ยังมีคนไม่รู้!!...ว่าเอา ก๊าซไฮโดรเจน มาจากไหน
จาก กท.อวสานรถเติมน้ำมัน เติมน้ำวิ่งได้ 483 km. ต่อ 1 ครั้ง ส่งมอบรถแล้ว https://board.postjung.com/930677.html
มีผู้สงสัยว่า เอา ก๊าซไฮโดรเจน มาจากไหนมากมาย ...อ้อแล้วรู้ยัง เอาน้ำมันมากจากไหน เจียวไข่มากมายกันทุกวันฟ๊ะ
รายละเอียด การผลิตไฮโดรเจน อ้างอิง : ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานแห่งชาติ
ในปัจจุบันก๊าซไฮโดรเจนผลิตได้จากวัตถุดิบสองแหล่งหลัก คือ เชื้อเพลิงฟอสซิล จําพวกก๊าซธรรมชาติ ถ่านน้ำมัน และเชื้อเพลิงจากพลังงานหมุนเวียน เช่น ชีวมวล และน้ำ เทคโนโลยีในการผลิตก๊าซ
ไฮโดรเจนแบ่งได้เป็น 3 เทคโนโลยีหลัก ได้แก่ Thermal Processes , Electrolytic Processes และ Photolytic Processes ดังนี้
1. Thermal Process เป็นนการใช้ความร้อน กับแหล่งพลังงาน เช่น ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ชีวมวล เชื้อเพลิงเหลว เป็นต้น เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ไฮโดรเจน เช่น Reforming Gasification Partial Oxidation High-temperature Water Splitting
2. Electrolytic Process เป็นการใช้ไฟฟ้าเพื่อแยกน้ำ เป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน โดยไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นจะไม่ ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศแต่ ขึ้นกับแหล่งในการผลิตกระแสไฟฟ้า ตัวอย่างของแหล่งในการผลิตกระแสไฟฟ้า ได้แก่ พลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียน (Renewable sources)
3. Photolytic Process หรือ Biophotolysis (นิวเคลียร์) เป็นการใช้พลังงานแสงเพื่อแยกน้ำเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน เช่น Photobiological Water Splitting Photoelectrochemical Water Splitting ปัจจุบันการผลิตก๊าซไฮโดรเจนในเชิงพาณิชย์ จะผลิตจากก๊าซธรรมชาติโดยวิธี Strean Reforming เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ถูกที่สุด
การจัดเก็บก๊าซไฮโดรเจน
ไฮโดรเจนจะถูกกักเก็บได้ในถังในรูปแบบของ ของเหลว ก๊าซ หรือของแข็งในรูปสารประกอบเคมีการเก็บในรูปแบบก๊าซ ถังเก็บจะมีปริมาตรใหญ่ เนื่องจากก๊าซไฮโดรเจนจะเบาและมี ความหนาแน่นน้อยที่ ความดันบรรยากาศ เพื่อให้สามารถเก็บมวลไฮโดรเจนได้มากจึงต้องอัดไปที่ความดันสูงเพื่อลดปริมาตรของถังเก็บ
ตัวอย่างเช่น ถังมีปริมาตร 50 ลิตร มวล 65 กิโลกรัม ความดัน 200 บาร์ สามารถบรรจุไฮโดรเจนได้ปริมาตร 8.9 ลูกบาศ์กเมตร คิดเป็นมวล 795 กรัม ความหนาแน่น 16 กรัมต่อลิตร หรือ 16 กิโลกรัม ต่อ ลูกบาศ์กเมตร หรืออัตราส่วนเชิงมวล 1.22 เปอร์เซนต์โดยน้ำหนักถัง จึงยังไม่เหมาะสมในการนํามาใช้กับรถยนต์ แต่ถ้าพัฒนาถังให้เก็บที่ความดัน 700 บาร์ จะเก็ บพลังงานได้ 350 เม็กกะจูล ซึ่งสามารถใช้กับรถยนต์ได้
การเก็บในรูปของเหลว จะต้องเก็บในถังความดันที่มีอุณหภูมิต่ำมากถึง -273 องศาเซลเซียส และมีปัญหาในปล่อยก๊าซทิ้งเพื่อควบคุมความดันในถังเก็บ อีกทั้งต้องเสียค่าพลังงานไฟฟ้ามากในการทําให้อุณหภูมิต่ำซึ่งสูงถึงหนึ่งในสามของพลังงานไฮโดรเจน
การเก็บไว้ในท่อถ่านนาโน (Carbon nanotube) โดยใช้ คุณสมบัติ การดูดซับทางกายภาพของถ่านซึ่งขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความดันที่อุณหภูมิต่ำ 70 เคลวิน ความดัน 40 บาร์ จะเก็บไฮโดรเจนได้ประมาณ5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยี่เพื่อให้เก็บไฮโดรเจนได้มากขึ้นและนํามาใช้งานต่อไป
อะ ตย . คำตอบอื่น
ออกจากกะลา แลนด์บางนะ จะได้เจริญ