยู่ในขั้นไหน เป็นอุปสรรคขวากหนามต่อการเข้าถึงหนทางแห่งความสงบสุข
        การเจริญสติรู้เท่าทันความหวั่นไหวเหล่านี้ของจืตตั้งแต่อยู่ในขั้นเริ่มต้น ย่อมง่ายแก่การควบคุมและจัดการกับมัน
        วิธีการปฏิบัติ ใช้เวลาสักช่วงหนึ่ง ลองสังเกตตนเองอย่างใกล้ชิด เพื่อค้นพบอารมณือ่อนไหวต่างๆ ดูว่าเกิดขึ้นถี่ห่างอย่างไร เป็นการทดลองที่จะฝึกนิสัยการสังเกตตนเองด้วยความวางเฉยโดยการแยกประเภท และเรียกชื่อของอารมณ์หวั่นไหวแต่บะอย่างเท่ากับเป็นการรู้เท่าทันความเป็นไปในระดับพื้นฐานและหากมีการตอบโต้โดยอาการใดๆ ควรปราศจากอคติต่างๆ ให้มากที่สุด โดยเฉพาะปฏิกิริยาในทางความรู้สึกนึกคิด กระแสความคิด และการเฝ้าสังเกตจะต้องพยายามเป็นไปด้วยความวางเฉยมากที่สุด

 

เดือนที่ ๑๒ การเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจชีวิตอย่างถ่องแท้


        การทำความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตอ่างถ่องแท้ ทราบถึงความต้องการที่แท้จริง และจุดมุ่งหมายหลักในชีวิตของคุณ แรงจูงใจสำคัญในขีวิตอันจะไม่ทำให้คุณปล่อยชีวิตล่องลอยไปตามกระแส โดยไร้การคิดพิจารณา คุณต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสัญชาตญาณอารมณ์ความทะยานอยาก และทฤษฎีว่าด้วยธรรมชาติของสิ่งเหล่านี้


      สัญชาตญาณก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายได้อยางไร จะกระตุ้นให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายโดยที่คุณสามารถรับรู้ถึงความรู้สึกดังกล่าว เริ่มจากการมีความนึกคิดที่จะกระการบางอย่างเกิดขึ้นในจิตใจ ซึ่งถูกเสริมด้วยอารมณ์อันเป็นพลังจากสัญชาตญาณซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องยนต์ และมีมมันสมองเป็นหางเสือ และคุณย่อมเชื่อในสิ่งที่คุณมีแนวโน้มที่จะเชื่อ ซึ่งต่างกับความคิดตามภววิสัย
การทำงานของสัญชาตญาณที่มีส่วรสัมพันธ์กับสมอง สมองซึ่งเป็นส่วนคิดหาเหตุผลและการสื่อความหมายให้เป็นที่เข้าใจได้ง่ายอันเป็นส่วนได้เปรียบของมนุษย์ แต่เมื่อสมองต้องสู้กับเจ้าอารมณ์ และความทะเยอทะยานอยากให้สมองอ่อนล้ากะปลกกะเปลี้ย ความทะยานอยากและอารมณ์ถูกดัมาสู่จิตสำนึก ด้วยพลังแรงอันมหาศาลของสัญชาตญาณ


        คุณต้องอาศัยความเพียรและตั้งใจเป็นพิเศษในการเข้าใจตนเองทั้งในระนาบกว้างและลึก เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการควบคุมความทะยานอยาก ซึ่งจะต้องจัดการกับมันในระยะแรกๆ ที่เกิดขึ้นเล็กๆน้อยๆ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ในระดับกว้างพอสมควรทีเดียว


แนวทางในการเข้าใจชีวิตอย่างถ่องแท้
๑.การเข้าใจอย่างแจ่มชัด ถึงแรงจูงใจของการกระทำของเรา
๒.เข้าใจชัดเจนว่าการกระทำนั้นเหมาะสมจริงๆ ที่จะบรรลุเป้าหมายหรือไม่
๓.ดำรงชีวิตในอาณาจักรของสติและดำเนินอยู่บนพื้นฐานแห่งการภาวนา
๔.เข้าใจถ่องแท้ในความไม่หลง มีความรู้ตัวทั่วพร้อมอันแหลมคมเจาะทะลวงการหลอกตนเองผ่านภาพมายาของตนเองเข้าไปถึงชีวิตที่แท้ของคุณ
จากข้อ ๑ อธิบายได้ว่าเป็นการแสวงหาเป้าหมายหลักของชีวิต ทำให้ชีวิตของคุณมีความกมายและสามารถคิดพิจารณาว่ากรรมต่างๆ ที่คุณกระทำสอดคล้องกับเป้าหมายหลักของชีวิตหรือไม่ แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องล้มเลิกกิจกรรมทุกอย่างที่ไม่สอดคล้องกัน แต่คุณอาจถือโอกาสทำกิจกรรมดังกล่าวเพื่อเจริญขันติธรรมในอาณาจักรแห่งสติ เท่ากับเป็นการปรับให้เข้ากับเป้าหมายหลัก

ภาคปฏิบัติ

        การรู้เท่าทันแรงจูงใจบนวิถีทางแห่งการเข้าใจตนเอง คุณจะพบว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความเข้าจอย่างแจ่มแจ้งถึงแรงจูงใจอันแท้จริงของกิจที่คุณกระทำลงไป คุณต้องฝึกการใช้ความพยายามในอันที่จะรู้เท่าทันแรงจูงใจพื้นฐานที่แท้จริงซึ่งอาจพบว่า สิ่งที่คุณทำมนรูปของความเมตตากรุณานั้น คุณมีแรงจูงใจอารมณ์ความรู็ศึกอื่นๆ ที่แอบแฝงมาในรูปของความเมตตากรุณานั้น
        ฉะนั้น การรู้เท่าทันแรงจูงใจจึงเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งในการรู้จักตนเองมากขึ้น อย่าลืมให้สัญญากับตนเองและมีวินัยในตนเองในการฝึกหัด อย่าปล่อยให้ถูกกลบเกลื่อนโดยแรงกดดันต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และคุณอาจย้อนสำรวจไปถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ผ่านมา แรงจูงใจในกิจกรรมที่คุณได้กระทำมานั้น

ที่มา:หนังสือ : ศาสตร์แห่งการดำเนินชีวิต
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
molgnaw's profile


โพสท์โดย: molgnaw
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
20 VOTES (4/5 จาก 5 คน)
VOTED: makhamdong, โก๊ะทอง, บ่าวสันขวาน, ginger bread, willbe
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
วัดถ้ำเสือ อันซีนท่าม่วงกาญจนบุรีพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ วัดพระธาตุผาซ่อนแก้วMIT ตั้งเป้าสร้างสมองหุ่นยนต์ใหม่ที่ใส่ได้กับทุกตัวหุ่นยนต์เล็กชักชวนหุ่นยนต์ใหญ่ให้เดินออกจากโชว์รูมของบริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์ ผู้ผลิตกังวลถึงความสามารถที่มากเกินไปสรุป 5 หัวข้อใหญ่การอัปเดต Google Chrome กดใช้ AI ในปุ่มเดียวมิสยูนิเวิร์ส 2024 จากรอง2 สู่คนมงจักรวาล คนแรกของเดนมาร์ก"รองอันดับ 3 Miss Universe 2024 โอปอล สุชาตา รับเงินรางวัลกี่บาท?"คำตอบหวานจับใจ เดนมาร์ก คว้ามงแรก Miss Universe 2024👑
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
‘โมโหหิว’ Hangry อาการโมโหหิว แก้ยังไง ปล่อยไว้ระวังเสียสุขภาพวัดถ้ำเสือ อันซีนท่าม่วงกาญจนบุรีมิสยูนิเวิร์ส 2024 จากรอง2 สู่คนมงจักรวาล คนแรกของเดนมาร์ก
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
โกโก้ไทย ฮอตไฟลุก! วัยรุ่นจีนแห่แชร์รีวิว โกอินเตอร์กว่า 160 สาขาในแดนมังกรยาดมไทย ฮิตแรง ชาวต่างชาติหลงรักจนติดหนึบ แชร์ประสบการณ์สุดฮา ติดใจขั้นถอนตัวไม่ขึ้นฝันlปียก เรื่องธรรมชาติของวัยหนุ่ม (ที่ไม่ควรกังวล)ช่วยตัวlองวันละหลายรอบ...มากไปไหม? ไขข้อข้องใจกับเรื่อง (ไม่) ลับเฉพาะของหนุ่มๆ
ตั้งกระทู้ใหม่