รู้หรือไม่? เด็กตกเตียง ห้ามทำสิ่งต่อไปนี้
มีให้เห็นกันอยู่บ่อยๆ สำหรับเหตุการณ์ เด็กตกเตียง หรือตกจากที่สูง แต่เคยรู้กันบ้างหรือไม่ว่า เด็กตกเตียงนั้น อันตรายกว่าที่คิด บางรายอาจจะไม่มีแผล ไม่มีเลือดแตาอาจจะกระทบกระเทือนวัยวะภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งศีรษะ เด็กเล็กๆ ศีรษะเป็นอวัยวะที่สำคัญมากๆ แล้วหลังจากที่ เด็กตกเตียง แล้ว เราควรหรือไม่ควรทำอะไรบ้าง
1.ห้ามอุ้มขึ้นมาทันที
ปกติเมื่อเด็กตกปุ๊บ พ่อแม่ส่วนใหญ่จะรีบเจ้ามาอุ้มโดยทันที แต่นี่เป็นวิธีที่ผิด เพราะหากการตกของเด็กในครั้งสร้างความบาดเจ็บให้กับอวัยวะโดยที่เราไม่ได้สังเกตุอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ วิธีการที่ถูกต้องคือ ต้องไม่ตื่นตระหนก โวยวาย ให้รอสักครู่ จำให้ได้ว่าตกลงมาอย่างไร ตรวจหาที่บาดเจ็บและตรวจดูว่ามีอวัยวะใดเคลื่อนที่ผิดปกติหรือไม่เพื่อเช็คกระดูกเบื้องต้นว่ามีหักหรือเจ็บที่ใดบ้าง
2.ห้ามเอามือไปถูบริเวณที่ช้ำเลือด
เมื่อเกิดอาการช้ำในและไม่สามารถส่งห้องฉุกเฉินได้ทันที ให้ทำการประคบเย็นและคอยสังเกตอาการ หลังจากเกิดเหตุ 24-48 ชั่วโมง โดยจะช่วยบรรเทาอาการช้ำ แต่ห้ามถูบริเวณที่ช้ำ เนื่องจากจะทำให้ช้ำมากขึ้น
3.ห้ามประมาทเกินไปเด็ดขาด
ต้องสังเกตุอาการของลูก หากมีอะไรผิดปกติต้องรีบพบแพทย์โดยด่วนที่สุด เพราะหากพลาดแล้วโอกาสที่จะรักษาชีวิตลูกก็ย่อมมีน้อยลงไป
- หากที่บ้านใช้เตียงนอนสำหรับเด็ก คุณแม่ต้องมั่นใจว่า คอกกั้นทั้ง 4 ด้านใส่ตัวล็อกไว้แน่นแล้ว เพื่อไม่ให้ลูกกลิ้งไปกระแทกแล้วคอกเลื่อนลงจนลูกตกเตียงได้
- สำหรับเตียงนอนเด็กแบบคอกด้านข้างเป็นซี่กรง คุณแม่ควรใช้ผ้าปิดลุกกรงทั้งหมด หรือใช้หมอนพิงกั้นไว้สูงๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกสอดมือ เท้า แขน ขา ออกมาได้ เพราะลูกอาจบิดตัวชณะหลับจนได้รับอันตรายได้
- สำหรับลูกที่นอนบนที่นอนพ่อแม่หรือแม้แต่ที่นอนเด็ก ควรเริิ่มจากการนอนบนที่นอนหรือฟูกที่นอนบนพื้นห้อง เพราะที่นอนจะไม่มีความสูงมากนักเมื่อลูกกลิ้งตกเตียง
- หากลูกนอนดิ้น ควรให้หัวเตียงและที่นอนฝั่งใดฝั่งหนึ่งอยู่ติดกำแพง และอีกด้านหนึ่งให้ใช้หมอนข้างหรือหมอนใบใหญ่ๆ ที่ไม่กลิ้งไปมาง่าย วางเป็นแนวกันไว้ไม่ให้ลูกกลิ้งตกเตียง
- ไม่ควรปล่อยให้ลูกเล็กนอนคนเดียว ควรมีคุณพ่อคุณแม่ หรือพี่ที่โตกว่านอนด้วย หรือถ้าจำเป็นต้องให้ลูกนอนคนเดียว ควรจะอยู่ในสายตาพ่อแม่ตลอดเวลา หรือควรจะลุกไปดูลูกเป็นระยะว่ายังนอนดีอยู่หรือไม่ ลูกตกเตียงหรือไม่
- กรณีที่ลูกตกเตียงสูง ควรค่อยๆ ประคองลูกขึ้นมาอย่างเบามือ เพราะยังไม่แน่ใจว่าตอนลูกตกเตียงแล้วหัวกระแทกพื้น หัวกระแทกเตียง หรือส่วนไหนของร่างกายได้รับบาดเจ็บมากหรือไม่ และหากเกิดอาการเลือดกำเดาไหล หัวแตก หรือลุกมีอาการอาเจียน ควรรีบพาพบแพทย์เพราะลูกอาจบาดเจ็บภายในได้
สถานการณ์ใดบ้างที่ต้องส่งไปโรงพยาบาล
1.ศีรษะของลูกมีแปลภายนอกขนาดใหญ่
2.หลังจากที่ตกลงมาแล้วไม่ร้องไห้ แต่ดูเหมือนไม่ค่อยมีสติ คล้ายคนครึ่งหลับครึ่งตื่น
3.หลังจากที่ตกแล้ว 2-3 วัน อาเจียนหรือมีเลือดออก
4.หลังจากตกลงมาหลายวันแล้ว หูมีเลือดหรือน้ำออกมา หรืออาการอื่นๆที่ผิดปกติ
เพียงพ่อแม่ใส่ใจลูกมากขึ้น ก็จะสามารถลดอัยตรายจากการที่ เด็กตกจากที่สูงได้มาก การแข็งตัวของเลือดในเด็กจะช้ากว่าปกติ โดยเฉพาะเด็กที่อายุ 6 เดือน ในคอนแรกอาจจะไม่เห็นว่ามีปัญหา แต่เมื่อหลังจากบาดเจ็บไปสักพักจึงเริ่มมีอาการให้เห็น ซึ่งบางครั้งอาจจะช่วยเหลือไม่ทันการณ์ก็ได้
อาการบาดเจ็บศีรษะในเด็ก ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษในกรณีที่เด็กไม่ง่วง อาเจียน โคม่าหรืออาการบาดเจ็บทางประสาทอื่นๆ แต่หากหลังจากตกแล้วเด็กร้องไห้ สีหน้าปกติ ไม่ต้องกังวลมาก แต่หากเด็กมีสีหน้าขาว อาเจียนหรืออาเจียนเป็นเลือด หลับแบบสึมสลือ ส่วนมากแล้วจะมีอาการบาดเจ็บภายในด้วย ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
ทั้งนี้พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงควรที่จะเรียนรู้ทักษะเกี่ยวกับการพยาบาลฉุกเฉินไว้บ้าง เพราะหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน จะได้รับการพบาบาลเบื้องต้นที่ถูกวิธี