ใช้ครีมแล้วหน้าพัง ซ้ำยังจะโดนเจ้าของฟ้องเอาเรื่องด้วย
ขอขอบคุณภาพจาก acnethai.com / ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
จากกรณีที่มีข่าวผู้หญิงคนหนึ่งออกมาพูดถึงปัญหาของเธอพร้อมภาพที่สร้างกระแสสังคมได้มากๆ คือ ใบหน้าของเธอมีอาการแพ้สารอันตรายในครีมยี่ห้อหนึ่งที่สั่งซื้อจากอินเตอร์เน๊ตและเป็นยี่ห้อที่ขายทั่วไทยด้วย ทำให้มีการสืบสาวลึกลงไปถึงเจ้าของผลิตภัณฑ์และช่องทางการจัดจำหน่าย รวมทั้งบางคนก็ออกมาเพิ่มข้อมูลการแพ้ รีวิวต่างๆซึ่งเป็นด้านลบ ทำให้เจ้าของผลิตภัณฑ์ออกตัวแรงโพสต์ในเพจของตนว่าจะเอาผิดกับผู้หญิงคนนี้ รวมถึงคนที่แชร์เรื่องนี้ด้วย ว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาททำให้องค์กรเสียชื่อเสียง
ยิ่งทำให้สังคมตั้งคำถามว่า
การที่ผู้บริโภคหน้าพังจากเครื่องสำอางค์ที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วนั้น จะมีใครลงมาช่วยผลักดันให้เรื่องเข้าสู่กระบวนการต่อไปได้ ในเมื่อเห็นกันชัดๆ ว่าแทบเป็นไปไม่ได้เลย และควรทำอย่างไรบ้าง ถึงจะสามารถนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ ขนาดออกสื่อยังไม่ได้เลย
และเรื่องนี้ก็ไม่ได้เป็นผลดีต่อทั้งเจ้าของผลิตภัณฑ์ ถ้าสินค้าของตนเป็นของดี ไม่มีสารอันตราย แล้วมันเกิดอะไรขึ้น จะเป็นการก๊อปปี้สินค้าหรือไม่ เมื่อย้อนดูเหตุผลของข่าวจับกุมผลิตภัณฑ์ครีมดังๆ ในอดีตจะพบว่า ให้เหตุผลแตกต่างกันออกไป เช่น
* เป็นเพียงตัวแทนขายเท่านั้น ไม่ใช่เจ้าของแท้จริง
* ให้โรงงานผลิต ซึ่งไม่ได้ควบคุม ไม่มีคิวซีทุกล๊อต
* ถูกแอบก๊อปปี้สินค้า ทุกอย่างเหมือนกันหมดแม้แต่ฉลาก ตราสินค้า รหัสต่างๆ บรรจุภัณฑ์ แต่เพิ่มสารอันตรายที่จะให้ผลเร็วกว่าลงไป
* รับสินค้ามาขายอีกที ไม่เคยไปเห็นฐานการผลิตเลย และแบ่งเปอร์เซนต์ หรือทำยอดขายสาขาตามเป้าแล้วได้ไปเที่ยวต่างประเทศ
ฯลฯ
กรณีนี้ ถ้าเจ้าของสินค้าทำทุกอย่างตรงกับทั้งที่พูดคือ ไม่ได้ใส่สารอันตราย และทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายมาตลอด การโดนใส่ร้ายใส่ความป้ายสีก็ถือว่าเสียชื่อ จะเป็นปัญหาของผู้ประกอบการครีมไทยต่อไปเรื่อยๆ เพราะจะหมดความเชื่อถือ ตัวแทนจำหน่ายตกงาน ขาดรายได้มหาศาลทันทีในพริบตา รัฐฯก็ขาดรายได้จากการเสียภาษี
คงจะต้องดูกันต่อไปว่า เรื่องใช้ครีมแล้วแพ้หน้าพังจะเป็นข่าวอีกเมื่อไหร่ เพราะเชื่อว่าต้องมีอีกแน่นอนครับ เพราะผู้บริโภคอีกเกินล้านที่ยังไม่เข้าถึง สคบ. และ อ.ย. / มีความรู้ดูครีมจริง-ปลอม / หรือมีศักยภาพต่อกรกับผู้ผลิต
ก่อนจบกระทู้ ก็ขอฝากเพจที่น่าจะเป็นที่พึ่งให้ได้ในยามหน้าพังครับ
1. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เขาจะมีนักกฏหมายให้พร้อมสำหรับผู้บริโภคปรึกษา http://www.consumerthai.org/web/index.php
2. คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค http://www.ocpb.go.th/main.php?filename=index
และไปซื้อชุดตรวจสารปรอทที่ร้านขายยาครับ เอามาเช็คครีมที่เราใช้ดูว่ามันมีสารปรอทไหม ถ้ามีก็ถือว่าเป็นหลักฐานแก้ต่างให้ตัวเองได้ระดับหนึ่ง