คุณกำลังรู้สึกวิตกกังวลอยู่หรือเปล่า? ตรวจสอบสมองส่วน orbitofrontal cortex และฝึกการมองโลกในแง่ดีของคุณ
น้ำเกือบจะหมดแล้วหรือยังมีน้ำอยู่เกือบเต็มแก้ว? สิ่งที่คุณเห็นอาจจะได้รับอิทธิพลมาจากสมองส่วน orbitofrontal cortex คนที่มองโลกในแง่ดีมีแนวโน้มที่จะมีความวิตกกังวลน้อยกว่า
การศึกษาเมื่อเร็วๆนี้ได้เชื่อมโยงความวิตกกังวล สมองส่วน Orbitofrontal Cortex (OFC) และการมองโลกในแง่ดีเข้าด้วยกัน (OFC เป็นส่วนหนึ่งของสมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex)) โดยมีการค้นพบว่าผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี มักจะมีส่วนของ OFC ที่ใหญ่กว่า ซึ่งมีแนวโน้มที่จะมองโลกในแง่ดีมากกว่าและมีความวิตกกังวลน้อยกว่า
การวิเคราะห์ล่าสุดได้ถูกรายงานไว้ในวารสาร Social, Cognitive and Affective Neuroscience ได้นำเสนอหลักฐานชิ้นแรกที่ว่า การมองโลกในแง่ดีนั้นมีบทบาทปานกลางในความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของ OFC และความวิตกกังวล
นักวิทยาศาสตร์ได้รายงานว่า “ประชากร 44 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาต้องทนทุกข์ทรมานกับโรควิตกกังวล ซึ่งโรคนี้ได้รบกวนการดำเนินชีวิตและได้สร้างภาระ คิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 42-47 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี”
OFC นี้คือส่วนของสมองที่อยู่ติดอยู่ด้านหลังดวงตาทั้งสอง เป็นที่รู้กันดีว่ามันมีบทบาทต่อความรู้สึกวิตกกังวล OFC ถือได้ว่าเป็นศูนย์รวมข้อมูลทั้งในด้านสติปัญญาและทางอารมณ์ และมีส่วนสำคัญในการควบคุมพฤติกรรมการแสดงออก การศึกษาในอดีตได้ค้นพบถึงความเชื่อมโยงระหว่างขนาดของ OFC ของแต่ละคนและความไวต่อการรับรู้ความรู้สึกวิตกกังวล ยกตัวอย่างเช่น ในงานวิจัยที่เป็นที่รู้จักกันดี ที่ทำการศึกษาภาพสแกนของสมองของผู้ใหญ่ในช่วงหนุ่มสาว ในช่วงก่อนและหลังแผ่นดินไหวครั้งยิ่งใหญ่ในปี 2011 และสึนามิในประเทศญี่ปุ่น คณะวิจัยค้นพบว่าในบางกรณีศึกษา OFC เกิดการหดตัวอย่างเห็นได้ชัดภายในระยะเวลา4 เดือนหลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ และยิ่งเกิดการหดตัวของ OFC มากขึ้น ก็ดูเหมือนว่าจะยิ่งตรวจพบความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจมากขึ้นตามไปด้วย หรือ post-traumatic stress disorder
นอกจากนี้ผลการวิจัยอื่นยังได้ยืนยันอีกว่า คนที่มองโลกในแง่ดีมีแนวโน้มที่จะรู้สึกวิตกกังวลน้อยกว่าและความคิดเชิงบวกยังช่วยเพิ่มการทำงานของOFC ได้อีกด้วย
คณะวิจัยจากโครงการวิจัยล่าสุดได้ตั้งสมมติฐานว่า “OFC ที่ใหญ่กว่าอาจจะทำหน้าที่เสมือนตัวรับแรงกระแทกจากความวิตกกังวลในบางส่วน โดยการผลักดันให้คิดในแง่ดีมากขึ้น”
นักวิจัย Sanda Dolcos จากมหาวิทยาลัย Illinois ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยนี้ที่ทำงานร่วมกับนักศึกษา Yifan Hu และ ศาสตราจารย์ Florin Dolcos ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยา ได้กล่าวว่า "การศึกษาเกี่ยวกับความวิตกกังวลโดยส่วนใหญ่จะมุ่งความสนใจไปที่ผู้คนที่ถูกวินิจฉัยว่าเข้าข่ายเป็นโรคความวิตกกังวล แต่พวกเราต้องการศึกษาในทิศทางตรงกันข้าม กล่าวคือ ถ้ามีการหดตัวของ OFC เกิดขึ้น และการหดตัวนี้มีผลต่อความผิดปกติต่อความวิตกกังวล มันจะสื่อถึงอะไรในประชากรที่มี OFC ที่ใหญ่กว่า และมันสามารถมีบทบาทในการป้องกันได้หรือไม่”
อีกทั้งนักวิจัยต้องการจะรู้อีกว่า การมองโลกในแง่ดีจะเป็นส่วนหนึ่งของกลไกที่เชื่อมโยงเข้ากับปริมาตรของ OFC ที่ใหญ่และการลดลงของความวิตกกังวลหรือไม่
คณะวิจัยได้รวบรวมผลสแกนสมองของผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาวทั้งสิ้น 61 รายและทำการวิเคราะห์โครงสร้างภายในสมองหลายบริเวณรวมไปถึงส่วนของ OFC ด้วย นักวิจัยได้คำนวณสัดส่วนปริมาตรของสมองส่วนสีเทาในแต่ละบริเวณ เทียบกับปริมาตรทั้งหมดของสมอง ผลการทดสอบในการศึกษาครั้งนี้ยังได้ครอบคลุมถึงการมองโลกในแง่ดีและความวิตกกังวล ความกดดัน และความคิดเชิงบวก (ความกระตือรือร้นและความสนใจ) และเชิงลบ (ไม่พอใจและโมโห)
การวิเคราะห์เชิงสถิติและการศึกษาต้นแบบทำให้ได้ข้อสรุปที่ว่าส่วนของ OFC ในสมองซีกซ้ายที่หนากว่าจะตอบสนองต่อการมองโลกในแง่ดีมากขึ้นและมีความวิตกกังวลลดลง โครงสร้างต้นแบบยังได้บอกถึงการมองโลกในแง่ดีมีบทบาทปานกลางในการลดความกังวลในหมู่คนที่มีส่วนของ OFC ที่ใหญ่กว่า นอกเหนือจากนี้ การวิเคราะห์ที่ถูกขยายออกไปได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปไม่ได้ของลักษณะเชิงบวกอื่นๆในการลดความกังวลลง และไม่มีส่วนอื่นใดในสมองที่ปรากฏให้เห็นว่ามันมีส่วนเกี่ยวข้องกันในการลดความวิตกกังวลด้วยการกระตุ้นและผลักดันการมองโลกในแง่ดีได้
Sanda Dolcos ได้กล่าวว่า “คุณสามารถยอมรับกันได้ว่า มันมีความสัมพันธ์กันระหว่าง OFC และความวิตกกังกล แล้วสิ่งที่ทำให้ความกังวลลดลงมันคืออะไรหล่ะ ต้นแบบของพวกเรากำลังบอกว่าสิ่งที่เรากำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้เป็นเพียงแค่บางส่วนของการมองโลกในแง่ดี ดังนั้นการมองโลกในแง่ดีก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สามารถถูกใช้เป็นเป้าหมายได้”
Hu ได้กล่าวว่า “การมองโลกในแง่ดีได้ถูกศึกษามาแล้วอย่างยาวนานในด้านของจิตวิทยา แต่สิ่งที่พวกเราได้เริ่มศึกษากันนี้ได้ให้ความสำคัญกับหน้าที่และโครงสร้างภายในสมองที่มีผลต่อการมองโลกในแง่ดี พวกเราอยากจะรู้ว่าถ้าพวกเราได้ใช้ชีวิตตามการมองโลกในแง่บวกอย่างจริงจังตลอดเวลาแล้ว มันจะทิ้งร่องรอยที่มีลักษณะจำเพาะขึ้นในสมองหรือไม่”
Florin Dolcos ได้กล่าวถึงการทดสอบในอนาคตว่า “พวกเราควรที่จะศึกษาว่าการส่งเสริมการมองโลกในแง่ดีและการลดความวิตกกังวลโดยการฝึกฝนผู้คนด้วยบททดสอบที่เชื่อมกับ OFC โดยตรงหรือการหาหนทางที่จะผลักดันความคิดเชิงบวกโดยตรงนั้นสามารถทำได้หรือไม่ ถ้าหากคุณสามารถฝึกฝนการตอบสนองของผู้คนได้ ทฤษฎีที่มีมาอย่างยาวนาน ความสามารถของผู้คนที่จะควบคุมการตอบสนองของพวกเขาในแต่ละเหตุการณ์ต่อเหตุการณ์จะถูกฝังลงในโครงสร้างของสมองของพวกเขาได้ในที่สุด”
ที่มา
http://www.sciencedaily.com/releases/2015/09/150922115819.htm
เอกสารอ้างอิง
1.Sanda Dolcos et al. Optimism and the Brain: Trait Optimism Mediates the Protective Role of the Orbitofrontal Cortex Gray Matter Volume against Anxiety. Social, Cognitive and Affective Neuroscience, September 2015 DOI: 10.1093/scan/nsv106
2.A Sekiguchi, M Sugiura, Y Taki, Y Kotozaki, R Nouchi, H Takeuchi, T Araki, S Hanawa, S Nakagawa, C M Miyauchi, A Sakuma, R Kawashima. Brain structural changes as vulnerability factors and acquired signs of post-earthquake stress. Molecular Psychiatry, 2012; 18 (5): 618 DOI: 10.1038/mp.2012.51