หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

มองเขามองเรา:การติดเชื้อ HIV ในมุมมองของคนญี่ปุ่น

โพสท์โดย ห่ะไรนะ

การติดเชื้อ HIV ในมุมมองของคนญี่ปุ่น


.
เมื่อคืนนี้ หลายคนคงได้ดู Hormones the Series 3 ตอน Growth Hormone II ซึ่งนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับพละ เด็กหนุ่มที่ติดเชื้อ HIV ตั้งแต่แรกเกิด โดยได้รับผ่านมาจากคุณแม่ในระหว่างคลอด
.
ผมชอบเรื่องของพละเป็นการส่วนตัว อาจจะเพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ HIV ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวพวกเราทุกคน อีกทั้งยังเป็นการติดเชื้อที่คนไทยส่วนใหญ่มองอย่างเข้าใจผิดมาตลอด 30 ปี จึงรู้สึกดีใจเป็นพิเศษที่สื่อบันเทิงไทยนำเสนอเรื่องราวออกมาได้อย่างดีเยี่ยม แก้ไขความเข้าใจผิดของผู้ชมได้มาก อาจจะดียิ่งกว่าการรณรงค์โดยหน่วยงานที่ใช้งบประมาณรัฐเลยด้วยซ้ำไป
.
ผมย้อนกลับมามองว่า ประเทศญี่ปุ่นให้ความสนใจ หรือรับรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อ HIV อย่างไรบ้าง เท่าที่ค้นดูก็พอจะมีคนศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้บ้างเหมือนกัน ผมอยากจะเก็บความมาเล่าสู่กันฟัง เป็นการเกาะกระแสน้องพละ พร้อมกับต้อนรับวันเอดส์โลก วันที่ 1 ธันวาคม ที่จะถึงนี้
.
บทความเรื่อง Japan’s response to the spread of HIV/AIDS โดยศูนย์ศึกษาแลกเปลี่ยนนานาชาติ ประเทศญี่ปุ่น (Japan Center for International Exchange) เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน กล่าวถึงมุมมองของคนทั่วไปต่อผู้ติดเชื้อ HIV ว่า เป็นเรื่องไกลตัว เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศญี่ปุ่นในขณะนั้นมีจำนวนน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ คนญี่ปุ่นยังเชื่อว่าการติดเชื้อ HIV จะเกิดขึ้นกับบุคคลเพียงบางประเภท เช่น กลุ่มรักร่วมเพศ ชายรักชาย เป็นต้น
.
การยอมรับผู้ติดเชื้อ HIV ในสังคมญี่ปุ่น เป็นความรู้สึกที่ย้อนแย้งครับ ผลสำรวจความเห็นของคนญี่ปุ่นเมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ระบุว่า ร้อยละ 84 ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่า ผู้ติดเชื้อ HIV ไม่ควรถูกกีดกันหรือเลือกปฏิบัติจากคนอื่นๆ ในสังคม ร้อยละ 54 บอกว่า พวกเขาจะปฏิบัติต่อเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวเช่นเดิม แม้จะรู้ว่าคนเหล่านั้นติดเชื้อ HIV
.
แต่ถึงแม้ผลสำรวจจะเป็นอย่างนั้น กลับพบว่ามีรายงานการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อ HIV อยู่ทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น เช่น ศูนย์รับเลี้ยงเด็กปฏิเสธรับเด็กที่พ่อแม่ติดเชื้อ HIV บริษัทหลายแห่งยุติการว่าจ้างภายหลังทราบว่าพนักงานติดเชื้อ สถานพยาบาลบางแห่งปฏิเสธให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ติดเชื้อ เป็นต้น
.
ในมุมมองของผู้ติดเชื้อ HIV การถูกกีดกันจากสังคมคือตราบาปในใจครับ มันผลักไสพวกเขาออกไปจากสังคม แม้จะรู้ดีว่าผู้ติดเชื้อที่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ใกล้เคียงคนปกติ อาจจะดียิ่งกว่าคนไข้เบาหวานความดันทั่วๆ ไป แต่การถูกตีตราจากสังคมทำให้พวกเขาไม่กล้าปรากฏตัว ไม่กล้าเขารับการรักษา จนในที่สุดก็เสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ
.
ผลสำรวจที่ใกล้เคียงปัจจุบัน ใน ค.ศ. 2013 โดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยคิตะซะโตะ ระบุว่า ข้อมูลเมื่อสิ้นปี ค.ศ. 2010 มีรายงานผู้ติดเชื้อ HIV ในประเทศญี่ปุ่นทั้งสิ้น 12,648 ราย และที่เป็นโรคเอดส์ 5,799 ราย เทียบกับประเทศไทยที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนประมาณ 610,000 ราย เมื่อ ค.ศ. 2007 (ประชากรญี่ปุ่นมีจำนวนประมาณเกือบ 2 เท่าของประชากรไทย แต่มีรายงานผู้ติดเชื้อ HIV น้อยกว่าไทยเกือบ 50 เท่า)
.
ความรู้สึกผิดบาปจากการติดเชื้อ และการกีดกันทางสังคม เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ติดเชื้อ HIV ไม่ได้การรักษาตามที่ควรจะเป็น สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาเช่นนี้ก็ เพราะอคติและทัศนคติเชิงลบของผู้คนในสังคม
.
คนญี่ปุ่นจำนวนมากยังรู้สึกกังวลต่อการติดเชื้อ HIV หลายคนหลีกเลี่ยงที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ มองผู้ติดเชื้อด้วยความรังเกียจ ทั้งยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการติดเชื้ออยู่อีกมาก เช่น การติดเชื้อโดยการแช่ออนเซ็นร่วมกัน โดนยุงกัด รับประทานอาหารร่วมกัน การจูบทักทาย เป็นต้น อย่างไรก็ดี ผลสำรวจนี้ระบุว่า ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับ HIV/AIDS ที่ดี จะมีอคติและทัศนคติเชิงลบน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ
.
อันที่จริงแล้ว ไม่ว่าประเทศใดต่างก็ยังมองผู้ติดเชื้อ HIV อย่างแปลกแยก มองอย่างมีอคติ เป็นกลุ่มคนที่ต้องถูกกีดกันออกไปจากสังคม แต่ทัศนคติเหล่านี้เป็นเรื่องผิด เพราะการติดเชื้อนั้นสามารถรักษาและควบคุมได้ ผู้ติดเชื้อที่ดูแลตัวเองได้ดีจะมีร่างกายแข็งแรงไม่ต่างจากคนทั่วไป สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันคนอื่นๆ ได้ มีเพศสัมพันธ์ได้โดยการป้องกัน และสามารถมีครอบครัวที่อบอุ่นได้อย่างคนทั่วไป ภายใต้การดูแลด้วยการแพทย์ในปัจจุบัน
.
ผลสำรวจของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยคิตะซะโตะ สรุปไว้ว่า ความรู้ (เกี่ยวกับ HIV/AIDS) จะช่วยผ่อนคลายทัศนคติเชิงลบของสังคมต่อผู้ติดเชื้อ HIV และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยได้มากยิ่งขึ้น จึงสมควรอย่างยิ่งที่ผู้คนทั่วไปจะได้เรียนรู้ข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องนี้
.
แน่นอนว่า ภาครัฐของประเทศญี่ปุ่นก็รณรงค์กันอย่างเต็มที่เลยทีเดียว เหมือนดังตัวอย่างภาพโปสเตอร์ข้างล่างนี้เป็นต้น โดนใจวัยรุ่นมากครับ
.
รัตนาดิศร
29 พฤศจิกายน 2558
โอซะกะฟุ ฮันไดเบียวอิน
.
ภาพ โปสเตอร์รณรงค์ตรวจการติดเชื้อ HIV ของเขตโทะโยะฮะชิ เมืองไอจิ เมื่อต้นเดือนมิถุนายน ตัวการ์ตูนชายทำ "คะเบะด้ง" ต่อตัวการ์ตูนหญิง พร้อมกับถามว่า "ไปตรวจเอดส์ด้วยกันมั้ย" (一緒にエイズ検査に行くか)
.
อ้างอิง
1) Japan Center for International Exchange. Japan’s response to the spread of HIV/AIDS, 2004
2) Guoqin Wang, et al. Association of Knowledge of HIV and Other Factors with Individuals’ Attitudes toward HIV Infection: A National Cross-Sectional Survey among the Japanese Non-Medical Working Population. PLoS ONE, 2013

ที่มา: ญี่ปุ่นโดยสังเขป : Japan in a Nutshell
https://www.facebook.com/JapanNutshell/photos/a.514361938718018.1073741828.514237958730416/564117830409095/?type=3&theater
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ห่ะไรนะ's profile


โพสท์โดย: ห่ะไรนะ
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
32 VOTES (4/5 จาก 8 คน)
VOTED: แม่เสือ, พี่ใหญ่ ใจดี, โดราเอม่อน, ท่านฮั่ว แม่ทัพฮั่วชวี่ปิ้ง, Andreas, aRnoNAe
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ตำนานผาแต้มชาวบ้านลือ “โซนิคบูม” ดังสนั่นสุราษฎร์ฯ วอนหน่วยงานรัฐชี้แจง หวั่นเกิดภัยพิบัติinappropriately: อย่างไม่เหมาะสม'บังทอง' กุนซือผู้หยิ่งทรนงในสติปัญญาคอหวยส่องเลขปิงปองมโนราห์แก้บน"พ่อแก่พันล้าน"
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ชาวบ้านลือ “โซนิคบูม” ดังสนั่นสุราษฎร์ฯ วอนหน่วยงานรัฐชี้แจง หวั่นเกิดภัยพิบัติความรัก ตั้งแต่วันที่ 23 - 30 ก.ย. 2567 พยากรณ์โดย อ.ปอมมี่ คเณศศาสตร์Ayam Cemani ไก่สายพันธุ์หายากและลึกลับจากอินโดนีเซีย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
โวหารภาพพจน์ฉันนี่แหละ 3 ราศี ทรงเสน่ห์'บังทอง' กุนซือผู้หยิ่งทรนงในสติปัญญาinappropriately: อย่างไม่เหมาะสม
ตั้งกระทู้ใหม่