หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ความจำของคุณมีสไตล์แบบไหน?

โพสท์โดย ห่ะไรนะ

การจดจำรายละเอียดในอดีตได้อย่างแม่นยำหรือการจำได้เพียงเหตุการณ์จริงคร่าวๆนั้น มันสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบที่แท้จริงของสมอง

 

รูปของซีกสมอง 2 แบบที่แสดงให้เห็นเส้นทางของความจำที่แตกต่างกัน

ส่วนที่มีสีชี้ให้เห็นถึงพื้นที่ของสมองที่ถูกเชื่อมเข้าด้วยกันด้วยสมองกลีบขมับส่วนใน (medial temporal lobes) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สำคัญสำหรับการเก็บความทรงจำที่มีสไตล์ของความจำที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล บริเวณพื้นที่สีน้ำเงิน/เขียว/ม่วง จะเกี่ยวข้องกับความทรงจำแบบ semantic memory ซึ่งจะจำได้เฉพาะเหตุการณ์จริงๆ ในขณะที่พื้นที่สีแดง/ส้ม/เหลืองนั้นจะเกี่ยวข้องกับความทรงจำแบบ episodic memory ที่จะจดจำรายละเอียดของเหตุการณ์ได้ด้วย

ที่มาของรูปภาพ: Rotman Research Institute

ทำไมบางคนถึงสามารถจดจำรายละเอียดของเหตุการณ์ในอดีตได้อย่างแม่นยำ (episodic memory) ในขณะที่บางคนจำได้เฉพาะเหตุการณ์จริงคร่าวๆโดยจำรายละเอียดไม่ได้เลย (semantic memory)

คณะวิจัยจากสถาบัน Rotman Research Institute ที่ Baycrest Health Sciences ได้แสดงให้เห็นเป็นครั้งแรกว่าการจดจำเรื่องราวในอดีตที่แตกต่างกันนั้นมันมีส่วนมาจากรูปแบบการเชื่อมโยงภายในสมองที่ต่างกัน ซึ่งอาจจะเป็นเฉพาะแต่ละบุคคลและอาจจะสื่อไปถึงความทรงจำในระยะยาวได้อีกด้วย

งานวิจัยได้ถูกตีพิมพ์เมื่อเร็วๆนี้ในวารสาร Cortex

ผศ. ดร.Signy Sheldon จากภาควิชาจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัย McGill และเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยนี้ได้กล่าวว่า “เป็นเวลาหลายทศวรรษแล้วที่งานวิจัยที่เกี่ยวกับความจำและการทำงานของสมองเกือบทั้งหมดได้อยู่บนสมมติฐานที่ว่าแต่ละคนโดยเฉลี่ยมีลักษณะรูปแบบการทำงานเหมือนกันหมด ทั้งที่จริงๆแล้วมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น พวกเรารู้ได้จากประสบการณ์และการเปรียบเทียบความสามารถในการจดจำของพวกเราเองและคนอื่นๆ แนวทางหรือเส้นทางความจำของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน การศึกษาของพวกเราได้แสดงให้เห็นว่า ลักษณะความทรงจำที่ต่างกันมีการตอบสนองมาจากการทำงานของสมองที่แตกต่างกัน ดังที่ปรากฏให้เห็น โดยถึงแม้ว่าพวกเราไม่ได้ถูกกระตุ้นหรือถูกถาม เพื่อให้แสดงความทรงจำเหล่านั้นออกมาในระหว่างการทดสอบ”

ในการศึกษาในผู้ใหญ่ที่มีอายุโดยเฉลี่ย 24 ปี ที่มีสุขภาพดี รวมทั้งสิ้น 66 ราย โดยอาศัยการทำแบบสอบ-ถามที่เกี่ยวกับความทรงจำส่วนบุคคล โดยการให้อธิบายว่าพวกเขามีความจำดีแค่ไหนในการจดจำเรื่องราวในอดีตและข้อเท็จจริงต่างๆในอดีตของแต่ละคน ซึ่งคำตอบจะอยู่ระหว่างกลุ่มที่มีความจำเรื่องราวได้อดีตได้อย่างดีเยี่ยม และกลุ่มที่ความจำไม่ดี ผลการศึกษานี้เป็นที่มาของการศึกษาความแตกต่างของความสามารถในการจดจำเรื่องในอดีต ที่พบได้ในคนทั่วไป

หลังจากการทำแบบสอบถามแบบออนไลน์ ผู้เข้าร่วมทั้งหมด 66 รายจะถูกสแกนสมองที่ Baycrest ด้วยเทคนิคการถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในสภาวะที่สมองคลายตัว ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ในการจำลองรูปแบบของการเชื่อมโยงติดต่อภายในสมอง หรือเป็นเทคนิคที่สามารถบอกได้ว่าสมองสามารถทำงานที่เชื่อมโยงข้ามระหว่างพื้นที่ต่างๆในสมองได้อย่างไร

คณะวิจัยได้มุ่งความสนใจไปที่การเชื่อมต่อระหว่างสมองกลีบขมับส่วนในกับบริเวณอื่นของสมอง สมองกลีบขมับส่วนในนี้เป็นที่รู้จักกันดีว่า มันมีหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ผู้คนที่มีความจำดีในรายละเอียดของเหตุการณ์ในอดีต มักจะมีการเชื่อมต่อของสมองกลีบขมับส่วนในกับส่วนพื้นที่ด้านหลังของสมองที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นในระดับสูง ในขณะที่ผู้ที่มีแนวโน้มจะจำเหตุการณ์ในอดีตได้เฉพาะเหตุการณ์ ไม่สามารถจดจำรายละเอียดได้มักจะแสดงการเชื่อมโยงของสมองกลีบขมับส่วนในกับพื้นที่ส่วนหน้าของสมองที่ทำหน้าที่ในการจัดระเบียบและความมีเหตุผลในระดับที่สูง

การค้นพบเหล่านี้ได้กระตุ้นคำถามที่น่าสนใจให้กับนักวิทยาศาสตร์ทางด้านการรับรู้ของสมอง ซึ่งเชื่อมโยงกับอายุและสุขภาพของสมอง หนึ่งในคำถามที่น่าดึงดูดมากกว่าข้ออื่นๆคือ มันจะเป็นไปได้หรือไม่ ที่ความจำหนึ่งจะทำหน้าที่ปกป้องหรือชะลอการแสดงอาการความจำเสื่อมหรือความสามารถในการจดจำที่ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น

ดร. Brian Lavine ผู้เขียนหลักของการศึกษานี้และเป็นนักวิจัยอาวุโสของสถาบัน Rotman Research Institute ที่ Baycrest Health Sciences และยังเป็นศาสตราจารย์สาขาจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัย Toronto ได้กล่าวว่า “การเผชิญกับโรคจิตเสื่อมในระยะแรกเมื่ออายุเพิ่มขึ้น สิ่งแรกๆที่ผู้คนสามารถสังเกตเห็นได้คือ ความยากลำบากในการฟื้นฟูความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตให้กลับคืนมา” ในขณะนี้ยังไม่เคยมีผู้ใดให้ความสนใจว่าสิ่งเหล่านี้มันได้เกี่ยวข้องกับเส้นทางความทรงจำได้อย่างไร ผู้คนที่เคยฟื้นความจำในรายละเอียดในอดีตได้อาจจะถูกกระตุ้นได้ง่าย ซึ่งส่งผลให้ถูกกระตุ้นได้ง่ายและเกิดการเปลี่ยนแปลงความทรงจำเมื่อพวกเขาแก่ตัวลง ในขณะที่อีกกลุ่มที่จำได้เฉพาะข้อเท็จจริงในอดีตอาจจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนี้

ดร. Lavine กล่าวว่า “เส้นทางของความจำของแต่ละบุคคลสามารถเป็นตัวช่วยที่นำไปสู่การรักษาความจำในผู้สูงอายุได้หรือไม่ ยังเป็นคำถามที่การค้นพบของ The Rotman ได้เปิดประตูไปสู่ความเป็นไปได้ที่น่าตื่นเต้นที่ต้องการการศึกษาค้นคว้าต่อไปในอนาคต การศึกษาต่อมาในขณะนี้ได้เกี่ยวกับเส้นทางของความจำในสมองกับบุคลิกภาพ/นิสัย/สภาวะทางจิต เช่น ความกดดัน ความหดหู่ เป็นต้น รวมไปถึงการแสดงออกถึงกระบวนการรับรู้ และกรรมพันธุ์”

งานวิจัยนี้เป็นหนึ่งในหัวข้อที่กำลังเป็นที่จับตามองเกี่ยวกับความแตกต่างของโครงสร้างของสมองและการทำงานที่ควบคุมอยู่ภายในคนที่มีสุขภาพดี มันถือได้ว่าเป็นการศึกษาครั้งแรกที่เชื่อมโยงความต่างของสมองเข้ากับความแตกต่างในการทำงานของความทรงจำด้านอัตชีวประวัติในแต่ละวันของมนุษย์อีกด้วย

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ห่ะไรนะ's profile


โพสท์โดย: ห่ะไรนะ
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
16 VOTES (4/5 จาก 4 คน)
VOTED: ท่านฮั่ว แม่ทัพฮั่วชวี่ปิ้ง, ginger bread, aRnoNAe
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ชาวบ้านลือ “โซนิคบูม” ดังสนั่นสุราษฎร์ฯ วอนหน่วยงานรัฐชี้แจง หวั่นเกิดภัยพิบัติตำนานผาแต้ม'บังทอง' กุนซือผู้หยิ่งทรนงในสติปัญญาคอหวยส่องเลขปิงปองมโนราห์แก้บน"พ่อแก่พันล้าน"
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ชาวบ้านลือ “โซนิคบูม” ดังสนั่นสุราษฎร์ฯ วอนหน่วยงานรัฐชี้แจง หวั่นเกิดภัยพิบัติความรัก ตั้งแต่วันที่ 23 - 30 ก.ย. 2567 พยากรณ์โดย อ.ปอมมี่ คเณศศาสตร์Ayam Cemani ไก่สายพันธุ์หายากและลึกลับจากอินโดนีเซีย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
โวหารภาพพจน์ฉันนี่แหละ 3 ราศี ทรงเสน่ห์'บังทอง' กุนซือผู้หยิ่งทรนงในสติปัญญาinappropriately: อย่างไม่เหมาะสม
ตั้งกระทู้ใหม่