มาดูรถ Concept ที่ดีไซน์ล้ำสุดๆ
ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ปกติแต่ละค่ายจะมีการทำรถยนต์ต้นแบบ ที่มีดีไซน์ล้ำ เลิศ และแหวกแนวกว่าใคร
จนหลายคนสงสัยว่า ทำไมค่ายรถแต่ละค่าย ไม่ผลิตรถรูปแบบนี้ออกมาสู่ตลาดซะเลย
คำตอบก็คือ
Concept Car เป็นรถที่นักออกแบบปั้นออกมาเวลาจะผลิตรถรุ่นใหม่ๆ
แต่เมื่อถึงขั้นตอนการผลิตแบบปริมาณมากๆ จริงๆ แล้ว เส้น ลวดลาย วัสดุ
ต้องถูกปรับเปลี่ยนเนื่องจาก
-เครื่องจักรไม่สามารถผลิตได้
หรือต้องผลิตเครื่องจักรใหม่(เพื่อที่จะผลิตรถหน้าตาเหมือน concept car? คงไม่คุ้ม)
รวมทั้งเครื่องจักรขึ้นรูปชิ้นส่วนประกอบแต่ละชิ้นๆ
-ต้นทุนสูง รูปร่างที่เห็นสวยงามต้องใช้เวลา และ แรงงานมหาศาลในการทำ
ถ้ารถ 1 คัน ใช้เวลาผลิตนานขึ้น 10 นาที รถ 1 แสนคันจะใช้เวลาผลิตนานขึ้น
มหาศาล ต้นทุนค่าแรงจะสูงขึ้น มหาศาล
ทั้งหมดนี้ต้องรอให้ถึงเวลาที่เทคโนโลยีสูงพอที่จะผลิตได้โดยไม่เพิ่มต้นทุน
ดังนั้นรถในตอนนี้หน้าตาถึงดีกว่ารถเมื่อก่อนไงครับ
และในอนาคตเราก็จะเห็นรถหน้าตาเหมือน concept car ออกมาขายทั่วๆไปแน่นอน
แต่ตอนนี้ไม่ทำเนื่องจากเหตุผลทางการค้า
แนวโน้มความต้องการยานยนต์จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ
• ตลาดประเทศพัฒนาแล้ว จะต้องการยานยนต์ที่มีความหรูหรา คุณภาพสูง และเป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อม เช่น กลุ่มประเทศยุโรป และกลุ่มประเทศ BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน)
• ตลาดประเทศกำลังพัฒนา จะต้องการยานยนต์ราคาถูก ค่าบำรุงรักษาต่ำ คุณภาพสมราคา เช่น กลุ่มประเทศแอฟริกา กลุ่มประเทศมุสลิม
เทคโนโลยีด้านยานยนต์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตามความต้องการยานยนต์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ โดยเฉพาะความต้องการยานยนต์ที่สอดคล้องกับกระแสการรักษาสภาพแวดล้อมและการประหยัดพลังงานเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการเลือกบริโภค ดังจะเห็นได้ชัดในกลุ่มประเทศยุโรปที่มีการลดระดับความนิยมลงในรถยนต์หรูหราขนาดใหญ่ และให้ความสำคัญกับการใช้รถยนต์ที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตมากขึ้น เช่น การใช้รถยนต์ขนาดเล็กที่ประหยัดพลังงานและค่าบำรุงรักษาที่ต่ำ เพื่อการเดินทางในเขตเมือง เป็นต้นจากความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ของโลกต้องพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง และผลจากการใช้เทคโนโลยีระดับสูงผนวกเข้ากับยานยนต์เพิ่มมากขึ้น ทำให้กระบวนการผลิตต้องเพิ่มการใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีระดับสูงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และแรงงานฝีมือในอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีความรู้หลากหลายสาขาและปรับตัวจากทักษะการประกอบเปลี่ยนเป็นทักษะการควบคุมเครื่องจักรระดับสูงมากยิ่งขึ้น และเพื่อการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตและการพัฒนาสินค้าจะทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์เกิดการควบรวมกิจการและจะพัฒนายานยนต์ในลักษณะ High-volume global platform
เพื่อใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะทำให้มีจำนวนฐานการผลิตลดลงและกระจุกตัว ซึ่งภายใน 10 ปีข้างหน้า ทวีปเอเชียจะยังเป็นศูนย์กลางที่สำคัญในการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ของโลก โดยเฉพาะประเทศจีนและอินเดียที่มีแรงงานและต้นทุนการผลิตต่ำ และมีความต้องการสินค้ายานยนต์ภายในประเทศสูง และหลังจาก 10 ปีนี้ กลุ่มประเทศแอฟริกาจะมีความโดดเด่นมากขึ้นในฐานะประเทศกำลังพัฒนาที่มีปริมาณแรงงานมากและต้นทุนการผลิตต่ำประเทศไทยมีการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์มานานกว่า 40 ปี และได้รับการยอมรับให้เป็นประเทศฐานการผลิตที่มีคุณภาพ ทั้งยังเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน และเป็นประเทศฐานการผลิตรถปิกอัพไม่เกิน 1 ตันเป็นอันดับ 1 ของโลก เพื่อรักษาศักยภาพในการแข่งขันและสร้างจุดยืนที่มั่นคงของประเทศไทยในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ของโลก ได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ไว้ดังนี้ “ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์แห่งเอเชียสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศโดยมีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนที่มีความเข้มแข็ง”
โดยผู้ประกอบการในประเทศไทยจะต้องปรับตัวและพัฒนาตนเองให้ทันกับเทคโนโลยีและความต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไปเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของประเทศไทยให้มากที่สุด เพื่อรักษาจุดยืนของประเทศไทยในการเป็นประเทศฐานการผลิตหลักของเอเชียแปซิฟิคแนวโน้มของการพัฒนาสินค้ายานยนต์นั้น ประเทศไทยจะต้องมุ่งเน้นไปที่สินค้าหลัก 4 ชนิด คือรถปิกอัพไม่เกิน 1 ตัน รถยนต์นั่งขนาดเล็กคุณภาพสูง รถจักรยานยนต์ และอะไหล่และชิ้นส่วนตกแต่ง โดยประเทศไทยควรจะขยายบทบาทจากการเป็นฐานการประกอบยานยนต์ไปสู่การมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์และระบบสำเร็จรูปที่สำคัญสำหรับยานยนต์ในอนาคต คือ รถไฮบริด รถไฟฟ้า และรถ fuel cell อีกด้วย ซึ่งระบบและอุปกรณ์ของยานยนต์ในอนาคตเหล่านี้จะมีบทบาทในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในอนาคตเป็นอย่างมาก ประเทศไทยควรส่งเสริมให้เกิดการลงทุนจากบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนระดับโลกให้สร้างฐานการผลิตอุปกรณ์
และระบบที่สำคัญในประเทศไทย และมุ่งให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการไทยเพื่อสร้างฐานความรู้ด้านเทคโนโลยียานยนต์ในประเทศไทยแนวทางในการพัฒนาให้ประเทศไทยสามารถก้าวเข้าสู่การเป็นฐานการผลิตแห่งเอเชียได้
สนับสนุนเนื้อหาโดย