สื่อกับพาดหัวข่าวฆ่าตัวตาย!!
การเสียชีวิตของดารานักแสดงชื่อดัง โรบิน วิลเลี่ยม กลายเป็นประเด็นที่สื่อมวลชนทั่วโลกเอาไปนำเสนอกันอย่างสนุกปาก
สื่อหลายๆฉบับ พาดหัวข่าวถึงการฆ่าตัวตายของเขาอย่างละเอียดยิบ ราวกับยืนอยู่ข้างๆตอนที่โรบิน วิลเลี่ยมฆ่าตัวตายยังไงยังงั้น
การนำเสนอข่าวฆ่าตัวตายของศิลปินดารา เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก มีงานวิจัยเมื่อหลายปีก่อนระบุว่า
ข่าวการฆ่าตัวตายสามารถนำไปสู่พฤติกรรมลอกเลียนแบบได้ ยกตัวอย่างเช่นในปี 1972 - 1976
ที่สื่อยังนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายแบบเจาะลึกทุกรายละเอียด มีการรวบรวมข้อมูลทางสถิติพบว่า
ช่วงไหนที่มีข่าวการฆ่าตัวตายมากๆอันตราการฆ่าตัวตายในช่วงหลังจากนั้นจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
แต่ช่วงไหนที่สื่อไม่รายงานข่าวการฆ่าตัวตาย พบว่าอัตราการฆ่าตัวตายหลังจากช่วงนั้นก็ลดฮวบๆกันเลยทีเดียว
เดบิทhttp://www.irss.unc.edu/content/pdf/Bollen%20Phillips%20(1982%20ASR).pdf
ทำให้สือมวลชนต่างชาติ ตระหนักถึงอันตรายของการนำเสนอข่าวฆ่าตัวตายแบบลงลึกถึงรูขุมขน
มึการออกแนวทางการนำเสนอข่าวฆ่าตัวตายให้สื่อเอาไปปรับใช้ ซึ่งก็ได้ผลเป็นอย่างดี
แต่เหตุการณ์โรบิน วิลเลี่ยม ได้แสดงให้เห็นว่ามีสื่อจำนวนไม่น้อยที่หลงลืมหลักการนี้
พาดหัวข่าวเกี่ยวกับโรบิน วิลเลี่ยมอย่างโหดสัสเพื่อหวังเรตติ้ง โดยไม่สนใจผลกระทบใดๆที่จะตามมาเลย
ยกตัวอย่างเช่น นสพ. METRO พาดหัวว่า - เปิดเผยความทรมานในวาระสุดท้ายของโรบิน วิลเลี่ยม
เขาเข้านอนเพียงลำพัง จากนั้นจึงกรีดข้อมือแล้วแขวนคอตาย
นสพ.เดอะ ซัน และเดลี่มิเรอร์ ก็ลงรายละเอียดของการฆ่าตัวตายในลักษณะเดียวกัน
นสพ. เดลี่เมล์ พาดหัวว่า โรบินวิลเลี่ยมฆ่าตัวตายเพราะกำลังจะหมดตัว
การพาดหัวในลักษณะนี้เป็นข้อห้ามที่ไม่ควรทำ องค์กรสะมาริตันส์ (Samaritans)
ซึ่งเป็นองค์กรนานาชาติ คอยให้บริการฮอทไลน์เพื่อช่วยเหลือผู้คนที่ประสบปัญหาอยากฆ่าตัวตาย
แนะนำว่านักข่าวควรคิดให้รอบคอบก่อนจะพาดหัวข่าวเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย
โดยพยายามเลี่ยงการลงรายละเอียดของการฆ่าตัวตาย ว่าทำโดยวิธีไหน
เพราะมีโอกาสที่คนอ่านข่าวอาจลอกเลียนวิธีการนั้นไปใช้กับตนเอง ยิ่งผู้ตายเป็นดาราหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงก็ยิ่งเสี่ยงมากขึ้น
พยายามเลี่ยงการใช้คำว่า ฆ่าตัวตาย หรือคำอื่นๆที่สื่อรูปแบบการตาย เช่น แขวนคอตาย กินยาฆ่าตัวตาย
อย่าพาดหัวข่าวให้ตัวเป้งๆ เพราะจะทำให้ข่าวการฆ่าตัวตายเด่นเกินไป เด๋วจะมีคนเลียนแบบมากขึ้น
พยายามอย่าใช้คำพูดในเสนอข่าวว่าการฆ่าตัวตายเป็นผลลัพท์หรือทางออกของปัญหาชีวิตของผู้ตาย
การเลือกใช้ภาพประกอบ ไม่ควรใช้ภาพสถานที่เกิดเหตุ หรือภาพศพของผู้ตายโดยเด็ดขาด
เพราะมันยิ่งเป็นการซ้ำเติมครอบครัวของผู้เสียชีวิต ไม่ควรรีบไปสัมภาษณ์ญาติของผู้ตายว่าสาเหตุของการฆ่าตัวตายคืออะไร
คนใกล้ชิดบางทีก็ไม่รู้เหตุผลที่เขาฆ่าตัวตายหรอก ยิ่งเป็นคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ายิ่งแล้วใหญ่
อีกทั้งญาติของผู้ตายหลังเกิดเหตุใหม่ๆ ยังเสียใจจากการสูญเสียอยู่ การสัมภาษณ์ในช่วงนี้
ถ้าสัมภาษณ์แบบไม่ระวังอาจทำให้ญาติผู้ตายกระทบกระเทือนใจ หรือโทษว่าเป็นความผิดของตัวเอง
ถามว่าห้ามนู่นห้ามนี่ยุ่บยั่บเต็มไปหมด แล้วสื่อจะนำเสนอข่าวคนฆ่าตัวตายแบบไหนได้มั่งวะ
ขอยกตัวอย่างสื่อต่างประเทศที่ลงข่าวการเสียชีวิตของโรบิน วิลเลี่ยมอย่างถูกต้องเหมาะสม
ได้แก่ นสพ.เดอะการ์เดี้ยน ที่พูดถึงการสูญเสียนักแสดงที่มีอัจฉริยภาพสูงอย่างโรบิน วิลเลี่ยม
หรือ นสพ. เดอะ สก๊อตแมน ที่ลงรายละเอียดตรงพาดหัวเพียงว่า สดุดีแด่การจากไปของโรบิน วิลเลี่ยม
เป็นตัวอย่างที่ดีว่าการนำเสนอข่าวฆ่าตัวตาย สามารถทำได้ โดยไม่ต้องย่ำยีผู้ตายหรือญาติเป็นคำรบสอง
โดยพาดหัวเกี่ยวกับความสูญเสียของครอบครัวหรือสังคมเมื่อผู้ตายจากไป
ที่สำคัญนอกจากการนำเสนอรายละเอียดข่าวแล้ว สื่อยังมีบทบาทสำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุฆ่าตัวตายมากยิ่งขึ้น
โดยนำเสนอวิธีแก้ไขปัญหาเมื่อมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย เช่น ลงเบอร์ฮอทไลน์รับปรึกษาปัญหาชีวิต
หรือแนะนำให้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามีความคิดอยากน่าตัวตาย ไปพบแพทย์ เป็นต้น
ดูวิธีการนำเสนอข่าวที่ไม่ถูกต้องของเมืองนอกแล้ว ลองมาดูการนำเสนอข่าวฆ่าตัวตายของสื่อไทยดูบ้าง
คงพูดได้คำเดียวว่า "โหดสัสไหมล่ะ!!!" (แม่งแหกทุกกฏเลยนะเนี่ย)
ข้อมูลอ้างอิง http://www.buzzfeed.com/patricksmith/here-are-the-uk-newspaper-front-pages-on-robin-williams-deat
http://www.huffingtonpost.com/2014/08/13/daily-news-robin-williams-village-voice-editor_n_5675667.html
http://www.thedrum.com/opinion/2014/08/13/newspapers-got-it-wrong-their-reporting-robin-williams-death
http://i100.independent.co.uk/article/this-is-what-happens-when-sub-editors-dont-understand-binary--gJrG5dfkQe
http://www.samaritans.org/sites/default/files/kcfinder/files/press/Samaritans Media Guidelines 2013 UK.pdf
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nidnueng&month=12-2006&date=15&group=2&