เมื่อถึงคราวจำต้องกินเนื้อคน
บางครั้งมนุษญ์เราก็จำต้องกินเนื้อมนุษญ์ด้วยกันเอง เพื่อความอยู่รอด 24 ตุลาคม ค.ศ.1765 เรือสินค้าอเมริกันชื่อ เป็กกี้ (Peggy)
แล่นออกจาก อาซอเรส (Azores) เกาะเล็กๆในมหาสมุทรแอตแลนติก มุ่งหน้าไปสู่มหานครนิวยอร์ค พร้อมกับเสบียงอาหารที่พอเพียง
จะยังชีพอยู่ได้ 8 สัปดาห์ (ระยะทาง 2,2๐๐ ไมล์) สำหรับลูกเรือจำนวน 8 คน
หากทว่าหลังจากแล่นมาได้ 5 วัน ก็บังเกิดพายุถล่มเรืออย่างรุนแรงติดต่อกันหลายลูก กระทั่งใบเรือขาดกระจุยกระจาย ทำให้เรือเป็กกี้
ต้องเคว้งคว้าง ล่องลอยไปอย่างไร้ทิศทาง เสบียงอาหารร่อยหรอลง กระนั้นลูกเรือก็ยังสามารถดำรงชีพอยู่ได้นานกว่าสองเดือน
จวบจนใกล้ถึงเทศกาลคริสต์มาส ซึ่งก็เป็นเหตุหนึ่งที่สินค้าบนเรือได้แก่ไวน์และบรั่นดีจำนวนถึง 350 บาร์เรลล์ ที่จะนำไปจำหน่าย
ในการเฉลิมฉลองนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้เมื่ออาหารหมด เหล่าลูกเรือก็ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เหล่านี้เพื่อประทังความหิวโหยอันร้ายกาจ แต่ครั้งสองสัปดาห์ผ่านไป
กับการดื่มอย่างหนัก สติสัมปชัญญะและความรู้สึกผิดชอบชั่วดีก็เลอะเลือนไป ความเมาและความสิ้นหวังทำให้ลูกเรือตกลงกระทำการ
อันวิปริตผิดธรรมชาติ ดังที่กัปตันแฮร์ริสันได้เขียนไว้ในปูมเรือประจำวัน
นั่นคือพวกเขาเห็นว่าทาสผิวดำคนหนึ่งที่พาขึ้นเรือมาด้วยนั้น เปรียบไปแล้วก็เป็นเพียงสินค้าชนิดหนึ่ง สมควรที่จะนำมาพลีชีพบูชายัญ
เป็นอาหารได้ ตัวกัปตันเองนั้นปฏิเสธที่จะเข้าร่วมด้วย แต่ลูกเรืออื่นๆทุกคนต่างร่วมกันเสพเนื้อทาสผิวดำประทังความหิว ทั้งนี้แม้ว่าจะกิน
อย่างละเลียดทีละเล็กทีละน้อยเพียงใด ทว่าอยู่ได้แค่ 16 วัน พวกเขาก็ต้องเริ่มหิวโหยอีกครั้ง
ใครคนหนึ่งจะต้องเสียสละอีก เพื่อให้คนอื่นๆได้อยู่รอด หนนี้ใช้วิธีการจับสลาก
ผู้ที่เคราะห์ร้ายในการเสี่ยงโชคชะตาชีวิต ก็คือ เดวิด แฟลตต์ (David Flatt) ผู้ที่มีนิสัยดีเป็นที่รักใคร่ของทั้งกัปตันและเพื่อนๆลุกเรือ
ดังนั้น เมื่อแฟลตต์ร้องขอให้ช่วยปลิดชีวิตเขาอย่างรวดเร็วไม่ทนทรมานด้วยการใช้กระสุนปืน แต่ก็ไม่มีใครทำใจพอที่จะเหนี่ยวไกปืนได้
ด้วยเหตุนี้แม้จะหิวโหยเพียงใด ทุกคนก็พร้อมตกลงใจที่จะเลื่อนการสังหารออกไปจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น เผื่อว่าโอกาสเพียงน้อยนิดอาจมี
เรืออื่นมาพานพบ และช่วยเหลือได้ทันท่วงที
ช่วงเวลาอันยาวนานสำหรับแฟลตต์ในคืนนั้น ได้ก่อความเครียดในการเตรียมตัวตายให้แก่แฟลตต์อย่างเหลือล้น พอถึงเที่ยงคืนเขาก็หูอื้อ
จนไม่ได้ยินสรรพเสียงใดๆโดยสิ้นเชิง และเมื่อใกล้วาระสุดท้ายเข้ามาทุกขณะ เขาก็เริ่มเสียสติทีละนิด ถึงตีสี่แฟลตต์ก็วิกลจริตไปอย่างสมบูรณ์
ทว่า เป็นโชคดีของเหล่าลูกเรือที่ไม่ต้องคร่าชีวิตเพื่อนรัก เพราะเช้านั้นเอง เรือลำหนึ่งก็ปรากฏขึ้น ทุกคนได้รับความช่วยเหลือกลับขึ้นฝั่ง
แต่โสตประสาทของแฟลตต์ไม่อาจคืนกลับเป็นปกติ...รวมทั้งสภาพจิตของเขาด้วย
หลังจากปลอดภัยแล้ว เหล่าลูกเรือเป็กกี้ต่างยอมรับว่าพวกเขาได้ร่วมกันบริโภคเนื้อมนุษย์ แต่ปฏิเสธว่าพวกตนมิใช่มนุษย์กินคน (cannibal)
หากเสพเพื่อความอยู่รอดเท่านั้น ซึ่งบรรดาคนเรืออื่นๆที่เคยประสบกับภาวะเรือแต่มาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอเมริกันหรืออังกฤษส่วนใหญ่เห็นพ้องด้วยกับสิ่งที่ลูกเรือเป็กกี้ได้กระทำไป
โดยทั่วไปแล้ว เหล่าคนเรืออับปางทั้งหลายจะพยายามอดทนความหิวจนถึงที่สุด ก่อนจะกลายเป็นมนุษยกินคน ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าใด
โอกาสที่จะกินเนื้อเพื่อนตัวเองก็จะเกิดขึ้นง่ายเท่านั้น ผู้สันทัดกรณีเชื่อว่าสติที่ต่อต้านการกินเนื้อมนุษย์จะภินฑ์พังไปอันเนื่องมาจากสภาพ
ร่างกายที่เครียดจากความหิวได้กดดันให้กระทำ
ร่างกายมนุษย์เรานั้นมีกลไกที่ใช้ในการต่อสู้กับความหิวโหย โดยจะเริ่มจากการใช้แหล่งอาหารในตัวเองก่อน แป้งหรือน้ำตาลจะเป็นสิ่งแรก
ที่ถูกเผาผลาญไปเป็นพลังงาน เมื่อสองอย่างนี้หมดไป แหล่งใหม่ก็คือไขมัน และเมื่อหมดไปอีก แหล่งสุดท้ายก็ได้แก่โปรตีน ซึ่งก็คือ
เนื้อหนังของตนเอง
และ...เมื่อสิ้นหวังก็สิ้นทางเลือก
หลังแหล่งพลังงานสุดท้ายหมดไป ร่างกายก็เริ่มปิดการทำงานของอวัยวะบางส่วนที่ไม่จำเป็น เช่น ตับ กระเพาะอาหาร ลำไส้ ฯลฯ
กระทั่งในที่สุดก็ปิดระบบทำงานของสมอง และนั่นก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับลูกเรือเป็กกี้ เมื่อเวลาผ่านพ้นไปสองเดือนกับการอดอาหาร
อีกทั้งแอลกอฮอล์ก็เป็นสิ่งเร่งให้สติสัมปชัญญะขาดไปเร็วยิ่งขึ้น
อีกสิบแปดปีต่อมา ค.ศ.1845 ลูกเรือจำนวน 134 คนได้ออกเดินทางไปกับเรือบุกเบิกสองลำของอังกฤษ ได้แก่เรือหลวง เทอร์เรอร์ (HMS Terror)
กับเรือหลวง อีเรบัส (Erebus) พร้อมกับเสบียงที่พร้อมต่อสู้กับความหิวอย่างเหลือเฟือ โดยอาหารที่นำไปนั้นผลิตขึ้นด้วยเทคโนโลยีการเก็บรักษาแบบใหม่
...อาหารกระป๋อง ( canned food) เฉพาะเรือหลวงเทอร์เรอร์ ได้ขนไปถึง 8,000 กระป๋อง ทั้งเนื้อและผัก ซึ่งกัปตัน เอร์จอห์น แฟรงกลิน
(Sir John Franklin) ได้ตระเตรียมอาหารกระป๋องเหล่านี้ไว้สำหรับการสำรวจหาเส้นทางเดินเรือใหม่ที่เชื่อมยุโรปกับตะวันออกกลาง
ในระยะแรก อาหารกระป๋องจะเสิร์ฟเฉพาะเจ้าหน้าที่ระดับสูงเท่านั้น เพราะมีราคาแพง และจะเผื่อแผ่ไปถึงลูกเรือธรรมดาในกรณีที่อาหารสดที่กักตุนไว้นั้น
หมดสิ้นไปซึ่งในที่สุด...มันก็หมดสิ้นไปจริงๆ
คณะของแฟรงกลินต้องติดค้างอยู่กับฤดูหนาวแรกที่มาถึงพร้อมกับแผ่นน้ำแข็งที่ล้อมรอบเรือทั้งสองไว้นอกฝั่งเกาะบีชี(Beechy) ถึงตอนนี้อาหารกระป๋อง
ก็ได้นำมาแจกจ่ายให้ทั้งเจ้าหน้าที่และลูกเรือได้บริโภคโดยเสมอภาคกัน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่คาดและเตรียมเอาไว้แล้ว
หากทว่าสิ่งที่เขาไม่ได้คาด ก็คือ ความหนาวจัดสุดสุดในรอบ 700 ปี เรือสำรวจทั้งสองลำต้องติดอยู่ในอาร์กติกนานถึงสองปี!
ไม่มีใครได้เห็นเรือทั้งสองอีกเลยนับแต่นั้น
สิบปีหลังการออกสำรวจของเรือทั้งสอง ทีมค้นหาของอังกฤษก็ได้พบเรือบตลำหนึ่งล่องลอยอยู่ บนเรือนั้นมีเอกสารเขียนด้วยลายมือเป็นใจความสั้นๆว่า
“เราได้สละเรือหลวงเทอร์เรอร์และอีเรบัสในวันที่ 22 เมษายน ณ จุดพิกัด 5 ลีกส์ NNW…
จนถึงขณะนี้มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว คือ เจ้าหน้าที่ 9 คน และลูกเรือ 15 คน”
ถึงไม่บอก ทีมค้นหาก็ประจักษ์ด้วยตาอยู่แล้ว บนเรือบตลำนั้นพวกเขาได้เห็นทรากศพของคนเรือที่ตายด้วยความหนาวเย็น นอกจากนี้ยังพบหีบ
ที่บรรจุกระดูกมนุษย์ บางท่อนถูกเลื่อยแบะออกจนถึงไขกระดูก เขายังพบบู๊ตข้างหนึ่งซึ่งมีเนื้อมนุษย์แช่แข็งไว ...เนื้อที่ต้มแล้ว!
ทางการอังกฤษตกละลึงต่อสิ่งที่ถูกค้นพบ แต่ก็ยังปฏิเสธในเรื่องการกินเนื้อมนุษย์ เพราะนั่นย่อมนำความเสื่อมเสียมาสู่ราชนาวีบริติช
ปี 1980 โอเวน บีตตี้ (Owen Bettie) นักมานุษวิทยาแคนาเดียน ได้นำทีมออกสำรวจผ่านอาร์กติก เพื่อหาหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับชะตากรรม
ของคณะแฟรงกลิน พวกเขาได้พบที่ตั้งแคมป์ของเหล่าลูกเรือ ภายในค่ายมีหัวกระโหลก ชิ้นส่วนกระดูกซึ่งมีร่องรอยถูกเชือดเฉือนด้วยมีด นั่นเป็น
การยืนยันถึงการบริโภคเนื้อมนุษย์ สอดคล้องกับการพบเจอในชั้นแรก
บีตตี้ยังได้พบศพลูกเรือ 3 คนที่ตายหลายเดือนก่อนหน้าแฟรงกลินจะสละเรือ จากการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เขาพิสูจน์ให้เห็นว่า ตัวการสำคัญ
ในเรื่องนี้ก็คืออาหารที่เก็บรักษาด้วยเทคนิกใหม่ – อาหารกระป๋องนั่นเอง โดยเมื่อลูกเรือบริดภคเนื้อกับมันฝรั่งเข้าไป พิษของตะกั่วได้ตกถึงท้อง
และทำลายเซลล์ประสาท จนพวกเขาอ่อนแอและไร้สติสัมปชัญญะ กระทำการใดๆโดยปราศจากความยั้งคิด กระทั่งกินเนื้อมนุษย์ด้วยกันเมื่อหิว
จากนั้นก็ทิ้งเรือแล้วออกเดินไปบนทุ่งน้ำแข็งอย่างไร้จุดหมาย จนสิ้นเรี่ยวแรงและนั่งลงรอความตายมาเยือน เป็นการจบชีวิตของทุกคน
ในคณะสำรวจของแฟรงกลิน
ยี่สิบปีหลังจากการตื่นทองครั้งใหญ่ในสหรัฐเมื่อปี 1849 ก็มีข่าวลือถึงขุมทองแห่งใหม่ภูเขาซานฮวน ทำให้อัลเฟรด แพ็คเกอร์ (Alfred Packer)
นักทำเหมืองวัย 31 ปี จากยูท่าห์เกิดความสนใจ เขาจึงจัดทีมขึ้นและออกเดินทางไปแสวงหาทองในเดือนพฤศจิกายน 1873
ช่วงเวลานั้นมีหิมะตกหนัก และพอไปถึงเชิงเขาซานฮวนเสบียงอาหารก็ใกล้หมด เคราะห์ดีที่ได้พบอินเดียนแดงเผ่าอูเต (Ute) ซึ่งให้ที่พักอาศัย
หัวหน้าเผ่าได้แนะให้พวกเขารั้งรอจนกว่าฤดูหนาวจะผ่านพ้นไป และออกเดินทางใหม่ในช่วงใบไม้ผลิ หากทว่าความโลภได้บดบังคณะหาทอง
แพ็คเกอร์กับลูกทีม 5 คน ทิ้งค่ายอินเดียนไปในวันที่ 9 พ.ย. กะจะถึงสถานีปศุสัตว?ของรัฐภายในหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งจะเป็นที่พักอาศัยต่อไปอีก
แต่พวกเขาคิดผิด เพราะหลงทาง หิวโหย และสิ้นพละกำลัง จนต้องหยุดพักตั้งแคมป์อันเป็นที่มั่นสุดท้าย หนทางเดียวที่ทำได้คือส่งแพ็คเกอร์
ขึ้นเขาไปสำรวจหาเส้นทางที่จะช่วยให้ชีวิตรอด
จากคำให้การของแพ็คเกอร์ เมื่อเขากลับลงมาก็พบว่า แชนนอน เบลล์ ZShannel Bell) หนึ่งในผู้ร่วมทีมได้เกิดคลุ้มคลั่งและฆ่าเพื่อนร่วม
ทีมในขณะหลับจนตายทุกคน แพ็คเกอร์ไม่มีทางเลือกอื่น เขาจำเป็นต้องสังหารเบลล์ แต่ก่อนจะทิ้งแคมป์ไป เขาก็เหลือบเห็นเนื้อมนุษย์
ที่เบลล์ย่างไว้บนกองไฟ เขาจึงเรียนรู้ว่าเนื้อเพื่อนร่วมทีมจะช่วยให้เขารอดพ้นจากการอดตายได้จนกว่าฤดูใบไม้ผลิจะมาเยือน
เมื่อแพ็คเกอร์กลับลงมาจากเขาในเดือนเมษายน 1874 เขาถูกตั้งข้อหาฆาตกรรม แพ็คเกอร์กล่าวว่าเขาสังหารแชนนอน เบลล์เพียงคนเดียว
แม้จะสงสัยกันว่าเมื่อฆ่าคนหนึ่งได้ "ฉะนั้นเขาจึงจะไม่สังหารอีกสี่คนด้วยเล่า" อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่มีพยานหลักฐาน ศาลจึงตัดสินจำคุกเขาเพียงแค่
16 ปี แต่เมื่อพ้นโทษออกมา แพ็คเกอร์ก็มีชีวิตอย่างยากลำบาก เพราะสังคมไม่ยอมรับผู้ที่เคยบริโภคเนื้อมนุษย์ด้วยกันมาแล้ว
กรณีสุดท้ายเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม 1972 เมื่อทีมรักบี้อุรุกวัย ได้รับเชิญให้ไปแข่งขันในทัวร์นาเมนท์ที่ชิลี หนทางเดียวที่จะไปได้คือ
ขึ้นเครื่องบินของกองทัพอากาศ ผู้โดยสารคณะนี้ประกอบด้วยนักรักบี้ 25 คน เพื่อนพ้องและญาติมิตร 15 คน กับลูกเรืออีก 5 คน
เบ็ดเสร็จ 45 คน
ขณะที่เครื่องบินเหินอยู่เหนือเทือกเขาแอนดีส (Andes) นั้น อากาศได้แปรปรวน ทำให้เครื่องบินชนภูเขา และตกลงบนทุ่งหิมะบนยอดเขาสูงชัน
ตายทันที 15 คน ส่วนที่เหลือก็ปราศจากเสื้อผ้าที่จะป้องกันจากความหนาวเหน็บถึงกว่าลบสามสิบองศา เพราะปลายทางที่ชิลีนั้นอากาศอบอุ่น
ทุกคนได้แต่รอความช่วยเหลือ ทว่าเมื่อ 10 วันผ่านไปโดยปราศจากวี่แววว่าจะมีใครมาช่วย ผู้ที่เหลืออยู่ก็ต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เพื่อความอยู่รอดนั้น
ร่างกายต้องใช้แคลอรี่ พวกเขาจึงเริ่มกินร่างผู้ที่ตายไปแล้ว ด้วยการแล่เป็นชิ้นเล็กๆ จากฝีมือของโรเบอร์โต คาเนสซา (Roberto Canessa)
นักศึกษาแพทย์
เมื่อ 17 วันผ่านไป เกิดหิมะถล่ม คร่าชีวิตไป 8 คน พวกเขาจึงมีอาหารบริโภคเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่พอเพียง เวลาผ่านไปมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น
จนเหลืออยู่แค่ 6 คน กระนั้นพวกเขาก็ยังไม่สามารถออกจากทุ่งหิมะได้ เพราะปีนั้นหิมะตกหนักที่สุดในรอบ 50 ปี
ในที่สุดหลังจากผ่านพ้นไปถึง 61 วัน คณะก็เลือกคาเนสซ่ากับนานโด พาราโค (Nando Parrado) นักรักบี้วัย 20 ปี ให้ออกเดินทางฝ่าหิมะ
ไปขอความช่วยเหลือ ทั้งสองต้องไต่ลงจากเขาสูงถึงสี่พันกว่าเมตร โดยแทบไม่ได้กินอะไรเลย แต่ด้วยความหนุ่มและจิตใจที่เข้าแข็ง
ประกอบกับเป็นนักกีฬา จึงมีความทรหดอดทนสูง และแทบไม่น่าเชื่อที่ใช้เวลาเพียง 10 วัน ก็ลงมาถึงฟาร์มปศุสัตว์บนที่ราบสูงตอนเหนือของชิลี
และวันที่ 70 หลังเครื่องบินตก นานโดก็นำทีมเฮลอคอปเตอร์ไปช่วยเหลือเพื่อนพ้องที่ยังเหลืออยู่ 14 คน กลับมาได้
วันที่ 23 ธันวาคม พอดีคริสต์มาส ผู้รอดชีวิตต่างก็ได้รับความยินดีจากญาติมิตรสหายพร้อมหน้าพร้อมตา
ไม่มีใครรังเกียจว่า พวกเขามีชีวิตรอดมาได้...จากการกินเนื้อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
credit :: tuaytoon.com