สีขาว-ทอง หรือสีน้ำเงิน-ดำ รูปที่ถกเถียงกันทั่วโลกถึงเรื่องสีของชุดเดรสที่ถ่ายในสภาวะแสงน้อย
ขาวกับทอง หรือ น้ำเงินกับดำ กันแน่? ประเด็นที่ถกเถียงกันในหมู่เพื่อนและครอบครัวเกี่ยวกับชุดในงานแต่งกลายเป็นเรื่องฟินของโลกอินเทอร์เน็ต โดยภาพนี้ถูกถ่ายโดย Ms MacInnes แล้วโพสต์ลงโซเชียลเน็ตเวิร์คโดย Ms McNeill ทั้งคู่เป็นเพื่อนกันเป็นสมาชิกวงดนตรีเซลติกชื่อ Canach และเดรสนั้นเป็นของห้าง Roman Originals ที่ตั้งอยู่ในเออร์ดิงตัน อิดินบูร์ก ซึงมีทั้งหมดหลายแบบ แบบสีน้ำเงินดำเป็นหนึ่งในนั้น เรื่องทั้งหมดเริ่มขึ้นจากที่เพื่อนแม่ใส่เดรสนี้ไปงานแต่งงาน
ประเด็นถกเถียงนี้ถูกหยิบยกโดยสื่อหลายสำนัก ตั้งแต่ บล็อกเกอร์แฟชั่น ,หนังสือพิมพ์ Washington Post ,และนิตยสาร Wired และยังเป็นเทรนด์ด้วยแฮชแท็ก #TheDress ในTwitter อีกด้วย โดยหลายคนเริ่มด้วยนิตยสาร Wired ให้ความสนใจในหลักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ว่าทำไมหลายคนถึงเห็นเป็นสีแตกต่างกันทั้ง สีขาวกับสีทอง และ สีน้ำเงินกับสีดำ เรามาเจาะลึกเรื่องนี้กัน
เรื่องนี้เกี่ยวกับชีววิทยาเบื้องต้น วิธีที่ตาและสมองมนุษย์ถูกวิวัฒนาการมาเพื่อรับรู้สีในโลกที่เต็มไปด้วยแสงจากดวงอาทิตย์ “แสงเข้าตาผ่านเลนส์ตาเรา คลื่นความถี่แสงต่างกันสีก็แตกต่างกัน แสงมาตกกระทบที่เรตินาบริเวณหลังลูกตาเราซึ่งเป็นที่ที่เห็นเป็นสี เกิดขึ้นจากการเชื่อมต่อกับส่วนประสาทไปยังสมองที่ควบคุมด้านการมองเห็น(Visual Cortex) เป็นส่วนที่แปลจากสัญญาณเป็นภาพขึ้นมา ขณะที่แสงส่องมาจากสิ่งต่างๆไม่ว่าอะไรที่เรามอง โดยที่คุณไม่รู้สึกกังวล สมองจะสั่งการตามแสงที่สะท้อนตามสีจริงของวัตถุที่แสงสะท้อนมา จากนั้นระบบการมองเห็นของเราก็เริ่มสกัดข้อมูลจากการสะท้อนที่แท้จริง” กล่าวโดย Jay Neitz นักประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยวอร์ชิงตัน
เขายังกล่าวเสริมว่า เขาศึกษาการเห็นวัตถุต่างสีกันในบุคคลมากว่า 30 ปี นี่เป็นหนึ่งในครั้งที่ความต่างมากที่สุดเท่าที่เขาเคยเห็นมา
อีกหนึ่งในการพยายามอธิบายเรื่องนี้ก็คือ เป็นรูปหลอกตา(Optical illusion) สมองของเรามีกระบวนการในการรับรู้สี ศาสตราจารย์ สตีเฟน เวสแลนด์ ประธานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสี มหาวิทยาลัยลีดส์ เล่าว่าผู้คนมีการรับรู้สีแตกต่างกันออกไป เขาบอกว่า “ในจำนวนคนเราสิบสองคนหนึ่งคนจะตาบอดสี แต่สิ่งที่คนไม่รู้ แท้จริงก็คือเราไม่ได้ตาบอดสี แต่เราไม่ได้รับรู้สีเหมือนกันหมดทุกคน” “ที่น่าสนใจก็คือเรื่องแบบประเด็นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ที่คนเราถ่ายรูปบางอย่างแล้ว จะได้รูปที่เหมือนกับที่เห็นเสมอไป ซึ่งมันไม่จริงเลย”
ศาสตราจารย์สตีเฟน กล่าวว่า "แสง" ที่ ‘แปลกๆ’ นี้เป็นตัวทำให้เกิดความสับสน เขาบอกว่า “ถ้ากล้องถ่ายรูปไม่ได้ถ่ายภายใต้แสงที่แปลกๆนี้มันก็จะไม่เกิดเป็นภาพแบบนี้ เพราะว่าถ้าลองดูภาพถ่ายจากโรงงานของห้างร้านนี้แล้ว ก็จะเห็นเป็นสีน้ำเงินกับสีดำอย่างชัดเจน” เขาอธิบายต่ออีกว่า ความสับสนนั้นอยู่ระหว่าง การที่เราเรียกสีต่างๆว่าอย่างไร กับการที่เราอธิบายว่าวัตถุสิ่งนั้นสีอะไร ศาสตราจารย์ยกให้เป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับความแตกต่างๆ ที่ชัดเจนระหว่าง สีนำเงินและสีดำ กับ สีขาวและสีทอง
เขากล่าวต่อว่า “เป็นไปได้ที่ผู้คนจะเห็นเป็นสีต่างๆ แตกต่างกันออกไป แต่จะให้รู้ว่าสีไหนอยู่ในหัวเขากันแน่นั้นเป็นไปไม่ได้”
ที่มาข่าวและภาพ
http://www.wired.com/2015/02/science-one-agrees-color-dress/
http://www.bbc.com/news/uk-scotland-highlands-islands-31656935http://i.telegraph.co.uk/multimedia/archive/03214/what_colour_is_thi_3214271c.jpg