วิธีแก้กรรม แก้ได้จริง ตามคำพุทธวจน!!
... โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม
หมู่สัตว์ ย่อมเป็นไปตามกรรม
สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นเครื่องรึงรัด
เหมือนลิ่มสลักขันยึดรถที่กำลังแล่นไปอยู่.
สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กระทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม
จักเป็นผู้รับผลกรรมนั้น.
-บาลี สุ. ขุ. ๒๕/๔๕๗/๓๘๒. , -บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๓๐๙/๑๙๓.
ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวซึ่งเจตนา ว่าเป็นกรรม.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุเกิดของกรรมทั้งหลาย ย่อมมี เพราะความเกิดของผัสสะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรม ย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! มรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๔/๓๓๔.
อานนท์ ! ถ้ากรรมมีกามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้
กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
หามิได้ พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา
วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยางของพืช
วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นทราม
การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ถ้ากรรมมีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้
รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
หามิได้ พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา
วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยางของพืช
วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นกลาง
การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ถ้ากรรมมีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้
อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
หามิได้ พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา
วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยางของพืช
วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นประณีต
การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ภพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๙๗/๑๔๓-๔.
คำนำ
ในคร้ังพุทธกาล มีภิกษุ อธิบายเกี่ยวกับวิญญาณว่า
วิญญาณ คือสภาพที่รับรู้อารมณ์ต่างๆ ได้ สื่อสารพูดคุยได้
เป็นผู้รับผลของกรรมดีกรรมชั่ว เป็นผู้ที่แล่นไป ท่องเที่ยวไป
พระพุทธเจ้าทรงเรียกภิกษุรูปนั้นมาสอบทันที
เมื่อ ได้ความตรงกันกับที่ถูกโจทก์แล้ว ทรงตำหนิโดยการ
เรียกภิกษุรูปนี้ว่า “โมฆะบุรุษ” ซึ่งแปลตามความหมายว่า
บุคคลอันเปล่า ไร้ประโยชน์ เป็นโมฆะ มีไว้ก็เท่ากับไม่มี
จากนั้น ทรงพยากรณ์ว่า การพูดผิดไปจากคำของตถาคต
เช่นนี้ จะทำให้ประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก
คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปนัก ที่จะทำความเข้าใจว่า
วิญญาณ โดยนัยของขันธ์ห้านั้น ไม่ใช่ตัวสัตว์ ไม่ใช่บุคคล
เป็นแต่เพียงสิ่งที่มีกริยารู้ได้ และเป็นปฏิจจสมุปปันธรรม
คืออาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้นมีอยู่ ส่วนสัตว์ บุคคลผู้
ทำกรรม รับกรรมนั้น คือขันธ์ห้าอันประกอบด้วยอุปาทาน
ปรุงแต่งเสร็จไปแล้ว ว่าเป็นนี้ๆ เป็นนั้น
กระทู้นี้!!
เป็นแนวทางการรู้ที่จะนำไปสู่การหลุดพ้นจากระบบแห่งกรรมที่
หมู่สัตว์ติดข้องอยู่มานานนับนี้ ด้วย!
อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ หนทางให้ถึงความดับแห่งกรรม
โดยตัวของอริยมรรคเอง มีแล้ว ซึ่งการสร้างวิบากอันเป็นเลิศ
มีพร้อมแล้วซึ่งอานิสงส์คือการนำไปสู่การสลัดคืนอุปาทานขันธ์
นนั่ คอื การกระทำกรรม เพอื่ ใหร้ ะบบกรรมทงั้ หมดทงั้ ปวงนนั้
กลายเป็นโมฆะโดยสิ้นเชิง
๑
รายละเอียดที่บุคคลควรทราบ
เกี่ยวกับเรื่องกรรม
ภิกษุทั้งหลาย !
กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ ....
คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย !
เรากล่าวซงึ่ เจตนาว่าเปน็ กรรม เพราะว่าบุคคล
เจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.
ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิด
พร้อม) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย
คือ ผัสสะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ)
แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนา
ในนรก มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในกำเนิด
เดรจั ฉาน มีอยู่ กรรมทำสัตวให้เสวยเวทนาในเปรตวสัย
มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในมนุษย์โลก มีอยู่,
กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่. ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่ง
กรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลาย
ว่ามีอยู่ ๓ อย่าง คือ วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน)
หรือว่า วิบากในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา) หรือว่า วิบาก
ในอปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก). ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือ
แห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลาย
ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! กัม ม นิโ ร ธ ค า มินีป ฏิป ท า
(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรค
มีองค์แปด) นี้นั่นเอง คือ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา;
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-
สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)
สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).
ภิกษุทั้งหลาย !
เมื่อใดอริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่ง กรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง นิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง เวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง วิบากแห่งกรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธ อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้;
อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้ว่า
เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม.
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า
“กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ”
ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.
ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๘,๔๖๓-๔๖๔/๓๓๔.
๒
ว่าด้วยเหตุเกิดของกรรม ๓ อย่าง
ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้
มีอยู่ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.
๓ ประการเหล่าไหนเล่า ?
๓ ประการ คือ :-
โลภะ (ความโลภ) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น
แห่งกรรมทั้งหลาย,
โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น
แห่งกรรมทั้งหลาย,
โมหะ (ความหลง) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น
แห่งกรรมทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเมล็ดพืช ทั้งหลาย
ที่ไม่แตกหัก ที่ไม่เน่า ที่ไม่ถูกทำลายด้วยลมและแดด
เลือกเอาแต่เม็ดดี เก็บงำไว้ดี อันบุคคลหว่านไปแล้ว
ในพื้นที่ซึ่งมีปริกรรมอันกระทำดีแล้วในเนื้อนาดี. อนึ่ง
สายฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล.
ภิกษุทั้งหลาย ! เมล็ดพืชทั้งหลายเหล่านั้น
จะพึงถึงซึ่งความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์โดยแน่นอน, ฉันใด;
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น
คือ
กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโลภะ เกิดจากโลภะ
มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นสมุทัย อันใด; กรรมอันนั้น
ย่อมให้ผลในขันธ์ท้งั หลาย อันเป็นท่บี ังเกิดแก่อัตตภาพ
ของบคุ คลนนั้ . กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อม
เสวยวิบากแห่งกรรมนั้นในอัตตภาพนั้นเอง ไม่ว่าจะ
เป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม (คือทันควัน) หรือว่า เป็นไป
อย่างในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา) หรือว่า เป็นไปอย่าง
ในอปรปริยายะ (คือ ในเวลาต่อมาอีก) ก็ตาม.
กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโทสะ เกิดจากโทสะ
มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นสมุทัย อันใด; กรรมอันนั้น
ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ
ของบุคคลนั้น. กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อม
เสวยวิบากแห่งกรรมนั้นในอัตตภาพนั้นเอง ไม่ว่าจะ
เป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ
หรือว่า เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ ก็ตาม.
กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโมหะ เกิดจากโมหะ
มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นสมุทัย อันใด; กรรมอันนั้น
ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ
ของบุคคลนั้น. กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อม
เสวยวิบากแห่งกรรมนั้นในอัตตภาพนั้นเอง ไม่ว่าจะ
เป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ
หรือว่า เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ ก็ตาม.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการ
เหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.
ติก. อํ. ๒๐/๑๗๑/๔๗๓.
สรุป !!
การแก้กรรมนั้นแก้ได้จริง แต่ต้องตามคำพระพุทธเจ้าเท่านั้น คือ มรรคมีองค์แปด ซึ่งตัวมรรคแปดนี้อยู่ในอริยสัจสี่ ข้อมรรค วิธีดับทุกข์ และมรรค์ ก็ยังอยู่ในปฏิจสมุปบาท สายดับด้วย อ่านได้ที่(https://www.facebook.com/Buddhawajana.th/posts/391050774309811)
อย่างแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่า วิญญาณที่เราเข้าใจว่าคือตัวเราของเรานั้น มันไม่ใช่ตัวเรา ดังคำนำเบื้องต้นที่กล่าวมา มีพระในพุทธกาลกล่าวว่าวิญญาณเวียนว่ายตายเกิด พระพุทธเจ้าทรงทราบเลยเรียกมา ซักถามและกว่าวว่าเป็น โมฆะ บุรุษ และจะไล่ออกจากพระด้วยซ้ำ
พระในปัจจุบันก็เช่นกันสอนว่าวิญญายนั้นเวียนว่ายตายเกิดเพราะเค้าไม่รู้ในพุทธวจน
อธิบายได้คือ สัตว์ คือผู้รู้ ที่ไม่รู้ในอวิชชา จึงไปยึดเอาวิญาณธาตุ ซึ้งเป็นธาตในขันธ์ห้า ว่าเป็นตัวเราของเรา เมื่อวิญาณยังมีอวิชชาเป็นเครื่องกั้นมีตัณหาเป็ฯเครื่อผูก จึงทำให้มีการเกิด และตามาด้วยการเสื่อมและดับ เวียนวนดดยไม่รู้จบในระบบของการเกิดนี้
ดังนั้นพระพุทธเจ้าทรงออกบวชเพื่อแสวงหาความไม่ตาย และแสวงหาความดับทุกข์
เพราะองค์ตรัสรู้อริยสัจ ซึ่งมีมรรคแปดเป็นข้อปฏิบัติเพื่อหลุดออกจากทุกข์
ดังนั้น แก้กรรมได้โดยวิธเดียวคือ มรรคมีองคืแปด ไม่ใช่การรดน้ำมนต์นอนในโลง
ส่วนกรรมเก่าที่เราเคยทำมาพระองค์บอกไม่ต้องไปสนใจ เพราะในอดีตชาติเราทำดีทำชั่วเคยเป็นมาแล้วนับไม่ถ้วนน้ำตาที่ร้องไห้เยอะกว่ามาหสมุทรทั้งสี่ ดังนั้นเราย่าไปคิดว่าตัวเองชั่วช้า พระองค์ทรงห้ามเลย ให้เราอยู่กับปัจจุบัน และกล่าวไว้ว่า เจตนาเป็นตัวกรรม ถ้าเราไม่ได้เจตนาก้ไม่ใช่กรรมอย่าไปคิดจนจิตเศร้าหมอง
แล้วเราต้องรับผลของกรรมนั้นหรือไม่!!
พระองค์บอกว่ากายนี้เป็นกรรมเก่า ในเมื่อเรายังมีเกิดในระบบการเกิดนี้ เราต้องชดใช่กรรม แน่นอน แต่กรรมในการเป็นมนุษย์นั้นอาจไม่ได้ร้ายแรงเท่ากับในนรก พระองค์บอกเราไม่เคยเห็นการจองจำใด้โหดร้ายเท่าการจองจำในนรก อย่างเช่นถ้าเราฆ่าสัตวบ่อยๆทำมากๆ ก็เป็นไปเพื่ออายุสั้นเท่านั้น
เราอย่าไปสน ถ้าบุคคลที่เป็นโสดาบันขึ้นไปจะมองว่าทุกสิ่งล้วนเกิดดับ มองว่ากายนี้ไม่ใช่เรา การเกิดชาตินี้เป็นชาตสุดท้าย
พระองค์จึงสอนให้เราดับกรรม
ต้องมาดูก่อนกรรมเกิดจากอะไร กรรมเกิดจากผัสสะ การสัมผัสทางอายตนะ ทั้งภายนอกและภายใน เช่นหู้ตาจมูกลิ้นกายใจ สัมผัส รูปธรรม นั้นๆ จึงเกิด ตัณหาอุปาทาน โลภะ โมะ โทสะตามมา
เราจะดับกรรมก็ดับได้โดย การดับผัสสะ หรือการละนันทิ ความเพลิน วิธิการฝึกอยู่ในอานาปานสติ กล่าวคือ เมื่อเราเกิดอารมณ์พอใจไม่พอใจคิดเรื่องต่างๆนั่นคือ ภพเกิดแล้วถ้าเราตามอารณ์นั้นไปชาติ มรณะก็จะเกิดตามมา ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า วิญญาณของเรานั้นดับจากเราไปเกิดแล้วเกาะกับอารณ์นั้นให้เรารีบละ(ละนันทิ)แล้วกลับมาอยู่กับลมหายใจธาตลมหรืออยู่กับกายคตาสติ อยู่กับกาย ให้ไวทำให้มากฝึกให้ไว
ถ้าเราฝึกแบบนี้เราจะไม่เข้าไปยึด ในขันห้า รูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาน เพราะพระองค์บอกว่า จิดสุดท้ายของเราถ้าเผลอไปคิดไปเกาะในเรื่องใด วิญญาณก็จะไปเกิดใน ภพภูมินั้นทันที
ทำไมถึงต้องมาเกาะกับกายและลมหายใจ
เพราะพระองค์ฉลาดในมรรควิธี เพราะเมื่อจิตวิญญาณรับรู้ของเราเกาะ ธาตลมธาตเดียว อีกสามธาตก็ปล่อยได้ ทีนี้ก็มาเหลือรูปเท่านั้นเมื่อรูปดับทำลาย จิตก็จะไม่มีที่เกาะ ดังนั้นก็จะไม่เกิดใหม่อีก เราจึงได้วิชชา รู้ว่าวิญญานไม่ใช่ตัวเรา เข้าถึงวิมุติ นิพพานได้ในปัจจุบัน
ดังนั้น แก้กรรมแก้ได้ โดย มรรค์มีองค์แปด และดับกรรมได้โดยการออกจากระบบของการเกิด เมื่อเราออกจากระบบนี้ กรรมเก่าที่เคยสร้างมาก็ไม่ต้องไปรับไปชดใช้ ซึึ่ง ดับได้โดยการดับผัสสะ
อ่านวิธีแก้กรรมเพิ่มเติมอย่างละเอียดได้ที่ พุทธวจน