หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ความรู้สึกเศร้าหรือการมองเห็นสีฟ้า: ความเศร้าอาจจะทำให้ประสาทการรับรู้สีแย่ลง

โพสท์โดย ไก่อ้วน

โลกอาจจะดูหม่นหมองลงกว่าปกติ เมื่อพวกเราอยู่ในสภาวะเศร้าและเรามักจะพูดถึงอยู่บ่อยๆว่ากำลังรู้สึกสีฟ้า(feeling blue) ซึ่งเป็นภาษาสแลงที่หมายถึงความรู้สึกเศร้า งานวิจัยล่าสุดได้แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวเนื่องของอารมณ์และสี ซึ่งมันอาจจะเป็นอะไรที่มากกว่าคำอุปมาซะแล้ว 

ผลจากงานวิจัย 2 งานได้ชี้ให้เห็นว่า ความเศร้าอาจจะเปลี่ยนการรับรู้สีของพวกเราได้จริงๆ โดยเฉพาะคณะวิจัยพบว่า อาสาสมัครที่ถูกทำให้รู้สึกเศร้านั้นจะระบุสีบนแกนฟ้า-เหลือง (blue-yellow axis)ได้ถูกต้องน้อยลง หรือถูกต้องน้อยกว่ากลุ่มที่ถูกโน้มน้าวด้วยความรู้สึกสนุกสนานหรืออารมณ์ปกติ

งานวิจัยได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Psychological Science ของ Association for Psychological Science

นักวิจัยทางด้านจิตวิทยา Christopher Thorstenson จากมหาวิทยาลัย University of Rochester ซึ่งเป็นชื่อแรกของงานวิจัย ได้กล่าวว่า “ผลการศึกษาของพวกเราได้แสดงว่าอารมณ์และความรู้สึกสามารถส่งผลต่อการมองเห็นโลกรอบๆ ตัวเรา งานของพวกเราได้ก้าวไปถึงการศึกษาการรับรู้ของระบบประสาทด้วยการแสดงให้เห็นว่าความเศร้าอาจจะทำให้ระบบการมองเห็นโดยทั่วไปแย่ลง ซึ่งมันเกี่ยวข้องกับการรับรู้สี”

การศึกษาในอดีตได้แสดงให้เห็นว่า อารมณ์สามารถมีอิทธิพลต่อกระบวนการมองเห็นได้หลากหลายหรือแม้กระทั่งงานวิจัยบางงานได้ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างอารมณ์หดหู่และความไวในการรับรู้ที่ลดลงในการแยกความแตกต่างของสิ่งที่มองเห็น เนื่องจากความไวต่อการรับรู้ความแตกต่างก็คือกระบวนการมองเห็นขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้สีนั่นเอง ดังนั้น Thorstenson และผู้ร่วมวิจัย Adam Pazda และ Andrew Elliot จึงเกิดความสงสัยขึ้นว่ามันจะมีความเกี่ยวโยงระหว่างความเศร้าและความสามารถในการรับรู้สีของพวกเราที่จำเพาะหรือไม่

Thorstenson ได้กล่าวว่า “พวกเรามีความคุ้นเคยอย่างลึกซึ้ง บ่อยครั้งที่คนเราใช้สีเพื่อบรรยายปรากฏการณ์ทั่วไป อาทิเช่น อารมณ์ หรือแม้แต่ความเป็นไปได้ที่แนวความคิดเหล่านี้จะไม่เชื่อมโยงกัน พวกเราคิดว่านี่อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่าการเอาคำอุปมาเหล่านี้ไปใช้ เพราะจริงๆแล้วมันมีความเชื่อมโยงระหว่างอารมณ์และการรับรู้สี ในแง่ที่แตกต่างกันออกไป”

ในงานวิจัยหนึ่ง นักวิจัยได้ให้อาสาสมัคร ซึ่งเป็นนักศึกษาปริญญาตรีจำนวน 127 คน ดูภาพยนตร์สั้นๆที่เกี่ยวกับอารมณ์ และหลังจากนั้นได้ให้ทำการทดสอบการมองเห็น อาสาสมัครจะถูกสุ่มเพื่อดูภาพยนตร์แอนิเมทเพื่อชักจูงความรู้สึกเศร้าสลด หรือภาพยนตร์ตลกเพื่อชักจูงความรู้สึกสนุกสนาน ผลกระทบของอารมณ์จากการดูภาพยนตร์ได้ถูกศึกษาในงานวิจัยฉบับก่อน และคณะวิจัยได้ยืนยันว่าพวกเราได้ทำการชักจูงอารมณ์ให้กับอาสาสมัครในการศึกษาครั้งนี้ด้วย

หลังจากการดูภาพยนตร์แล้วอาสาสมัครจะได้เห็นแผ่นสีที่จะแสดงต่อเนื่องกันไปจำนวน 48 แผ่น และให้ตอบคำถามว่าสีอะไร (แดง เหลือง เขียว ฟ้า)

ผลปรากฏว่า อาสาสมัครที่ดูภาพยนตร์เศร้าจะระบุสีได้ถูกต้องน้อยกว่ากลุ่มที่ดูภาพยนตร์ตลก แต่ผลนี้ปรากฏให้เห็นเพียงบนแกน ฟ้า-เหลือง (blue-yellow axis) แต่ไม่แสดงความแตกต่างเกี่ยวกับความถูกต้องของการระบุสีบนแกนแดง-เขียว (red-green axis)

 และงานวิจัยที่ 2 ได้ทำการเปรียบเทียบกับภาพยนตร์ที่แสดงอารมณ์ปกติ ซึ่งมีอาสาสมัครทั้งสิ้น 130 คน ก็ได้แสดงผลลัพธ์ที่คล้ายกัน กล่าวคือ ผู้ที่ดูภาพยนตร์เศร้าจะระบุสีที่ถูกต้องน้อยกว่าผู้ที่ดูภาพยนตร์ปกติบนสเปกตรัมฟ้า-เหลือง (blue-yellow axis) การค้นพบครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าความโศกเศร้านั้นตอบสนองอย่างจำเพาะต่อความแตกต่างในการรับรู้สี

อย่างไรก็ตามผลลัพธ์นี้ไม่ได้อธิบายหรือไม่ได้จำกัดความแตกต่างของระดับอาสาสมัครในด้านความพยายาม ความตั้งใจ หรือความผูกพันอยู่กับการทดสอบที่ทำ มันเป็นเพียงแค่การรับรู้สีนั้นแย่ลงในแกนฟ้า-เหลือง (blue-yellow axis) เท่านั้น

Thorstenson กล่าวว่า “พวกเรารู้สึกประหลาดใจกับผลกระทบที่จำเพาะเจาะจงขนาดนี้ การรับรู้สีที่แย่ลงนั้นเกิดขึ้นเพียงแค่บนแกนฟ้า-เหลือง พวกเราไม่เคยคาดการณ์ถึงการค้นพบที่จำเพาะเจาะจงขนาดนี้ แม้ว่ามันอาจจะเป็นคำใบ้ให้กับพวกเรารู้ถึงสาเหตุที่มีผลกระทบต่อการทำงานของสารส่งผ่านประสาท”

คณะวิจัยได้เน้นว่า งานวิจัยครั้งก่อนได้เชื่อมโยงการรับรู้สีอย่างจำเพาะบนแกนฟ้า-เหลือง (blue-yellow axis) เข้ากับสารส่งผ่านประสาทโดปามีน (สารนี้มีบทบาทสำคัญต่อพฤติกรรมอิ่มเอมใจและแรงบันดาลใจ)

Thorstenson ได้ชี้ให้เห็นว่างานวิจัยนี้ได้สร้างแนวความคิดใหม่ และต้องการการศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์และการรับรู้สีได้อย่างสมบูรณ์

Thorstenson ได้สรุปว่า “มันเป็นงานชิ้นใหม่และพวกเราต้องการเวลาในการศึกษาถึงความเข้มแข็ง และการทำให้ปรากฏการณ์นี้ไม่ซับซ้อนเกินไป ก่อนที่จะทำการเชื่อมโยงไปสู่การนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อไป”

ที่มา: http://www.vcharkarn.com/vnews/503039
ที่มา

http://www.sciencedaily.com/releases/2015/09/150902112006.htm

เอกสารอ้างอิง

C. A. Thorstenson, A. D. Pazda, A. J. Elliot. Sadness Impairs Color Perception. Psychological Science, 2015; DOI:10.1177/0956797615597672
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ไก่อ้วน's profile


โพสท์โดย: ไก่อ้วน
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
12 VOTES (4/5 จาก 3 คน)
VOTED: smileyjookjik, Rinnn
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
อีกหนึ่งวิธีการนำ ปลาหมอคางดำ มาใช้ประโยชน์ ก็คือการนำมาทำเป็น น้ำหมักชีวภาพ นั่นเองเบส คำสิงห์โพสต์!! พ่อบาสเข้าห้อง ICU ด่วน เนื่องจากร่างกายซีกซ้ายไม่มีแรง พบเส้นเลือดในสมองตีบ 😔
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
อุทยานพระพิฆเนศร้าง จ.ชลบุรี : ความศรัทธาท่ามกลางซากปรักหักพังขนมจีนน้ำเงี้ยว
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
คันฝ่ามือบอกอะไร? มีโชคลาภจริงหรือคนมีผมขาวหรือผมหงอกได้เฮ เพราะผลการวิจัยล่าสุด มีความหวังให้ผมกลับมามีสีปกติเหมือนก่อนหน้านั้น ได้อีกครั้งเบาหวานอย่าเบาใจ เสี่ยงหัวใจวาย! อันตรายถึงชีวิตมากกว่าคนทั่วไป 3 เท่าCanva อัปเดต 4 feature ใหม่!
ตั้งกระทู้ใหม่