หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เรียนสูงๆ แล้วได้เป็นเจ้าคนนายคนจริงหรือ?

โพสท์โดย ลูกสาวอบต

แรงงานคือปัจจัยในการพัฒนาประเทศที่สำคัญมาก เพราะไม่ว่าประเทศจะร่ำรวยทรัพยากรขนาดไหนก็ยังมีวันใช้หมดไป แต่แรงงานหมายถึงสังคม ประเทศ และผู้คนที่จะช่วยกันทำมาหากินให้ประเทศเจริญต่อไปได้ในอนาคต เมื่อพูดถึงแรงงานหลายคนมักนึกถึงภาพ “ผู้ใช้แรงงาน” หรือ “กรรมกร” ซึ่งเป็นแรงงานที่ใช้ทักษะน้อย แต่ในความจริงแล้วแรงงานหมายถึงประชากรทั้งหมดในประเทศที่ยังอยู่ในวัยทำงาน ซึ่งนับรวมปลัดอำเภอ CEO ทนายความ วิศวกร แพทย์ ชาวประมง หรือคนขับรถแท็กซี่เข้าไปด้วยทั้งหมด

คนไทยสมัยก่อนมักมีคำสอนลูกหลานทำนองว่า “จงตั้งใจเล่าเรียน โตขึ้นจะได้เป็นเจ้าคนนายคน” ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้ชัดว่าเราเชื่อว่า “การศึกษา” เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาแรงงาน นอกจากนั้น เรามักเชื่อกันด้วยว่าหากจัดให้มีการศึกษามากขึ้น แรงงานจะมีทักษะสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการ “ยกระดับงาน” ในที่สุด

 

จากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย [1] ปัจจุบันแรงงานไทย 30.9% จบการศึกษา “สูงกว่า” ระดับมัธยมต้น (มัธยมปลาย,อาชีวะ,อุดมศึกษา) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดสิบปีที่ผ่านมา ดูเผินๆเหมือนการจัดการศึกษาของเราอยู่ในเกณฑ์ดี มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

แต่สิ่งที่น่าสนใจคือเมื่อมีการศึกษามากขึ้นแล้ว แรงงานไทยมีทางเลือกในการทำงานที่ดีขึ้นหรือไม่? เรามี “เจ้าคนนายคน” เยอะขึ้นตามไปด้วยหรือเปล่า?

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ได้แบ่งกลุ่ม “อาชีพ” (Occupation) ของแรงงานออกเป็น 10 กลุ่มหลักดังนี้ — อ่านรายละเอียดคำนิยามอาชีพตามมาตรฐานสากลได้ใน [2]

  1. ผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการระดับอาวุโส และผู้จัดการ
  2. ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ
  3. ผู้ประกอบวิชาชีพช่างเทคนิคสาขาต่างๆ และอาชีพที่เกี่ยวข้อง
  4. เสมียน
  5. พนักงานบริการ และพนักงานในร้านค้า และตลาด
  6. ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือทางด้านการเกษตร และการประมง
  7. ผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือ และธุรกิจการค้าที่เกี่ยวข้อง
  8. ผู้ปฏิบัติการโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ
  9. อาชีพขั้นพื้นฐานต่างๆ ในด้านการขาย และการให้บริการ
  10. อาชีพซึ่งมิได้จำแนกไว้ในหมวดอื่น

จากกลุ่มอาชีพข้างต้นอาจกล่าวได้อย่างคร่าวๆว่า กลุ่มวิชาชีพ 1-3 คือกลุ่มวิชาชีพที่ “ใช้ทักษะสูง” (ตัวอย่างเช่น ผู้บริหาร แพทย์ พยาบาล วิศวกร โฟร์แมน ผู้ช่วยทันตแพทย์ ทนายความ ช่างยนต์ ศิลปิน นักเขียน เจ้าของธุรกิจ นักดนตรี ครู) ขณะที่กลุ่มวิชาชีพ 4-6 เป็นกลุ่มวิชาชีพที่ใช้ทักษะต่ำ ส่วนรายได้กลุ่มไหนจะมากหรือน้อยกว่ากันนั้น เป็นเงื่อนไขเฉพาะในรายละเอียดของแต่ละตลาดแรงงานซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องแตกต่างกันไป จะไม่กล่าวถึงในที่นี้

หากเราจัดแบ่งแรงงานออกเป็น 2 กลุ่มอาชีพจะเห็นได้ดังกราฟที่แสดง ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วในปัจจุบันแรงงานไทยที่ทำงาน “ทักษะสูง” (กลุ่ม 1-3) มีประมาณ 10-15% นั่นแปลว่าคนกว่า 85% ยังทำงาน “ทักษะต่ำ” อยู่ [3] และที่น่าสนใจกว่านั้นคือปริมาณคนทำงานทักษะสูงในไทยลดต่ำลงอย่างมีนัยยะสำคัญตั้งแต่ปี 2551 และมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

หากเทียบกับประเทศอื่นๆจะพบว่า จากข้อมูลของ ILO [4] เมื่อปี 2525 เกาหลีใต้มีสัดส่วนแรงงานทักษะสูง 5.49% ส่วนไทยมี 5.33% เวลาผ่านไป 24 ปี – ในปี 2550 ไทยมีแรงงานทักษะสูง 15.11% ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของไทย ขณะที่เกาหลีใต้มี 22.18%

ส่วนประเทศอื่นๆมีสัดส่วนแรงงานทักษะสูง (ปี 2550) ดังนี้
มาเลเซีย 26.26%
ออสเตรเลีย 42.87%
ฝรั่งเศส 39.8%
เยอรมนี 41.5%
ฮ่องกง 36.3%
ญี่ปุ่น 37.0%
นอร์เวย์ 42.3%
สิงคโปร์ 48.6%
ตุรกี 22.0%
สหราชอาณาจักร 41.9%

จากข้อมูลข้างต้น เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศที่ “เจริญ” จะมีสัดส่วนแรงงานทักษะสูงที่มากกว่าประเทศไทย เพราะงานที่ทักษะสูงขึ้นมักหมายถึงมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจที่มากกว่า และการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนอาชีพนี้ ยังหมายถึงทางเลือกใน “งานที่ดีกว่าเดิม” สำหรับคนรุ่นใหม่ที่มากกว่าคนรุ่นพ่อแม่อีกด้วย (คำว่าดีในที่นี้อาจหมายถึงรายได้ คุณภาพชีวิต ความมั่นคง ความเสี่ยงต่ำฯลฯ ซึ่งขึ้นกับแต่ละบุคคล แต่โดยรวมแล้วหมายถึงงานที่ต้องการ “ทักษะที่สูงขึ้น” กว่าเก่า)

จากข้อมูลทั้งหมดจะเห็นว่าแม้แนวโน้ม “ปริมาณ” การศึกษาของแรงงานไทยจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ปริมาณแรงงานทักษะสูงในระบบไม่ได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งด้วยทิศทางที่สวนทางกันเช่นนี้ เราอาจต้องตั้งคำถามอย่างจริงจังต่อ “คุณภาพ” ระบบการศึกษาไทยแล้วหรือไม่ว่าการจัดการศึกษานั้น “สร้างทักษะ”ชนิดใดให้แก่ประชากรประเทศ เพราะเห็นได้ชัดว่าการมีวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้น ไม่ได้ช่วยทำให้ประชากรไทยสามารถทำงานที่ใช้ทักษะสูงขึ้นได้เลยตลอด 10 ปีที่ผ่านมา

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ลูกสาวอบต's profile


โพสท์โดย: ลูกสาวอบต
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
32 VOTES (4/5 จาก 8 คน)
VOTED: เอ๋ง ไม่ดัดจริต, ซาอิ, ใจมด, Tor Aisaranuwat, คุณกินเองนะจ๊ะ บีสอง
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
"ยุน โบ มี" กำลังเดทกับโปรดิวเซอร์ดังซูเปอร์สตาร์ที่ไม่มีงานแสดง แต่เป็นเศรษฐีระดับพันล้าน"บีม ศรัณยู" ลั่น! ต่อไปนี้จะไม่มี "บีม พลังใบ"..เพราะจะเลิกกัญชาอย่างถาวรเท้าอยู่ไม่สุข เลยเจอ " ห้ามแข่งตลอดชีวิต "นักมวย MMA อิหร่านเตะก้นสาวริงเกิร์ลบนเวที..โดยอ้างว่าเธอแต่งตัวไม่สุภาพ5 สิ่งที่คุณมีอยู่แล้วน่าอิจฉาแต่คุณอาจไม่รู้ตัว
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ครูไพบูลย์ เจ้าของฉายากงยูเมืองไทย อวดหล่อโชว์ซิกแพก กล้ามแน่น ทำเอาสาวแห่กรี๊ด!!สเปกหนูรัตน์ ชอบรวย หล่อแบบเกาหลีซูเปอร์สตาร์ที่ไม่มีงานแสดง แต่เป็นเศรษฐีระดับพันล้าน
ตั้งกระทู้ใหม่