ประวัติศาสตร์ของอิสราเอล
ตามคัมภีร์โตราห์ของศาสนายูดาย (พระคริสตธรรมคัมภีร์เดิม) ซึ่งเป็นคัมภีร์ศาสนาของชาวยิวหรือชาวฮิบรู กล่าวว่าประวัติศาสตร์ของชาวยิวและศาสนานี้เริ่มต้นที่ชายชื่อ อับราฮัม ซึ่งอาศัยอยู่ในเมือง คลาเดียบาบิโลนณ ขณะนั้นเมืองสำคัญต่างๆ มีการนับถือรูปเคราพ และเทพเจ้าของตนเอง แต่อับราฮัมคิดว่าพระเจ้าที่แท้จริงจะมีเพียงพระองค์เดียว เขาได้พบพระเจ้า และพระองค์ทรงให้อับราฮัมและครอบครัวจึงได้ออกเดินทางไปยังแผ่นดินแห่งพันธสัญญา ที่พระองค์จะประทานให้เขาและเชื้อสายของเขา จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเชื้อชาติอิสราเอล และ ศาสนาใหม่ที่รู้ว่ามีพระเจ้าผู้ทรงเที่ยงแท้พระองค์เดียว
ไบเบิลและอัลกุรอานได้บอกเล่าเรื่องของ ชาวยิวหรือลูกหลานของอิสราเอล ซึ่งเป็นบุตรของยิตซ์ฮาก บุตรของอับราฮัม เริ่มจากอับราฮัมได้ลูกชายตามที่พระเจ้าทรงประทานให้ที่กำเนิดกับนางซาร่าชื่อว่าอิสอัคหรือไอเซ๊ค (Isaac) ซึ่งอิสอัคต่อมาได้มีบุตร 2 คนคือ เอซาว และจาขอบ (Jacob )
เมื่อพระเจ้าได้ทำพันธสัญญากับท่านอับราฮัม เนื่องจากว่าพระองค์ได้ทรงมองเห็นว่าท่านอับราฮัม เป็นคนชอบธรรมในสายพระเนตรของพระองค์ อับราฮัมมีลูกด้วยกันสองคน คนแรกคือ อิสมาเอล (Yismael) ที่เกิดกับหญิงทาสชื่อว่า นางฮาการ์ (Hagar)
คนที่สองคือ อิสอัค (Ishak) หรือไอแซค (Isaac) ที่เกิดกับซาราห์ (Sarah)ผู้เป็นบุตรหญิงของบิดาของอับราฮัม แต่ไม่ใด้เกิดจากมารดาเดียวกัน ส่วนเชื้อสายของอิสอัคนั้น เป็นต้นตระกูลของชาวอิสราเอล โดยอิสอัคมีลูกด้วยกันสองคนคือ เอซาว (Esau) และยาโคบ (Jacob) หรืออิสราเอลผู้น้องได้พบชายคนหนึ่งที่เปนีเอล เขามองไม่เห็นใบหน้าแต่ปล้ำสู้จนเกือบรุ่งสาง และจาขอบได้ถามชื่อบุรุษผู้นั้นไม่ตอบ แต่เขาได้บอกว่าแต่นี้ต่อไปจาขอบจะได้ชื่อใหม่ว่าอิสราเอล ตามที่พระเจ้าได้ทรงตั้งชื่อให้เมื่อครั้งที่ท่านยาโคบหรือท่านอิสราเอลได้ปล้ำสู้กับพระเจ้าแล้วได้ชัยชนะครั้งที่ข้ามแม่น้ำยับบอก(การปล้ำสู้กันครั้งนี้เป็นเหตุให้ผู้ชายอิสราเอลไม่กินเส้นที่ตะโพก ซึ่งอยู่ที่ข้อต่อตะโพกนั้นจนถึงทุกวันนี้
เพราะพระองค์ทรงถูกต้องข้อต่อตะโพกของ ยาโคบตรงเส้นเอ็นที่ตะโพก ยาโคบ Jacob หรือ อิสราเอล มีลูกด้วยกันสิบสามคนคือ รูเบน สิเมโอน เลวี ยูดาห์ ดาน นัฟทาลี กาด อาเชอร์ อิสสาคาร์ เศบูลุน โยเซฟ และเบนยามิน และดีนาหฺ์ (หลังจากให้กำเนิดเศบูลุน เลอาห์ให้กำเนิดบุตรสาวคือดีนาห์นี่เอง) จากพันธสัญญาระหว่างพระเจ้ากับอับราฮัมพระองค์จึงได้บรรดาลให้เกิดภัยแล้งขึ้นทั่วโลก
ต่อมาได้เกิดภัยแล้งขึ้น ยาโคบ หรืออิสราเอล และครอบครัว ต้องทำมาหากินด้วยความยากลำบาก #โยเซฟ บุตรคนหนึ่งของยาโคบได้ไปเป็นผู้ดูแลราชอาณาจักรในอียิปต์ เขาได้นำพี่น้องทั้งหมดที่ต้องประสบกับภัยแล้งในคานาอันเข้ามาอยู่อาศัยในแผ่นดินอียิปต์ ครั้นพอสิ้นโยเซฟไป ฟาโรห์องค์ต่อมาได้เกิดความไม่ไว้ใจต่อชาวฮีบรู จึงลดฐานะให้เป็นทาส แล้วเกณฑ์แรงงานไปใช้ในการทำอิฐเพื่อใช้ในการก่อสร้างพีรมิด และมีคำสั่งให้ประหารชีวิตเด็กเกิดใหม่เป็นจำนวนมาก มีทารกเพศชายคนหนึ่งรอดตายจากคำสั่งประหารนั้นมาได้ ชื่อว่า "#โมเสส" (Moses)
ลูกชาวฮีบรูที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยฟาโรห์จนกลายเป็นเจ้าชายแห่งอียิปต์ ได้รับบัญชาจากพระเจ้าให้ปลดแอกชาวยิวในอียิปต์โดยให้พาชาวอิสราเอลหรือฮีบรู ออกเดินทางจากเมือง เพื่อกลับไปยังปาเลสไตน์แผ่นดินแห่งพันธสัญญา
โมเสสเติบโตขึ้น เป็นผู้พาพวกอิสราเอล หรือ ฮีบรูซึ่งนับแต่ผู้ชายได้ถึง 600,000 คน ผู้หญิงและเด็กต่างหาก และยังมีฝูงชนชาติอื่นเป็นจำนวนมากติดตามไปด้วย พร้อมทั้งฝูงสัตว์ คือฝูงแพะแกะและโคจำนวนมาก
แม้จะถูกกองทัพแห่งอียิปต์ขัดขวาง แต่พระเจ้าได้เปิดทะเลแดงให้ชาวอิสราเอลผ่านไปได้ และกลับไหลท่วมทหารอียิปต์ที่ตามมาโจมตี จากนั้นระหว่างทางที่โมเสสพาชาวฮีบรูกลับไปยังแผ่นดินแดนของบรรพบุรุษ เขาไปพบกับพระเจ้าบนภูเขาไสไน (ซีนาย) และได้รับบัญญัติ 10 ประการจากพระเจ้า แต่เนื่องจากชาวอิสราเอลไม่ปฏิบัติตามกฎบัญญัติของพระเจ้า จึงถูกลงโทษให้หลงทางในทะเลทรายเป็นเวลา 40 ปี
อิสราเอลออกจากอียิปต์กลับไปสู่ประเทศปาเลสไตน์ โดยพระกรที่เหยียดออก
พวกฮีบรูมีความสามัคคีและมีกำลังเข้มเข็งขึ้น จึงได้ทำการรวบรวมดินแดนโดยรอบ อันได้แก่ ดินแดนของพวกคานัน และพวกอาราเอลไลท์ แต่ก็ถูกรุกรานจากพวกพวก #ฟิลิเตีย(Philistine) ซึ่งอพยพจากเกาะครีต และเข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่แถบชายทะเล ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปาเลสไตน์ และพวกอามอไรท์กับฮิตไตท์จากทางเหนือ ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีกษัตริย์ปกครอง พวกอิสราเอลไลท์ได้พร้อมใจกันเลือกหัวหน้ากลุ่มที่เข้มแข็งขึ้นมาผู้หนึ่งชื่อ "ซาอูล" (Saul) ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรก เมื่อประมาณ 1,050 ปี ก่อนคริสตกาล
หลังจากนั้น ชาวยิวมีกษัตริย์ที่เก่งกล้าอีก 2 องค์คือกษัตริย์ดาวิดและกษัตริย์โซโลมอน เมื่อกษัตริย์โซโลมอนสิ้นพระชนม์ เมื่อ ปี 930 ก่อนคริสต์ศักราช ทำให้อาณาจักรของโซโลมอนแตกออกป็นสองส่วนคือ อาณาจักรอิสราเอล (The Kingdom of Israel) โดยมีกรุงสะมาเรียเป็นเมืองหลวง และอาณาจักรยูดาห์ (Kingdom of Judah) โดยมีเยรูซาเลมเป็นศูนย์กลาง
#ยุคกลาง
350 ปีต่อมา อาณาจักรทั้งสองต้องล่มสลายไป โดยอาณาจักรที่ล่มสลายไปแห่งแรกคือ อาณาจักรอิสราเอล ถูกยึดครองโดยพวกอัสซีเรียน (Assyrian) ในปี 721 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งนำโดยกษัตริย์ซาร์กอนที่ 2 และกวาดต้อนชาวยิวไปยังอัสซีเรีย ต่อมา ปี 587 ก่อนคริสต์ศักราช อาณาจักรยูดาห์ต้องล่มสลายโดยเนบูคัดเนสซาร์แห่งอาณาจักรแคลเดียมีชัยต่ออัสซีเรีย จึงตัดสินใจบุกอาณาจักยูดาห์ต่อ เขาได้ทำลายมหาวิหารยะโฮวาห์ และกวาดต้อนชาวอาณาจักรยูดาห์ไปยังบาบิโลน หลังจากอาณาจักรทั้ง 2 แตกไป
ชาวยิวต้องอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซีย
หลังจากถูกจับเป็นเชลยอยู่หลายปีได้เดินทางกลับไปสร้างชาติอีกครั้ง จนมาถึงสมัยพันธสัญญาใหม่ กองทัพโรมมหาอำนาจของโลกได้เข้ายึดกรุงเยรูซาเล็ม ช่วงสุดท้ายก่อนอิสราเอลจะสิ้นชาติ พระคริสต์ได้ประสูติ และบอกว่าพระองค์คือบุตรของพระเจ้า จนนำไปสู่การตรึงกางเขนโดยสาวกของพระองค์ที่ชื่อยูดาส เอสคาริโอ
ซึ่งในตอนนั้นก่อนที่ชนชาติอิสราเอลจะสิ้นชาติในปีคริสต์ศักราช 70 ชาวอิราเอล หรือ ฮีบรู ที่เชื่อในพระคริสต์จะถูกแยกออกจากชาวอิสราเอลที่นับถือลัทธิยูดาย และการประกาศพระกิติคุณพระเจ้าได้อนุญาตให้ชาวต่างชาติเชื่อในพระองค์ ซึ่งอิสราเอลในตอนนั้นเขาเชื่อว่าเขาคือชนชาติที่พระเจ้าเลือก และ รู้จักพระเจ้า ชาวต่างชาติเป็นแค่สุนัขตัวหนึ่งไม่สมควรที่จะรู้จักพระเจ้าผู้สร้างที่ยิ่งใหญ่ คำว่ายิวจึงน่าจะเริ่มมีการถูกเรียกกันในช่วงนั้น
หลังจากโรมเข้าถล่มเยรูซาเล็มจนพินาศแล้ว ชาวอิสราเอลได้กระจัดกระจายไปสู่ในที่ต่างๆ
ซึ่งตรงตามพระคัมภีร์เขียนไว้ว่า ดาบจะไล่ตามหลังพวกยิว ส่วนดินแดนคานาอันแผ่นดินน้ำผึ้งและน้ำนมบริบรูณ์นี้จะแห้งแล้ง และถูกเปลี่ยนมือหลายครั้งไม่ว่า อาณาจักรโรม อาณาจักรคอนสแตนติน และกองทัพมุสลิมเข้ายึดครอง สงครามแย่งชิงแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์นี้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจะเป็นชาวยิว เช่น สงครามครูเสด ซึ่งแต่ละครั้งทำให้ชาวยิวได้ตกไปเป็นเชลย ต้องถูกฆ่า และต้องอพยพไปอยู่ในประเทศต่างๆ หลายประเทศ ทั้งในยุโรป เอเซีย และทวีปอเมริกา แต่ชาวยิวก็ยังยึดมั่นในพันธสัญญาระหว่างพวกเขาและพระเจ้า ที่ว่า พระเจ้าจะนำพวกเขากลับไปยังดินแดนที่พระเจ้าเลือกไว้ คือ อิสราเอล
ในที่สุด คนอิสราเอล ถูกเนรเทศเกือบทั้งหมดและบางส่วนถูกฆ่า ชนชาติอิสราเอลจึงได้กระจัดกระจายไปยังแอฟริกา ยุโรป เปอร์เซีย และแหลมอารเบีย ต่อมาปี ค.ศ #632 ดินแดนปาเลสไตน์ กลับมาเป็นของชนกลุ่มน้อยที่เคยอยู่มาก่อนที่อับราฮัมจะเข้ามา นั่นคือ " #ชาวฟิลิสเตีย "หรือ"#ชาวปาเลสไตน์ "ต่อมาโซจุเตริกท์ประมุขแห่งอิสลามได้เข้าครอบครองเยรูซาเล็ม
ชาวยิวในประวัติศาตร์ได้รับความทุกข์ทรมารจากสงครามมากมายหลายครั้ง ไม่ว่าจากกองทัพบาบิโลน เปอร์เซีย กองทัพโรม #สงครามศักดิ์สิทธิ์[ครูเสด]
แต่ครั้งที่สำคัญและโลกไม่สามารถลืมความโหดร้ายได้คือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิว ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง โดย #ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ซึ่ง ยิวถูกฆ่าไปทั้งหมด ประมาณ 7 ล้านคน
#ศาสนจักรมุสลิม
รัฐอารักขาของสหราชอาณาจักร
ในที่สุดความพยายามของชาวยิวที่จะก่อตั้งรัฐอิสระ ก็ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอังกฤษซึ่งในตอนนั้นอังกฤษมีอิทธิพลในดินแดนปาเลส์ไตน์ อนุญาตให้ชาวยิวให้กลับเข้าไปในปาเลสไตน์อีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก็คือประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน พวกเขาได้ใช้ข้อความในพระคัมภีร์ มาอ้างความเป็นเจ้าของซึ่งชนพื้นเมืองที่มีอยู่ก่อนคือชาวปาเลสไตน์และชาวอาหรับในละแวกนั้นไม่เห็นด้วย จนเกิดความรุนแรงทุกรูปแบบในการต่อสู้ให้ได้มาซึ่งแผ่นดินแห่งนี้
เมื่อประเทศสหราชอาณาจักรมีอำนาจและอิทธพลในดินแดนแถบนี้ ได้อนุญาตให้ชาวอิสราเอลเดินทางกลับสู่มาตุภูมิได้ตามมติสหประชาชาติ ที่ชาวยิวขอตั้งรัฐอิสระโดยภายใต้การนำของ #ดิโอเดอร์_เฮริท์ ในนาม '#กลุ่มไซออนนิสต์' ซึ่งสหประชาชาติได้แบ่งดินแดนแห่งนี้เป็น 60% ของชาวอิสราเอล และ 40% เป็นของชาวฟิลิสเตียหรือปาเลสไตน์ทำให้มีการจัดตั้งประเทศอิสราเอลในที่สุด
#การประกาศเอกราช
ในปี ค.ศ. #1947 สมัชชาสหประชาชาติ ลงมติแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ให้กับชาวยิว โดยแบ่งเอาดินแดนบางส่วนของซีเรียและอียิปต์ไปด้วย โดยมติดังกล่าวไม่ได้ขอความเห็นชอบจากชาวปาเลสไตน์เลยแม้แต่น้อย
ในปี ค.ศ. #1948 มีการจัดตั้งรัฐยิวขึ้นอย่างเป็นทางการบนแผ่นดินปาเลสไตน์โดยมี เดวิด เบนกูเรียน (David Bengurion) เป็นผู้นำคนแรก โดยตั้งชื่อว่า รัฐอิสราเอล นับแต่นั้นมา อิสราเอลก็เริ่มปรากฏในแผนที่โลกในฐานะประเทศ ทั้งที่ก่อนหน้านี้พวกเขาไม่มีแผ่นดินครอบครองเลย
รัฐอิสราเอลถูกสร้างขึ้น เพื่อเป็น #ยามเฝ้าน้ำมัน ในตะวันออกกลางของอังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา อิสราเอลมีหน้าที่หลักในการเป็นพันธมิตรของตะวันตกเพื่อสกัดกั้นและไล่กัดกระแสชาตินิยมอาหรับที่ต้องการควบคุมน้ำมันเพื่อประโยชน์ของคนในพื้นที่ แทนประโยชน์ของบริษัทข้ามชาติตะวันตก รัฐอิสราเอลเป็นรัฐเหยียดเชื้อชาติเพราะเป็นรัฐที่กีดกันคนที่ไม่ใช่ชาวยิว และที่สำคัญคือถูกสร้างขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ผ่านการขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากบ้านเกิดด้วยความรุนแรงโหดร้ายทารุณ บ่อยครั้งมีการเข้าไปในหมู่บ้านเพื่อฆ่าชายหญิงและเด็ก ซึ่งเป็นวิธีสร้างความหวาดกลัวให้กับชาวปาเลสไตน์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ชาวปาเลสไตน์หมดกำลังใจในการต่อสู้ และหลบหนีออกจากพื้นที่จนกลายเป็นผู้ลี้ภัยถาวรในค่ายรอบๆ อิสราเอล
แต่ปี #1964 ประเทศอาหรับ ด้วยกังวลต่อแผนของอิสราเอลที่จะหันเหน้ำจากแม่น้ำจอร์แดนเข้าสู่ที่ราบชายฝั่ง พยายามหันเหต้นน้ำเพื่อให้อิสราเอลขาดทรัพยากรน้ำ ยั่วยุให้เกิดความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลฝ่ายหนึ่ง กับซีเรียและเลบานอนอีกฝ่ายหนึ่ง
ก่อนจะถึงเดือนมิถุนายน #1967 อียิปต์ได้ขับไล่กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติบริเวณคาบสมุทรซีนาย และชุมนุมพลบริเวณใกล้ชายแดน, ปิดช่องแคบติลาน ซึ่งเป็นช่องทางเดินเรือเข้าสู่อ่าวอกาบาที่ไปสู่เมืองท่าอีลาท เมืองท่าทางด้านใต้ของอิสราเอล ไม่ให้เรืออิสราเอลผ่านได้ และเรียกร้องให้ชาติอาหรับร่วมกันถล่มอิสราเอล ในเดือนมิถุนายน #1967 ฝ่ายอิสราเอลชิงลงมือก่อนโดยส่งกำลังทางอากาศเข้าโจมตีฐานทัพอากาศของอียิปต์ที่กำลังเตรียมการสำหรับสงครามที่กำลังจะเกิดขึ้น จอร์แดนเข้าโจมตีเยรูซาเล็มตะวันตกและเนทันย่า แต่ถูกอิสราเอลบุกกลับจนอิสราเอลยึดดินแดนอาหรับได้มากมายและชนะสงครามภายใน 6 วัน ซึ่งหลัง #สงคราม6วัน อิสราเอลได้ทำการควบคุม เวสต์แบงก์ ฉนวนกาซา เยรูซาเลมตะวันออก คาบสมุทรไซนาย และ ที่ราบสูงโกลัน
ภาพประกอบจากgoogle ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
ในวันที่ 6 ตุลาคม #1973 ซึ่งตรงกับเดือน รอมฎอน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยัมคิปปูร สงครามครั้งนี้เป็นเปิดฉากโดยการนำของ อันวาซาดัต ของประเทศอียิปต์ ตามด้วยซีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุต่อเนื่องในการยึดดินแดนจากสงครามครั้งก่อนของอิสราเอลในปี 1967 ในช่วงแรกๆของสงครามนี้ อิสราเอลดูเหมือนจะตั้งตัวไม่ติด เพราะอียิปต์ใช้การรุกแบบ (Immediate Attack)
โดยส่งทหารเข้าโจมตีอิสราเอลทางด้านคลองสุเอซและด้านที่ราบสูงโกลัน พร้อมด้วยอาวุธที่ทันสมัยจากโซเวียต ประกอบกับทหารจำนวนมาก รถถังหลายร้อยคัน เป็นเหตุให้ชาวอิสราเอลตามชายฝั่งถูกขยี้หมด อิสราเอลตกเป็นฝ่ายตั้งรับ เพราะนิ่งนอนใจจากชัยชนะสงครามครั้งที่แล้ว แต่ช่วงเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์ อิสราเอลก็ตั้งตัวติด และเริ่มเป็นผู้รุกบ้าง สงครามจึงดำเนินไปอย่างดุเดือด
โดยต่างฝ่ายต่างขุดเอาอาวุธมาอวดกันอย่างน่าวิตก อิสราเอลส่งเครื่องบินออกโจมตีและทิ้งระเบิดตามเมืองต่างๆของซีเรียและอียิปต์ รวมถึงนครดามัสกัสด้วย และล้อมทหารของอียิปต์ไว้ทุกแห่ง นอกจากนี้ ยังปิดกั้นการถอยกลับของทหารอียิปต์ได้อีกด้วย ดังนั้นการรบครั้งนี้แสดงให้ชาวโลกได้เห็นว่าฝ่ายอาหรับไม่มีการพัฒนาการใดๆเลย แถมยังถูกทำลายอาวุธที่อุตส่าห์สะสมมากว่า 6 ปี ในที่สุดคณะ#รัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (#UN Security Council) โดยมีมติ 14 ต่อ 0 โดยให้อิสราเอลคืนดินแดนที่ยึดมาได้ในสงครามปี 1967 และให้อาหรับยอมรับประเทศของชาวยิว
ด้วยเหตุนี้ผู้นำอียิปต์ตัดสินใจที่จะยอมรับข้อตกลง เพราะต้องการดินแดนคืน กลุ่มอาหรับสร้างความไม่พอใจอย่างมากต่อ ‘อันวาซาดัส’ และประณามว่าเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตน และปลดอียิปต์ออกจากสมาชิกสันนิบาตชาติอาหรับ และนี้เองทำให้อิสราเอลได้รับอิสรภาพอย่างสมบูรณ์ ส่วนทางจอร์แดนก็ได้ทำสนธิสัญญาสันติภาพกับอิสราเอลเมื่อปี 1994 และบริหารจัดการศาสนสถานของชาวมุสลิมในเยรูซาเลมผ่านทางกระทรวงเอากอฟ (Awqaf) และกิจการศาสนา
แม้แต่ผู้นำของ PLO ก็ยอมหันหน้าเข้าหาอิสราเอล โดยเจรจาผ่านทางสหประชาชาติในปี 1972 การประนีประนอมครั้งนี้เป็นผลก่อให้เกิดการลงนามใน “ข้อตกลงสันติภาพออสโล ฉบับที่ 1” ในปี 1993 เป็นการประกาศว่าโลกยอมรับให้มีดินแดนปกครองตนเองที่ชื่อปาเลสไตน์ ในเขตเวสต์แบงก์และฉนวนกาซ่า
ในปัจจุบันอิสราเอลได้มีดินแดนในการควบคุมและเคยควบคุม ดังนี้
* เวสต์แบงก์ (1967-ปัจจุบัน)
* ฉนวนกาซา (1956–1957 , 1967-2005)
* เยรูซาเลมตะวันออก (1967-ปัจจุบัน ; โดยในปี ค.ศ. 1980 อิสราเอลได้ผนวกเยรูซาเลมตะวันออกอย่างเป็นทางการ)
* คาบสมุทรไซนาย (1956–1957 , 1967-1982)
* ที่ราบสูงโกลัน (1967-ปัจจุบัน)
* เลบานอนใต้ (1982-2000)
ที่น่าทึงคือพวกเขาก่อร่างสร้างเมือง เปลี่ยนทะเลทรายที่แห้งแล้งให้เป็นพื้นที่การเกษตรเขียวชะอุ่มตรงตามพระคำภีร์ไบเบิ้ลที่บอกว่าพวกเขาจะกลับมารวมชาติและทำให้ดินแดนนี้มีชีวิตอีกครั้ง ทุกวันนี้หนุ่มสาวชาวอิสราเอล ต่อสู้เพื่อปกป้องและขยายดินแดนไปอาณาจักรที่อยู่ใกล้เคียงหลายต่อหลายครั้งโดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศมหาอำนาจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา
ภาพประกอบจากgoogle ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
>>#สถานการณ์การเมือง
รัฐบาลอิสราเอลให้ความสำคัญสูงสุดต่อนโยบายความมั่นคงภายในประเทศ และการป้องกันภัยคุกคามต่อชีวิตและทรัพย์สินเฉพาะของชาวอิสราเอล ความล้มเหลวของการเจรจาสันติภาพก่อให้เกิดการลุกฮือด้วยกำลังของชาวปาเลสไตน์ (Intifada) ในปี 2543 ได้นำไปสู่วงจรความขัดแย้งที่รุนแรงระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ นอกจากนี้ การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของอิสราเอลเมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 และการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของปาเลสไตน์ โดยกลุ่มฮะมาสเมื่อเดือนมีนาคม 2549 ซึ่งประกาศไม่ยอมรับการมีอยู่ของรัฐอิสราเอล ส่งผลให้ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์เพิ่มความตึงเครียดขึ้น
อนึ่ง เมื่อเดือนมิถุนายน 2550 กลุ่มฮะมาสสามารถยึดครองฐานที่ตั้งของฝ่ายฟะตะห์ทั้งหมดในกาซาโดยการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ส่งผลให้ประธานาธิบดี Mahmoud Abbas ตะวันตก และอิสราเอล ยอมไม่ได้จึงประกาศกฎอัยการศึก และประกาศถอดถอนนายกรัฐมนตรี Ismail Haniyaa ผู้นำฝ่ายฮะมาส และถอดถอนรัฐมนตรีฝ่ายฮะมาสทั้งหมด โดยแต่งตั้งนาย Salam Fayyad อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังปาเลสไตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีแทน และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีปาเลสไตน์ชุดใหม่ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มฟะตะห์ทั้งหมด โดยมีฐานที่ตั้งในเขตเวสต์แบงก์ เรียกได้ว่าอิสราเอลได้ล้มล้างระบอบประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นชาวปาเลสไตน์ลงทั้งหมด
อิสราเอล สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป รัสเซีย(กลุ่ม Quartet) องค์การการประชุมอิสลามและอียิปต์ ได้ผลักดันแต่งตั้งรัฐบาลปาเลสไตน์ภายใต้กลุ่มฟะตะห์ โดยอิสราเอลได้เริ่มเจรจาสันติอีกครั้งกับประธานาธิบดี Abbas และได้โอนเงินภาษีปาเลสไตน์ที่อิสราเอลยึดไว้คืนให้ 118 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากทั้งหมด 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปล่อยตัวนักโทษปาเลสไตน์ (ฝ่ายฟะตะห์) 255 คน จากทั้งหมด 11,000 คน รวมทั้ง อภัยโทษให้ผู้ต้องหาปาเลสไตน์หัวรุนแรง ซึ่งประธานาธิบดี Abbas ได้สั่งการให้กลุ่มติดอาวุธฟะตะห์เกือบทั้งหมด 300 คน วางอาวุธ เพื่อเป็นการตอบแทน
อย่างไรก็ตาม อิสราเอลยังคงมีความระมัดระวังในการเจรจากับกลุ่มฟะตะห์ โดยอิสราเอลยังคงเรียกร้องให้กลุ่มฟะตะห์เจรจาให้กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์อื่น ๆ ยอมรับเงื่อนไข 3 ประการของกลุ่ม Quartet ได้แก่
1. การยุติความรุนแรง
2. การยอมรับการมีอยู่ของรัฐอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ และยอมรับรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้ง (ฟะตะห์)
3. การยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงสันติภาพต่าง ๆ กับอิสราเอลในอดีต
อิสราเอลยังคงไม่ส่งมอบพื้นที่ยึดครองในเวสต์แบงก์ หรือรื้อถอนจุดตรวจค้นระหว่างอิสราเอล-เวสต์แบงก์ หรือการยุติการก่อสร้างที่อยู่อาศัยชาวอิสราเอลในพื้นที่ปาเลสไตน์ ที่กระทำมาโดยตลอด 60 ปี ตามที่รัฐบาลปาเลสไตน์และสมาชิกสหประชาชาติส่วนใหญ่ต้องการ
ทั้งนี้ โดยที่การจัดตั้งรัฐบาลของอิสราเอลที่ผ่านมาล้วนเป็นแบบรัฐบาลผสม ทำให้การดำเนินนโยบายของรัฐบาลอิสราเอลมีความอ่อนไหวสูงต่อข้อเรียกร้องของพรรคร่วมรัฐบาลและกลุ่มกดดันทางการเมืองภายในประเทศ
แม้ในปัจจุบันก็ยังมีกรณีพิพาทในดินแดนฉนวนกาซ่าและเขตชายฝั่งตะวันตก (เวสแบงค์) ระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับ (ปาเลสไตน์) ซึ่งสหประชาชาติล้มเหลวอย่างสมบูรณ์ ทุกวันนี้ก็ยังหาข้อยุติ หรือจะเห็นสันติภาพยังนับว่าห่างไกลเหลือเกิน
ภาพประกอบจากgoogle ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
https://www.facebook.com/elzindur/photos/ms.c.eJw1x8kNACAMA7CNUNKLZv~;FkAr4ZwGKIqVmpi~;Nrebe~;7sq2hDvznscnXkM3Q~-~-.bps.a.900946169981548.1073741854.810369369039229/900946119981553/?type=3&theater
ภาพ :
Dome in Jerusalem The Capital City Of Palestine
เรียบเรียงโดย : Elzindu