การดูแลรักษาโรคGERD(โรคกรดไหลย้อน) ด้วยยาสามัญเช่นยาที่มีส่วนผสมของalginate
ดิฉันได้รับเอกสารชื่อว่าเสนอบันทึกการประชุมวิชาการเรื่อง Non-PPI drugs:Any role for GERD management มาหลายวันเพิ่งได้อ่านและรู้สึกว่าน่าจะมีประโยชน์ถ้าดิฉันจะแปลไทยเป็นไทย(ในแบบของดิฉันอิอิ) ให้เพื่อนๆได้อ่านกัน
บันทึกฉบับนี้เค้าจะพิมพ์แจกกันหลังจากที่กลุ่มแพทย์ทางเดินอาหารแห่งประเทศไทยเค้าไปประชุมเพื่ออัพเดทข้อมูลการรักษา โดยครั้งนี้มี รศ.นพสมชาย ลีลากุศลวงศ์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลเป็นผู้บรรยายในเรื่องนี้
เนื้อหาคือ เค้าได้บรรยายว่าผู้ป่วยคนไทยที่ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลด้วยอาการแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว หรือบ้านเราเรียกกรดไหลย้อน (GERD) จะมีซักร้อยละเท่าไรที่เกิดแผลในหลอดอาหารจริงๆ และร้อยละเท่าไรไม่มีแผล ซึ่งถ้าไม่มีแผลในหลอดอาหาร ทางการแพทย์จะเรียกว่า Non-erosive reflux disease ย่อว่า NERD
คือผู้ป่วยจะแสบร้อนกลางอกเหมือนมีแผล แต่พอส่องกล่องลงไปที่หลอดอาหารก็ไม่พบอะไร
และเมื่อพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการแสบร้อนกลางอก,เรอเปรี้ยวแล้วไม่พบว่ามีแผล ก็จะทดสอบต่อด้วยการวัดค่าความเป็นกรดในหลอดอาหารเป็นเวลา 24ชั่วโมงดูว่าไอ้ที่แสบ เกิดจากกรดในหลอดอาหารมีค่าpHผิดปกติจากชาวบ้านชาวช่องหรือเปล่า ถึงได้แสบได้เรอกันมากมายขนาดนั้น
ปรากฏผลว่าในผู้ป่วยที่มาหาหมอด้วยอาการแสบร้อนกลางอก,เรอเปรี้ยว,กรดไหลย้อนทั่วประเทศเลยนะ ที่ได้รับการส่องกล้องพบว่าร้อยละ 83ไม่พบแผลที่ทางเดินอาหาร พบแค่ร้อยละ 17 เท่านั้นที่มีแผล(อ่านแล้วสบายใจขึ้น)
และในกลุ่มร้อยละ 83นี่มีคนที่มีค่าผิดปกติของระดับ pH 24ชั่วโมงแค่ร้อยละ 30เท่านั้น หมายความว่าส่วนใหญ่แล้วหลอดอาหารไม่ผิดปกติอะไรเลย แพทย์เลยสรุปกันว่าที่แสบ ที่ร้อนกลางอก เรอบ๊ะ บ๊ะ ส่วนมากมาจากการตอบสนองที่มากเกินไปของหลอดอาหาร ฮ่าๆๆ (เรามาถึงจุดนี้ได้ไง) ซึ่งไม่ใช่เฉพาะคนไทยนะครับที่ผลการทดลองเป็นแบบนี้ ทั้งเอเชียเลย
ดังนั้นจากรายงานนี้คุณอาจอยู่ในกลุ่มคนส่วนใหญ่ก็ได้ครับ คือไม่มีแผลอะไรเลยในทางเดินอาหาร กรดก็ไม่ได้มีค่า pH ผิดปกติ แต่ดันมีอาการกรดไหลย้อน .... ทีนี้ต้องทำอย่างไร...ก็พบหมอครับให้หมอสรุปอย่าด่วนสรุปเองครับ (ดิฉันเขียนงานชิ้นนี้ขึ้นก็เพื่อให้เพื่อนๆสบายใจขึ้นว่าบางทีเราก็อาจจะไม่ได้เป็นอะไรร้ายแรงตามอาการแสดงก็ได้นะครับ)
ยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการดังกล่าวในเมืองไทยก็ไม่ด้วยกันหลายยีห้อ(เป็นร้อย)แต่ในรายงานก็พยายามบอกว่ายาที่ให้ผลการรักษาดีคือ ยากลุ่มPPI เช่นยีห้อ miracid,nexium,prevacid ฯลฯ โดยให้ใช้ร่วมกับยาแก้ปวดแสบร้อน(บรรเทาชั่วคราว)ประเภทที่มีสาร alginate (สารสกัดจากสาหร่ายสีน้ำตาล) โดยสารนี้จะลอยตัวเหนืออาหารและน้ำในกระเพาะอาหารทำให้ตัวสารและยาไปถึงแผลได้ก่อนกรดในกระเพาะ ผู้ป่วยก็จะไม่ค่อยรู้สึกปวดดังเดิมโดยในรายงานก็กล่าวไว้ด้วยว่า ในผู้ป่วยที่ทานยากลุ่ม PPI ร่วมกับ alginate จะได้ผลการรักษาที่ดีกว่าดังกราฟ
สุดท้ายขอให้เพื่อนๆที่ได้อ่านบทความนี้และแชร์กันต่อปลอดโรคกรดไหลย้อนกันทุกๆคนนะคะ (เป็นกรดไหลย้อนแล้วทรมานมากต้องกินalgyconค๊ะ)