เจาะลึกความเป็นมาของเทคโนโลยีสุดลํ้า Li-Fi โฉมหน้าใหม่ที่อาจจะมาแทนที่ Wi-Fi ในอนาคต
กลายเป็นเรื่องฮือฮาเลยทีเดียว สำหรับเทคโนโลยีแบบใหม่ของ Wi-Fi ที่คราวนี้ได้ถูกพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด เพราะว่าสามารถทำความเร็วแรงสูงสุดได้มากกว่า 100 เท่า ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีชื่อเรียกว่าLi-Fi หรือ Light Fidelity โดยต้องบอกว่านี่คือโฉมหน้าใหม่ของสัญญาณไร้สายอย่างแท้จริง ผู้ที่อาจจะมาแทนที่ และถูกจะนำไปใช้งานอย่างจริงจังในอนาคต รายละเอียดความเป็นมาจะเป็นอย่างไรบ้างมาดูกัน...?
สำหรับจุดเริ่มต้นเทคโนโลยี Li-Fi มาจากศาสตราจารย์ชื่อว่า Harald Hass มหาวิทยาลัย Edinburgh โดยเขาเชื่อว่าการเข้าสู่โลกออนไลน์ ไม่จำเป็นต้องใช้แค่สัญญาณ 3G, 4G หรือ 5G เพียงอย่างเดียว แต่ Wi-Fi ก็ยังคงเป็นกุญแจที่สำคัญเช่นกัน ผนวกกับในอนาคตที่เมื่อยุคของ Internet of Things ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อโลกมากขึ้น Smart Home, Smart City, Smart Infrastructure จะเป็นจุดเริ่มต้นของความทันสมัยของชีวิตยุคใหม่ที่ไร้พรมแดน
ดังนั้นปีค.ศ. 2011 เขา (Harald Hass) จึงเกิดแนวคิดว่าในเมื่อกระแส Smart Home กำลังมา ทำไมจึงไม่นำสิ่งของภายในบ้านมาปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตซะเลย ไม่ต้องพึ่ง Router เพียงอย่างเดียว และเขาก็ได้ครุ่นคิด โดยถ้านำเครื่องโทรทัศน์, ตู้เย็น, แอร์, พัดลม หรือโต๊ะ ก็คงดูจะยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการซื้อเร้าเตอร์เสียอีก แต่มีหนึ่งสิ่งที่ต้องบอกว่าเรียบง่าย รวมถึงยังมีอยู่ทุกห้อง และมีราคาถูก นั่นก็คือ หลอดไฟ!!
คงปฏิเสธไมได้ว่าห้องไหน ห้องไหนก็ต้องการหลอดไฟเพื่อให้ความสว่าง แต่ ณ ตอนนี้ก็ไม่ได้เพียงแค่ให้ความสว่างอย่างเดียวแล้ว ทว่าก็ยังสามารถให้สัญญาณอินเทอร์เน็ต ด้วยหลักการของคลื่นแสง ซึ่งจะมีไมโครชิพภายในถูกติดตั้งอยู่ในหลอดไฟเพื่อคอยรับสัญญาณจาก Access Point โดยข้อดีคือมีความเสถียรของคลื่นสัญญาณสูงทั้งให้ความเร็วสูง จากการใช้การกระพริบของไฟในระดับความเร็วสูง ซึ่งสามารถให้ความเร็ว 1 Gbps ได้อย่างง่ายดาย แต่เมื่อทดสอบใช้งานกับให้ความเร็ว 244 Gbps ในห้องแลปควบคุมที่บริษัท Velmenni
นอกจากนี้ด้านความปลอดภัยต้องบอกว่ามีความปลอดภัยขึ้น เพราะมีช่องโหว่ในการเจาะข้อมูล หรือดักจับได้ยากกว่า เพราะคลื่นแสง (Visible light communication) ไม่สามารถทะลุกำแพง, ผนัง รวมถึงเพดานได้ และที่สำคัญก็สามารถใช้ได้กับจุดที่ติดตั้งหลอดไฟดังกล่าวเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถใช้งานภายนอกได้ ไม่เหมือน Wi-Fi ที่สามารถใช้งานได้ทั้งภายนอกและภายใน
นอกจากนี้ก็ยังช่วยเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจพาณิชย์ และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้มากขึ้นกว่าเดิม โดยศาสตราจารย์กล่าวว่าเขาต้องการนำเทคโนโลยี Li-Fi ให้สามารถใช้งานได้จริงในปีค.ศ. 2018 หรือพุทธศักราช 2561
เรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ลํ้าหน้าจริง ๆ อย่างไรก็ดียังคงต้องพัฒนาอีกมาก ด้วยข้อเสียที่มีมากกว่าข้อดี ถึงแม้จะเร็วแค่ไหนก็ตาม แต่ถูกจำกัดพื้นที่การใช้งานเฉพาะแค่บริเวณที่มีแสงไฟอยู่ คงไม่เกิดประโยชน์แน่นอน ดังนั้นเราจึงต้องติดตามกันต่อไปว่าในอนาคตจะเป็นเช่นใด ยิ่งในยุคที่ Internet of Things เริ่มถูกพูดถึงกันมากขึ้น
อย่างไรก็ดีเราลองมาแชร์ความคิดกันนะครับว่าเทคโนโลยี Li-Fi จะถูกนำไปใช้งานได้อย่างกว้างขว้างหรือไม่ และจะมีข้อดี ข้อเสียอะไรอีกบ้าง ลองมาเล่าสู่กันฟังดูครับ....