หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

อาวุธไทยในอดีต : เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง ขนาด ๗๓ มม. ผลิตโดยกรมสรรพวุธ กองทัพบกไทย

โพสท์โดย Marcus
โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดขนาด ๗๓ มม.และเครื่องยิง (พศ. ๒๕๒๓-๒๕๒๘) งบประมาณ ๘๓,๒๕๔,๑๐๓ บาท
 
ความเป็นมา
พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ผบ.ทบ. ในขณะนั้นมาตรวจเยี่ยม สพ.ทบ.และได้มาชมและตรวจเยี่ยมงานวิจัยและพัฒนาของ สพ.ทบ. ได้ให้ความคิดว่าจะทำอย่างไร จึงจะให้ทหารราบสามารถมีเครื่องยิงขนาด ๖๐ – ๗๐ มม. ที่สามารถนำไปในหมู่การรบได้ และยิงได้ไกลประมาณ ๔-๕ กม. จึงทำให้ พล.ต.ฐิติพร สมบัติศิริ ซึ่งขณะนั้นยังดำรงยศ พ.อ. อยู่ คิดวิจัยและพัฒนาเครื่องยิงและลูกจรวจสังหาร ๗๓ มม. จึงเสนอโครงการวิจัยและพัฒนาต่อกองทัพบก เมื่อประมาณปลายปี ๒๕๒๗ และได้รับงบประมาณโครงการวิจัย ฯ ในปี ๒๕๓๐ เจ้าหน้าที่โครงการผู้รับผิดชอบได้ทำการค้นคว้าวิจัยและพัฒนา โดยใช้วัสดุที่หาได้ภายในประเทศมาดำเนินการจนสำเร็จ จึงเสนอผลงานการวิจัยมาให้ ทบ. โดยมุ่งหมายเพื่อใช้ทดแทน คจตถ. ๓.๕ นิ้ว ของสหรัฐ ฯ ซึ่งอยู่ใน อจย. ของ ทบ. ปัจจุบันเสื่อมสภาพไม่สามารถใช้ราชการได้
คณะผู้วิจัย
พล.ต.พินิจ ปัตตะพงษ์ หัวหน้าคณะ และผู้ร่วมวิจัย พ.อ.ธีระ เจริญเอม พ.อ.วลัลภ เมืองแก้ว พ.อ.พิพัฒน์พงษ์ อัตตะนันทน์ พ.ต.ขจิต กระท่อมทอง หน่วยสนับสนุน กชส.ศอ.สพ.ทบ. กวรบ.ศอ.สพ.ทบ. กพส.ศอ.สพ.ทบ.
BAZOOKA
BAZOOKA
คจตถ. ๓.๕ นิ้ว (M-20 Super Bazooka)
M20 3.5-inch team awaiting the Chinese north of Tanyang
 
 
ความมุ่งหมาย
เป็นอาวุธต่อสู้รถถังหรือทำลายบังเกอร์ เพื่อทดแทน คจตถ. ๓.๕ นิ้วของสหรัฐอเมริกาที่ปลดประจำการไปแล้ว
 
ความเป็นมา
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ความจำเป็นและความเร่งด่วนจากสถานการณ์ชายแดนด้านตะวันออกมีสิ่งบ่งชี้ว่า ทบ.จะตอ้งเผชิญกับรถถังหลักของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งมีขีดความสามารถในการใช้รถถังและมีจำนวนรถถังในกำลังรบมากกว่าหลายเท่า แต่ขณะนั้นทบ.ยังขาดแคลนอาวุธประเภทต่อสู้รถถังระดับหมวดทหารราบ เนื่องจาก คจตถ. ๓.๕ นิ้ว ที่ได้ร้บความช่วยเหลือจากสหรัฐฯไดเ้สื่อมสภาพลงไม่สามารถนำมาใช้ได้ ด้วยเหตุนี้ทบ .จึงมีนโยบายให้ สพ.ทบ. ดำเนินการวิจัยจรวดต่อสู้รถถังขึ้นมาอีกคร้ังหนึ่ง เมื่อ ๖ ส.ค. ๒๕๒๒ โดยเป็นโครงการ ลักษณะปกปิด
 
พล.ท.สท้าน ภิรมย์รัตน์ (จก.สพ.ทบ. ในขณะนั้น) ไดแ้ต่งตั้งคณะทำงานทางเทคนิค ประกอบด้วย พ .อ.พินิจ ปัตตะพงษ์, พ.ต. ธีระ เจริญเอม, ร.อ. พิพัฒน์พงษ์ อัตตะนันทน์, ร.อ.ขจิต กระหม่อมทอง และร.ท. วัลลภ เมืองแก้ว เป็นผดู้าเนินการวจิยั จรวด ๔๗ มม.
ต่อมาเกิดอุปสรรคในการจัดหาดินขับจากต่างประเทศ แต่สามารถจัดหาดินขับจรวดขนาดใหญ่กวา่ คือขนาด ๗๓ มม. แทนได้ จึงได้ พัฒนาจรวด ๔๗ มม.เป็ นจรวด ๗๓ มม. (หัวรบ ๖๑ มม.)
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ สถานการณ์บีบบังคับมากขึ้น ทบ.จึงให้ สพ.ทบ. ดำเนินการผลิตควบคู่ไปกับการวิจัย โดยทบ.ได้อนุมัติงบประมาณในปี ๒๕๒๓ ให้สพ.ทบ.ทำการผลิตเครื่องยิงจรวด ๑,๕๐๕ เครื่อง และลูกจรวด ๓๙,๐๐๐ นัด แต่โรงงานผลิตไดเ้กิดการระเบิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ พ.ย. ๒๕๒๓ ทำให้ ร.อ.ขจิต กระหม่อมทอง พร้อมเจ้าหน้าที่จำนวน ๑๓ นายเสียชีวิต ขณะปฏิบัติงานอยู่ในโรงงาน
 
ภายหลังการระเบิด ผบ.ทบ.ได้มีนโยบายใหฟื้นฟูการผลิตจรวดต่อไปโดยเร็วที่สุด จึงมีคำสั่ง ทบ. ลับ (เฉพาะ) ที่ ๑๗๘/๒๓ ลง ๔ ธ.ค. ๒๓ เรื่องแต่งต้งัคณะกรรมการบริหารและชุดทา งานในการผลิตจรวด ๗๓ มม. ขึ้นโดยมีรอง เสธ ทบ. (๒) เป็ นประธาน ในการบริหารโครงการโดยเป็นโครงการลักษณะปกปิด ซึ่งคณะกรรมการบริหารได้กำหนดเป้าหมายของโครงการไวเ้ป็น ๒ ขั้นคือ
– โครงการขั้นที่ ๑ เป็นการวิจัยเครื่องยิงและลูกจรวดให้มีคุณลักษณะและขีดความสามารถที่จะน าไปใช้แทน คจตถ. ๓.๕ นิ้วโดยตอ้งมีอา นาจการเจาะเกราะซ่ึงมีความหนา ๒๕๐-๓๕๐ มม. ได้
– โครงการขั้นที่ ๒ เป็นข้นัการผลิต (Mass Production) ต่อเนื่องจากขั้นที่ ๑ หลังจากผลการวิจัยบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดแล้ว ซึ่งแบ่งการดำเนินงานออกเป็น ๒ ขั้นตอน คือ ตอนที่ ๑ เป็ นการผลิตจรวดให้มีลักษณะตามต้นแบบของผลการวิจัยในโครงการขั้นที่ ๑ และตอนที่ ๒ เป็ นการผลิตจรวดให้มีหัวรบชนวนไฟฟ้ า เมื่อการดำเนินการวิจัยขั้นที่ ๑ สำเร็จ ทบ .ไดแ้ต่งตั้งคณะกรรมการทดสอบทางเทคนิคและในสนามเพื่อทำการทดสอบ
 
แต่ผลการทดสอบยังมีข้อบกพร่องต้องแก้ไขอีกมากในเรื่องอำนาจการเจาะเกราะความแม่นยำ และความสะดวกในการใช้ ซึ่งอำนาจการเจาะเกราะที่กำหนดไวเ้ดิม ๒๕๐-๓๕๐ มม. นั้น ได้กำหนดโดยอาศัยสมมติฐานวา่ หัวรบจรวดมีขนาด ๗๓  มม. แต่ความเป็นจริงหัวรบจรวดมีขนาดเพียง ๖๑ มม. ซึ่งจากการคำนวณทางทฤษฏีจะมีอำนาจเจาะเกราะได้หนา ๒๑๐-๓๑๐ มม. เท่านั้น
เมื่อนำไปทดสอบในสนามก็ได้ผลการทดสอบสอดคล้องกัน คณะกรรมการบริหารฯจึงรายงานขออนุมัติให้แก้ไข เมื่อ ๑๗ พ.ค. ๒๕ และในที่สุด ทบ .ได้อนุมัติรับรองเครื่องยิงจรวดและลูกจรวด ๗๓ มม. เข้ามาใช้ใน ทบ . แทน คจตถ. ๓.๕ นิ้วเมื่อ ๒๒ ก.ย. ๒๕ เมื่อ
สพ.ทบ. ได้ดำเนินการผลิตจรวดและเครื่องยงิจรวดตามโครงการขั้นที่ ๒ สำเร็จเป็นส่วนใหญ่แล้วทบ.ได้อนุมัติให้ยุติโครงการผลิตจรวด ๗๓ มม. ภายใต้การควบคุมอำนวยการและกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารฯ ตั้งแต่ ๔ เม.ย. ๒๙ และให้ สพ .ทบ. ดำเนินการวิจัยพัฒนาหัวรบจรวด ๗๓ มม. จากชนวนระบบแมคคานิกส์เป็นหัวรบชนวนไฟฟ้ารวมทั้งารผลิตจรวด ๗๓ มม. เพื่อสนองความต้องการทางยุทธการ โดยให้เสนอโครงการตามสายงานปกติต่อไป
 
ระยะเวลาในการด าเนินการวิจัย พ.ศ. ๒๕๒๒ ถึง พ.ศ. ๒๕๒๕
การรับรองมาตรฐาน/การปิดโครงการ
– ผบ.ทบ. ได้อนุมัติหลักการรับรองให้นำจรวด ๗๓ มม. และเครื่องยิงเข้ามาใช้ในราชการ แทน คจตถ. ๓.๕ นิ้ว ตาม น.สวพ.ทบ. ลับ–ด่วนมาก ที่ ต่อกห ๐๓๐๐.๑๙/๔๐๘ ลง ๒๒ ก.ย. ๒๕
– ผบ.ทบ. อนุมัติหลักการให้น าผลงานวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์ที่รับรองใช้ใน ทบ.ไปสู่การผลิตตาม น. สวพ.ทบ. ลับ–ด่วนมาก ที่กห ๐๔๒๘/๑๐๐ ลง ๓๑ ม.ค. ๒๙ โดยจรวด ๗๓ มม. มีความต้องการตาม อจย. ของ พล.ร. มาตรฐาน ๑๑ กองพลเป็นเครื่องยิงจ ำนวน ๓,๒๗๒ เครื่อง และ จรวด ๑๖๖,๘๗๒ นัด
 
รางวัลที่ได้รับ รางวัล พลโท สมุทร นิลกุล ประจ าปี ๒๕๓๓
งบประมาณ
ใช้งบประมาณ กห. ปี ๒๕๒๓ – ๒๕๒๔ ขั้นที่ ๑ จำนวน ๒๒,๒๖๕,๖๑๓.๕๒ บาท
ใช้งบประมาณ กห. ปี ๒๕๒๕ – ๒๕๒๘ ขั้นที่ ๒ จำนวน ๖๐,๙๘๘,๔๘๙.๘๔ บาท
ดำเนินโครงการโดย คณะกรรมการบริหารและชุดทำงานในการผลิตจรวด ๗๓ มม. ควบคุมอำนวยการ และกำกับดูแลโครงการ ฯ
ลักษณะ
๑. ลูกจรวด
– ยาว ๕๓๔ มม.
– น้ำหนัก ๑.๕ กก. ; ขนาดหัวรบ ๖๑ มม.
๒. เครื่องยิง
– กว้างปากลำกล้อง ๗๓ มม.
– น้ำหนักเมื่อบรรจุลูกจรวด ๖.๓ กก.
–  ยาว ๑.๒๕ เมตร ; เครื่องลั่นไกทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
 
สมรรถนะ
๑. ลูกจรวด
– ระยะยิงหวังผลอยู่กับที่ ๕๐๐ เมตร ลงมา
– ระยะยิงไกลสุด ๑,๒๐๐ เมตร
– อำนาจในการเจาะเกราะ ๒๑๐ +/ – ๑๐ มม.
– ความเร็วต้น ๒๑๖ เมตร/วินาที
๒. เครื่องยิง
- กล้องเล็งมีแสงในตัวเอง (ใช้แบตเตอรี่) ขยายได้ ๑ เท่า และ ๒.๕ เท่า
- สามารถยิงในเวลากลางคืนได้
- บรรจุลูกจรวดทางท้ายลำกล้อง
- ประทับบ่ายิงทีละนัด
ทบ.รับรองมาตรฐาน เมื่อ ๒๔ ก.ย. ๒๕๒๕ ตามอนุมัติ ผบ.ทบ. ท้ายบันทึก ฯ สวพ.ทบ. ลับ ด่วนมาก ที่ กห ๐๓๐๐ – ๑๙/๔๐๘ ลง ๒๒ ก.ย. ๒๕๒๕ เรื่อง ขออนุมัติหลักการรับรองให้นำจรวด ๗๓ มม. และเครื่องยิงเข้ามาใช้ในราชการ ทบ.
 
หมายเหตุ จำนวนผลิต ๑,๒๐๐ เครื่องยิง
 
ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล http://118.175.64.247/ardofor63/resource2projectlist.php?start=156
 
 
ปล.งดคอมเม้นต์ในเชิงลบหรือคอมเม้นในเชิงที่ไม่สร้างสรรค์นะครับ
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Marcus's profile


โพสท์โดย: Marcus
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
32 VOTES (4/5 จาก 8 คน)
VOTED: ไอ้หมาบ้า, Darius, Marcus, rawi, โซจังศิษย์ท่านโงกุล, lLuCiFeR, nkart, Thorsten
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 256810อันดับอาชีพที่กำลังจะหายไปรีบมา! คืนนี้วันสุดท้ายแล้ว "ตำรวจตกน้ำ" ไวรัลสุดเสียวกาชาด 2567 หล่อ เปียก ฮา พุ่งกระจาย!เพชรปากปลาร้าหน้าเป๊ะ ลองทาลิปสติกบนปาก ทำเอาทัวร์ลงสนั่น ร้านค้ารับเรื่อง สั่งให้โละยกแผงเลย!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เฮ! เงินไร่ละพันยังมาต่อเนื่อง! ชาวนารับเงินช่วยเหลือ ธ.ก.ส. กันอยู่หรือเปล่า? มาอัปเดตกันหน่อย!รีบมา! คืนนี้วันสุดท้ายแล้ว "ตำรวจตกน้ำ" ไวรัลสุดเสียวกาชาด 2567 หล่อ เปียก ฮา พุ่งกระจาย!
ตั้งกระทู้ใหม่