เมื่อประมาณเกือบ 100 ปีมาแล้ว ที่บ้านหนองช้างคืน มีหญิงสาวสวยผิวพรรณผุดผ่อง กิริยาอัธยาศัยอ่อนโยน รูปร่างสมส่วนอรชรอ้อนแอ้นสมเป็นหญิงสวย ชื่อว่า “บัวตอง” มีอาชีพทำนาทำสวน ใช้ชีวิตตามแบบอย่างสตรีชาวเหนือโบราณ ต้องตำข้าวโดยใช้ครกกระเดื่อง และใช้หูกทอผ้าใช้เอง บางครั้งก็มีบ่าว(ผู้ชายที่ยังไม่แต่งงาน) มาเที่ยวหาสาวเพื่อเกี้ยวพาราสีเสมอๆ ในบรรดาหนุ่มๆที่มาเที่ยว นอกจากจะเป็นคนในละแวกบ้านเดียวกัน ยังปรากฏว่ามีหนุ่มเชื้อเจ้าผู้ครองนครลำพูนมีชื่อว่า “เจ้าคุ้ม” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าน้อยพรหม” เพราะตอนที่ท่านบรรพชาเป็นสามเณร มีฉายาว่า “พรหมปญโญ” เมื่อลาสิกขาบทแล้วจึงนิยมใช้คำว่า “น้อย” นำหน้าชื่อ เป็น”เจ้าน้อยพรหม” ถ้าลาสิกขาบทจากพระภิกษุ จะเรียกนาม “หนาน” นำหน้าชื่อ ตามธรรมเนียมของชาวเหนือ
ถึงแม้กาลเวลาจะล่วงเลยไปชั่วอายุคนเศษแล้วก็ตาม ที่ทุกวันนี้ หากอาคันตุกะคนใดไปเยือนหมู่บ้านหนองช้างคืน หมู่บ้านพัฒนาอาสาสมัครแห่งลำพูน นอกจากจะเห็นลำไยพันธุ์ดี นารีงาม น้ำไหล ไฟสว่าง ทางพัฒนาแล้ว บางที่ท่านอาจจะได้ฟังนิยายรักอมตะอันแสนเศร้า จากชีวิตจริงของหญิงสาวผู้ต่ำต้อยกับเจ้าน้อยพรหมผู้อาภัพแห่งหริภุญไชย นคร และแล้วเขาจะให้สมญานามแก่หญิงสาวว่า "บัวตองผู้เกิดมาเพื่อรักเดียวใจเดียว"
โดย อ.กัลยารัตน์ ณ วันจันทร์ และขอขอบคุณ อ.เพ็ญศรี บุญทวี ที่ให้ข้อมูล
เจ้าน้อยพรหมเป็นราชบุตรของเจ้าชัยลังกา พิศาลโสภาคยคุณ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 6 กับเจ้าแม่หมอกแก้ว และเป็นอนุชาต่างมารดาของเจ้าดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 7
ในการเที่ยวหาสาวบัวตองของเจ้าน้อยพรหม ปรากฏว่าทั้งสองคนเกิดชอบพอกันจนกลายเป็น " ตัวพ่อตัวแม่"(คู่รัก) ของกันและกัน เจ้าน้อยพรหมจึงเป็นแขกประจำบ้านสาวบัวตองตั้งแต่นั้นมา บัวตองก็ให้การต้อนรับเจ้าน้อยพรหมด้วยกิริยาอันอ่อนน้อมละมัย ตามแบบสาวเหนือ จนเป็นที่ต้องพระทัยของเจ้าน้อยพรหมเป็นอย่างยิ่ง ส่วนเจ้าน้อยพรหมก็มีน้ำใจดีงาม ให้การช่วยเหลือเกื้อกูลแก่สาวบัวตองเป็นอย่างดี จะขัดใขบัวตองสักนิดก็หาไม่
ทั้งสองผูกสมัครรักใคร่กันอย่างดูดดื่มแน่นแฟ้น ต่างก็ตั้งใจไว้อย่างแม่นมั่นว่า จะครองรักกันและอยู่ร่วมกันจนกว่าวาระสุดท้ายแห่งชีวิตจะมาถึง
วันหนึ่ง มีช้างพังตัวหนึ่งเข้ามาอาละวาดในเขตนครลำพูนด้านทิศเหนือและล่องมาเรื่อยๆ จนถึงหมู่บ้านหนองช้างคืน ช้างได้ทำลายครดกระเดื่อง ฉางข้าว เรือกสวนไร่นาของชาวบ้าน ได้รับความเสียหายประเมินค่าไม่ได้ วันนั้นเจ้าน้อยพรหมก็ได้มาบ้านสาวบัวตอง เมื่อทราบข่าวของช้างทำลายข้าวของเสียหาย เจ้าน้อยพรหมมิรอช้า ก็คว้าดาบกระโดดออกจากบ้านสาวคนรักไปไล่ช้างตัวนั้น ความประสงค์เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชาวบ้าน เจ้าน้อยพรหมจึงยกดาบขึ้นฟันช้างเชือกนั้น เพื่อป้องกันตนเอง ปรากฏว่าช้างวิ่งเตลิดไปอย่างไม่คิดชีวิตจนพ้นเขตบ้านหนองช้างคืน และได้ถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา
ต่อมา เจ้าราชสัมพันธวงค์ ไปพักผ่อนที่บ้านภรรยา ณ บ้านเมืองเลน แคว้นสันทราย(อ.สันทรายปัจจุบัน) เจ้าแม่ทับทิพย์เกสรก็รับสั่งให้เจ้าราชสัมพันธวงค์ (อนุชาของพ่อเจ้าอินทรวิชยานนท์) ให้มีสุภสาส์นในนามของพ่อเจ้าอินทรวิชยานนท์ ถึงเจ้าดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ ความว่า ขอส่งตัวเจ้าน้อยพรหมไปเชียงใหม่ เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการตายของช้างอีกครั้งหนึ่ง ส่วนเจ้าดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ ทรงคิดว่าไม่มีเรื่องอะไรอีก เพราะได้จัดการลงโทษเจ้าน้อยพรหมดั่งเจ้าราชสัมพันธวงค์ทูลไว้แล้ว จึงส่งตัวเจ้าน้อยพรหมไปเชียงใหม่ พร้อมกับคนเดินหนังสือคนนั้น หวังจะให้เข้าเฝ้าพ่อเจ้าอินทรวิชยานนท์ ตามข้อความในสุภสาส์นฉบับนั้น
การเดินทางจากลำพูนไปเชียงใหม่สมัยนั้น ใช้เส้นทางผ่านหมู่บ้านหนองช้างคืน ด้วย และผ่านบ้านหัวฝาย น้ำโจ้ ไปทางสุสานช้างคลาน แล้วจึงถึงเชียงใหม่ ก่อนจะผ่านหมู่บ้านหนองช้างคืนไปนั้น เจ้าน้อยพรหมก็ขอแวะบ้านบัวตองสาวคนรัก เพื่อเป็นการบอกข่าวเดินทางไปเชียงใหม่ให้คนรักทราบ ฝ่ายสาวบัวตองก็ได้อวยชัยอวยพรให้แก่เจ้าน้อยพรหม โดยมีพวงมาลัยดอกมะลิอันหอมกรุ่นมอบให้เจ้าน้อยพรหม ติดตัวยามเดินทาง และทั้งสองก็ได้ล่ำลากันอย่างสุดซึ้ง เหมือนจะเป็นการบอกลางร้ายและเก็บมาลัยดอกมะลิแนบใจไว้ที่กระเป๋าเสิ้ออกซ้าย เจ้าน้อยพรหมได้มอบแหวนวงงามให้กับบัวตองไว้เช่นกัน เมื่อถึงเชียงใหม่ เจ้าแม่ทับทิพย์เกษรกลับงดการสอบสวน และรับสั่งเจ้าอุปราชบุญทวงค์ให้ประหารชีวิต ก่อนที่เพชรฆาตจะลงดาบ เจ้าน้อยพรหมได้เรียกนายหนังสือซึ่งเดินทางมาร่วมกันให้เข้ามาหา แล้วมอบพวงมาลัยดอกมะลิไปให้สาวบัวตองแห่งบ้านหนองช้างคืน
เจ้าอุปราชบุญทวงค์พร้อมกับหนุ่มคนหาญ จึงจัดการประหารชีวิตเจ้าน้อยพรหม ณ ทุ่งหัวคน หรือหนองปลาสะเด็ด ตำบลท่าวังตาล อันเป็นดินแดนทหารของนครพิงค์นั่นเองทั้งนี้โดยมีหนานปัญญา เป็นเพชรฆาตตัดคอเจ้าน้อยพรหมต่อหน้าเจ้าแม่ทับทิพย์เกษรในความผิดฐานฆ่า "พังแม่คำปิ๋ว" ดังกล่าว
เจ้าดาราดิเรกไพโรจน์ เป็นเจ้าครองนครลำพูน ทรงเสียพระทัยอย่างสุดซึ้งถึงกับไม่ยอมไปรับศพของเจ้าน้อยพรหม เจ้าทับทิพย์เกษรจึงรับสั่งให้ฝังไว้ ณ ที่ประหารนั้น และการณ์นั้นได้ทราบถึงเจ้าสัมพันธวงค์ ก็ทรงเศร้าพระทัยอย่างสุดซึ้งเช่นกัน ที่เจ้ามีส่วนแห่งการสิ้นชีวิตของเจ้าน้อยพรหม ทั้งเจ้าดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์และเจ้าสัมพันธวงค์ ไม่ไปเยือนคุ้มของเจ้าแม่ทับทิพย์เกษร ได้เหินห่างจากกันตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
สุดแสนสงสารบัวตอง สาวคนรักของเจ้าน้อยพรหม
เมื่อทราบข่าวการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของเจ้าหนุ่มคนรัก และได้พวงมาลัยดอกมะลิแห้งเฉาของเจ้าน้อยพรหม บัวตองก็ร้องไห้กลิ้งเกลือก พรางคร่ำครวญน่าเวทนายิ่งนัก บัวตองสาวผู้ต่ำต้อยแห่งบ้านหนองช้างคืนคงคิดว่าถ้ามีชีวิตในโลกนี้จะมี ประโยชน์อะไร ถ้าไม่มีผู้เป็นที่รัก หรือ บัวตองจะเกิดมาเพื่อรักเดียวใจเดียว และถือความรักเป็นสรณะ ในรุ่งของวันต่อมา มีผู้พบดรุณีน้อยนางหนึ่งอยู่ในชุดดำผูกคอตายกับกิ่งไม้อย่างน่าสังเวชใจ ในมือถือพวงมาลัยดอกมะลิพวงหนึ่ง ที่นิ้วนางข้างซ้ายสอดสวมแหวนวงงาม หญิงคนนั้นคื "บัวตอง" สาวคนรักของเจ้าน้อยพรหมนั้นเอง
ถึงแม้กาลเวลาจะล่วงเลยไปชั่วอายุคนเศษแล้วก็ตาม ที่ทุกวันนี้ หากอาคันตุกะคนใดไปเยือนหมู่บ้านหนองช้างคืน หมู่บ้านพัฒนาอาสาสมัครแห่งลำพูน นอกจากจะเห็นลำไยพันธุ์ดี นารีงาม น้ำไหล ไฟสว่าง ทางพัฒนาแล้ว บางที่ท่านอาจจะได้ฟังนิยายรักอมตะอันแสนเศร้า จากชีวิตจริงของหญิงสาวผู้ต่ำต้อยกับเจ้าน้อยพรหมผู้อาภัพแห่งหริภุญไชย นคร และแล้วเขาจะให้สมญานามแก่หญิงสาวว่า "บัวตองผู้เกิดมาเพื่อรักเดียวใจเดียว"
โดย อ.กัลยารัตน์ ณ วันจันทร์ และขอขอบคุณ อ.เพ็ญศรี บุญทวี ที่ให้ข้อมูล