Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

น่าทึ้ง!! เมือกหอยทากไทยมีประสิทธิภาพสูงสุดนำไปผลิตเครื่องสำอาง

โพสท์โดย ลูกสาวอบต

นักวิจัยจุฬาฯพบ เมือกหอยทากในไทยมีประสิทธิภาพสูงสุดนำไปผลิตเครื่องสำอาง

หลังจากที่ได้ลงพื้นที่ศึกษาวิจัยมากว่า 20 ปี ทีมวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ค้นพบว่าเมือกของหอยทากในไทยมีประสิทธิภาพมากที่ สุดในโลกเมื่อนำไปเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอาง เนื่องจากหอยทากที่อาศัยในเขตร้อนผลิตสารต่อต้านเชื้อราได้ดีกว่าหอยทากใน เขตที่คุณอุณหภูมิหนาวเย็นกว่า นอกจากนี้จากการทดสอบทางเคมียังพบสารประกอบที่เป็นประโยชน์มากมาย เช่น สารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านการอักเสบ โปรตีนและเปปไทด์ที่ เป็นประโยชน์ด้านการบำรุงผิวพรรณอีกด้วย โดยจุฬาฯได้ออกผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากเมือกหอยทากที่ชื่อ Siam Snail หรือ “หอยทากสยาม” ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องสำอางที่มาจากหอยทากในไทยกำลัง ขยายตัว
ข้อมูลจากเว็บไซต์ของจุฬาฯ ระบุว่า ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยซิสเทมาติกส์ของสัตว์ เป็นผู้ศึกษาเรื่องนี้ และได้เปิดเผยว่าลักษณะที่โดดเด่นของหอยทากคือการผลิตเมือกเพื่อให้ชีวิต ดำเนินไปอย่างอมตะ ทั้งเมือกจากหอยทากเพื่อให้ประโยชน์ในการเดินที่สง่างามในธรรมชาติ และเมือกจากแมนเทิลให้ผิวพรรณของหอยทากคงความชุ่มชื้นและงดงามมาหลายล้านปี ตามการวิวัฒนาการ แม้แต่เมือกที่ขับออกมาเพื่อป้องกันตัวจากศัตรูก็มีประโยชน์เช่นกัน
 
“การวิเคราะห์เมือกหอยทากไทยชื่อว่า หอยนวล (Hemiplecta distincta) พบว่าอุดมไปด้วยสารนานาชนิดที่มีประโยชน์มากมาย เหมาะต่อการซ่อมแซมและบำรุงผิว อาทิ อิลาสติน (elastin) อะลันโทอิน (alantoin) กรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic acid) กรดไกโคลิก (glycolic acid) และสานแอนตี้ออกซิแดนท์ (anti-oxidant) เป็นต้น จัดได้ว่าเป็นเมือกคุณภาพชั้นดีเยี่ยมที่สามารถนำมาต่อยอดพัฒนาเพื่อสร้าง นวัตกรรมทางด้านเครื่องสำอางและธุรกิจความงาม ที่สำคัญและที่น่าภาคภูมิใจคือเป็นผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรชีวภาพของไทยเราเอง” ศ.ดร.สมศักดิ์ กล่าว
ศ.ดร.สมศักดิ์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า เนื่องจากประเทศไทยมีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นศูนย์กลางของป่าเขตร้อน สามารถพบหอยทากบกหลายประเภทที่มีความโดดเด่น ขณะเดียวกันในช่วง ๒ – ๓ ปีที่ผ่านมา ได้มีการค้นพบหอยทากไทยที่เป็นชนิดใหม่ของโลกหลายชนิด อาทิ หอยมรกต (Amphidromus classiarius) และหอยบุษราคัม (Amphidromus principalis) หอยสองชนิดนี้ได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีความหมายทั้งในเชิงวิชาการทางวิวัฒนาการและความงาม
บีบีซีไทยรวบรวมภาพจากศูนย์วิจัยที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และสปาหอยทากที่เชียงใหม่มาฝาก
 




 

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ลูกสาวอบต's profile


โพสท์โดย: ลูกสาวอบต
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
52 VOTES (4/5 จาก 13 คน)
VOTED: สาวสี่เสี่ยน, vho, เอ๋ง ไม่ดัดจริต, jarasporn, B NuttiCha, uoon, Thorsten, หอยตะแคง
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
พฤติกรรม ‘ไร้เสน่ห์’ ลดทอนเสน่ห์ ทำให้คนอื่นอยากอยู่ห่างไกลรอยแยก "ลานหินแตก" ผาแต้ม – มหัศจรรย์ธรรมชาติแห่งอุบลราชธานีชายชราถูกรถไฟชน ชิ้นส่วนกระจายไปทั่วรางมาแล้ว! 10 เลขเด็ดเลขดัง "แม่ทำเนียนลอตเตอรี่" งวดวันที่ 16 เมษายน 68..ส่องเลย เลขไหนมาแรง!!ทึ่งทั่วไทย : คูเมืองเชียงใหม่ หนึ่งในสัญลักษณ์สำคัญของเมืองเชียงใหม่ส่งออกไทยสะดุ้ง! ทรัมป์ขึ้นภาษีไทย 36% ผู้ส่งออกเตรียมรับมือหอคอยสโกลา (Scola Tower) – ป้อมปราการโบราณกลางทะเลแห่งอิตาลีของเล่นเด็กไทยยุค 90 ที่กำลังจะถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลา…มีอะไรบ้าง วันนี้ดิฉันจะมาเล่าให้ฟังDark Empaths บุคลิกภาพสุดย้อนแย้ง พฤติกรรมด้านมืดของการใช้ความเข้าอกเข้าใจ มองหาช่องว่าง เพื่อหลอกใช้คนอื่นเกิดอะไรขึ้น? ครูไพบูลย์ ไลฟ์เครียด ประกาศขายบ้าน-ที่ดินด่วน!เผยคลิปเสียงผู้หญิงร้อง "ช่วยด้วย"..ดังมาจากซากตึก สตง.ถล่มทำงานไม่มีหยุด! "ลำไย ไหทองคำ" คิวแน่น 62 งานใน 1 เดือน
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
รวมภาพเรียกรอยยิ้มประจำวันนี้วิธีใช้ ChatGPT สร้างภาพสไตล์ Ghibli พร้อมเทคนิคเขียน prompt ให้ได้ผลลัพธ์สวยงามหอคอยสโกลา (Scola Tower) – ป้อมปราการโบราณกลางทะเลแห่งอิตาลีหนอนสุดน่ารัก "Cerura vinula" กับกลไกป้องกันตัวที่น่าทึ่งว่านสี่ทิศ NK1 ฝีมือคนไทย
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง