ปริศนาของการร้องเพลงไม่ตรงคีย์
ในทุกๆ ครั้งที่มีการร้องเพลงสุขสันต์วันเกิดเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ทุกครั้งจะมีใครบางคนที่ร้องออกมาผิดคีย์ ถ้าคุณโชคไม่ดี คนๆนั้นอาจจะเป็นคุณ คนที่มีความผิดปกติทางด้านเสียงดนตรีตั้งแต่เกิดจะไม่สามารถแยกแยะโน๊ตออกจากตัวอื่นได้ การศึกษาใหม่ค้นพบว่า ปัญหานี้เกิดมาจากกระบวนการทางสมองที่ประมวลเสียงพิช (pitch) ผิดออกไป
คนหลายๆคนมักพูดว่า พวกเขาเป็นคนแยกโทนเสียงไม่ได้เมื่อพวกเขาร้องผิดคีย์ออกไป สำหรับคนส่วนใหญ่ สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องจริง พวกเขายังฝึกไม่เพียงพอ แต่สำหรับในกลุ่มเล็กๆ ไม่ว่าจะฝึกแค่ไหนก็ตามก็ไม่ได้ช่วยให้ดีขึ้น คนเหล่านี้คือกลุ่มคนที่มีปัญหาทางด้านเสียงดนตรีซึ่งหาได้ยากมาก จะพบได้ในหนึ่งคนจากทุกๆ 25 คน
Samuel Norman-Haignere ทำงานที่ Massachusetts Institute of Technology ในแคมบริดจ์ ซึ่งเขาทำการศึกษาว่า สมองนั้นดำเนินการกับเสียงอย่างไร นักวิทยาศาสตร์ไม่เคยแน่ใจได้เลยว่า ทำไมคนที่มีความผิดปกติทางด้านเสียงถึงไม่สามารถที่จะติดตามหรือแยกแยะโทนเสียงได้ คนส่วนใหญ่ที่มีลักษณะเช่นนี้จะได้ยินเสียงอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นถ้าหูของพวกเขาไม่ได้มีปัญหา ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้จะต้องเกิดมาจากว่าสมองนั้นทำการแปรผลของเสียงอย่างไร
ในการที่จะศึกษาสิ่งนี้ เขาและทีมวิจัยของเขาทำการสึกษาคนที่มีปัญหาทางด้านการรับรู้เสียงดนตรีจำนวน 11 คน และอีก 11 คนที่สามารถแยกแยะความแตกต่างของเสียงดนตรีได้อย่างง่ายดาย พวกเขาใช้เทคนิคที่เรียกว่า functional magnetic resonance imaging หรือ fMRI การแสกนด้วยเทคนิคนี้สามารถที่จะวัดการไหลของเลือดในสมองได้ บริเวณที่จะทำการศึกษานั้นเป็นพื้นที่ที่มีการตื่นตัวในระหว่างที่มีการทำงานหลายๆอย่าง เช่น การฟังเพลงที่ลำดับของเพลงแบบสุ่ม นักวิทยาศาสตร์นั้นสนใจสมองส่วนที่ทำการรับรู้ทางด้านเสียงดนตรี (auditory cortex)
ผลการศึกษาที่ได้จาก fMRIแสดงให้เห็นว่า สมองส่วนรับรู้เสียงดนตรีของกลุ่มคนที่มีความผิดปกติทางด้านโทนเสียงสามารถทำการตรวจจับพิช (pitch) ของดนตรีได้ บริเวณของสมองส่วนนี้ตอบสนองได้ดีในกลุ่มคนที่มีความผิดปกติเช่นเดียวกันกับกลุ่มคนที่สามารถแยกแยะเสียงได้เป็นอย่างดี
Norman-Haignere อธิบายว่า “พวกเราพยายามทุกอย่างที่จะหาความแตกต่างของสมองส่วนที่รับรู้เสียงดนตรี ถึงแม้ว่าสมองส่วนนี้ดูเหมือนจะรับรู้เสียงได้เป็นอย่างดีในกลุ่มผู้ฟังที่มีความผิดปกติในการแยกโทนเสียง แต่กลุ่มคนกลุ่มนี้ก็ยังไม่สามารถที่แยกโน๊ตออกจากตัวอื่นได้”
ผลการทดลองแนะให้เห็นว่า น่าจะมีโครงสร้างของสมองมากกว่าหนึ่งส่วนที่ทำหน้าที่รับรู้เสียงโดยทั่วไปและทำการแปรผลออกมา แต่สมองส่วนนั้นอยู่ที่ไหน สิ่งนี้ยังเป็นปริศนาอยู่
Norman-Haignere ได้รายงานการค้นพบของเขาไว้เมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ งานประชุมประจำปีของสมาคมประสาทวิทยา
ที่มา: S. Ornes. “Music of the future.” Science News for Students. October 16, 2008.
E. Sohn. “Music in the brain.” Science News for Students. March 14, 2008.
E. Sohn. “Extra strings for new sounds.” Science News for Students. June 2, 2006.
E. Sohn. “Hear, hear.” Science News for Students. January 5, 2006.
E. Sohn. “Music lessons for the brain.” Science News for Students. June 21, 2004.Original Meeting Source: S.V. Norman-Haignere et al. Pitch-responsive cortical regions in subjects with congenital amusia. Society for Neuroscience annual meeting, Chicago, Ill., October 19, 2015.