มีคนสอบถามเข้ามาว่า อีโบล่าจะระบาดในไทยได้ไหม จะป้องกันยังไง หมอแมว
มีคนสอบถามเข้ามาว่า อีโบล่าจะระบาดในไทยได้ไหม จะป้องกันยังไง
ระบาดไหม ตอบไม่ได้ครับ
เพราะทั่วโลกก็ไม่มีใครรู้ แต่มันก็เหมือนโรคอื่นๆคือตราบใดที่เรามีเครื่องบิน โอกาสติดมันก็มี
และระยะฟักตัวของโรคระบุอยู่ในช่วง 1 สัปดาห์ การกระจายมันเป็นไปได้
ดังนั้นเราก็ควรมีความรู้และการเตรียมตัวไว้เผื่อเกิดเหตุซวยๆขึ้นมา
การป้องกัน ก็ดูตามการติดต่อ
การติดต่อของไวรัสในกลุ่มนี้ ติดต่อผ่านทางน้ำที่ออกมาจากร่างกายของผู้ป่วย / ลิง / ค้างคาว
ดังนั้น
1. หากเจอใครไปแอฟริกามา มีไข้ มีตุ่มพองเลือดออก จะเข้าไปช่วยก็ระวังการสัมผัสเลือด เหงื่อ น้ำลายน้ำตา สารพัดน้ำที่ออกมา
2. ระวังสิ่งแวดล้อมรอบตัวคนป่วยคนนั้น ที่อาจมีเลือดหรือสารคัดหลั่งเปื้อนอยู่แล้วเราไม่เห็น พอออกมาก็ล้างมือให้สะอาด
3. อย่าไปกินตัวอะไรแปลกๆ สัตว์แปลกๆ อย่าไปเลี้ยงสัตว์แปลกๆตอนนี้ เพราะตอนขนส่งมามันอาจไปขนส่งรวมกับตัวอะไรแปลกๆจากแอฟริกา
ถ้าสนใจเรื่องพวกนี้ อย่าลืมฟังข่าวสารจากช่องทางของสาธารณสุข
ตอนนี้มีการให้ความรู้มาเป็นระยะๆ เพียงแต่ว่าพื้นที่ในสื่อน่าจะน้อย
******************************************************************
จะบอกว่า การป้องกันโรคพวกนี้ มันอยู๋ในสาธารณสุขส่วนบุคคลอยู๋แล้ว
คนเป็นไข้ตัวร้อน เราก็ต้องระวังการสัมผัสสารคัดหลั่ง น้ำทั้งหลายจากร่างกายคนไข้
คนไอ เราก็ต้องให้คนไข้ใส่mask
มีคนสอบถามเข้ามาว่า อีโบล่าจะระบาดในไทยได้ไหม จะป้องกันยังไง
ระบาดไหม ตอบไม่ได้ครับ
เพราะทั่วโลกก็ไม่มีใครรู้ แต่มันก็เหมือนโรคอื่นๆคือตราบใดที่เรามีเครื่องบิน โอกาสติดมันก็มี
และระยะฟักตัวของโรคระบุอยู่ในช่วง 1 สัปดาห์ การกระจายมันเป็นไปได้
ดังนั้นเราก็ควรมีความรู้และการเตรียมตัวไว้เผื่อเกิดเหตุซวยๆขึ้นมา
การป้องกัน ก็ดูตามการติดต่อ
การติดต่อของไวรัสในกลุ่มนี้ ติดต่อผ่านทางน้ำที่ออกมาจากร่างกายของผู้ป่วย / ลิง / ค้างคาว
ดังนั้น
1. หากเจอใครไปแอฟริกามา มีไข้ มีตุ่มพองเลือดออก จะเข้าไปช่วยก็ระวังการสัมผัสเลือด เหงื่อ น้ำลายน้ำตา สารพัดน้ำที่ออกมา
2. ระวังสิ่งแวดล้อมรอบตัวคนป่วยคนนั้น ที่อาจมีเลือดหรือสารคัดหลั่งเปื้อนอยู่แล้วเราไม่เห็น พอออกมาก็ล้างมือให้สะอาด
3. อย่าไปกินตัวอะไรแปลกๆ สัตว์แปลกๆ อย่าไปเลี้ยงสัตว์แปลกๆตอนนี้ เพราะตอนขนส่งมามันอาจไปขนส่งรวมกับตัวอะไรแปลกๆจากแอฟริกา
ถ้าสนใจเรื่องพวกนี้ อย่าลืมฟังข่าวสารจากช่องทางของสาธารณสุข
ตอนนี้มีการให้ความรู้มาเป็นระยะๆ เพียงแต่ว่าพื้นที่ในสื่อน่าจะน้อย
******************************************************************
จะบอกว่า การป้องกันโรคพวกนี้ มันอยู๋ในสาธารณสุขส่วนบุคคลอยู๋แล้ว
คนเป็นไข้ตัวร้อน เราก็ต้องระวังการสัมผัสสารคัดหลั่ง น้ำทั้งหลายจากร่างกายคนไข้
คนไอ เราก็ต้องให้คนไข้ใส่mask
ผมมีโอกาสเห็นการเฝ้าระวังโรคของไทยในโรคอุบัติใหม่หลายครั้ง
SARs ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่2009
ลามไปถึงโรคที่มีอยู่แล้วดั้งเดิม เช่นวัณโรค
ปัญหาของการควบคุมโรคในไทยมีหลายประเด็น
ประเด็นสำคัญคือ
- คนไม่ติดตามข่าวสารสาธารณสุข(แม้แต่ในทีวี) หรือติดตามแต่ไม่เชื่อไม่ฟังไม่ทำตาม
- คนแสดงท่าทางรังเกียจเกินงาม เมื่อมีคนไข้ที่ต้องสงสัยว่าป่วยด้วยโรคที่ระบาด
- คนที่สงสัยว่าตนจะเป็น กลัวคนรังเกียจ เลยพยายามแสดงออกว่าตนไม่ได้เป็น
- ความกลัวทำให้คนมาโรงพยาบาลมากๆ และพยายามเข้าถึงทรัพยากรที่มีจำกัด ไม่ว่าการใช้เวลาๆมาก หรือการกดดันให้ได้ยา
เอาง่ายๆว่า ตั้งแต่ เป็นนักศึกษาแพทย์จนเป็นหมอ
เคยเจอคนที่สงสัยว่าตนเองเป็น SARs ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่2009 วัณโรค มาโรงพยาบาล บอกว่าเป็นไข้หวัด บอกพยาบาลว่าไม่มีความเสี่ยงเรื่องสัมผัสคนป่วยหรือสัตว์ป่วย
เข้ามาในห้องตรวจไม่ใส่หน้ากากอนามัย
บางคนตั้งใจไอ (หรือตั้งใจไอใส่หน้าหมอ แบบบอกเลยว่าหมอไม่ต้องกลัว ผมไม่เสี่ยง)
จากนั้นหลังจากซักประวัติไป คนไข้ก็บอกว่าเสี่ยง แต่ไม่กล้าบอกข้างนอก เดี๋ยวคนอื่นรังเกียจ
แล้วที่เอ็งไอใส่หน้าหมอตะกี้นี่มันอัลลัย
โพสท์โดย: I sea u