การออกล็อตเตอรี่เริ่มมีในเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. 2417 ตรงกับต้นสมัย ร.5 หรือเมื่อ 129 ปีมาแล้ว นับจนถึงปีนี้ 2546
ประวัติสรุปจากข้อเขียนของ เฮนรี อาลาบาสเตอร์ (ต้นตระกูลเศวตศิลา เป็นชาวอังกฤษที่มารับราชการไทย เป็นผู้สอนวิชาแผนที่ วิชาโทรเลข ตัดถนน ให้แก่คนไทย ดูแลการจัดมิวเซียม และสวนสราญรมย์) ในหนังสือดรุโณวาท เล่ม 1 พ.ศ. 2417 หน้า 307-309 ได้ความว่า ในงานเฉลิมพระชนมพรรษา ร.5 ปีนั้น (ทรงพระราชสมภพวันอังคารที่ 20 กันยายน 2396 จึงมีงานช่วงใกล้วันที่ 20 กันยายน) ฝ่ายทหารมหาดเล็กจะทำอะไรใหม่ๆ นอกเหนือจากการจุดโคมที่ปฏิบัติกันซ้ำๆ เรื่อยมา เห็นว่าควรทำอะไรที่ใช้ปัญญามากขึ้นบ้าง
ในที่สุดได้ตกลงกันว่าจะจัด "โรงมุเซียม" (Museum - พิพิธภัณฑ์) แสดงของต่างๆ ระหว่างจัดพ่อค้าฝรั่งได้นำสิ่งของมาตั้งประดับหลายสิ่ง แต่เมื่อยกไปยกมาหลายทีก็แตกหักไปบ้าง นับเป็นเรื่องน่าเห็นใจ
เมื่อจัดงานเสร็จแล้ว ฝ่ายทหารมหาดเล็กมีความเห็นใจพ่อค้าฝรั่ง จึงคิดเปิดทางให้พ่อค้าฝรั่งขายของโดยให้ทำในรูปออก "ลอตตารี ตามธรรมเนียมยุโรป" ให้คนซื้อตั๋วหรือสลากเสี่ยงโชคเพื่อรับสิ่งของ หรือรับเงินเป็นรางวัล
การออกสลากยังคงมีมาเรื่อยๆ กระทั่งถึง พ.ศ. 2482 จึงมีการจัดตั้ง "สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล" เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 เมษายน อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง
สลากกินแบ่งของไทยสมัยปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับแต่ พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา มีการใส่รูปประกอบเข้าไปในตัวสลากหลายต่อหลายชุด เช่น ชุดปลา (2522) ชุดรามเกียรติ์ (2524) ชุดสัตว์หิมพานต์ (2526) ชุดท่ารำต่างๆ (2527) ชุดโบราณวัตถุ ของใช้พื้นบ้าน ท่าฤาษีดัดตนและเบ็ดเตล็ด(2532
การออกล็อตเตอรี่เริ่มมีในเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. 2417 ตรงกับต้นสมัย ร.5 หรือเมื่อ 129 ปีมาแล้ว นับจนถึงปีนี้ 2546