"ครูทนี" ดวงจันทร์ชั่วคราวของโลก
จริงๆ แล้วข้อมูลนี้เก่ามากแล้วครับ แต่ก็อยากจะฝากมาให้อ่านเป็นเกร็ดความรู้กันครับ
โดยปกติดาวเคราะห์ในระบบสุริยะหลายๆดวงก็มักจะมีดวงจันทร์เป็นบริวารมากกว่าหนึ่งดวง
เช่นดาวอังคารมีดวงจันทร์ 2ดวง ดาวพฤหัสมี 67 ดวง ดาวเสาร์มี 62 ดวง ยูเรนัสมี 27 ดวง
เนปจูน 13 ดวงเป็นต้น และก็มีการค้นพบดวงจันทร์ใหม่ๆเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ
แต่ว่าโลกของเราจะมีดวงจันทร์เป็นบริวารเพียงดวงเดียวเท่านั้นหรือ?
ดวงจันทร์นั้นเป็นเทหวัตถุที่เป็นบริวารของโลกอย่างแท้จริง(natural satellite)เพียงหนึ่งเดียว
เพราะมันโคจรรอบโลกตลอดเวลา แต่ว่าในความเป็นจริงแล้ว โลกเราในบางครั้งบางคราวก็มี
บริวารมากกว่าหนึ่งดวงด้วยเช่นกัน แล้วมันคือดวงจันทร์ดวงที่ 2 ใช่หรือไม่ ก่อนที่จะตอบ
คำถามนี้เรามาดูสิ่งที่เรียกว่า "บริวารเสมือน" (quasi-satellite)กันก่อน
บริวารเสมือนคือเทหวัตถุที่มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ร่วมกันกับโลก โดยมีวงโคจรแบบที่นัก
ดาราศาสตร์เรียกว่า orbital resonance แบบ 1:1 เมื่อเทียบกับโลก หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า
โลกกับบริวารเสมือนโคจรรอบดวงอาทิตย์ใชัเวลาเท่ากัน แต่รูปร่างของวงโคจรจะต่างกัน
ดวงที่มีชื่อเสียงที่สุดในเวลานี้มีชื่อว่า 3753 Cruithne มีความกว้างขนาด 5 กิโลเมตร
เทหวัตถุดวงนี้เป็นดาวเคราะห์นัอยดวงหนึ่งในบรรดาดาวเคราะห์น้อยหลายพันดวงที่มี
วงโคจรตัดกับวงโคจรของโลก
โลกและ Cruithnee โคจรรอบดวงอาทิตย์โดยมี
Orbital resonance 1:1
นักดาราศาสตร์ค้นพบ 3753 Cruithne ในปี 1986 แต่ในขณะนั้นยังไม่รู้ลักษณะวงโคจรของมัน
จนกระทั่งถึงปี 1997 จึงรู้ว่ามันมีวงโคจรที่ซับซ้อนยุ่งเหยิง แรงโน้มถ่วงของโลกมีผลทำให้มัน
โคจรมาเจอกับโลกเกือบจะในต่ำแหน่งเดียวกันทุกๆปี โดยที่ไม่ชนกันเพราะระนาบวงโคจรไม่ได้
อยู่ในระนาบเดียวกันและเอียงทำมุมกันอย่างมาก
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 1986 นักดาราศาสตร์ชื่อ Duncan Waldron ได้ค้นพบดาวเคราะห์น้อย
ที่มีแสงริบหรี่ 3753 Cruithne โดยใช้กล้อง UK Schmidt Telescope แห่งห้องสังเกตการณ์
Siding Spring Observatory ใน ออสเตรเลีย
Cruithne โคจรเข้าและออกจากวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์อย่างไม่มีเสถียรภาพ
จากการจำลองโดย computer model นักดาราศาสตร์ระบุว่า Cruithne จะโคจรรอบ
ดวงอาทิตย์อีกประมาณ 5,000 ปี หลังจากนั้นก็จะถูกแรงดึงดูดของโลกดึงให้มันเคลื่อน
เข้ามาโคจรรอบโลกช่วงะระยะเวลาหนึ่งไม่นานนักคือ ประมาณ 3,000 ปี ในช่วงนี้ Cruithne
ก็จะได้ชื่อว่าเป็น "ดวงจันทร์ดวงที่ 2" ของโลก โดยนักดาราศาสตร์เรียกมันว่า ดวงจันทร์จิ๋ว
( minimoon) จากนั้นมันก็จะถูกดีดออกไปโคจรรอบดวงอาทิตย์กลายเป็นดาวเคราะห์น้อย
อีกครั้งหนึ่ง
เมื่อมองจากโลก จะเห็นวงโคจรของ Cruithne เป็นรูปคล้ายเกือกม้า
อย่างไรก็ตาม 3753 Cruithne ก็ไม่ใช่เทหวัตถุในอวกาศดวงเดียวที่เป็นบริวารเสมือนของโลก
แต่ยังมีอีกหลายดวงเช่น 2010 SO16 และ 2006 FV35 เป็นต้น โดยมีวงจรโคจร แบบ orbital
resonance 1:1 เช่นกัน
ภาพจำลองของเส้นทางโคจรของ ดวงจันทร์จิ๋วที่ถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงเข้ามาสู่วงโคจร
อาจมีบางคนสงสัยว่าแล้วที่ผ่านมาโลกเคยมีดวงจันทร์ดวงที่ 2 หรือดวงจันทร์จิ๋วมาก่อนแล้วหรือไม่
คำตอบคือ เคยมี
โดยเมื่อวันที่ 14 กันยายน ปี 2006 นักดาราศาสตร์ ได้ค้นพบเทหวัตถุบนท้องฟ้าดวงหนึ่ง
ซึ่งภายหลังได้ตั้งชื่อว่า 2006 RH120 การค้นพบนี้อยู่ภายใต้โครงการ Catalina Sky Survey
ของมหาวิทยาลัยอาริโซน่า(Arizona University) โดยการใชักล้องโทรทัศน์ Schmidt ขนาด 27 นิ้ว
เทหวัตถุดวงนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 5 เมตร ในตอนแรกนักดาราศาสตร์คิดว่ามันคือ
ซากของบูสเตอร์ท่อนที่ 3 ของจรวด Saturn S-4b ในโครงการ Apollo12 จากการวิเคราะห์ภายหลัง
จึงทราบว่ามันคือดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่ง เจ้า 2006 RH120 ดวงนี้ถูกแรงดึงดูดของโลกจับดึงเข้า
มาสู่วงโคจรรอบโลกชั่วคราว ตั้งแต่ กันยายน 2006 ถึง เดือนมิถุนายน 2007 โดยโคจรรอบโลก
ทั้งหมด 4 รอบ หลังจากนั้นมันก็ดีดตัวออกไปสู่วงโคจรรอบดวงอาทิตย์อีกครั้งหนึ่ง และคาดหมายกัน
ว่ามันจะโคจรเข้ามาใกล้โลกอีกครั้งในปี 2028 แล้วก็อาจจะถูกแรงดึงดูดของโลกดูดจับเข้ามาเป็น
ดวงจันทร์จิ๋วของโลกได้อีกครั้งหนึ่ง
ถ้าใครอยู่ถึงก็คอยติดตามข่าวคราวได้ครับ แต่สำหรับผมยังไม่แน่
ภาพแสดงเส้นทางโคจรของ 2006 RH120 รอบโลกในระหว่างที่กลายเป็นดวงจันทร์จิ๋วของโลก
ก่อนที่จะถูกดีดออกไปโคจรรอบดวงอาทิตย์อีกครั้งหนึ่ง
เครดิต
http://earthsky.org/space/does-earth-have-a-second-moon
และ wikipedia