หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ระวัง!!! ยุงร้ายกว่าเสือมากมาย แต่มันคือยุงอะไร

เนื้อหาโดย ลูกสาวอบต

ยุงลายเสือ หรือ ยุงเสือ หรือ ยุงแมนโซเนีย (Mansonia) เป็นหนึ่งในยุงที่มีอยู่อย่างน้อย 412 ชนิดในประเทศไทย เป็นยุงขนาดใหญ่ เส้นปีกมีเกล็ดใหญ่สีอ่อนสลับเข้มปกคลุม บางชนิดมีสีเหลือง ขาวสลับดำคล้ายลายของเสือโคร่ง เช่น Ma.uniformis บางชนิดมีลายออกเขียวคล้ายตุ๊กแก เช่น Ma.annulifera ขาลายเป็นปล้องๆ บริเวณขามีสีแบบตกกระ มีแถบขาวล้อมรอบ

ตรงส่วนปลายของท้องมีลักษณะเป็น 3 พู แต่ละพูมีขนยาว 1 กระจุก ยุงลายเสือหายใจผ่านทางท่อหายใจที่มีความแข็งแรงและแทงผ่านทะลุรากพืชหรือลำต้นของพืชน้ำได้ เพื่อการแลกเปลี่ยนออกซิเจน โดยยุงลายเสือจะรับเอาออกซิเจนจากรากหรือลำต้นพืชน้ำเวลาหากิน

ยุงลายเสือมีแหล่งเพาะพันธุ์ตามแอ่ง หรือหนองน้ำที่มีวัชพืชและพืชน้ำต่างๆ เช่น จอก ผักตบชวา แพงพวยน้ำ หรือหญ้าปล้อง มันกัดกินเลือดของสัตว์และคน ออกหากินเวลากลางคืน แต่ถ้าไปอยู่แถวแหล่งของมันในเวลากลางวัน มันก็กัดได้เหมือนกัน โดยเฉพาะตามท้องทุ่งดังกล่าว ยุงลายเสือเป็นพาหะของโรคเท้าช้างจากเชื้อไมโคร ฟิลาเรีย ที่พบมากบริเวณที่ราบทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงนราธิวาส และบริเวณชายแดนไทย – พม่า

เมื่อยุงลายเสือกัดคนที่มีเชื้อไมโครฟิลาเรีย ซึ่งเป็นหนอนพยาธิตัวกลม (มีลักษณะคล้ายเส้นด้าย อาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลืองของคน) และดูดเลือดที่มีพยาธินี้เข้าไป ไมโครฟิลาเรียจะเข้าไปเจริญอยู่ในตัวยุงนานประมาณ 7 – 14 วัน จนเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อ ซึ่งมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา และจะเคลื่อนที่เข้าสู่ปากยุง เมื่อยุงมากัดคน ตัวอ่อนระยะติดต่อนี้จะไชผ่านผิวหนังบริเวณแผลที่ยุงกัด และเข้าไปเจริญและเพิ่มจำนวนในคน ซึ่งต่อมาจะก่อให้เกิดโรคเท้าช้าง

คนที่มีอาการมักถูกยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างกัดซ้ำหลายครั้ง อาการในระยะแรกผู้ป่วยอาจมีไข้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมและท่อน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบ หรืออัณฑะ เนื่องจากพยาธิตัวแก่ที่อยู่ ในท่อน้ำเหลืองสร้างความระคายเคืองแก่เนื้อเยื่อภายใน รวมทั้งปล่อยสารพิษออกมาด้วย อาการอักเสบจะเป็นๆ หายๆ อยู่เช่นนี้ และจะกระตุ้นให้เกิดอาการบวมขึ้น หากเป็นนานหลายปีจะทำให้อวัยวะนั้นบวมโตอย่างถาวและผิวหนังหนาแข็งขึ้นจนมีลักษณะขรุขระ
แยกได้เป็นผู้ป่วยเป็นโรคฟิลาเรียของระบบน้ำเหลืองที่เกิดจากเชื้อ W.bancrofti จะมีอาการแสดงให้เห็นคือผิวหนังตรงอวัยวะเพศหยาบขรุขระและบวมโต เป็นได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง ส่วนผู้ป่วยเป็นโรคฟิลาเรียของระบบน้ำเหลืองที่เกิดจากเชื้อ B.malayi จะมีอาการแสดงให้เห็นคือขาโตและมีผิวหนังหยาบขรุขระ จึงเรียกโรคนี้ว่า “โรคเท้าช้าง”

การป้องกันยุงกัดเป็นวิธีที่สามารถลดความรำคาญที่เกิดจากยุง และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่มียุงเป็นพาหะ ทำได้หลายวิธี เช่น นอนในมุ้งหรือมุ้งชุบสารเคมีฆ่าแมลง ติดตั้งมุ้งลวด สุมควันไฟไล่ยุง จุดยากันยุง หรือทาสารเคมีไล่ยุง เช่น น้ำมันตะไคร้หอม หรือสารสังเคราะห์อย่าง DEET (diethyltoluamide) ควบคุมและกำจัดยุงพาหะโดยพ่นสารเคมีกำจัดยุงตามฝาผนังบ้าน กำจัดลูกน้ำตามแหล่งต่างๆ กำจัดวัชพืชและพืชน้ำที่เป็นแหล่งเกาะอาศัยของลูกน้ำในแหล่งน้ำ

อย่างไรก็ตาม ในแหล่งเพาะพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่หรือกว้างขวาง เช่น ในท้องนา ลำธาร หรือกระบอกไม้ในป่า การควบคุมลูกน้ำจะทำได้ลำบากมาก หรือแทบจะทำอะไรไม่ได้เลย ประชาชนที่อยู่ในแหล่งระบาดของโรคเท้าช้างอาจกินยาป้องกัน ได้แก่ Diethyl carbamazine (DEC)

ปัจจุบันคนทั่วโลกเป็นไข้มาลาเรียปีละ 750 ล้านคนและเสียชีวิตปีละ 1 ล้านคน แต่ในประเทศไทย ไข้มาลาเรียไม่ใช่ปัญหาใหญ่ในเชิงปริมาณ เพราะข้อมูลจากกรมควบคุมโรคระบุว่าจำนวนผู้ป่วยไข้มาลาเรียลดลง แต่กลับมีแนวโน้มดื้อยามากขึ้น เป็นที่รู้กันในวงการแพทย์ว่า เชื้อมาลาเรียบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชานั้นเป็นเชื้อพันธุ์พิเศษที่มีความแข็งแรงทนทานและปรับตัวต่อยาได้เร็วจนองค์การอนามัยโลกต้องทุ่มเททรัพยากรเพื่อพยายามสกัดกั้นการแพร่ขยายของเชื้อพันธุ์นี้ไปยังส่วนอื่นๆ ของโลก เพราะหากไม่สามารถสกัดกั้นได้ นั่นหมายถึงหายนะครั้งใหญ่เลยทีเดียว

โรคที่ใกล้ตัวคนไทยมากกว่าไข้มาลาเรียคือไข้เลือดออก ซึ่งเมื่อดูจากสถิติผู้ป่วยโดยกรมควบคุมโรคพบว่าเพิ่มมากขึ้นทุกปี ปีละกว่าหมื่นคน กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2548 มีผู้ป่วย 46,829 ราย เสียชีวิต 57 ราย พ.ศ. 2550 มีผู้ป่วย 6,581 ราย เสียชีวิต 95 ราย และ พ.ศ.2551 มีผู้ป่วย 89,626 ราย เสียชีวิต 102 ราย อีกโรคที่คนไทยเพิ่งคุ้นหูคือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ ชิคุนกุนยา ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ระบุว่า เพียงครึ่งปี (1 มกราคม-30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ) พบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาใน 47 จังหวัด จำนวน 32,102 ราย แต่ไม่พบผู้เสียชีวิต พบผู้ป่วยมากสุดที่จังหวัดนราธิวาส รองลงมาคือสงขลาและภูเก็ต ที่น่าเป็นห่วงคือมีการแพร่ระบาดของโรคไปสู่ภาคอื่นๆ แล้ว

เนื้อหาโดย: ของกล้วยกล้วย
cr https://praphatsara.wordpress.com/
http://www.sarakadee.com/
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ลูกสาวอบต's profile


โพสท์โดย: ลูกสาวอบต
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
16 VOTES (4/5 จาก 4 คน)
VOTED: Art peter, nkart, ลูกแกะตัวที่ห้า
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
กัมพูชาท้าชน MGI บอสณวัฒน์ จัดประกวดเอง ชิงเวทีนางงามโลกรีวิวหนังดัง ALIENS เอเลี่ยน 2 ฝูงมฤตยูนอกโลกแลนด์มาร์คเกินร้อย Roi Et Tower (ร้อยเอ็ดเทาว์เวอร์)เบส คำสิงห์โพสต์!! พ่อบาสเข้าห้อง ICU ด่วน เนื่องจากร่างกายซีกซ้ายไม่มีแรง พบเส้นเลือดในสมองตีบ 😔
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ขนมจีนน้ำเงี้ยวห้างดังย่านลาดพร้าวชี้แจงไม่ใช่'ส้วมแตก'แต่เป็น'ท่อไขมัน'กัมพูชาท้าชน MGI บอสณวัฒน์ จัดประกวดเอง ชิงเวทีนางงามโลกเปิดเผยเรื่องราวข้าราชการหญิงที่ขาดงานเนื่องจากหนีหนี้นอกระบบ โดยมีการตามติดจากเจ้าหนี้ถึง 4-5 ราย บางรายถึงขั้นด่าทอที่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เลยทีเดียว
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
คันฝ่ามือบอกอะไร? มีโชคลาภจริงหรือคนมีผมขาวหรือผมหงอกได้เฮ เพราะผลการวิจัยล่าสุด มีความหวังให้ผมกลับมามีสีปกติเหมือนก่อนหน้านั้น ได้อีกครั้งเบาหวานอย่าเบาใจ เสี่ยงหัวใจวาย! อันตรายถึงชีวิตมากกว่าคนทั่วไป 3 เท่าCanva อัปเดต 4 feature ใหม่!
ตั้งกระทู้ใหม่