AK-47 เรื่องจริงที่คุณอาจไม่รู้ก่อน
1. AK-47 กระบอกแรกถูกผลิตเมื่อปี 1947 และได้รับเข้าประจำการในกองทัพโซเวียตตั้งแต่ปี 1949 โดยผู้ออกแบบ นาย Mikhail Kalashnikov ได้รับรางวัล Stalin Prize และ Red Star จากผลการออกแบบปืนนี้
2. AK-47 มีความทนทานสูง สามารถใช้งานได้ในสภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ทำให้มันประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวาง คาดว่าในปัจจุบันมี AK-47 กว่า 100 ล้านกระบอกถูกใช้งานอยู่ทั่วโลก
3. ทุกปีมีผู้เสียชีวิตจาก AK-47 กว่า 250,000 รายทั่วโลก
4. ในปัจจุบัน AK-47 ถูกผลิตมากกว่า 20 ประเทศทั่วโลก โดยมีประเทศจีนเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด
5. ต้นทุนของไรเฟิล AK-47 ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศที่ผลิต โดยต้นทุนที่ต่ำสุดคาดว่าเพียงแค่ 10 ดอลลาร์ หรือ 300 บาทต่อกระบอกเท่านั้น โดยมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่กระบอกละ 100-300 ดอลลาร์
6. พ่อแม่ในบางประเทศในทวีปแอฟริกา ตั้งชื่อลูกของตนว่า "Kalash" ซึ่งเป็นชื่อเล่นของปืน AK-47
ชายคนนี้ถือAKs47ไปเลี้ยวัวด้วยทุกครั้งรับประกันว่าไม่มีใครกล้าขโมยวัวของเค้าเเน่นอน
7. หนังสือพิมพ์ Liberation ของฝรั่งเศสยกให้ AK-47 เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญที่สุดในศตวรรษ ซึ่งสำคัญมากกว่าระเบิดนิวเคลียร์ หรือกระสวยอวกาศเสียอีก
ชายคนนี้ถือAK-47ติดดาบปลายปืน
AK-47 ปืนยอดนิยมของผู้ร้าย
- เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าปืนเล็กยาวเป็นอาวุธประจำกายของทหารราบ ทหารต้องพึ่งพามันได้ยามเข้าสมรภูมิ ไม่ว่าภูมิประเทศ และภูมิอากาสจะเป็นอย่างไร กลไกของปืนต้องทำงานได้ดีไม่ติดขัด ความขัดข้องแม้เพียงน้อยนิดหมายถึงชีวิตของทหารผู้ถือปืนกระบอกนั้น
- หากมีใครตั้งคำถามว่ามีปืนเล็กยาวแบบนั้นอยู่ในโลกหรือเปล่า คำตอบก็คือมี และมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947
แล้วในชื่อ AK-47
จากชื่อเต็ม Avtomat Kalashnikova obraztsova:goda 1947
ในชื่ออันคุ้นเคยว่า “อาก้า”
Mikhail Timofeevich Kalashnikov
บิดาผู้ให้กำเนิดปืน AK-47
- ปืนเล็กยาวจากฝีมือการออกแบบของนายทหารชาวรัสเซียผู้ใช้นามสกุลของตนเป็น ชื่อย่อของปืน ร้อยเอกมิคาอิล คาลาชนิคอฟ ก่อนจะแตกรุ่นออกไปมากมาย และเป็นที่นิยมใช้ในกองทัพทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน
- ประวัติศาสตร์หน้าแรกของอาก้าเริ่มขึ้นในดินแดนของศัตรูเมื่อสงครามโลกครั้ง ที่ 2 จากการวิจัยของกองทัพบกเยอรมันที่พบว่าระยะยิงปืนเล็กยาวหวังผลได้ดีที่สุด คือ 300 เมตร ตรงนั้นคือระยะไกลที่สุดที่ทหารมองเห็นด้วยตาเปล่า และสามารถทำลายเป้าหมายได้ด้วยอาวุธประจำกาย นำกระสุนเข้าสนามรบได้อย่างพอเพียง เพื่อให้ใช้ปืนได้ง่ายมันต้องมีระบบการทำงานไม่ซับซ้อน มีชิ้นส่วนเคลื่อนไหวน้อยที่สุดเพื่อง่ายต่อการบำรุงรักษาในสนาม
- ผลการวิจัยของเยอรมันทำให้ต้องรื้อแนวความคิดในการสร้างอาวุธประจำกายทหาร ราบใหม่ทั้งหมดรวมถึงกระสุน เพื่อให้ยิงหวังผลได้ในระยะ 300 เมตร
กระสุน เดิมขนาด 7.92x57 ม.ม. ของเมาเซอร์ที่ใหญ่ และหนักเกินความจำเป็น
จึงถูก ตัดท้ายให้สั้นลงเป็น 7.92x33 ม.ม. มีชื่อเล่นว่า “คูร์ซ” (Kurz)
ผลพลอย ได้คือราคาถูกลง และผลิตได้มากกว่า
- ผลการวิจัยของเยอรมันทำให้เกิดปืนเล็กยาวเพื่อรองรับแนวความคิด และกระสุน “ชทวร์มเกแวร์ 44” (Sturmgewehr 44 ชื่อเดียวกับ MP44) โดยการนำข้อดีของปืนอีกสองสัญชาติมาดัดแปลงคือปืน เชอิ-ริก็อตตี (Cei-Rigotti) ของอิตารี และเฟโดรอฟ อัฟโตมัต (Fedorov Avtomat) ของรัสเซียคู่สงครามในขณะนั้น แล้วผลิตออกมามากในปี ค.ศ. 1944 เพื่อส่งเข้าแนวรบด้านตะวันออกที่ตนกำลังเพลี่ยงพล้ำให้ยันการรุกของกองทัพ แดง
- ถึงจะได้ชื่อว่าผลิตออกมามากเพราะสร้างได้เร็วจาการปั๊มโลหะขึ้นรูป แต่ StG44 ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของสงครามได้ เยอรมันแพ้สงครามในปีถัดมาก็จริง แต่รัสเซียได้รับผลกระทบจากปืนแบบนี้ไปเต็มๆเพราะถูกทิ้งไว้เกลื่อนกลาดรวม ทั้งที่ยึดได้อีกมาก
- โลกคงไม่รู้จัก มิคาอิล คาลาชนิคอฟ หากเข้าเสียชีวิตในสมรภูมิเมืองไบรยันสก์ ปราการขวางกองทัพเยอรมันสู่กรุงมอสโกที่ทหารของกองทัพแดงถูกสังหารถึง 80,000 นาย และอีก 50,000 นาย ตกเป็นเชลย
- คาลาชนิคอฟได้รับบาดเจ็บที่นี่ระหว่างทำหน้าที่ผู้บังคับรถถังในกองพลยาน เกราะที่ 12 ด้วยยศสิบเอก และการเผชิญหน้ากับเยอรมันด้วยยานเกราะ และบางครั้งก็ปะทะกันแบบทหารราบ คาลาชนิคอฟจึงเข้าใจดีถึงความต้องการอาวุธประจำกายของทหาร
- เขาเบนเข็มจากทหารในหน่วยรบสู่นักออกแบบ และพัฒนาอาวุธหลังออกจากโรงพยาบาล ด้วยความคิด่าจะนำประสบการณ์ และความรู้ของตนมาช่วยกองทัพ ให้ทหารมีอาวุธดีๆ ใช้และกองทัพแดงไม่เป็นรองใคร
- อาวุธประจำกายพลิกประวัติศาสตร์ฝีมือ มิคาอิล คาลาชนิคอฟ จึงเกิดขึ้น จากแนวความคิดให้ตอบสนองความต้องการของทหารราบมากที่สุด ต้องผลิตได้เร็วมาก ยิงแม่นพอประมาณด้วยกระสุน 7.62x39 ม.ม. ที่เล็กกว่าแต่ให้แรงขับมากกว่ากระสุนต้นแบบของเยอรมันเล็กน้อย
- ทหารถอดทำความสะอาดได้รวดเร็วโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ ใช้งานได้ในทุกภูมิประเภท และภูมิอากาศ
- เมื่อปืนเล็กยาว และปืนกลมือในขณะนั้นต่างก็มีข้อดีแตกต่างไป ปืนของ คาลาชนิคอฟ จึงเกิดการนำข้อดีของปืนเหล่านั้นมารวมกันด้วยเดือยเหล็กลำกล้องคู่จาก M1 “กาแรนด์” (Garand) ของสหรัฐ เรือนเครื่องลั่นไก และกลไกนิรภัยจากปืนเล็กยาวเรมิงตันโมเดล 8 และระบบการทำงานด้วยแก๊ซกับรูปแบบการวางเรียงชิ้นส่วนจาก StG44 ของเยอรมัน
- ระบบทั้งหมดถูกนำมายำโดยไม่ต้องคิดค้นอะไรใหม่ให้มากความ
- ถึง คาลาชนิคอฟ จะบอกว่าไม่ได้เอาแนวคิดของเยอรมันมาใช้ (เพราะตอนนั้นเป็นศัตรูกัน ใครจะไปยอมรับว่าเป็นปืนของข้าศึกดีกว่าจนต้องลอกเลียน) แต่หลักฐานที่ปรากฏนั้นเป็นไปคนละทิศละทาง
- AK-47 คล้ายคลึงกับ StG44 เหมือนปืนแบบเดียวกันแต่แตกรุ่น ด้วยพานท้ายไม้ลาดต่ำโครงปืนเหล็กปั๊มขึ้นรูป ซองกระสุนโค้งเพื่อจุกระสุนได้มาก ทำงานด้วยแรงดันแก๊ซผลักลูกเลื่อนถอยหลังคัดปลอก มีคันบังคับการยิงอยู่ด้านขวาของตัวปืนเหมือนกัน
- ทั้งที่ปืนเล็กยาวของค่ายตะวันตก และสหรัฐฯต่างวางตำแหน่งกึ่งอัตโนมัติ (semi) ให้เลือกยิงได้ก่อนอัตโนมัติ (auto) แต่คาลาชนิคอฟกลับเลือกระบบของการยิงปืนตนเองกลับข้างกัน ให้เลือกยิงอัตโนมัติได้ก่อนผลักสวิชท์ไปยิงกึ่งอัตโนมัติ ด้วยเหตุผลว่าเพื่อให้กลุ่มกระสุนกดหัวข้าศึกไว้ก่อนแล้วจึงเปลี่ยนระบบการ ยิง
- เป็นการเลือกระบบการยิงที่ฉลาด และเป็นไปตามสถานการณ์จริง
- เมื่อเกิดเหตุการณ์ขับขันทหารมักเลือกยิงอัตโนมัติให้กลุ่มกระสุนกดหัวฝ่าย ตรงข้ามไว้ก่อนจะเข้าที่กำบัง และเล็งประณีตต่อด้วยระบบกึ่งอัตโนมัติ
- แนวคิดเริ่มต้นของ AK-47 เกิดขึ้นในปลายปี ค.ศ. 1941 จริง แต่กว่าจะพัฒนา และทดสอบจนพอใจได้ ก็ล่วงถึง ค.ศ. 1944 กว่าจะชนะการประกวดให้เป็นปืนในโครงการทดลองของกองทัพโซเวียตได้ต้องใช้เวลา อีกสองปี และถัดมาอีกปีคือ ค.ศ. 1947
- มันจึงได้เข้าประจำการในฐานะอาวุธประจำกายทหารบางหน่วย ก่อนจะประจำการในฐานะอาวุธพื้นฐานของทหารราบทั้งหมดของโซเวียตในปี ค.ศ. 1949 ตามด้วยกลุ่มประเทศกติกาสัญญาวอร์ซอร์ และบริวาร
- มีให้เลือกทั้งแบบพานท้ายไม้ปกติสำหรับหน่วยรบภาคพื้นดิน และพานท้ายเหล็กพับเก็บได้เพื่อความคล่องตัวสำหรับทหารประจำยานรบ และหน่วยรบพิเศษ ก่อนจะแตกรุ่น และแบบออกไปปอีก
- ความโดดเด่นของ AK-47 นอกจากที่กล่าวข้างต้น คือมันราคาถูก ถอดรื้อทำความสะอาดชิ้นส่วนง่ายแม้ทหารสวมถุงมือ เพื่อตอบสนองความต้องการของทหารโซเวียตที่ประจำการในเขตอากาศหนาวของรัสเซีย และขั้วโลกเหนือส่วนใหญ่
ทหารหน่วยพิเศษของรัสเซียSpetnaz กับDragunov SVD
- การสร้างให้ลูกสูบใหญ่มีช่องว่างระหว่างชิ้นส่วนเคลื่อนไหวหลวมๆ และปลายปลอกกระสุนเรียวแหลม (เป็นเหตุให้ต้องสร้างซองกระสุนโค้งรับสรีระของกระสุน) ทำให้ปืนทนทานต่อสิ่งแปลกปลอมที่พยายามแทรกตัวเข้าสู่กลไก
- มันจึงทำงานได้เป็นปกติแม้หลังจากการแช่น้ำ หมกโคลน หรือฝังทรายไว้ครั้งละหลายๆวันบางครั้งนานเป็นเดือน ขุดขึ้นมายิงกลไกยังทำงานได้เรียบร้อยเหมือนใหม่
- ทั้งที่ดูแลง่าย ซ่อมง่าย ทนทานไม่เกี่ยงลมฟ้าอากาศ แต่ AK-47 ก็มีจุดอ่อนคือความแม่นยำต่ำ เป็นผลจากการประกอบชิ้นส่วนไว้หลวมๆ แสดงถึงแนวความคิดของทหารราบโซเวียตขณะนั้น ที่มุ่งใช้ปืนเล็กยาวยิงกดเพื่อคลุมพื้นที่เป็นหลักก่อนการเคลื่อนที่ของ หน่วยรบ และเป็นไปตามหลักนิยมของกองทัพโซเวียตตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ว่า “ปริมาณคือคุณภาพ”
- ปรัชญานี้สะท้อนให้เห็นด้วยการเน้นปริมาณยุทโธปกรณ์แบบต่างๆ นอกจากปืน เช่น รถถัง เครื่องบินรบ เรือดำน้ำ และอื่นๆ
- ประมาณว่าปัจจุบันมี AK-47 อยู่กว่าร้อยล้านกระบอกทั่วโลกทั้งจากโรงงานในโซเวียต(ในอดีต) และ (รัสเซีย) ปัจจุบันเฉพาะที่มีซีเรียลนัมเบอร์จากโรงงานในรัสเซียประมาณ 10 ล้านกระบอก นอกเหนือจากนั้นคือ การผลิตภายใต้สิทธิบัตรในจีน, ยูโกสลาเวีย, สาธารณรัฐเช็ก และรัฐที่เคยอยู่ใต้อาณัติของโซเวียต
- ปัจจุบันนอกจากรัสเซีย, จีน และประเทศในกลุ่มกติกาสัญญาวอร์ซอว์ AK-47 ยังมีใช้งานในกองทัพทั่วโลก ที่พบเป็นหลักคือ เป็นอาวุธประจำกายของกองโจรต่างๆ และผู้ก่อการร้ายโดยเฉพาะจากตะวันออกกลาง เป็นที่นิยมเพราะลูกสูบของปืนแบบนี้ไม่กลัวทรายใช้งานในทะเลทรายได้โดยไม่ ต้องปรนนิบัติมาก
- ใครที่เคยสัมผัส AK-47 จริงๆมาแล้วจะพบว่าหลังจากเปิดโครงปืนด้านบนดูกลไกแล้วแทบไม่พบชิ้นส่วน เคลื่อนไหวใดๆเลย มันประกอบขึ้นด้วยเหล็กเพียงไม่กี่ชิ้น สปริงลูกสูบ และลำกล้อง แต่ใช้งานได้ลื่นไหลไม่ติดขัด
- เพราะความง่ายนี้เองกองกำลังส่วนใหญ่ที่ไม่เน้นการฝึกยุทธวิธีจริงจังแต่ เน้นปริมารหน่วยติดอาวุธ จึงนึกถึงมันก่อนปืนแบบอื่น
- ในตลาดอาวุธปัจจุบันนี้ถือว่า AK-47 เป็นที่ต้องการของนักรบ และนักสะสม ราคาค่างวดของมันมีตั้งแต่ไม่กี่ร้อยจนถึงหลักแสนดอลลาร์ AK-47 เคลือบทองคือปืนประจำตัวของ ซัดดาม ฮูเซน ส่วนรุ่นลำกล้องตัดสั้นพับฐานคือปืนที่เห็นได้บ่อยๆในภาพข่าว วีดีโอ ของ โอซามา บิน ลาเดน ที่ปรากฏเป็นฉากหลังของผู้นำกลุ่มก่อการร้ายตัวกลั่นคนนี้บ่อย จนกลายเป็นเครื่องหมายการค้า
- ย้ำเตือนให้นึกถึงกลุ่มอัล-ไคดา, กองกำลังทาลีบัน และความรุนแรงอื่นๆในตะวันออกกลาง ถ้าเข้าช่องทางถูกถึงไม่ใช่ทหารก็อาจหาซื้อมันได้แถบตะเข็บชายแดน ในราคาเพียงกระบอกละ 2,000-5,000 บาทตามสภาพ
- AK-47 จึงเป็นอาวุธประจำกายทหารราบจริงๆ เท่าที่โลกเคยรู้จัก เล็งง่าย ยิงง่าย แทบไม่ต้องดูแลรักษา นอกจากถอดชิ้นส่วนมาหยอดน้ำมัน และเช็คเป็นครั้งคราว คว้าขึ้นมาดึงคันรั้งลูกเลื่อนแล้วยิงได้เลยแทบไม่ต้องคิด อายุใช้งานแต่ละกระบอกยาวนาน 20-40 ปี
- คุรสมบัติของปืนดังกล่าวนั้นถือว่าไม่เกินจริงเลย เมื่อวัดปริมาณอันมหาศาลของมันในกองทัพทั่วโลก เป็นปืนของทหารราบเพื่อทหารราบ ออกแบบโดยทหารแท้ๆ ตอกย้ำความหมายนี้หนักแน่นด้วยคำพูดของ มิคาอิล คาลาชนิคอฟ ครั้งหนึ่งว่า..
“ทหาร โซเวียตหลายคนเคยถามผมเรื่องการออกแบบ และสร้างปืนใหม่ขึ้นมา เป็นคำถามที่ตอบยากเพราะปืนแต่ละแบบ ย่อมมีที่มาที่ไปไม่เหมือนกัน มีทั้งข้อดี และข้อเสียแตกต่าง แต่สิ่งหนึ่งที่ผมบอกได้คือ ก่อนจะสร้างปืนใหม่ขึ้นมาสักแบบ การเข้าใจระบบการทำงานของปืนเก่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ประสบการณืหลาๆครั้งของผมได้แสดงให้เห็นแล้วว่าจริง”
- คำพูดของคาลาชนิคอฟ เป็นจริงหรือไม่ ประวัติอันโชกโชนของ “อาก้า” ได้พิสูจน์ตัวเองชัดแล้ว
พรีเซนเตอร์ชื่อดังกะ AK47 U/AKs47
Eนี้ใช้มาเเล้วนายจ๋ารัวหูดับตับไหม้เลยน่ะนายจ๋า