กองทัพอิสราเอล ประสบความสำเร็จในการทดลองอาวุธปล่อยฯ Barak-8
ในอีกด้านหนึ่ง กลุ่มอุตสาหกรรมการบินของอิสราเอล (Israel Aerospace Industries :IAI) และกระทรวงกลาโหมอิสราเอล (Israeli Ministry of Defense :IMOD) ก็ได้ทดลองระบบป้องกันภัยทางอากาศและอาวุธปล่อยนำวิถี Barak-8 เป็นผลสำเร็จไปเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2557 โดย DRDO (Defence Research and Development Organization)
ภาพจำลองการปล่อยจรวด Barak-8 จากเรือชั้น Sa'ar 5 ส่วนกองทัพเรืออิสราเอล
Barak-8 เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศและอาวุธปล่อยนำวิถี ที่ประกอบไปด้วย Phased Array digital radar , ระบบควบคุมและสั่งการ , แท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีแบบตั้ง และอาวุธนำวิถีที่มีระบบนำทางขั้นสูง โดยทั้งหมดนี้เป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหมอิสราเอลโดย คณะกรรมการวิจัยและพัฒนาเพื่อการป้องกันประเทศ (IMOD's Directorate of Defense Research and Development :DDR&D) ซึ่งเป็นเจ้าภาพ และมีบริษัทต่างๆ ในกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมการบินของอิสราเอลเป็นผู้รับเหมา ได้แก่ ELTA Systems Ltd. , RAFAEL Advanced Defense Systems และบริษัทอื่นๆ ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีการร่วมมือกับองค์การวิจัยและพัฒนาด้านการป้องกันประเทศของอินเดีย (Defense Research and Development Organization : DRDO) เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากการวิจัยและพัฒนาร่วมกันอีกด้วย
องค์ประกอบของระบบ Barak-8
Barak-8
Barak ในภาษาฮิบรูแปลว่า สายฟ้า เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยกลาง สามารถปล่อยได้ทั้งจากบนบก และจากเรือผิวน้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นอาวุธป้องกันภัยทางอากาศจากเครื่องบินรบ เฮลิคอปเตอร์ โดรน และอาวุธปล่อยนำวิถีประเภทต่างๆ ปัจจุบันพัฒนามาจนถึงเวอร์ชั่นที่ 8
ฐานยิง Barak-8 บนบก
Barak-8 มีความยาว 4.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.54 เมตร ความกว้างปีก 0.94 เมตร น้ำหนัก 275 กิโลกรัม รวมหัวรบหนัก 60 กิโลกรัม อาวุธปล่อยฯ มีความเร็ว 2 มัค รัศมีโคจรในอากาศ 70 กิโลเมตร ที่ความสูง 16 กิโลเมตร เหนือน้ำทะเล ตัวค้นหาสัญญาณหรือ Seeker มีความสามารถสูงจนเกือบจะทัดเทียมกับ RIM-162 Evolved Sea Sparrow หรือแม้แต่ SM-2 Standard ของสหรัฐฯ ซึ่งระบบทั้งหมดมีมูลค่า 24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับกองทัพเรืออิสราเอลมีความตั้งใจที่จะติดตั้ง Barak-8 ในเรือคอร์เวตชั้น Sa'ar 5 ส่วนกองทัพเรืออินเดียจะติดตั้งลงในเรือชั้น Kolkata ซึ่งเป็นเรือประเภท guided-missile destroyers ลำล่าสุดของกองทัพเรืออินเดีย จำนวน 8 ท่อยิงต่อหนึ่งระบบ ซึ่งจะทำให้กองทัพเรือของทั้งสองประเทศมีขีดความสามารถในการป้องกันภัยทางอากาศที่มีประสิทธิภาพดีมากขึ้นอย่างมากเลยทีเดียว
เรือคอร์เวตชั้น Sa'ar 5 ส่วนกองทัพเรืออิสราเอล
เรือชั้น Kolkata เรือประเภท guided-missile destroyers ของกองทัพเรืออินเดีย
อ้างอิง
IAI Successfully Tested the Barak-8 Air & Missile Defense System
http://en.wikipedia.org/wiki/Barak_8