มาดูชีวิตเกย์ในโลกมุสลิมกัน
โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วย ( ทุกศาสนาสอนให้เราเป็นคนดีนะครับ )
ศาสนาบางศาสนาอาจจะมีเหตุผลของเขาก็ได้ เเต่เห็นอย่างนี้เเล้ว เมืองไทยของเราดีที่สุดเลยครับ
เซเนกัล (Senegal)
ว่ากันตามกฎหมาย: ติดคุก ๑ – ๕ ปี ปรับเป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ – ๑.๕ ล้านฟรังค์ โทษขั้นสูงสุดจะถูกนำมาใช้ถ้าคู่ขาคนใดคนหนึ่งอายุต่ำกว่า ๒๑
ว่ากันตามความเป็นจริง: การปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมหย่อนยานกว่าประเทศมุสลิมอื่น (การค้าประเวณีถูกกฎหมาย และเครื่องแต่งกายพื้นเมืองก็เผยเนื้อหนังมังสามากกว่า) ประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสแห่งนี้ กลุ่ม GLBT*เคยร่วมกันตั้งองค์กรผู้รักเพศเดียวกันขึ้นมา แต่ต่อมาก็ถูกรัฐบาลปิดไป
ตูนีเซีย (Tunisia)
ว่ากันตามกฎหมาย: พฤติกรรมรักเพศเดียวกันมีโทษจำคุกสามปี
ว่ากันตามความเป็นจริง: แม้จะถูกตำรวจและทางราชการตามรังควาญอยู่บ้าง แต่ก็มีชายขายเซ็กส์ (Male Sex Worker) อยู่ตามถนนในเมืองตูนิส ซึ่งเป็นเมืองหลวง มีตัวละครที่มีพฤติกรรมรักเพศเดียวกัน*ปรากฏตัวในภาพยนตร์ภายในประเทศ เช่น เรื่อง Satin Rouge ในปี ๒๐๐๒ จนกลายเป็นหัวข้อถกเถียงไปทั่วประเทศ สามารถพบเจอเกย์ชาวฝรั่งเศสอยู่ทั่วไปในเมืองตูนิส และตามชายหาด
*จขบ. อธิบายเพิ่ม: ไม่เคยดูหนังเรื่องนี้ครับ เลยไม่รู้ว่าตัวละครในเรื่องเป็นGLBT อย่างไหน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า gay character ผมจึงแปลกลาง ๆ ว่า “ตัวละครที่มีพฤติกรรมรักเพศเดียวกัน”
โมรอกโค (Morocco)
ว่ากันตามกฎหมาย: มีโทษจำคุกถึงสามปี และเสียค่าปรับ โทษฐาน “กระทำการลามกกับเพศเดียวกันและมีพฤติกรรมผิดธรรมชาติ”
ว่ากันตามความเป็นจริง: การดำเนินการต่อต้านเกย์เพิ่มมากขึ้นในช่วนสองสามปีที่ผ่านมา แต่ในเมืองใหญ่อย่าง Marrakech Tangier และ Essaouirah กลับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่นิยมในหมู่เกย์ (โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศส) และมีโสเภณีชายอยู่ทั่วไป มีรายงานว่ากษัตริย์องค์ปัจจุบัน โมฮัมเม็ดที่ ๖ (Mohammed VI) ถูกพบในบาร์เกย์ของสไตล์ยุโรปหลายแห่งก่อนได้รับราชสมบัติ
จอร์แดน (Jordan)
ว่ากันตามกฎหมาย: ไม่มีข้อห้ามพฤติกรรมรักเพศเดียวกันตามกฎหมาย แต่คนที่เป็น GLBT จะถูกลี้ภัย*ไปยังประเทศอื่น
ว่ากันตามความเป็นจริง: ใน บรรดาประเทศมุสลิม จอร์แดนถือว่าเป็นประเทศที่ใจกว้างกับกลุ่มคนรักเพศเดียวกันมากที่สุดประเทศ หนึ่ง คาเฟ่และที่สถานที่ชุมนุมของชาวเกย์มีอยู่ทั่วไปในกรุงอัมมาน (Amman) ซึ่งเป็นเมืองหลวง
อียิปต์ (Egypt)
ว่ากันตามกฎหมาย: ในทางเทคนิครักเพศเดียวกันไม่ผิดกฎหมาย แต่กลับถูกดำเนินคดีจนถึงที่สุดในข้อหาลุ่มหลงในโลกียวิสัย ภายใต้การนำของประธานาธิบดี Hosni Mubarak รัฐบาลก็เริ่มดำเนินการต่อต้านเกย์ การจับกุมครั้งใหญ่เรียกว่า “Cairo 52”* เกิดขึ้นบนเรือจัดงานเลี้ยงสำหรับเกย์ที่จอดอยู่ริมแม่น้ำไนล์ ในปี ๒๐๐๑ เป็นตัวอย่างที่โด่งดังที่สุด ๒๓ คนจาก ๕๒ คนที่ถูกจับกุม ติดคุกตั้งแต่หนึ่งถึงห้าปี บางส่วนที่หลบหนีไปได้ก็ถูกเนรเทศออกจากประเทศไปเลย ในปี ๒๐๐๔ เด็กหนุ่มวัย ๑๗ ปี ถูกพิพากษาให้จำคุก ๑๗ ปีในหลายข้อหาที่พัวพันกับการลงประวัติของตนในเว็บไซต์หาคู่สำหรับเกย์ ซวยมากเลยน้องเอ๋ย พี่ล่ะเศร้าใจแทนจริง ๆ....
ว่ากันตามความเป็นจริง: อียิปต์เป็นศูนย์กลางแห่งสื่อในโลกมุสลิม ดังนั้นตัวละครเกย์จึงหาทางปรากฏตัวในนิยาย หรือแผ่นฟิล์มในประเทศได้ไม่ยาก อย่างน้อยก็ภายในสังคมกรุงไคโร การออกล่าหนุ่ม ๆ มีการแข่งขันอย่างรุนแรงในเขตที่นักท่องเที่ยวเยอะ และสถานที่ชุมชุมชาวเกย์ในเขตเมืองหลวงก็ยังมีอยู่
ซาอุดิอาระเบีย (Saudi Arabia)
ว่ากันตามกฎหมาย: ชารีอะฮฺ หรือกฎหมายอิสลาม เป็นกฎหมายประจำชาติ พฤติกรรมรักเพศเดียวกันมีบทลงโทษถึงตาย (โดยการปาหินใส่ แต่ก็มีบางรายงานกล่าวถึงการตัดหัวด้วย) เฆี่ยน ๑๐๐ ที* หรือจำคุก
ว่ากันตามความเป็นจริง: แม้ว่าจะเป็นประเทศหัวอนุรักษ์นิยมที่สุดในโลกมุสลิม แต่การแบ่งแยกเพศชาย-หญิงอย่างเข้มงวด** และจำนวนผู้อพยพออกนอกประเทศจำนวนมากที่เป็นชายโสด แสดงให้เห็นถึงการจำยอมต่อพฤติกรรมรักเพศเดียวกันได้ในหลายระดับ การแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันอย่างเงียบ ๆ และงานเลี้ยงแบบเถิดเทิงสุดเหวี่ยงไม่ใช่เรื่องผิดปกติในกรุงริยาด (Riyadh) และเมืองอื่น ๆ
*จขบ. อธิบายเพิ่ม: ล่าสุดเมื่อตุลาคม ๒๐๐๗ เด็กหนุ่มสองคนถูกเฆี่ยน ๗,๐๐๐ ครั้งลองค้นคำว่า “7000 lashes” ดูถ้าอยากอ่านรายละเอียด
**การ แบ่งแยกชาย-หญิงอย่างเข้มงวดทำให้เกิดพฤติกรรมรักเพศเดียวกันได้ เนื่องจากเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ ชายหนุ่มยอมต้องหาที่ระบายอารมณ์ทางเพศ แต่การแยกชายหญิงทำให้ไม่สามารถเข้าถึงตัวผู้หญิงได้นอกจากจะแต่งงานเป็น เรื่องเป็นราวไป ชายหนุ่มวัยเจริญพันธุ์จึงต้องหันมา “เล่นเพื่อน” หรือบางทีก็โดน “เพื่อนเล่น” หรือบางกรณีอาจจะเป็นชายหนุ่มอยากจะ “เล่นเพื่อน” ก็เลยต้องให้ “เพื่อนเล่น” เสียก่อนเป็นการแลกเปลี่ยนกัน คำอธิบายนี้คล้ายกับคำอธิบายเรื่องรักเพศเดียวกันในสมัยกรีก(ที่ดูมาจากสารคดี) ชายกรีกมีค่านิยมแต่งงานกับสาวพรหมจรรย์ แต่สาว ๆ กรีกจะรักษาพรหมจรรย์ไว้จนถึงวันแต่งฯ ได้ก็ต่อเมื่อ หนุ่มกรีกหันไป “เล่นเพื่อน” ไปพลาง ๆ ก่อน
อิรัก (Iraq)
ว่ากันตามกฎหมาย: ความโกลาหลในอิรัก ภายใต้การควบคุมของอเมริกาทำให้นโยบายราชการต่าง ๆ ไม่มีความชัดเจน ช่วงก่อนสงครามพฤติกรรมรักเพศเดียวกันเป็นที่อนุมัติในผู้ใหญ่ แต่หลังจากการล้มล้างอำนาจของซัดดัม ฮุสเซน พฤติกรรมรักเพศเดียวกันกลายเป็นสิ่งผิดกฎหมายจนกระทั่งปัจจุบัน
ว่ากันตามความเป็นจริง: กลุ่มล่าสังหาร(Death Squad)*มุ่งเป้าไปที่เกย์และเลสเบี้ยน แต่มีเซฟเฮ้าส์ (Safe Houses) สำหรับเกย์และเลสเบี้ยนที่ต้องการสถานที่ลี้ภัย การออกล่าหนุ่มและนัดเดทกันทางอินเตอร์เน็ตในแถบเคอร์ดิสถาน (Kurdistan) จะปลอดภัยกว่า (เคอร์ดิสถานเป็นเขตปกครองตนเองพิเศษของอิรัก ใช้ธงคนละผืนด้วย น่าจะเป็นรัฐอิสระแบบหนึ่ง)
*จขบ. อธิบายเพิ่ม: Death Squad ดำเนินการทำลายล้างเกย์ภายใต้แคมเปญ “Sexual Cleansing” ถ้าเป็นเกย์ที่ดูภายนอกแมน ๆ จะไม่ค่อยน่าเป็นห่วง แต่ถ้าตุ้งติ้ง หรือแต่งตัวเนี้ยบเกินอาจเป็นอันตรายได้ กลวิธีของกลุ่มนี้มีตั้งแต่การทำร้ายผู้ต้องสงสัยว่าเป็นเกย์ตามถนน ไปจนถึงเข้าหาเกย์โดยแสร้งว่าตัวเองก็เป็นเกย์เหมือนกัน สุดท้ายพอเหยื่อแสดงตัวก็จัดการซะ
การฆ่าของ Death Squad ดังกล่าวมาจากแนวคิดผิด ๆ ว่า พฤติกรรมรักเพศเดียวกัน เป็นพฤติกรรมที่รับมาจากตะวันตก (โลกมุสลิมต่อต้านแนวคิดตะวันตกมากเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว) และเป็นการชักนำมาโดยไชตอน(ซาตาน) แต่อันที่จริงตามวรรณคดีเก่า ๆ ของโลกอาหรับก็มีพฤติกรรมเหล่านี้ปรากฏมาตลอด แนวคิดที่ว่ารับมาจากตะวันตกจึงเป็นความเข้าใจผิด และเนื่องจากความโกลาหลหลังสงคราม Death Squad จึงฉวยโอกาสตั้งศาลเตี้ยได้ง่าย เพราะระบบกฎหมาย นโยบายการเมืองต่าง ๆ อย่างไม่เข้าที่เข้าทางดี
ตุรกี (Turkey)
ว่ากันตามกฎหมาย: ไม่มีกฎหมายต่อต้านพฤติกรรมรักเพศเดียวกัน เพราะตุรกีเป็นประเทศมุสลิมที่มีระบบการปกครองที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา
(Secular Government) และมีเสรีภาพมากที่สุดในบรรดาประเทศมุสลิม
ว่ากันตามความเป็นจริง: พฤติกรรมรักเพศเดียวกันเป็นที่ยอมรับในประเทศมานานแล้ว ซึ่งทำให้การท่องเที่ยวของกลุ่มเกย์จากยุโรปกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานในเมืองอิสตันบูล (Istunbul) และเมืองบ้านพักตากอากาศริมทะเลอย่าง เมืองโบดรัม (Bodrum) ความฝันอยากจะเป็นประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปผลักดันให้สร้างเสรีภาพมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันพวกหัวอนุรักษ์เคร่งศาสนาก็กำลังเพิ่มฐานอำนาจในสังคม
อัฟกานิสถาน (Afganistan)
ว่ากันตามกฎหมาย: "จำคุกระยะยาว" ตามกฎหมายแพ่ง แต่ก่อนหน้านี้ภายใต้การปกครอง ของกลุ่มตาลีบัน มีการนำชารีอะฮฺ (หรือกฎหมายอิสลาม) มาใช้ โดยกำหนดโทษประหารแก่ ผู้มีพฤติกรรมรักเพศเดียวกัน ซึ่งรวมถึงการพังกำแพงลงมาทับผู้ต้องหาให้ตายด้วย ว่ากันตามความเป็นจริง: พฤติกรรมรักเพศเดียวกันเป็นที่ยอมรับในประเทศนี้มานานแล้วโดย เฉพาะในเขตชนเผ่าเพชตุน (Pashtun) ทางตอนใต้ เมืองกันดาฮาร์ (Kandahar) มีชื่อเสียงด้านพฤติกรรมรักเพศเดียวกันมานานแล้ว นอกจากนี้ทางตอนเหนือของประเทศก็ยังมีชื่อเรื่อง นักเต้นระบำชาย* ที่เป็นโสเภณีไปในตัวอีกด้วย
*จขบ. อธิบายเพิ่ม: ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า bacha bereesh หรือเด็กหนุ่มผู้ไร้หนวดเคราเด็กพวกนี้จะแต่งหญิงเต้นรำในงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน และอาจจะเลยเถิดไปถึงการเสียตัวให้แก่ "ผู้อุปถัมภ์" ของตนอีกด้วย
มาเลเซีย (Malaysia)
ว่ากันตามกฎหมาย: โทษอาญาระดับประเทศคือจำคุกยี่สิบปีและเฆี่ยนโทษฐานมีเพศสัมพันธ์ทางประตูหลัง (ดังนั้นเลสเบี้ยนจึงดูเหมือนจะไม่ติดร่างแหไปด้วย) แต่ในระดับท้องถิ่นมีการใช้ชารีอะฮฺ ทั้งเกย์และเลสเบี้ยนต้องถูกจำคุกสามปี ถูกเฆี่ยน และต้องจ่ายค่าปรับในทศวรรษที่ ๙๐ มีเรื่องอื้อฉาวเกิดขึ้นเมื่อนาย อันวา อิบรอฮิม รักษาการณ์นายกรัฐมนตรีถูกพิพากษาให้จำคุก ๙ ปี ฐานมีเพศสัมพันธ์ทางประตูหลัง แต่หลังจากรับโทษไปได้ ๔ ปีข้อกล่าวหาก็ถูกยกเลิก
ว่ากันตามความเป็นจริง: เกย์และเลสเบี้ยถูกตามรังควานจากรัฐบาลที่ใจแคบมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การปรามปรามสถานที่ชุมนุมเกย์อย่างรุนแรง อย่างไรก็ตามฉากชีวิตชาวเกย์และเลสเบี้ยน ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ กำลังเติบโตเป็นอย่างมาก ในผับ บาร์ และซาวน่า อุตสาหกรรมที่ไฮเทค ส่งผลให้เกิดเกย์ที่แสดงตัวให้เห็นเพียงครึ่งเดียว*ในกลุ่มชนชั้นกลาง
อิหร่าน (Iran)
ว่ากันตามกฎหมาย: ถ้าการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันได้รับการพิสูจน์ว่าเกิดขึ้นจริง กฎหมายชารีอะฮฺระบุโทษไว้ว่า เกย์ต้องโทษประหาร เลสเบี้ยนถูกโบยร้อยครั้ง (และจะถูกประหารถ้าต้องโทษนี้เป็นครั้งที่สี่) องค์กรสิทธิมนุษยชนทำสารคดีเรื่องการประหารชีวิต รวมทั้งคดีที่เด็กหนุ่มสองคนถูกแขวนคอ*ในปี ๒๐๐๕ ผู้พิพากษากำหนดให้มีการทรมาน และจำคุกด้วย ตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิ ๒๐๐๗ มีการปราบปราม “พฤติกรรมไร้ศีลธรรม” อย่างรุนแรงรวมทั้ง การจับกุมข้อหาแต่งกายผิดเพศของตนด้วย (โดยถือว่าเป็นลักษณะพฤติกรรมของเกย์และเลสเบี้ยน)
ว่ากันตามความเป็นจริง: เกย์ชาวอิหร่านจำนวนมากกำลังหาที่ลี้ภัยเพื่อหนีจากการทรมานและการจำคุกในประเทศ แม้ขบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่มเกย์อิหร่านจะถูกปราบปราม แต่พวกเขาก็ยังเดินหน้าดำเนินการเป็นขบวนการใต้ดินในกรุงเตหะราน โดยมีการประชุมลับและออกหนังสือลับ ๆ ผู้นำการต่อสู้เพื่อเกย์ชาวอิหร่านบางคนถูกเนรเทศไปแล้ว
ปากีสถาน (Pakistan)
ว่ากันตามกฎหมาย: ภายใต้กฎหมายชารีอะฮฺที่ถูกนำมาใช้ใหม่ในปี ๑๙๙๐ พฤติกรรมรักเพศเดียวกันต้องถูกลงโทษโดยการปาก้อนหินใส่จนตาย (แทบจะไม่เคยบังคับใช้จริง) หรือเฆี่ยนร้อยครั้ง และภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งในปี ๑๘๖๐ กล่าวว่า “ความสุขทางเพศที่ละเมิดกฎธรรมชาติ” จะต้องถูกพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิต
ว่ากันตามความเป็นจริง: การ ให้สินบน การข่มขู่ การแบล็คเมล* และการทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นในบางครั้ง อย่างไรก็ตามการแบ่งแยกชาย-หญิงชัดเจนก็แสดงถึงการยอมรับสภาพการมีพฤติกรรม รักเพศเดียวกันไปในตัว** หนำซ้ำประเทศนี้ยังมีพิธีกรรายการทีวีชื่อดังเป็นกะเทยแต่งหญิงนามว่า Begum Nawazis Ali ด้วยนะจ๊ะ
*** ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหานะจ๊ะ